การฝึกจิต และกำหนดรู้จิต ต่างกันอย่างไรครับ

 
natthaset
วันที่  22 เม.ย. 2553
หมายเลข  15936
อ่าน  3,192

พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ แปลความว่า การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ ย่อมเป็นความดี เพราะว่าจิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้ (ธรรมจักร จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้ สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

การตามกำหนดรู้จิตที่กำลังปรากฎอยู่ กับการฝึกจิต เป็นอย่างเดียวกันหรือเปล่าครับ? เช่น การกำหนดบังคับจิตนับลมหายใจ กับกำหนดรู้ว่าจิตกำลังคิดอะไร ต่างกันอย่างไร? (ผิดถูกและผล)

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 22 เม.ย. 2553
ขอเรียนว่า เรื่องการใช้ภาษาหรืออักษรจะเหมือนหรือต่างกัน คงไม่สำคัญเท่ากับความเข้าใจ เพราะถ้าไม่ได้ศึกษาอย่างถูกต้อง หรือไม่เข้าใจความจริง จะใช้คำอย่างไร การกระทำนั้นก็จะถูกต้องไม่ได้ ผลคือการรู้ตามความเป็นจริง หรือการดับกิเลสก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ครับ ดังนั้นควรศึกษาพระธรรมโดยละเอียดและศึกษาโดยรอบคอบเสียก่อนจึงจะถูกต้องครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 22 เม.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การจะฝึกจิต (ไม่มีตัวตนที่ฝึก) จากที่เป็นกุศล ตกไปในฝักฝ่ายของกุศล บ่อยๆ เนืองๆ ให้ลดน้อยลง เริ่มเป็นกุศลที่เพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวัน ได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุดต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูกไปตามลำดับ เพราะเหตุว่าเมื่อปัญญาเจริญขึ้นไป ย่อมจะช่วยบรรเทากุศลจิตให้ลดน้อยลงได้ และที่สำคัญ ปัญญานี้เองจะสามารถดับกิเลสได้ตามลำดับมรรค สูงสุดคือ ปัญญาขั้นอรหัตตมรรค ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาดไม่เกิดอีกเลย ครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ

จิตที่ฝึกแล้ว เป็นเหตุนำสุขมาให้ [คาถาธรรมบท]

ยิ่งดูจิต ยิ่งค้นพบจิตที่เป็นอกุศล และไม่อยากจะยอมรับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 22 เม.ย. 2553

เริ่มด้วยความเข้าใจ ถ้าเหตุคือความเข้าใจ........ผลก็คือความเข้าใจ ไม่ควรทำอะไรด้วยความไม่รู้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คุณ
วันที่ 8 พ.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ