กุศลธรรมที่เป็นบารมี
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
รายการโทรทัศน์ "บ้านธัมมะ" วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ ถอดเทปสนทนาธรรม โดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล
ท่านผู้ฟัง ขอเรียนถามว่า ระหว่างบุญ และ บารมีในบุญญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีทาน ศีล และในบารมี (๑๐) ก็มี ทานบารมี และ ศีลบารมีมีความต่างกันอย่างไร ที่ (ทานและศีล) จะเป็นขั้นของบารมี ค่ะ
ท่านอาจารย์สุจินต์ ถ้า (เข้าใจ) ง่ายๆ ก็หมายถึง "ความดี" ได้ไหม "อกุศล" เป็นบารมี ได้ไหม เพราะฉะนั้น อะไรที่เป็นบารมี
ท่านผู้ฟัง ก็ต้องเป็น "กุศล"
ท่านอาจารย์สุจินต์ "กุศล" ก็ต้องตามลำดับด้วย เพราะเหตุว่า เพียงขั้นทานกุศลแล้วไม่มีปัญญา (ทานกุศล) จะสามารถเจริญขึ้น จนกระทั่งดับกิเลส ได้ไหม เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็น "กุศลที่เจริญขึ้นจนถึงขั้นที่สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรม" ซึ่งต้องประกอบด้วย ความดีประการต่างๆ นั่นเอง เพียงแค่วันนี้ ดีหรือยัง ดีอะไรบ้าง เป็นบารมีหรือเปล่า ประกอบด้วยปัญญาหรือเปล่า มีความเห็นที่ถูกต้องหรือเปล่า เพราะว่า ถ้าเป็นแต่เพียงความดีที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาความดีที่กระทำนั้น ก็ไม่สามารถเจริญขึ้นจนกระทั่งดับกิเลสที่ไม่ดีได้ ถึงแม้ว่า บางขณะเป็นโอกาสที่จะได้กระทำความดี (กุศลกรรม) แต่ก็มีหลายๆ ขณะที่เป็นโอกาสของ อกุศลกรรม
เพราะฉะนั้น ถ้าพูดสั้นๆ ว่า "บารมี" คือ ความดีที่ถึงพร้อม ที่จะเป็นปัจจัยทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมและ ดับกิเลสได้ เป็นสมุจเฉท ก็คงจะเข้าใจได้ แต่ต้องเป็นไปตามปกติ ในชีวิตประจำวันด้วย
ขออนุโมทนา
กุศลใดๆ ก็ตามที่จะเป็นบารมีนั้น ต้องเป็น "กุศลที่กระทำไปเพื่อการขัดเกลาอกุศลธรรม ให้ถึงการดับอกุศลธรรมนั้นเป็นสมุจเฉท"
เชิญคลิกอ่าน ...
น่าทึ่งมากเลยครับที่มีศัพท์บัญญัติ บุญ และ บารมี เพื่อแยกต่างที่ว่าถึงพร้อม ถึงพร้อมอะไรครับ