การรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

 
JANYAPINPARD
วันที่  26 พ.ค. 2553
หมายเลข  16336
อ่าน  4,693

ก่อนศึกษาธรรมะ ไม่เข้าใจแม้แต่คำว่าสภาพธรรมคืออะไรและสภาพธรรมอะไรที่ปรากฏ และ รู้สภาพธรรมที่ปรากฏเป็นอย่างไร

หลังศึกษาธรรมะ แม้จะพอเข้าใจบ้างก็ยังสงสัยว่าสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ สำคัญแค่ไหนอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 28 พ.ค. 2553

ก่อนการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เรามีชีวิตอยู่โดยไม่รู้ว่าสภาพธรรม คืออะไร ... สิ่งที่มีจริงทั้งหมดเป็นสภาพธรรม สิ่งที่มีจริงทั้งหมดเมื่อแบ่งออกแล้วก็เป็นเพียงนามธรรม และรูปธรรมเท่านั้น หนีไม่พ้นปรมัตถธรรม ๔ ซึ่งก็คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ และนิพพาน สิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏก็ไม่พ้นไปจากทุกๆ ขณะที่มีจริงที่กำลังปรากฏในชีวิตประจำวัน เช่นเห็น ได้ยิน ... และนึกคิด เห็นเป็นจิต เห็นเป็นนามธรรม สิ่งที่ถูกจิตเห็น เป็นเพียงรูปธรรม ทวารอื่นๆ ก็นัยเดียวกัน เป็นต้น ...

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
narong.p
วันที่ 28 พ.ค. 2553

สภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้สำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่มีจริงๆ ส่วนสภาพธรรม ที่ดับไปแล้วหรือสภาพธรรมที่ยังไม่เกิดปรากฏก็ยังไม่ใช่สิ่งที่มีจริง จึงต้องเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้เท่านั้น ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏเท่านั้น ไม่ใช่เรา สัตว์ สิ่งของ เพื่อละอัตตา ตัวตน จึงสำคัญอย่างนี้ครับ เพราะ แม้จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา แต่ก็ลืมเสมอๆ เป็นเราทุกที นี่ก็เป็นเครื่องยืนยันความละเอียดของอวิชชา ว่าสะสมมามากและหนาแน่นเพียงใด จึงต้องฟังธรรม บ่อยๆ เนืองๆ เพื่อให้มีความเข้าใจถูก และไม่ลืมว่าสิ่งที่ปรากฏ เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ เท่านั้นจริงๆ ไม่มีตัวตนเลยสักขณะเดียว เข้าใจเพิ่มขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย ปัญญาเท่านั้นที่จะละความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏได้ ขณะที่รู้ ขณะนั้นละแล้ว ทีละน้อยจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 31 พ.ค. 2553

ธรรมะกับสภาพธรรม ต่างกันอย่างไร

สงสัยเพราะบางครั้งใช้คำว่าพิจารณาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ บางครั้ง ใช้พิจารณาธรรมะที่กำลังปรากฏ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 1 มิ.ย. 2553

ธรรมะกับสภาพธรรมไม่แตกต่างกันเลย หมายถึงสิ่งที่มีอยู่จริงเป็นธรรมะเป็นสภาพธรรม หรือจะเรียกสภาวธรรมก็ได้

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ทรงแสดงสภาพธรรมเป็นไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

สภาพธรรมคืออะไร?

สภาพธรรม

...ขออนุโมทนาค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 1 มิ.ย. 2553

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 16336 ความคิดเห็นที่ 3 โดย JANYAPINPARD

ธรรมะกับสภาพธรรม ต่างกันอย่างไร สงสัยเพราะบางครั้งใช้คำว่าพิจารณาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ บางครั้ง ใช้พิจารณาธรรมะที่กำลังปรากฏ

- การเข้าใจธรรม คือ เข้าใจจริงของสภาพธรรมที่มีจริง สิ่งใดมีจริงที่เป็นธรรมเพราะมี ลักษณะ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะใช้คำว่าธาตุ ธรรม สภาพธรรม ขันธ์ ๕ อายตนะ ปฏิจจสมุปบาท ชื่อแตกต่างกัน แต่หมายถึงสิ่งที่มีจริง เพราะมีลักษณะ ดังนั้นไม่ว่าจะใช้ชื่ออะไร ก็แสดงถึงสิ่งที่มีอยู่จริงที่มีลักษณะ หากเราเข้าใจความหมายของสิ่งที่มีอยู่จริงว่า มีลักษณะแล้ว ก็จะทำให้เข้าใจในคำที่ใช้ เพราะแสดงถึงสิ่งที่อยู่จริงนั่นเอง เพียงแต่ว่าจะใช้คำไหน คำใดก็แสดงสภาพธรรมโดยนัยนั้น แต่ก็ไม่พ้นไปจากสิ่งที่มีลักษณะที่เป็นความจริงแท้ที่เป็นปรมัตถธรรมครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 1 มิ.ย. 2553

ขอสรุปจากความเห็นดังนี้

ธรรมะและปรมัตถธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นธรรม เพราะมีลักษณะเฉพาะเช่น จิต มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ (วิชฺชานนลกฺขณํ) (ลักษณะคือหรือคุณภาพ ที่มีประจำตัวโดยเฉพาะๆ ตัวปรมัตถ์นั้นๆ เช่น โทสะ มีความหยาบกระด้าง เป็นลักษณะ) เช่น ในการพิจารณาสภาพธรรมของจิตคือพิจารณาลักษณะ (วิชฺชานนลกฺขณํ) สภาพที่รู้อารมณ์ ...

สภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้สำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่มีจริงๆ ส่วนสภาพธรรมที่ดับไปแล้วหรือสภาพธรรมที่ยังไม่เกิดปรากฏก็ยังไม่ใช่สิ่งที่มีจริง จึงต้องเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้เท่านั้น ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏเท่านั้น

เชิญคลิกอ่าน ...

ระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 1 มิ.ย. 2553

สิ่งที่กำลังปรากฏเป็นสภาพธรรมไหมคะ

อ้างข้อความในพระไตรปิฎก ...

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า วิวตฺตนฏฺโ - สภาพธรรมที่หลีกไปด้วยสามารถหลีกไปจากนิมิตและความเป็นไป.

ตามความเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏส่วนมากเป็นนิมิต

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ก.ไก่
วันที่ 8 มิ.ย. 2564

อนุโมทามิ

สาธุ

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 16336 ความคิดเห็นที่ 7 โดย JANYAPINPARD

"ตามควาเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ส่วนมากเป็นนิมิต" เข้าใจว่าส่วนมากเป็นนิมิต เพราะรู้ตามสิ่งที่ดับไปแล้ว ใช่ไม๊ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 8 มิ.ย. 2564

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ

ถูกต้องครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 8 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ก.ไก่
วันที่ 8 มิ.ย. 2564

ขอขอบคุณ อ. Paderm ด้วยค่ะ

สาธุ

 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ