น้ำปานะเป็นชาได้มั้ยครับ ถ้าไม่ต้มก็ไม่ผิดใช่มั้ยครับ ?

 
ขอธรรมทาน
วันที่  20 ม.ค. 2553
หมายเลข  15192
อ่าน  13,879

ขอเชิญคลิกอ่านเรื่องน้ำปานะเพิ่มเิติมได้ที่นี่ครับน้ำปานะ คือ อะไร น้ำถั่วเหลือง เป็นน้ำปานะหรือไม่

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 20 ม.ค. 2553

๑. ผมเห็นว่า ถ้าไม่แน่ใจก็อย่าทานเลยดีกว่า

๒. น้ำอัดลมบางชนิด ทราบว่าเขาเอาผลโค้กไปต้ม อย่างนี้ไม่ควรครับ

๓. ยารักษาโรค ทานได้ไม่จำกัดเวลา

๔. เนยใส เนยข้น เป็นผลิตภัณฑ์จากนม ยุคนี้อาจจะต่างกับก่อน

๕. ตามพระวินัยมีว่า ทานได้เมื่อมีเหตุ อยู่ดีๆ เอามาทานแก้หิวไม่ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 20 ม.ค. 2553

1. ถ้าเอาชามาชงกับน้ำร้อน โดยไม่ได้ต้มก็ไม่อาบัติ ทานได้

2. ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุดค่ะ

3. ทานได้ทุกเวลาที่ไม่สบาย

4. เนยใส เนยข้น ในสมัยก่อนเป็นยาค่ะ

5. น้ำผึ้งทานได้ เมื่อร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สบายค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 20 ม.ค. 2553

ถ้างั้นคิดว่า ชามัทฉะ เป็นผงเขย่าในน้ำเปล่า ก็น่าจะดีนะครับ ไม่ต้องต้ม ไม่ต้องอุ่น (อยากให้มี ฤทธิ์ของ คาเฟอีน เผื่อไ้ว้ช่วยเวลาง่วงด้วยครับ เพราะเข้าใจว่ากินกาแฟไม่ได้ เลยอยากจะเอาชาแทน เพราะชาเป็นใบไม้ แต่ถ้าชาก็ต้มไม่ได้ ก็เลยเอาชามัทฉะผงละลายน้ำแทน น่าจะดีนะครับ)

ปล.. ตามที่ อ.ประเชิญตอบข้อ 5 ครับ

หมายถึงวินัยของสงฆ์หรือของอุบาสกครับ?

คือคิดว่าหากไม่ชิน แล้วเกิดปวดท้องแสบท้องขึ้นมา

แล้วอยากให้อาการทรมานหายไป เพื่อไม่เป็นการทรมานกายขณะปฏิบัติหนะครับ

ไม่รู้ว่าพอจะทำได้หรือไม่ครับ?

หรือว่าอาจารย์แนะนำว่า หากปวดท้องขึ้นมาให้ทานยาลดกรดแก้ไขไปเป็นครั้งๆ พอทุเลา

อย่างนี้จะดีกว่าใช่ไหมครับ?

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 21 ม.ค. 2553

เรียนความเห็นที่ ๓ ครับ

ผมไม่ทราบขบวนการผลิต และส่วนผสมของชามัทฉะ

ส่วนตัวคิดว่า ถ้าไม่แน่ใจอย่าเลยดีกว่าครับ

ส่วนข้อที่ ๕ ทั้งพระภิกษุ สามเณร และผู้ที่รักษาอุโบสถศีล มีนัยเดียวกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 21 ม.ค. 2553

^

^

ขอบคุณ อ.ประเชิญ มากๆ ครับ..

ถ้ายังไงจะทานอะไรจะขอตรวจสอบดูให้แน่ใจก่อนครับ

ปล.. ชามัทฉะ ตรวจดูแล้วผลิตโดยอบไอน้ำแล้วนำมาบดเป็นผงละลายน้ำ

ถ้ากรองกากออก ก็ไม่พบว่าขัดแต่อย่างใดครับ

คราวนี้มั่นใจแล้วครับ..

^_^

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
oj.simon
วันที่ 16 มิ.ย. 2554

เรียน ท่านผู้รู้ทุกท่านครับ

ผมขอความรู้เร่ืองเคร่ืองแยกกรองนำ้ผลไม้สดกับน้ำปานะ ดังนี้ครับ

1. กรณีเคร่ืองมือดังกล่าวสามารถแยกน้ำผลไม้ออกจากกากได้โดยสิ้นเชิง ในฐานะเป็นน้ำปานะเรายังต้องกรองน้ำผลไม้ที่ได้นี้อีกหรือไม่ครับ​

2. น้ำผลไม้สดที่ไม่มีพระพุทธาอนุญาตไว้ เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล สาลี่ ชมพู่ ส้ม มะเขือเทศ แคงตาลูป เมลอนที่ได้จากเคร่ืองมือข้างต้นนี้เป็นปานะหรือไม่ครับ

3. น้ำหวานเฮลส์บลูบอย น้ำเขียว-แดงที่อัดแก๊ส น้ำอ้อยสด น้ำตาลสด (ที่ได้มาจากต้นตาล) น้ำตาลทราย ลูกอมที่ไม่มีส่วนผสมนมหรือน้ำผลไม้ที่ผ่านการต้ม สายไหมเฉพาะที่ปั่นมาจากน้ำตาลล้วนเป็นปานะหรือไม่ครับ

4. น้ำผลไม้กล่อง น้ำชา กาแฟบรรจุเสร็จเป็นปานะหรือไม่ครับ

5. สมุนไพรที่ใช้น้ำร้อนชง เช่น ขิง ชาสมุนไพร โสม เป็นปานะหรือไม่ แต่หากถือเป็นยาสามารถดื่มได้ในกาลใดบ้างครับ

อนึ่ง ทุกเย็นผมต้องทานยาลูกกลอนผสมเขากวางอ่อน โสม วันละ 20 เม็ด เม่ือ เทียบปริมาณแล้วเท่ากับ 2-3 ช้อนโต๊ะ ก่อนนอนต้องทานยาเข้ากับเหล้า เขากวางอ่อน โสมทุกวันๆ ละประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ หากเป็นวันถืออุโบสถศิลผมควรงดยาดังกล่าวหรือไม่ครับ

ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 17 มิ.ย. 2554

ขอเชิญคลิกอ่านเรื่องน้ำปานะเพิ่มเิติมได้ที่นี่ครับน้ำปานะ คือ อะไร น้ำถั่วเหลือง เป็นน้ำปานะหรือไม่

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
oj.simon
วันที่ 18 มิ.ย. 2554

เรียน อาจารย์คำปัน

ขอบคุณอาจารย์ครับ ผมอ่านข้อความตามที่อาจารย์ให้ไว้ตามความเห็นที่ 9 แล้วครับ ผมขอสรุปความเข้าใจของผมไว้ดังนี้ครับ

1. ภายในเคร่ืองแยกกากผลไม้มีตัวกรองละเอียดเป็นโลหะรูปกรวยปากแตรอยู่ โดยเคร่ืองจะแยกน้ำผลไม้ออกจากกากด้วยแรงเหวี่ยงมอร์เตอร์ ทำให้นำ้ผลไม้ที่ได้ไม่มีกาก เม่ือเคร่ืองมีการกรองกากอยู่แล้ว เราสามารถดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องนำไปกรองอีกครั้ง 2. น้ำฝรั่ง แอปเปิ้ล สาลี่ เป็นปานะครับ แต่ผมไม่แน่ใจว่าฝรั่งมีผลโตกว่ามะตูมหรือไม่ ผมไม่เคยเห็นผลมะตูมครับ ส่วนเมลอน แคงตาลูปไม่ใช่ปานะ เพราะเป็นผลไม้ในตระกูลแตงโม แตงเขียวต่างๆ ซึ่งต้องห้ามครับ

3. น้ำหวานเฮลส์บลูบอย น้ำเขียว-แดงที่อัดแก๊ส น้ำอ้อยสด น้ำตาลสด (ที่ได้มาจากต้นตาล) น้ำตาลทราย ลูกอมที่ไม่มีส่วนผสมนมหรือน้ำผลไม้ที่ผ่านการต้ม สายไหมเฉพาะที่ปั่นมาจากน้ำตาลล้วนเป็นปานะ

4. น้ำผลไม้ น้ำชาที่เป็นผลิตภัณฑ์บรรจุเสร็จเป็นปานะ ส่วนกาแฟไม่เป็น เพราะมีสารเสพติด

5. สมุนไพรที่ใช้น้ำร้อนชง เช่น ขิง ชาสมุนไพร โสม ไม่น่าเป็นปานะ เพราะขั้นตอนการผลิตน่าจะผ่านไฟทำให้สุกครับ

อนึ่ง ในวันพระผมจะขอหยุดยาสมุนไพรที่เข้าเหล้า แต่ตอนเย็นยังคงทานยาสมุนไพรต่อไปครับ สำหรับน้ำผึ่งจะทานในกรณีมีอาการปวดท้องแสบท้อง ทั้งนี้เพ่ือเป็นยาบรรเทาอาการดังกล่าวต่อไปครับ

ขอท่านผู้รู้ได้โปรดตรวจสอบความเข้าใจของผมข้างต้นให้ด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ผมจักได้นำไปถือปฏิบัติตลอดชีวิตต่อไปครับ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
khampan.a
วันที่ 18 มิ.ย. 2554

เรียน ความคิดเห็นที่ ๑๐ ครับ พระวินัย เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก แต่เมื่อได้อ่านทบทวนในเรื่องของน้ำปานะแล้ว พอที่จะเข้าใจได้ตามที่คุณ oj.simon ได้สรุปมา คือ ข้อ ๑,๒,๓,๕ เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง (แต่อย่าลืมในข้อที่ ๑ คือ ต้องเป็นผลไม้ที่ถูกต้องตามพระวินัยเท่านั้น) ส่วนข้อที่ ๔ ประเด็นเรื่องกาแฟ ตัดปัญหาไปได้เพราะไม่ใช่น้ำปานะ และควรจะสงเคราะห์น้ำชาเข้ากับกาแฟ ด้วย คือ ไม่ใช่น้ำปานะ เพราะต้องผ่านการต้ม ส่วนน้ำผลไม้ที่บรรจุกล่องนั้น ต้องดูให้ดีว่าเป็นน้ำผลไม้ประเภทใด ด้วย ตามข้อความที่ปรากฏในหัวข้อที่อ้างถึงในข้อความที่ ๙ ครับ ถ้าจะให้เบาใจที่สุดสำหรับเพศบรรพชิตและผู้รักษาศีลอุโบสถ หลังเที่ยงไปแล้ว ดื่มน้ำเปล่า ดีที่สุด ไม่ต้องกังวลใจ ไม่ต้องเดือดร้อนใจในภายหลัง ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ oj.simon และทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
oj.simon
วันที่ 19 มิ.ย. 2554
ขอบคุณท่านอาจารย์ khampan ขออนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์และทุกๆ ท่านครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ