วิปัสสนาภาวนา - ตอนที่ ๕.

 
พุทธรักษา
วันที่  4 เม.ย. 2553
หมายเลข  15831
อ่าน  1,114

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ข้อความบางตอน จากหนังสือ ปรมัตถธรรมสังเขป
โดยอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

"สภาพธรรมที่ปรากฏ" ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จำแนกเป็น "สติปัฏฐาน ๔" คือ

"กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน" ขณะใด ที่สติเกิดขึ้น ระลึก รู้ ลักษณะของ "รูปธรรม" ที่กาย (ที่กำลังปรากฏ) ขณะนั้น เป็น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

"เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน" ขณะใด ที่สติเกิดขึ้น ระลึก รู้ ลักษณะของ "ความรู้สึก" ที่กำลังปรากฏขณะนั้น เป็น เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

"จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน" ขณะใด ที่สติเกิดขึ้น ระลึก รู้ ลักษณะของ "จิตประเภทต่างๆ " (ที่กำลังปรากฏ) ขณะนั้น เป็น จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

"ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน" ขณะใด ที่สติเกิดขึ้น ระลึก รู้ ลักษณะของ "รูปธรรมหรือนามธรรมอื่นๆ "ขณะนั้น เป็น ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

คำว่า "สติปัฏฐาน" มี ๓ ความหมายคือ

๑. สติปัฏฐาน เป็น "สติเจตสิก" ที่เกิดกับ "ญาณสัมปยุตตจิต" (ขณะที่กำลังเกิดขึ้น) ระลึก รู้ อารมณ์ที่เป็น "สติปัฏฐาน"

๒. สติปัฏฐาน เป็น "ปรมัตถอารมณ์" ซึ่งหมายถึง "นามธรรม และ รูปธรรม-ที่สติระลึก-รู้" (สติปัฏฐาน ๔)

๓. สติปัฏฐาน หมายถึง ความที่พระศาสดาประพฤติล่วง "ความยินดียินร้าย" ในหมู่สาวกผู้ปฏิบัติ ๓ อย่าง (คือ ปฏิบัติตาม ไม่ปฏิบัติตาม และ ปฏิบัติตามบ้าง ไม่ปฏิบัติตามบ้าง)

ขอเชิญคลิกอ่านที่.. สติปัฏฐาน มี ๓ ความหมาย

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 4 เม.ย. 2553

ขอเชิญคลิกอ่านที่...

ความหมายสติปัฏฐาน ๓

จาก..พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ