วันมาฆบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓

 
khampan.a
วันที่  27 ก.พ. 2553
หมายเลข  15633
อ่าน  3,043

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วันมาฆบูชา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓)

วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันนี้ คือ เป็นวันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งมีการประชุมพร้อมกันด้วยองค์ ๔ ประการ ได้แก่

๑. เป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ประกอบด้วยมาฆนักษัตร

๒. ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันที่พระวิหารเวฬุวัน (อารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ถวาย) โดยเป็นการมาตามธรรมดาของตนๆ ไม่มีใครนัดหมาย

๓. ภิกษุทั้ง ๑,๒๕๐ รูป ไม่มีแม้สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสกะ ภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญาหกทั้งนั้น

๔. ภิกษุทั้ง ๑,๒๕๐ รูป มิได้ปลงผมด้วยมีดโกนบวชแม้แต่รูปเดียว ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ (คือได้รับการอุปสมบทจากพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยพระองค์ทรงเปล่งพระวาจาว่า เอหิ ภิกขุ = เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวไว้ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด) และในวันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระภิกษุทั้งหลายมีว่า การไม่ทำบาปทั้งสิ้น การยังกุศลให้ถึงพร้อม การยังจิตของตนให้ผ่องใส เป็นต้น

สำหรับโอวาทปาติโมกข์นั้น เป็นพระโอวาทคาถา ที่พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทรงแสดงเหมือนกัน ไม่มีความแตกต่างกัน

ในวันมาฆบูชานี้เอง ก่อนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายนั้น ท่านพระสารีบุตร ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า ทีฆนขสูตร (มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก (ผู้เป็นหลานของท่านพระสารีบุตร) ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์

ดังนั้น ในวันมาฆบูชานี้ จึงเป็นวันที่ท่านพระสารีบุตรได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ด้วย และอีกประการหนึ่ง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (ก่อนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในวันเพ็ญเดือน ๖) เป็นวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงอายุสังขารใกล้จะปรินิพพาน ตามข้อความที่ว่า “จากนี้ล่วงไปสามเดือน ตถาคตจักปรินิพพาน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ ” และ ตามข้อความที่ว่า “โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์เดือนมาฆะ (เดือน ๓) พระองค์ทรงประชุมพระสาวก และ ทรงปลงอายุสังขาร ”

ดังนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่พุทธศาสนิกชนจะได้น้อมระลึกถึงพระมหากรุณาคุณของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อสัตว์โลกทั้งปวง พร้อมทั้งน้อมประพฤติปฏิบัติตามในคำสอนที่พระองค์ทรงแสดง เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ด้วยการเป็นผู้ไม่กระทำบาป กล่าวคือ อกุศลทุกประเภท ถึงแม้จะเล็กๆ น้อยๆ ที่ควรเว้นได้ ก็ควรที่จะเว้น ไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการ เพราะในขณะที่จิตเป็นกุศลนั้น ก็ได้ชื่อว่ายังจิตของตนให้ผ่องใสแล้วชั่วขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้น พร้อมทั้งจะต้องเป็นผู้มีความอดทนต่อทุกสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งจะต้องไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่นให้เดือดร้อนทั้งด้วยกายและวาจา เป็นต้น และประการสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยนั้น ก็คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา สะสมปัญญาไปตามลำดับ จนกว่าจะมีปัญญาคม เจริญขึ้น กล้าขึ้น ถึงขั้นที่จะดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้ในที่สุด ครับ.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ

วันมาฆบูชามีความหมายและความสำคัญอย่างไร

วันมาฆบูชา [ทีฆนขสูตร]

เกร็ดความรู้ในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 2 วันมาฆบูชา !

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
aditap
วันที่ 27 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 27 ก.พ. 2553

ทรงเปรียบสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น แต่ที่ทรงแสดงกับสาวกมีน้อยเท่ากับใบไม้บนฝ่ามือ เพราะที่ไม่ได้แสดงนั้นไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ทรงแสดงอริยสัจจ์ ๔ เป็นหนทางนำไปสู่การดับทุกข์ทั้งหลายค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 27 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 27 ก.พ. 2553

พระปัญญาเปรียบเหมือน ใบไม้มากมายในป่าใหญ่ พระธรรมที่ทรงแสดงเพื่อให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้ เปรียบแค่ใบไม้สองสามใบในกำมือ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
aiatien
วันที่ 27 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 27 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 27 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
คุณ
วันที่ 27 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
orawan.c
วันที่ 28 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 28 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 28 ก.พ. 2553

"ความประกอบโดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต ๑" ขอกัลยาณมิตรช่วยขยายความให้ด้วยครับ

ขอบคุณครับ

'u'

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
paderm
วันที่ 1 มี.ค. 2553

เรียน ความเห็นที่ 11

โอวาทปาฏิโมกข์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเพื่อให้เจริญ เพื่อให้ศึกษาในสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะฉะนั้นความประกอบโดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต หมายถึง พึงเป็นผู้ศึกษา เพียรที่จะเจริญ อธิจิตคือ ความสงบของจิตสูงสุดคือสมาบัติ ๘ นั่นเองครับ เพราะฉะนั้น ในโอวาทปาฏิโมกข์จึงตรัสครบทั้งการเจริญ สิกขา ๓ ศีล สมาธิ ปัญญา

โดยสมาธิ คือ อธิจิตที่เป็นไปในการเจริญความสงบของจิต ซึ่งสูงสุดจนถึงสมาบัติ ๘ เป็นต้นครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 334

บทว่า อธิจิตฺเต ความว่า ในจิตอันยิ่ง กล่าวคือ จิตที่สหรคตด้วยสมาบัติ ๘. การกระทำความเพียร ชื่อว่า อาโยโค.

บทว่า เอต ความว่า นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์


ตรัสสมาบัติ ๘ ด้วยอธิจิต. ด้วยประการนี้ สิกขาแม้ทั้ง ๓ ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัสแล้วด้วยพระคาถานี้ทีเดียว ฉะนี้แล.

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 362

คำว่า พึงศึกษาความว่า สิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา ภิกษุนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้อยู่ ก็พึงศึกษา ฯลฯ พึงศึกษา คือพึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทานประพฤติไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาในกาลทุกเมื่อ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 1 มี.ค. 2553

ขอบคุณครับ..

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
แก่นไม้หอม
วันที่ 2 มี.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอบคุณและขออนุโมทนาทุกๆ ท่านที่เขียนข้อความค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
pamali
วันที่ 16 ก.พ. 2554

ขอกราบนอบน้อมพระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ..

กราบท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

และขอกราบอนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ อย่างของท่านอาจารย์ฯ และทุกๆ ท่านค่ะ ...

ขอบพระคุณ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
jaturong
วันที่ 20 ก.พ. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
aurasa
วันที่ 24 ก.พ. 2555
ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
Chalee
วันที่ 26 ก.พ. 2555

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
Chalee
วันที่ 28 ก.พ. 2555

มีบทสวดโอวาทปาติโมกข์แปลไหมคะอยากจะฟังค่ะ และการเวียนเทียนนี้ทำไมถึงเวียนคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
paderm
วันที่ 28 ก.พ. 2555

เรียน ความเห็นที่ 19 ครับ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

[๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงสวดพระปาติโมกข์ในที่ประชุมพระภิกษุสงฆ์ดังนี้

ขันติคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง ผู้ทำร้ายผู้อื่น ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็น สมณะเลย. การไม่ทำบาปทั้งสิ้น การยังกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

การไม่กล่าวร้าย ๑

การไม่ทำร้าย ๑

ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑

ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑

ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑

การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑

หกอย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


ส่วนเรื่องการเวียนเทียน เชิญคลิกที่นี่ครับ

ถามเรื่องการเวียนเทียน

การเวียนเทียนในเทศกาลวันสำคัญทางศาสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
เซจาน้อย
วันที่ 6 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
nopwong
วันที่ 9 ก.พ. 2557

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
chatchai.k
วันที่ 25 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ