กำหนดนับบุคคลผู้เป็นขีณาสพ
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 161
ปฐมโกกาลิกสูตร
ว่าด้วยพรหมปรารภพระโกกาลิกสูตร
[๕๙๒] สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับพักกลางวัน หลีกเร้นอยู่แล้ว. ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไปใกล้ ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วได้ยืนพิงบานประตูองค์ละข้าง.
[๕๒๙๓] ลำดับนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมปรารภพระโกกาลิกภิกา ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ใครผู้มีปัญญาในโลกนี้ จะพึง กำหนดวัดซึ่งพระขีณาสพผู้มีคุณอันใครๆ ประมาณไม่ได้ เราเห็นว่าผู้นั้นไม่มีธุตธรรม เป็นปุถุชน วัดอยู่ซึ่งพระขีณาสพผู้ มีคุณ อันใครๆ ประมาณมิได้
อรรถกถาปฐมโกกาลิกสูตร
ในปฐมโกกาลิกสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปฺปเมยฺย ปมินนฺโต ความว่า กำหนดนับบุคคลผู้เป็น ขีณาสพ ผู้มีคุณอันใครๆ ประมาณไม่ได้ อย่างนี้ว่า ศีลมีประมาณเท่านี้ สมาธิมีประมาณเท่านี้ ปัญญามีประมาณเท่านี้ ด้วยคำว่า โกธ วิทฺวา วิกปฺปเย ความว่า ใครผู้มีปัญญา ผู้มีเมธาในโลกนี้พึงกำหนด ท่านแสดงว่า พระ- ชีณาสพเท่านั้น พึงกำหนดนับพระขีณาสพ
บทว่า นิธุตนฺต มญฺเ ความว่า ก็ผู้ใดเป็นปุถุชน ปรารภจะวัดพระขีณาสพนั้น เรากล่าวผู้นั้นว่า ไม่มีธุตธรรม คือมีปัญญาต่ำทราม
จบอรรถกถาปฐมโกกาลิกสูตรที่ ๗