ทานก็คือ ธรรมะ
ทาน ก็คือการให้ ทานก็คือธรรมะ ซึ่งก็ไม่พ้นไปจาก จิต เจตสิก ที่เป็นไปในกุศล ทานขณะนั้นเป็นกุศลธรรม ธรรมะเป็นเรื่องละเอียด ลึกซึ้ง รู้ตามได้ยาก กุศลธรรมก็คือ จิต เจตสิก ที่เป็นไปในกุศล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เราไปทำแต่เป็นจิตที่ดีงามที่เป็นไปในการให้ ในชีวิตประจำวันผู้ที่มีความเข้าใจธรรม ขณะให้ทานก็จะมีสติระลึกรู้สภาพธรรมขณะนั้นได้ เพราะฉะนั้น การศึกษาพระธรรมจึงควรพิจารณาให้เข้าใจถึงตัวธรรมะที่มีอยู่จริงที่กำลังปรากฏ ถ้าไม่มีธรรมะแล้ว จะให้ศึกษาอะไร...
ขออนุโมทนาค่ะ...
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส
อนุโมทนาสาธุ
ความเข้าใจเป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณาอยู่เรื่อยๆ
ในเรื่อง...ทาน ๘ ประการ [ปฐมทานสูตร] ...
การให้ทานควรเป็นไป เพื่อการประดับและปรุงแต่งจิต.. เพื่อประดับและตกแต่งจิต...ในสมถะและวิปัสสนา
เชิญคลิกอ่าน...
ให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่งจิต [ปฐมทานสูตร]
มีธรรมะอื่นๆ เพื่อประดับและตกแต่งจิต...ในสมถะและวิปัสสนา..อีกหรือไม่นอกจากทานมักจะได้ยินเสมอว่า..เป็นกุศลขั้นทานขั้นศีล...เหมือนว่ากุศลขั้นทานนั้นไม่สามารถเป็นภาวนาได้...จากพระไตรปิฎกกุศลขั้นทาน..สามารถปรุงแต่งจิตให้เป็นภาวนาได้ถ้าไม่มีทานเลยเหมือนจะเป็นภาวนาไม่ได้ด้วยซ้ำ (การไม่ให้ทานเป็นเครื่องประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว) ...กรุณาให้ความกระจ่างด้วยนะคะ
เรียน ความเห็นที่ 10
จากข้อความที่ว่าให้ทานอันเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ซึ่งอรรถกถาอธิบายไว้ว่าอันเกิดร่วม กับสมถะและวิปัสสนา ซึ่งในสูตรนี้อธิบายถึงทาน 8 ประการ ทานในลักษณะต่างๆ ซึ่งทานที่เป็นเพื่อประดับปรุงแต่งจิต หมายถึง ขณะที่ให้ทาน กุศลขั้นทานนั้นเองเป็นอารมณ์ให้เกิดสมถภาวนาหรือเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา เช่น กุศลขั้นทานเกิด สติปัฏฐานก็เกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เป็นต้น
กุศลขั้นทานก็ต้องเป็นขั้นทาน ไม่ใช่ขั้นสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ส่วนกุศลขั้นอื่น เช่น ศีล ก็เป็นอารมณ์ของสมถภาวนา (ศีลานุสสติ) หรือวิปัสสนาภาวนาก็ได้ โดยนัยเดียวกับทานที่ปรุงแต่งจิต แต่ในสูตรนี้แสดงในเรื่องของทานเป็นสำคัญครับ
เชิญคลิกอ่านที่นีครับ...