ความหมายของคำว่า ขันธ์

 
พุทธรักษา
วันที่  5 ก.พ. 2553
หมายเลข  15377
อ่าน  2,857

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรมที่โรงพยาบาลพระมงกุฏฯ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ (ถอดเทปบันทึกเสียง โดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล)

มีอีกคำหนึ่ง นอกจากคำว่า "ธรรมะ" ก็คือ "ขันธ์"

คำว่า "ธรรมะ" หมายถึง สิ่งที่มีจริงแต่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดง คำ ว่า "ขันธ์" เพื่อที่จะขยายความจริงของ "ธรรมะ" โดยนัยที่ละเอียดยิ่งขึ้น ในขณะนี้ สิ่งที่มีจริง เป็น "ขันธ์" ทรงใช้คำว่า "ขันธ์" เพื่ออะไร เพราะว่า พระผู้มีพระภาคฯ ทรงตรัสรู้สิ่งที่มีจริง ในขณะนี้ สิ่งที่มีจริงใขณะนี้ กำลังเกิดขึ้น ปรากฏ แล้วก็ดับไปดับไปแล้ว ไม่กลับมาอีกเลย และ สิ่งที่มีจริงขณะนี้ เป็น ขันธ์ เฉพาะแต่ละ ๑ ขันธ์ เช่น ขณะนี้ มีสิ่งที่ปรากฏทางตาจริงๆ สิ่งที่ปรากฏทางตา เกิด ปรากฏ แล้วก็ดับไป ไม่กลับมาอีกเลยความจริงนี้ ใครรู้ ถ้าไม่ใช่ "พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า"

เมื่อพูดถึงการเห็น ... เมื่อเกิดมาแล้ว ก็มีการเห็น แต่ไม่รู้ว่า "เห็น คือ อะไร" จนกว่าจะมีการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามความเป็นจริงจะมีเพียง "สิ่งที่ปรากฏทางตา" โดยปราศจาก"จิตเห็น" ได้ไหม เพราะฉะนั้น ในขณะนี้นะคะลืมไม่ได้ ว่า ไม่ได้มีแต่เพียง "สิ่งที่ปรากฏให้เห็น" แต่มี "จิตเห็น" ด้วยถ้าไม่มี "จิตเห็น" ซึ่งเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา "การเห็น" ก็เกิดขึ้นไม่ได้ และ "การเห็น" ก็เป็น "ธรรมะ" เพราะว่า การเห็นเกิดขึ้น ปรากฏให้รู้ว่าเห็น แล้วการเห็นก็ดับไป การเห็นแต่ละครั้งดับไปแล้ว จะไม่กลับมาอีกเลยนี่คือ ความหมายของ คำว่า "ขันธ์" การเห็น เป็น วิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นขันธ์หนึ่ง ใน "ขันธ์ ๕"


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 5 ก.พ. 2553

ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา จนกระทั่งถึงบัดนี้ มีสภาพธรรมที่เกิด-ดับ นับไม่ถ้วนซึ่ง สภาพธรรมที่เกิด-ดับนับไม่ถ้วน ในชีวิตประจำวัน นั่นเองคือ การปรากฏของ "ขันธ์" แต่ละอย่างๆ ที่กำลังเกิด-ดับ

การศึกษา และ เข้าใจ "พระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า" คือ ขณะนี้ ... ขณะที่กำลังได้ฟังพระธรรม และ มีความเข้าใจที่เกิดจากการฟัง ซึ่งฟัง จนกว่าจะเป็น "ความเข้าใจของตนเอง" และ ความเข้าใจนี้เอง ... ที่ทำให้รู้ถึง "ความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระประสงค์ที่ทรงบำเพ็ญบารมี ก็เพื่อ "การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม" และ เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลกให้มี "ความเห็นถูก" แม้ "ปัญญา" หรือ ความเข้าใจ จะมีเพียงเล็กน้อย จากการ "เริ่มสะสม" ทีละเล็ก ทีละน้อยแต่ก็เป็น การสะสม ความเห็นถูก ใน "สัจจธรรม" ซึ่ง จริง มั่นคง และ ตรง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 5 ก.พ. 2553

ถ้าเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ จะทราบว่า แต่ละขณะที่สภาพธรรมใด สภาพธรรมหนึ่ง กำลังปรากฏเช่น ขณะที่ได้ยินเสียง ... เสียงมีความหลากหลายมากเสียงที่ปรากฏแล้ว-ดับแล้ว ก็มีเสียงใหม่เกิด-ปรากฏ ซึ่งไม่ใช่เสียงเดิมเสียงเกิดตามเหตุ ตามปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเสียงดนตรี หรือเสียงอะไรๆ ก็สุดแล้วแต่จะเรียกชื่อที่บัญญัติเสียงเหล่านั้นเสียงแต่ละเสียง มีความต่างกัน-ตามปัจจัย-ที่ทำให้แต่ละเสียงเกิดขึ้น และเมื่อเสียงนั้น เกิดขึ้น-ปรากฏให้ได้ยิน แล้วก็ดับไป ไม่กลับมาอีกเลยนี่คือการกล่าวถึง "รูปขันธ์" ซึ่งเป็นขันธ์หนึ่ง ใน "ขันธ์ ๕"

"ขันธ์ ๕" ได้แก่ รูปขันธ์ ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ เพราะฉะนั้น แต่ละขันธ์ ไม่ใช่ขันธ์เดียวกัน สำหรับการศึกษาพระธรรมก็คือ การเข้าใจ "ธรรมะ" ที่มีจริง และ เข้าใจ "ความจริง-ของสิ่งที่มี" และ ควรเข้าใจ "คำ" แต่ละคำ ที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงบัญญัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจในพระธรรมที่ทรงแสดง ให้ ละเอียด ยิ่งขึ้น

การเข้าใจ "ธรรมะ" จึงไม่ได้หมายความว่า รู้เพียงแต่ "คำ-ที่ทรงบัญญัติ" แต่ มี "ธรรมะ" ที่มีจริงให้เข้าใจ โดยการใช้ "คำบัญญัติ" มีคำบัญญัติ เพื่อให้เข้าใจว่า เป็น "ธรรมะ" ซึ่ง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน หรือ สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะ "ธรรมะ" คือ สภาพที่มี "ลักษณะเฉพาะ" แต่ละอย่างๆ มีปัจจัยให้เกิดขึ้น ปรากฏให้รู้ได้ทางใด ทางหนึ่งใน ๖ ทาง ปรากฏแต่ละทาง แต่ละขณะ แล้วก็ดับไปทันทีเมื่อดับไปแล้ว ก็หมดไปเลย ไม่กลับมาอีกเลย นี่คือ ความหมายของคำว่า "ขันธ์"

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วิริยะ
วันที่ 5 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 5 ก.พ. 2553
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
คุณ
วันที่ 5 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
homenumber5
วันที่ 6 ก.พ. 2553

เรียนถาม ท่านพุทธรักษา

ที่ว่า การเห็นทั้งที่ตาและจิตเห็น สำหรับ ปุถุชน คนเราที่ยังไม่ได้อบรมธรรมมา นี้ นี้ใช่ จิตที่เห็นนี้คือ อุเปกขาสหคตัง จักขุวิญญาณัง อสังขาริกัง กามาวจร อเหตุก อกุสลวิปากจิตตัง ใช่หรือไม่คะ และขันธ์ที่ว่านี้ ใช่ธรรมารมณ์ ที่ปรากฏขึ้นเมื่อตาเห็นรูป ใช่หรือไม่คะ

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พุทธรักษา
วันที่ 7 ก.พ. 2553

เรียน ความเห็นที่ 6

๑. จิตที่เห็นนี้ คือ อุเปกขาสหคตัง จักขุวิญญาณัง อสังขาริกัง กามาวจร อเหตุก อกุสลวิปากจิตตัง ใช่หรือไม่คะ

"จิตเห็น" หมายถึง จักขุวิญญาณ ถ้าเห็นสิ่งที่ดี น่าพอใจ ขณะนั้น เป็น จักขุวิญญาณกุศลวิบาก ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่น่าพอใจ ขณะนั้น เป็น จักขุวิญญาณอกุศลวิบาก.

๒. และขันธ์ที่ว่านี้ ใช่ธรรมารมณ์ ที่ปรากฏขึ้นเมื่อตาเห็นรูป ใช่หรือไม่คะ

ขันธ์ ที่เป็นธรรมารมณ์ ก็มี ขอเชิญอ่านความหมายของ "ธรรมารมณ์" ดังนี้ ...

ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่รู้ได้เฉพาะทางมโนทวารเท่านั้น (รู้ทางทวารอื่นไม่ได้) ธรรมารมณ์ ได้แก่ จิต เจตสิกทั้งหมด ปสาทรูป ๕ รูปที่ละเอียด (สุขุมรูป ๑๖) พระนิพพาน และ บัญญัติ แต่ขณะที่ตาเห็นรูป ขณะนั้น จิตเห็น ไม่ได้มี ธรรมมารมณ์ เป็นอารมณ์ เพราะว่า ขณะนั้น จิตเห็น มี รูปารมณ์ (สีสัน-วัณณะ) เป็นอารมณ์

รูปารมณ์ ไม่ใช่ ธรรมมารมณ์ เพราะ ธรรมมารมณ์ คือ สภาพธรรมที่รู้ได้ทางใจเท่านั้น และ ขันธ์ เป็นธรรมารมณ์ ที่ไม่ใช่ "บัญญัติ" เพราะ ขันธ์ เป็นธรรมะ คือสิ่งที่มีจริงๆ บัญญัติ ไม่มีสภาวะ จึง ไม่ใช่ธรรมะ บัญญัติ เป็นเพียงสมมติ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ตะวัน
วันที่ 8 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

ผมจะศึกษาอย่างละเอียดครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
homenumber5
วันที่ 8 ก.พ. 2553

เรียน ท่านพุทธรักษา

ขออนุโมทนา ในคำตอบ ที่ละเอียด เข้าใจง่าย

ขอเรียนถามเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ

ในบุคคลที่อบรมธัมมะมาบ้าง เวลา บุคคลนี้ มองเห็นรูป เช่น ใบไม้ ๑ ใบ แล้ว เขา คิดและเข้าใจตามบัญญัติธรรมที่เรียนมา ว่า ใบไม้นี้ เป็น อวินิพโพครูป ๘ เช่นนี้ แล้ว จิตของเขานี้ที่ทำงานร่วมกับตาที่เห็น เป็นจิตของ อุเปกขา สหคตัง จักขุวิญยาณัง อสังขาริกัง กามาวจรอเหตุก กุสลวิปากจิตตัง ใช่หรือ ไม่คะ

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
พุทธรักษา
วันที่ 8 ก.พ. 2553

ขอความกรุณาคุณ homenumber5

อธิบายคำว่า เป็นจิตของ อุเปกขา สหคตัง จักขุวิญยาณัง อสังขาริกัง กามาวจรอเหตุก กุสลวิปากจิตตัง เพราะยังไม่เข้าใจคำถาม

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
พุทธรักษา
วันที่ 10 ก.พ. 2553

ไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่ค้นมา จะช่วยไขข้อข้องใจของคุณ homenumber5 ได้หรือเปล่านะคะ แต่เข้าใจว่า คุณสงสัยประเด็นของการมีบัญญัติเป็นอารมณ์ลองอ่าน และ พิจารณา จากกระทู้นี้นะคะ >>

จิตรู้บัญญัติได้ขณะไหน

จิตเห็น-รู้บัญญัติไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ