น้ำปานะ คือ อะไร น้ำถั่วเหลือง เป็นน้ำปานะหรือไม่
น้ำปานะ คือน้ำผลไม้ที่ทรงอนุญาตไว้ มี ๘ ชนิด และอื่นๆ ตามสมควร เมื่อคั้นเอาเฉพาะน้ำกรองไม่ให้มีกาก พระภิกษุรับประเคนแล้วฉันได้ตลอดวันและคืนหนึ่ง ส่วนน้ำนมสด น้ำนมถั่วเหลือง ไมโล เป็นอาหาร (โภชนะ) ไม่ใช่น้ำปานะ
ผู้ถือ ศีล ๘ ก็ดื่มน้ำถั่วเหลืองไม่ได้เช่นกัน จริงหรือไม่ ขอขอบพระคุณ
ผู้ที่รักษาศีล ๘ หรือศีล ๑๐ ของสามเณร และพระภิกษุ ในเวลาวิกาลดื่ม น้ำนมถั่วเหลืองไม่ได้ ถ้าดื่มเมื่อไหร่ ศีลข้อที่ ๖ วิกาลโภชณาขาด ส่วนพระภิกษุดื่มต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
ชา กาแฟ ที่ไม่ใส่นม จัดว่าเป็นปานะหรือโภชนะ?
ขอขอบพระคุณ
น้ำที่คั้นจากผลไม้สดและน้ำอ้อย เป็นน้ำปานะ ชาและกาแฟ ไม่ใช่น้ำปานะค่ะ
1 กระทิงแดง ลิโพ หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เป๊ปซี่ กาแฟดำไม่ใส่นม,น้ำชากินได้ไหมครับ เพราะเห็นคนที่ถือศีลอุโบสถ เขากินกันและบอกกินได้ ขอความกระจ่างจากผู้รู้ด้วยครับ
2.น้ำปานะ ที่เป็นผลไม้ คือไม่ใหญ่กว่าผลมะตูมและไม่มีกากใช่ไหมครับ
ขอบคุณครับ
1. กระทิงแดง ลิโพ เป๊ปซี่ กาแฟ ถ้ารักษาศีล 8 กินไม่ได้ค่ะ
2. น้ำปานะที่ไม่ใหญ่กว่าผลมะตูม นำมาคั้นแล้วก็ต้องกรองด้วยค่ะ
น้ำนมถั่วเหลือง ไม่จัดเป็นน้ำปานะ เพราะเหตุผลอะไรครับผม ถ้าน้ำนมถั่วเหลืองไม่ควร กาแฟก็ไม่ควรด้วยหรือเปล่า? เพราะได้ทราบว่า กาแฟนั้นเมล็ดใหญ่กว่าถั่วเป็นไหนๆ
ขอบคุณครับ
คุณวรรณีครับ
คุณว่า ชาและกาแฟไม่ใช่น้ำปานะ อยากถามว่าแล้วฉันในเวลาวิกาลได้ไหม?
ขอบคุณครับ
ถามความเห็นที่ ๑๐
เพราะอะไรกระทิงแดง ลิโพ เป๊ปซี่ กาแฟ ผู้รักษาศีล ๘ จึงดื่มไม่ได้ครับ?
ขอบคุณครับ
เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
โดยปกติในพระสูตรเวลา พระบาลี กล่าวเรื่อง น้ำนม จะใช้ศัพท์ว่า "ขีรํ" ไม่เคยเห็นที่ใช้ ปโย ศัพท์ ฉะนั้น ปโยปานํ จะเป็นน้ำอะไร? (น้ำยาคูฉันได้หรือหลังเวลาภัตร?) เป็นที่น่าสงสัยอยู่ หากจะใช้หลักมหาปเทสจับ ควรจะเห็นตามวินัยที่ท่านกล่าวว่า นมเป็นโภชนะ คำนี้น่าจะชี้ขาดได้ตั้งแต่ต้นแล้ว
* อนึ่งคำว่า ปานะ ควรเรียกให้เต็มๆ ว่า อัฏฐปานะ เพราะหากกล่าวแต่เพียงว่า ปานะ ปัญหาตามมา เช่น น้ำเปล่าเป็นปานะไหม? ต้องตอบว่า น้ำ เป็น ปานะ บาลีใช้คำว่า อุทกปาน คือน้ำดื่มนั้นเอง
ขออนุญาตเรียนว่า
คำภาษาบาลี ที่แปลว่า น้ำ มีหลายคำมาก เช่น ปาน อุทก ปานีย
ก็ต้องเข้าใจว่า น้ำปานะ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุดื่มได้ ในเวลาวิกาล และจะต้องมีการประเคน ด้วย คือ น้ำอัฏฐปานะ (น้ำผลไม้ ๘ ชนิด) ดังที่คุณ Aerok ได้กล่าวถึงว่าควรจะกล่าวเต็มๆ ว่า น้ำอัฏฐปานะ
น้ำอื่นๆ เช่น น้ำนม เป็นต้น ภิกษุไม่สามารถฉันในเวลาวิกาลได้ (ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส มีคำว่า ปโยปาน ในอรรกถา ณ ที่นั้น อธิบายเท่ากับ ขีรปาน (น้ำนม) น้ำเหล่านี้ ตลอดจนถึงน้ำยาคู (น้ำข้าวต้ม) พระภิกษุสามารถฉันในเวลาปกติได้ คือ เช้าจนถึงเที่ยง แต่ฉันในเวลาวิกาล (เลยเที่ยงจนถึงอรุณขึ้น) ไม่ได้ ถ้าฉันในเวลาวิกาล ก็เป็นอาบัติปาจิตตีย์
สำหรับ น้ำธรรมดา หรือ น้ำเปล่า ภิกษุฉันได้ทุกเมื่อ โดยไม่ต้องมีการประเคน ครับ
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
โปรตีนเมล็ดที่สกัดจากถั่ว 5 ชนิดเหลือง (มีถั่วเหลือง) ผู้ถือศีล 8 สามารถทานได้หรือไม่