ถูกต้องหรือเปล่า
ผมเคยถามพระผู้ใหญ่บางรูปท่านบอกว่าไม่ว่าพระหรือเณรปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ กล่าวคำลาสิกขาก็ขาดเช่นเดียวกันหมดไม่ว่าจะลากับต้นไม้ พระพุทธรูปหรืออะไร แล้วมันจริงมันเท็จยังไงครับ
ข้อความในพระวินัยมีว่า ภิกษุลาสิกขากับเทวดาหรือสัตว์เดรัจฉาน ไม่ได้ คือการลาสิกขานั้นใช้ไม่ได้ หรือแม้จะลาสิกขากับชาวต่างชาติที่เขาฟังไม่รู้ความหมายก็ใช้ไม่ได้เหมือนกัน ไม่ต้องพูดถึงการลาสิกขากับต้นไม้ แต่ถ้าจะตะโกนลาสิกขา จะใช้ได้ต่อเมื่อมีคนได้ยินและเข้าใจภาษาและความหมาย
ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มที่ ...
แล้วถ้าบอกลาสิกขากับ "เด็ก" ล่ะค่ะ ถือว่าใช้ได้มั้ยค่ะ ถ้าเด็กนั้นเข้าใจภาษาและความหมาย
ขอบคุณค่ะ
ในสมัยพุทธกาล เด็กอายุ ๕ ขวบ ยังสามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้เลยค่ะ
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 16095 โดย สามเณรนะครับ
ผมเคยถามพระผุ้ใหญ่บางรูปท่านบอกว่าไม่ว่าพระหรือเณรปรารถนาความเป็นคฤหัสกล่าวคำลาสิกขาก็ขาดเช่นเดียวกันหมดไม่ว่าจะลากับต้นไม้พระพุทธรูปหรืออะไรแล้วมันจริงมันเท็จยังไงครับ
นมามิ สามเณรานํ อริยกานํ ชาติยา ตา ชาตา ปตฺถิตา อิจฺฉา ปฏิปตฺตึ วายมามิ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่เหล่าสามเณรผู้เป็นอริยะโดยชาติ อริยชาตินั้นอันเราปราถนาแล้ว หวังมานาน จึงเพียรปฏิบัติอยู่อย่างนี้
สวัสดีครับ ทุกท่าน ผมขอสนทนาด้วย นะครับ ได้พบกับสามเณรอีกครั้ง ขอโอกาสกล่าววินัยนะครับ ประเด็นของกระทู้ ขอแยกตอบเป็น 2 คือ
1. การลาสิกขาของพระภิกษุ
2. การลาสิกขาของภิกษุณี สามเณร และสามเณรี
จะตอบข้อของสามเณรที่หลังนะครับ
1. การลาสิกขาของพระภิกษุ ต้องมีองค์ 6 ครบ ซึ่งมีข้อความในบุพพสิกขา วรรณณนาอยู่ว่า * .- "พร้อมด้วยจิต และเขต และกาล และประโยค และบุคคล และพร้อมด้วยวิชานนะ"
( * บุพพสิกขาวรรณนา ท่านนำมาจากกังขาวิตรณีของพระพุทธโฆสาจารย์ ซึ่งย่อมาจากสมันตปาสาทิกาอีกทีหนึ่ง)
แปลว่า : พระภิกษุนั้น ...
1. ต้องอยากสึกจริงๆ ไม่ใช่ล้อเล่น หรือ ไม่ใช่แสดงตัวอย่าง
2. ต้องพูดเท่านั้น เขียนไม่ได้ ภาษาใบ้ ก็ใช้ไม่ได้
3. ใช้คำลากถูกต้องในเขตที่ท่านกำหนดไว้ 22 คำ ไม่ใช่บอก ตอนนี้ข้าพเจ้าเลิกคบต้นไม้ใบหญ้า อย่างนี้ไม่เรียกว่าสึก ต้องเป็น ตอนนี้ข้าพเจ้าเลิกคบพระพุทธ เป็นต้น
4. คำสึกต้องเป็นวัตตมานาวิภัติ (ปัจจุบันนกาล) ไม่ใช่คำคาดเดา ไม่ใช่กล่าวเลื่อนลอย (จึงควรลาด้วยภาษาบาลี)
5. ต้องบอกกับมนุษย์เท่านั้น และต้องเข้าใจเนื้อความด้วย จะไปบอกกับชาวมูเซอที่ไม่รู้ภาษาไทยว่าว่า ตอนนี้ฉันลาพระพุทธนะ เป็นต้น ก็ไม่ได้ กับต้นไม้ก็ไม่ได้เหมือนกัน
6. คนที่รับฟังเขาต้องเข้าใจความหมาย และ ต้องเข้าใจในขณะนั้นด้วย
2. การลาสิกขาของภิกษุณี สามเณร และสามเณรี ทั้ง 3 ไม่มีการบอกลาสิกขา (ปจฺจกฺขนํ) ครับ ถ้าทำผิดปาราชิกสิกขาบทของเพศตนก็เป็นอันขาดจากเพศ เพราะท่านไม่กล่าวว่า "สิกขัง อัปปัจจักขายะ-ไม่ลาสิกขาก่อน" ไว้ในภิกขุณีปาติโมกข์ (ดูปฐมอสาธารณปาราชิกสิกขาบทของภิกษุณี) หรือ แม้ไปยินดีและทำตัวนุ่งห่มแบบฆราวาสก็เป็นอันขาดจากความเป็นสมณะ ครับ ข้อหลังนี้ สมดังท่านกล่าวไว้ว่า .-
ถ้าสามเณรปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ จึงนุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์ ทำผ้า กาสายะโจงกระเบนก็ดี ด้วยอาการอย่างอื่นก็ดี เพื่อลองดูว่า เพศคฤหัสถ์ ของเราสวยหรือไม่สวย ยังรักษาอยู่ก่อน, แต่ถ้ายอมรับว่าสวยแล้วกลับยินดีเพศอีก ย่อมเป็นคนเถยยสังวาสก์
ด้วยความปรารถนาดี ครับ
ขออนุโมทนาท่าน BudCoP เช่นกันค่ะ ท่านมีความตั้งใจในการตอบดีมากค่ะ (จากหลายๆ กระทู้ที่ผ่านมา รวมทั้งกระทู้นี้)
คนเถยยสังวาสก์ เป็นอนุปสัมบัน ไม่ควรให้อุปสมบท เป็นอุปสัมบัน ควรให้ฉิบทายเสีย แม้ขอบวชอีก ก็ไม่ควรให้บวช จากข้อความดังกล่าว "เถยยสังวาสก์" ก็ไม่ต่างอะไรกับ "ปาราชิก" เลยซิค่ะ
ขอบคุณค่ะ
เรียนคุณไตรฯ คนเถยยสังวาสก์ ห้ามทั้งบรรพชาและอุปสมบท ส่วนผู้ที่ต้องอาบัติปาราชิก ไม่ห้ามบรรพชา แต่ห้ามอุปสมบทครับ
ขออนุโมทนา คุณ prachern.s และ คุณ ไตรสรณคมน์ ด้วยครับ คงเหนื่อยมากทีเดียว ทั้งสอน ทั้งดูแลเว็บ ทั้งภารกิจส่วนตัว
ขออนุญาตเรียนถามว่า บรรพชาต่างกับอุปสมบท อย่างไรครับ
เรียนความเห็นที่ ๑๓
ตามพระวินัยปิฎกแสดงว่า การบรรพ ใช้กับการบวชสามเณร การอุปสมบท ใช้กับการบวชพระภิกษุ