การฟัง=?
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนทนาธรรม ณ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา วันอาทิตย์ที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๓ ถอดเทปบันทึกเสียง โดยคุณย่าสงวน สุจริตกุล
"การฟัง"
เพื่อ ความเข้าใจ "สภาพธรรมตามความเป็นจริง" ว่า "เป็นธรรมะ แต่ละลักษณะ ซึ่งกำลังเกิด-ปรากฏ-ตามปกติ-ขณะนี้" และ ไม่สามารถที่จะรู้ถึงความลึกซึ้งของ "ธรรมะ" ใดๆ ได้เลยถ้า "ขณะนี้" ไม่เข้าใจ ว่า "ความเข้าใจธรรมะ" มี ๓ ขั้น
ขั้นปริยัติ คือ ความรอบรู้-ในสิ่งที่ได้ฟัง ไม่ได้หมายความว่ารู้-เรื่องราว-อรรถะ-พยัญชนะ-โวหาระ-ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั้งหมดแต่ หมายความว่าแม้แต่คำว่า "ธรรมะ" เพียงคำเดียว ที่ส่องถึง "ลักษณะที่มีจริง-ของธรรมะ"
แม้จะเข้าใจจากการฟัง ว่า เป็น "ธรรมะ" ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของมีลักษณะเกิด-ดับอยู่ทุกขณะ ก็ยังยากที่จะรู้ได้ เพราะฉะนั้น"การฟัง" ก็เพื่อ "ละความไม่รู้"
ไม่ใช่ฟังแล้ว อยากเข้าใจทั้งหมดเลยทุกอย่างที่ได้ฟังซึ่งเป็นไปไม่ได้ แม้แต่คำว่า "ธรรมะ" ก็ได้ฟังแล้วตั้งหลายครั้งว่า "ธรรมะ - ไม่ใช่เรา" ขณะที่ฟัง และ มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ เช่น ขณะนี้มีการเห็น เพราะฉะนั้น "การฟัง" ที่เป็นประโยชน์ ก็คือ ในขณะที่ฟัง-ฟัง"เรื่องสิ่งที่มีจริงในขณะนั้น" แล้วเริ่มเข้าใจ "ความจริง"
"ความจริง" ที่เข้าใจได้ คือ "ลักษณะจริงๆ ของสิ่งที่มีจริงๆ " ในขณะที่กำลังฟังนั่นเอง
ซึ่งยากมากที่จะประจักษ์ "ความจริง" นั้นได้ เพราะว่า สะสมความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง มานานมาก
ขออนุโมทนา
กราบเรียนท่านพุทธรักษา
ท้ายความเห็นท่านเขียนว่า สะสมความไม่รู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงมานานมากนั้น ท่านหมายถึง ว่า ปุถุชนอย่าง เรานี้ เกิดมาจาก โมหะเหตุ คือโลภะโมหะเหตุ ๘ โทสะโมหะเหตุ ๒ และโมหะโมหะเหตุ ๒ เช่นนั้นหรือไม่คะ หรือ ว่า มีเหตุอื่นที่ทำให้เราสะสมความไม่รู้มานานมากๆ
ขอน้อมนำให้ท่านช่วยตอบเพื่อเพิ่มธรรมสัญญาด้วย
ขออนุโมทนาบุญค่ะ
เรียนท่านพุทธรักษา
หัวข้อนี้ ชี้เรื่องการฟัง เพื่อละความไม่รู้
ขอกราบเรียนถามว่า การอ่านเช่นพระไตรปิฎกนั้น หรืออ่านพระอรรถกถา จะมีข้อแตกต่างจากการฟังการบรรยายธรรมอย่างไรคะ ฟังดีกว่า อ่านหรือไม่คะ
ขออนุโมทนาค่ะ
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 15540 ความคิดเห็นที่ 5 โดย homenumber5
กราบเรียนท่านพุทธรักษา
ท้ายความเห็นท่านเขียนว่า สะสมความไม่รู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงมานานมากนั้น ท่านหมายถึง ว่า ปุถุชนอย่าง เรานี้ เกิดมาจาก โมหะเหตุ คือโลภะโมหะเหตุ ๘ โทสะโมหะเหตุ ๒ และโมหะโมหะเหตุ ๒ เช่นนั้นหรือไม่คะ หรือ ว่า มีเหตุอื่นที่ทำให้เราสะสมความไม่รู้มานานมากๆ
ขอน้อมนำให้ท่านช่วยตอบเพื่อเพิ่มธรรมสัญญาด้วย
ขออนุโมทนาบุญค่ะ
ท่านถามว่า หรือ ว่า มีเหตุอื่นที่ทำให้เราสะสมความไม่รู้มานานมากๆ ขอน้อมนำให้ท่านช่วยตอบเพื่อเพิ่มธรรมสัญญาด้วย ขอเชิญท่านอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก"คำสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น"
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 15540 ความคิดเห็นที่ 6 โดย homenumber5
เรียน ท่านพุทธรักษา
หัวข้อนี้ ชี้เรื่องการฟัง เพื่อละความไม่รู้
ขอกราบเรียนถามว่า การอ่านเช่นพระไตรปิฎกนั้น หรืออ่านพระอรรถกถา จะมีข้อแตกต่างจากการฟังการบรรยายธรรมอย่างไรคะ ฟังดีกว่า อ่านหรือไม่คะ
ขออนุโมทนาค่ะ
อวิชชา แปลว่า ความไม่รู้ คือ ไม่รู้-อริยสัจจธรรมวิชชา แปลว่า ความรู้ คือ รู้อริยสัจจธรรม. อริยสัจจธรรม คือ สภาพธรรมตามความเป็นจริงที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงตรัสรู้ถ้าพระองค์ไม่ทรงพระมหากรุณาฯ เราจะไม่มีทางรู้เองได้เลยค่ะ
ดังนั้น ไม่ว่าจะ ฟังธรรมบรรยาย จากท่านผู้ใดก็ตามหรือว่า อ่านพระไตรปิฎก และ อรรถกถา โดยตรงควรพิจารณา ว่า สิ่งที่ได้จากการฟัง-การอ่าน-การสนทนา นั้นเป็นการแสดงธรรมที่ตรงตาม "ธรรมที่พระผู้มีพระภาคฯตรัสรู้" หรือไม่ พระธรรมที่ทรงตรัสรู้ คือ "สภาพธรรมตามความเป็นจริง" "การศึกษาพระธรรม" เป็นปัจจัยให้เกิด "วิชชา-ความรู้" เพิ่มขึ้นถามว่า รู้อะไรเพิ่มขึ้น
รู้ "ลักษณะ สภาพธรรม-ตามความเป็นจริง-ในขณะนี้" สภาพธรรมที่มีจริง เมื่อมีปัจจัยให้เกิด และปรากฏ ต้องดับไป ไม่เที่ยง แต่เพราะ อวิชชา เป็นปัจจัยจึง เห็นว่า สภาพธรรมที่ปรากฏนั้น เที่ยง และ ยึดถือ ว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน และที่สำคัญ คือ มีความเห็นผิด ว่า "เป็นเรา-เป็นของเรา"
ทั้งๆ ที่ "ความจริง" เป็นการเกิด-ดับ-สืบต่อ-ไม่ขาดสาย-ของสภาพธรรม ตั้งแต่เกิด จนตาย แล้วก็เกิดอีก ตายอีกๆ และจะเป็น "ความรู้จริงๆ " ก็ต่อเมื่อ มีปัจจัยที่ทำให้ "สติปัฏฐาน" เกิดขึ้นหมายความว่า สติ-ระลึก และ ปัญญา-รู้-ตรงลักษณะของสภาพธรรม-ตามปกติ-ตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน ตามการสะสม ของแต่ละบุคคล
.
พระผู้มีพระภาคฯ ทรงสดงว่า "สติปัฏฐาน" นั้น "รู้ได้เฉพาะตน"จึงขาดการ "ศึกษาพระธรรม" ไม่ได้เลย.!
"การศึกษาพระธรรม" ก็คือ การอ่าน-การฟัง-การสนทนาธรรม-พิจารณาธรรม-ให้เกิดความเข้า (ปัญญา)
จุดประสงค์ที่แท้จริง ก็คือ เพื่อค่อยๆ ละความไม่รู้ และ ความรู้ จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จาก "การศึกษาพระธรรม" นั่นเอง.หมายความว่าวิชชา-ความรู้-ที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นๆ นั่นเองที่เป็นปัจจัย-ให้ค่อยๆ ละ-อวิชชา-ความไม่รู้-ให้ค่อยๆ ลดลงทีละเล็ก ทีละน้อย.
ด้วยเหตุนี้ ... พระผู้มีพระภาคฯ จึงทรงแสดง ว่า การอบรม-เจริญปัญญา เป็น "จิรกาล-ภาวนา"
จิระ=แสนนาน + กาล=เวลา + ภาวนา=การอบรม-ศึกษา"จิรกาลภาวนา" จึงหมายความว่า "การศึกษาที่ต้องใช้เวลาที่นานมาก"ความหมายโดยละเอียด ขอเชิญอ่านที่นี่ค่ะ vจิรกาลภาวนา โดย บ้านธัมมะ
ขออนุโมทนา ... ที่สนใจ "ศึกษาพระธรรม" นะคะ.
เรียน ท่านพุทธรักษา
ขออนุโมทนาอย่างยิ่ง ที่ท่านเมตตาให้ ความรู้และชี้แนะ ทั้ง แนะนำเรื่องที่ควรสิกขาด้วย ขออานิสงแห่งธรรมทานนนี้ จงเป็นพลวัตรปัจจัยให้ ท่านและกัลยาณมิตรทุกท่าน ทั้งสัตว์ ทั้ง ๓๑ ภูมิ จงถึงมรรค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑ โดยเฉียบพลันในปัจจุบันชาตินี้เทอญ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ