ขอความกระจ่างเรื่อง เหตุกะ นเหตุกะ สเหตุกะ อเหตุกะ

 
Supakij.k
วันที่  8 ม.ค. 2553
หมายเลข  15061
อ่าน  1,110

ผมเพิ่งจะฟังพื้นฐานพระอภิธรรมถึงตอนที่ประมาณ 65 ครับ ยังไม่ค่อยเข้าใจตามที่ท่านอาจารย์สุจินต์ได้มีเมตตา กรุณา อบรม สั่งสอนในเรื่องดังกล่าวข้างต้น เพราะฟังแล้วยังจับประเด็นเรื่องนี้ไม่เข้าใจครับ ขอความกรุณาช่วยให้ความกระจ่างด้วยนะครับ

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 8 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

ขอเรียนถามเพิ่มเติมดังนี้ครับ

1. นเหตุ แปลว่าอะไรหรือมีความหมายอย่างไร

2. เหตุ - นเหตุ ต้องมีคำลงท้ายด้วย กะ หรือไม่ เพราะเห็นคำว่า สเหตุกะ - อเหตุกะ มีคำลงท้ายด้วย กะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 8 ม.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ 2

๑. คำว่า นเหตุ หมายถึง ธรรมที่ไม่ใช่เหตุ กล่าวคือ ไม่ใช่เหตุ ๖ เหตุ ดังนั้นธรรมใด ที่ไม่ใช่เหตุ ๖ เหตุ ธรรมนั้น ชื่อว่า นเหตุ (โดยสภาพธรรมแล้ว ได้แก่ จิตทั้งหมด เจตสิก ๔๖ ประเภท รูปทั้งหมด และ นิพพาน เป็น นเหตุ)

๒. ก่อนอื่นต้องเข้าใจความต่างระหว่าง เหตุ กับ นเหตุ ก่อนว่า เหตุ ได้แก่ เจตสิก ๖ ประเภท (ที่เป็นเหตุ) คือ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ส่วนสภาพธรรมที่เหลือทั้งหมด เป็น นเหตุ ดังนั้น ที่กล่าวโดยนัยนี้ ไม่ต้องมี กะ ต่อท้าย เพราะถ้ามี กะ ต่อท้าย จะมุ่งอธิบายอีกนัยหนึ่ง และความหมายจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเข้าใจ ความต่างระหว่าง เหตุ กับ นเหตุ แล้ว ต่อไปก็จะสามารถเข้าใจถึงสเหตุกะ และ อเหตุกะ ได้ เพราะตามศัพท์แล้ว สเหตุกะ หมายถึง มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมใดก็ตามที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมนั้น ชื่อว่า สเหตุกะ เช่น โลภมูลจิต (จิตที่มีโลภะเป็นมูล) โดยสภาพของจิตแล้ว เป็น นเหตุ (ไม่ใช่เหตุ) แต่โลภมูลจิต เป็นจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย นั่นก็คือ มีโลภเหตุ และ มีโมหเหตุ เกิดร่วมด้วย ดังนั้น โลภมูลจิตจึงชื่อว่า สเหตุกะ (มีเหตุเกิดร่วมด้วย) เป็นต้น

ส่วนคำว่า อเหตุกะ หมายถึง ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมใดก็ตาม ที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมนั้น ชื่อว่า อเหตุกะ (ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย) เช่น จักขุวิญญาณ (จิตเห็น) เป็นจิตที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ประเภทเท่านั้น ไม่มีเหตุใดๆ ในบรรดาเหตุ ๖ เกิดร่วมด้วยเลย ดังนั้น จักขุวิญญาณ จึงชื่อว่า อเหตุกะ และเจตสิก ๗ ประเภทที่เกิดร่วมกับจักขุวิญญาณ ก็ชื่อว่า อเหตุกะ ด้วยเช่นเดียวกัน เป็นต้น ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด จึงต้องเป็นผู้ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษา สะสมปัญญาไปตามลำดับ เพื่อความเข้าใจในพระธรรมที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อละคลายความไม่รู้ และ ละคลายความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนเป็นสัตว์ เป็นบุคคล ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 8 ม.ค. 2553

ขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่ให้ความรู้ที่กระจ่างครับ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วิริยะ
วันที่ 8 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 9 ม.ค. 2553

สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมทั้งหลายย่อมไหลมาจากเหตุ ถ้าบุคคลคิดดี กายก็ดี วาจาก็ดี และที่สำคัญที่สุดคือ การอบรมปัญญาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พุทธรักษา
วันที่ 9 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Sam
วันที่ 9 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Supakij.k
วันที่ 11 ม.ค. 2553

ขอบพระคุณวิทยากรและกัลยาณมิตรทุกท่านที่ให้ความกระจ่างและช่วยต่อยอดคำถามครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 15 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ