การฟังและการเจริญสติปัฏฐาน [๒]

 
พุทธรักษา
วันที่  22 มี.ค. 2553
หมายเลข  15775
อ่าน  1,397

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรมเรื่อง "พื้นฐานพระอภิธรรม" ณ อาคารมูลนิธิ วันอาทิตย์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ถอดเทปบันทึกเสียงโดย คุณสงวน สุจริตกุล

ท่านอาจารย์ ตราบใดที่กำลังมีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วก็มีการฟังเรื่องนี้แล้วก็รู้ได้ว่า กำลังฟัง และ มีสิ่งที่กำลังปรากฏและ "เริ่มเข้าใจ" แต่ ยังไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังเห็น เพราะฉะนั้น ถ้าใช้ชื่อ ก็มีชื่อ ตั้งแต่ปัญญา (ความเข้าใจ) ที่เกิดจากการฟังซึ่งเรียกว่า "สุตมยญาณ" หมายความว่า สำเร็จเพราะได้ฟัง ปัญญา (ขั้น) นี้ จึงมีได้คือ มีความเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ว่า เป็นธรรมะและ เป็นเพียงปัญญาขั้นรู้เรื่องของสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ขณะจิตที่เป็นปัญญาขั้นรู้เรื่องของสิ่งที่มีจริงๆ ไม่ใช่ อกุศล
ไม่ใช่ความไม่ดี ไม่ใช่ความไม่เข้าใจ ไม่ใช่ความอยากได้ ไม่ใช่ความโกรธ ไม่ใช่ความสำคัญตน ฯลฯเพราะ ขณะจิตนั้น กำลังมีความเข้าใจถูกในสิ่งที่ปรากฏ

เพราะฉะนั้น จึงใช้คำว่า "กุศล" หรือ "กุศะละ" ซึ่งเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง.
สภาพธรรมที่เป็นกุศล เกิดบ่อยไหม ถ้าไม่มี "ปัจจัย" คือ "เจตสิก" ถึง ๑๙ ประเภทซึ่งต้องมี "สติเจตสิก"เกิดร่วมด้วย

เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรมทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ฟังเพื่อหวังสิ่งหนึ่งสิ่งใดแต่ ฟังเพื่อเข้าใจในสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟัง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นๆ จนกระทั่งค่อยๆ รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ ตามระดับขั้นคือ ตั้งแต่ "อุปนิสสยโคจร" - "อารักขโคจร" - "อุปนิพันธโคจร"

สังเกตได้ ว่า มีสิ่งที่ปรากฏทางตา มีเสียงที่ปรากฏทางหู มีสภาพแข็งปรากฏทางกาย รู้ ตรง "ลักษณะที่กำลังปรากฏ" นั้นๆ ทีละอย่างๆ ไม่ต้องใช้คำว่าสติ แต่เป็นความเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงๆ

ซึ่งปรากฏพร้อมกันไม่ได้เลย.เช่น ขณะที่สภาพแข็งกำลังปรากฏสภาพแข็ง ไม่ใช่สีสันวัณณะที่ปรากฏให้เห็นทางตาฉะนั้น สภาพแข็ง เป็น "ธาตุ" หรือ "ธรรมะ" ชนิดหนึ่งซึ่ง "แสดงความจริง" ว่า ธาตุชนิดนี้ มีจริงแน่นอน มีเมื่อไร เมื่อมี "ธาตุ" อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถรู้-ตรง-เฉพาะ-ลักษณะของสภาพแข็ง เพราะเหตุนี้สภาพแข็งจึงปรากฏ คือ (จิต) สามารถรู้ลักษณะของสภาพแข็งได้

ความเข้าใจอย่างนี้ จะต้องคิดถึง "สติ" - "สติปัฏฐาน" ไหม ไม่ต้องเลย แต่บุคคลนั้นเอง ควรรู้ ว่า มีความเข้าใจอย่างนั้นจริงๆ และความเข้าใจในขณะนั้น เป็น อกุศล ไม่ได้เลยต้องเป็น กุศล เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรมที่ละเอียดขึ้นๆ ก็เพื่อให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

ความหมายของ "โคจร ๓"

โคจร ๓

โคจร ๓ คือ

๑. อุปนิสสยโคจร

๒. อารักขโคจร

๓. อุปนิพันธโคจร

วันอาทิตย์ที่ผ่านมา ท่านอาจารย์อธิบายให้เห็นถึงความเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เมื่อก่อนไม่ได้ฟังพระธรรม มีความไม่รู้ในความจริงของสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ ขณะนี้ได้มีโอกาสฟังพระธรรม สิ่งสำคัญก็คือฟังให้เข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง การฟังพระธรรมบ่อยๆ จนเป็นนิสัย เป็นเหตุให้มีความเข้าใจในพระธรรมเป็นอารมณ์

เป็น อุปนิสสยโคจร (อุป = มีกำลัง, นิสสย = เป็นที่อาศัย, โคจร = อารมณ์) เมื่อมีความเข้าใจในธรรมที่ได้ฟัง ค่อยๆ มีความเข้าใจธรรมเพื่มขึ้นซึ่งจะเป็นปัจจัยให้กุศลธรรมเกิดขึ้น ขณะนั้น อกุศลจิต ย่อมไม่เกิดจึงเป็น อารักขโคจร (อารักข =รักษา โคจร = อารมณ์) จนกว่ามีความเข้าใจที่มั่นคงขึ้น สติ และปัญญามีกำลัง ค่อยๆ ใกล้ที่จะรู้ความจริง ต้องใช้เวลาในการอบรมยาวนานมาก เป็นจิรกาลภาวนา ไม่ใช่รู้ความจริงได้โดยรวดเร็ว เพราะเราสะสมความไม่รู้มานานในสังสารวัฏฏ์ที่ผ่านมา พระธรรมนั้นลึกซึ้ง ละเอียด รู้ตามได้ยาก เมื่อสติปัญญามีกำลังรู้ตรงลักษณะสภาพธรรม เป็น อุปนิพันธโคจร ซึ่งหมายถึงขณะนั้น สติปัฏฐานเกิด

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 23 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 23 มี.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
คุณ
วันที่ 23 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Sam
วันที่ 29 มี.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ