ผู้ชี้โทษ เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ [อรรถกถาคันธารชาดกที่ ๑]

 
Khaeota
วันที่  8 พ.ค. 2553
หมายเลข  16098
อ่าน  1,378

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ ๓๒๗

๒. คันธารวรรค

๑. คันธารชาดก

อรรถกถาคันธารชาดกที่ ๑

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ สภาวะความเป็นเอง คือ เหตุที่บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงพรรณนาสรรเสริญแล้ว

บทว่า อธมฺโม เม น รุจฺจติ ความว่า ธรรมดา อธรรมไม่ใช่สภาวะความเป็นเอง เราก็ไม่ชอบใจแต่ไหนแต่ไรมา.

บทว่า นปาปมุปลิมฺปติ ความว่าเมื่อเรากล่าวสภาวะนั่นเอง หรือเหตุนั่นแหละอยู่ ขึ้นชื่อว่าบาปจะไม่ติดอยู่ในใจ. ธรรมดาการให้โอวาทนี้เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้า พระปักเจกพุทธเจ้าและพระสาวกและโพธิสัตว์ทั้งหลาย ถึงคนพาลจะไม่รับเอาโอวาทที่ท่านเหล่านั้นให้แล้ว แต่ผู้ให้โอวาทก็ไม่มีบาปเลย

เมื่อจะแสดงอีกจึงกล่าวคาถาว่า :-

ผู้มีปัญญา คนใดมักชี้โทษมักพูดบำราบ คนควรมองให้เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ ควรคบ บัณฑิตเช่นนั้น เพราะว่า เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น จะมีแต่ความดีไม่มีความชั่ว คนควรตักเตือน ควรพร่ำสอน และควรห้ามเขาจากอสัตบุรุษ เพราะแลเป็นที่รักของเหล่าสัตบุรุษ ไม่เป็น ที่รักของเหล่าอสัตบุรุษ


จิตของใครจะเกิดอกุศลได้ก็เพราะกิเลสของเขาเองเป็นเหตุ ถ้าคุณแล้วเจอกันไม่มีเจตนาที่จะทำให้ใครคิดอกุศล เมื่อท่านกล่าวธรรมะที่ถูกต้อง มีเหตุผลด้วยกุศลเจตนาอยู่ ขึ้นชื่อว่า บาป ย่อมไม่เปรอะเปื้อน ไม่ติดจิตของท่านในขณะนั้นได้

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านที่คิดเมตตาความรู้สึกผู้อื่นอยู่บ่อยๆ ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pamali
วันที่ 22 ก.ย. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ