โมเนยยปฏิบัติ

 
pirmsombat
วันที่  10 ก.ค. 2553
หมายเลข  16688
อ่าน  4,581

ข้อความบางตอนจาการสนทนาธรรมโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์..

....จะมีท่านที่สะสมอบรมมาที่จะประพฤติโมเนยยปฏิบัติ คือเป็นผู้ที่มีความพอใจในอารมณ์ที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นท่านก็ตัดเรื่องวุ่นวายต่างๆ ได้โดยที่ไม่คบหาสมาคมกับใครเพราะเหตุว่าการคบหาสมาคมจะมีเรื่องเดือดร้อนวุ่นวายทางตาบ้าง ทางหูบ้าง นี่เป็นเรื่องแน่นอนที่สุดเพราะเหตุว่าเรื่องที่ทำให้วุ่นวาย ก็คงจะเป็นเรื่องของคำพูดที่ไม่เข้าใจความหมายของผู้พูดบ้าง หรือว่าเข้าใจเจตนาผิดบ้าง แม้ว่าจะเป็นคำพูดที่หวังดี แต่ว่าถ้าฟังผิด เข้าใจผิด ก็จะทำให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวาย.... ผู้ที่สามรถประพฤติ โมเนยยปฏิบัตินี้ เป็นท่านที่มีปัญญามาก มีคุณธรรมมาก มี ความเพียร สูงมาก มีหนึ่งเดียวหรือองค์เดียวในหมู่สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ท่านมีความเคารพนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคมาก ถ้าท่านรู้ว่าพระองค์เสด็จปรระทับอยู่ณที่ใด ก่อนนอนท่านจะหันหน้าไปทางทิศที่พระพุทธองค์ทรงประทับ แล้วกราบค้วยความเคารพนอบน้อมยี่ง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 10 ก.ค. 2553

ท่านพระนาลก เป็นหลานของท่านกาฬเทวิลดาบส ท่านไม่มีความเห็นผิด เพราะเป็นอัธยาศัยของท่านที่จะสมมาที่จะประพฤติแบบโมเนยย คือไม่คลุกคลีกับหมู่คณะ บิณฑบาตไม่ซ้ำที่ ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pirmsombat
วันที่ 11 ก.ค. 2553

ขอบคุณและอนุโมทนาคุณ wannee.s มากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 11 ก.ค. 2553

เป็นความเด็ดเดี่ยวของพระอรหันตสาวก ผู้ที่ได้สะสมบารมีมาเพื่อความเป็นเอตทัคคะทางด้านนี้โดยเฉพาะ เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากแต่ท่านไม่ลำบากเพราะท่านไม่ได้ฝืนตนเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
opanayigo
วันที่ 12 ก.ค. 2553

เพราะสะสมมา

เพราะไม่ได้ฝืนตนเอง

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 12 ก.ค. 2553

ข้อปฎิบัติให้ถึงความเป็นมุนี.....อันนี้ไม่สงสัยค่ะ แต่แปลกใจ....ทำไมจำนวนคนอ่านถึงพุ่งไปไกลขนาดนั้น เพิ่งโพสต์ได้ ๒ วันเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 12 ก.ค. 2553

ตามปกติ โมเนยยปฏิปทา หรือข้อปฏิบัติของมุนีเพื่อความเป็นมุนีผู้นิ่งเงียบนั้น ถือได้ว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นอัตตกิลมถานุโยค คือทำตนเองให้ลำบาก แต่เพราะเหตุที่ผู้ปฏิบัติไม่ยึดติดใน สัสสตทิฎฐิและอุจเฉททิฏฐิ ตรงกันข้ามกลับมีความเข้าใจถูกต้องที่ปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจาก ความเกิด ความแก่ และความตาย พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ปฏิบัติ..เพราะเหตุที่โมเนยยปฏิปทาเป็นวิธีปฏิบัติแบบอัตตกิลมถานุโยคดังกล่าว จึงมีผลอย่างสำคัญต่อสุขภาพ กล่าวคือ ผู้ที่ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นต้นหลังจากบรรลุอรหัตตผลแล้ว จะมีชีวิตอยู่ได้ ๑๖ ปี ผู้ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นกลางหลังจากบรรลุอรหัตตผลแล้ว จะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ ปี ส่วนผู้ที่ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นสูงสุด หลังจากบรรลุอรหัตตผลแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ เดือนพระนาลกะปฏิบัติโมเนยยปฏิปทาอย่างเคร่งครัดขั้นสูงสุด เพราะฉะนั้น หลังจากบรรลุอรหัตตผลแล้ว ท่านจึงมีชีวิตอยู่ได้เพียง ๗ เดือนเท่านั้น เนื่องจากร่างกายบอบช้ำหนักนั่นเองมีกล่าวไว้ว่าวันที่จะนิพพานนั้น ท่านรู้ตัวดีจึงสรงน้ำชำระกายแล้วครองผ้าอย่างเรียบร้อย ท่านยืนหันหน้าไปทางที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ซึ่งคาดว่าขณะนั้นพระพุทธเจ้าคงประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ จากนั้นท่านก็ก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วลุกขึ้นยืนพิงภูเขาหิงคุละ ประนมมือนิพพานด้วยอาการสงบ เมื่อทรงทราบว่าพระนาลกะนิพพานแล้ว พระพุทธเจ้าก็เสด็จมายังภูเขาหิงคุละพร้อมด้วยพระสาวกหลายรูป ครั้นรับสั่งให้ฌาปนกิจศพท่านแล้วก็ทรงรับสั่งให้นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ใน พระเจดีย์ เพื่อให้พุทธบริษัทได้สักการะ

เชิญคลิกอ่าน....

โมเนยยปฏิปทา [นาลกสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
choonj
วันที่ 12 ก.ค. 2553

ดังนั้น ความลำบากที่สติจะระลึกไม่มีในท่าน เพราะต้องเริ่มต้นจาก "เป็นผู้ที่มีความพอใจในอารมณ์ที่ปรากฏ"

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 16 พ.ย. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ