อุเบกขาบารมี
ข้อความบางตอนจาการสนทนาธรรมโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์..
อุเบกขาบารมี ความเป็นผู้วางเฉย ไม่หวั่นไหว ในสัตว์ ในสังขารทั้งหลายและในโลกธรรมทั้งหลาย ทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ถ้าเป็นไปได้นี่สบายจริงๆ สงบจริงๆ ไม่หวั่นไหวเลย เพราะว่าปัจจุบันนี้ ที่มีความทุกข์ เพราะหวั่นไหว แต่ถ้ามีใจที่มั่นคง ในเรื่องของกรรม จะเป็นผู้ที่ไม่หวั่นไหวได้ และสำหรับผู้ที่เจริญอุเบกขาบารมีนั้น ไม่สนใจในโทษผิดของผู้นั้น ในอรรถกถาใช้คำว่าในโทษผิดของผู้นั้น คือ ผู้ที่ทำความผิดนั้นๆ บุคคลนั้น ผู้ที่เจริญ อุเบกขาบารมี ไม่สนใจในโทษผิดของผู้นั้น เป็นผู้วางเฉยไม่เดือดร้อน เพราะ รู้ว่าทุกคนมีกรรมเป็นของๆ ตน
เห็นด้วยค่ะ
อุเบกขา ในภาษาไทยทั่วไป คนส่วนมากมักแปลว่า เฉยๆ โดยไม่ทำอะไรทั้งสิ้น แต่พระพุทธองค์ มิได้หมายถึงให้อยู่เฉยๆ (โดยไม่เข้าใจ) โดยมิได้ทำไรๆ เลย
แต่ให้พิจารณาในสิ่ง ในกาล ที่ควรทำให้พิจารณาในสิ่ง ในกาล ที่ควรวางเฉย (ด้วยความเข้าใจ ในกรรม ในผลของกรรม) สมควรแก่ฐานานุรูป คือ ความพอดี เพื่อมิให้เสียประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน
ดังข้อความยกมา ;
ควรนิ่ง แม้รู้อยู่ก็ไม่พูด
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคาถานี้แล้ว จึงรับสั่งถามพระอานนทเถระว่า ดูก่อนอานนท์ภิกษุทั้งหลายถูกคำว่าเย้ยหยันอย่างนี้แล้ว พูดอย่างไร กราบทูลว่า มิได้พูดอะไรเลย พระเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เราเป็นผู้มีศีลมิใช่หรือ เพราะฉะนั้น ควรนิ่งในเรื่องทั้งหมด แม้รู้อยู่ก็ไม่พูด เพราะคนพาลกับบัณฑิตเข้ากัน ไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 715
อรรถกถาทุฏฐัฏฐกสูตร
ในชีวิตประจำวัน หากรู้สภาพจิต ขณะนั้นของตนเองว่า เป็นกุศล หรือ อกุศล จะเป็นประโยชน์กว่า
ขอบพระคุณ
กราบอนุโมทนาค่ะ
เรียนถามท่านผู้รู้
ตัตรมัชฌัตตตา เจตสิก มีลักษณะอย่างไร
ขอบพระคุณค่ะ
เรียนถามท่านผู้รู้
ในอุเบากขา 10 อย่างนั้น อย่างแรกคือ ฉฬงคูเบกขา อยากทราบว่า อ่านออกเสียงอย่างไร และ ฉฬงค แปลว่าอะไรคะ
ขอบพระคุณค่ะ
เรียน ความเห็นที่ 12
อ่านออกเสียงว่า ฉะ - ลัง - คุ - เบก - ขา คำแปลส่วนใหญ่นิยมแปลทับศัพท์เดิม ฉฬังคุเบกขา ความหมาย หมายถึง เป็นอุเบกขาของพระอรหันต์ที่ท่านวางเฉยในอารมณ์ทั้งหกคือไม่ยินดีไม่ยินร้าย หลังจากท่านเห็น ได้ยิน เป็นต้น ครับ
ขอบพระคุณ คุณ Permsombat และ อ.สุจินต์ค่ะ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันแล้วเป็นสุขและสงบจริงๆ ค่ะ