พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. มหานารทกัสสปชาดก ทรงบําเพ็ญอุเบกขาบารมี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ก.ค. 2564
หมายเลข  34671
อ่าน  1,450

[เล่มที่ 64] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 205

๘. มหานารทกัสสปชาดก

พระมหานารทกัสสปทรงบําเพ็ญอุเบกขาบารมี

อรรถกถา มหานารทกัสสปชาดก 230


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 64]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 205

๘. มหานารทกัสสปชาดก

พระมหานารทกัสสปทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี

[๘๓๔] พระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า อังคติ เป็นพระราชาของชนชาววิเทหรัฐ ทรงมีพระราชยาน พระราชทรัพย์มากมาย ทรงมีพลนิกายเหลือที่จะนับ ก็คืนหนึ่งในวันเพ็ญกลางเดือน ๑๒ ขณะปฐมยาม พระองค์ประชุมเหล่าอำมาตย์ราชบัณฑิต ผู้ถึงพร้อมด้วยการศึกษาเล่าเรียน เฉลียวฉลาด ผู้ที่ทรงเคยรู้จักทั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่อีก ๓ นาย คือ วิชยอำมาตย์ ๑ สุนามอำมาตย์ ๑ อลาตอำมาตย์ ๑ แล้วตรัสถามตามลำดับว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวไปตามความพอใจของ ตนๆ ว่า ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เช่นนี้ พระจันทร์แจ่มกระจ่าง กลางคืนวันนี้เราทั้งหลายพึงยังฤดูเช่นนี้ให้เป็นไปด้วยความยินดีอะไร.

[๘๓๕] ลำดับนั้น อลาตเสนาบดีได้กราบทูลแด่พระราชาว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงจัดพลช้าง พลม้า พลเสนา จะนำชายฉกรรจ์ออกรบ พวกใดยังไม่มาสู่อำนาจ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็จะนำมาสู่อำนาจ นี่เป็นความเห็นของข้าพระพุทธเจ้า เราทั้งหลายจะได้ชัยชนะผู้ที่เรายังไม่ชนะ (ขอเดชะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 206

ขอพระองค์จงทรงรื่นรมย์ด้วยการรบ นี้เป็นเพียงความคิดของข้าพระพุทธเจ้า).

[๘๓๖] สุนามอำมาตย์ได้ฟังคำของอลาตเสนาบดีแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา พวกศัตรูของพระองค์มาสู่พระราชอำนาจหมดแล้ว ต่างพากันวางศัสตรา ยอมสวามิภักดิ์แล้วทั้งหมด วันนี้เป็นวันมหรสพสนุกสนานยิ่ง การรบข้าพระพุทธเจ้าไม่ชอบใจ ชนทั้งหลายจงรีบนำข้าวน้ำ และของควรเคี้ยวมาเพื่อพระองค์เถิด ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงรื่นรมย์ด้วยกามคุณ และในการฟ้อนรำขับร้องการประโคมเถิด พระเจ้าข้า.

[๘๓๗] วิชยอำมาตย์ได้ฟังคำของสุนามอำมาตย์แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา กามคุณทุกอย่างบำเรอพระองค์อยู่เป็นนิตย์แล้ว การทรงเพลิดเพลินด้วยกามคุณทั้งหลาย พระองค์ทรงหาได้โดยไม่ยากเลย ทรงปรารถนาก็ได้ทุกเมื่อ การรื่นรมย์กามคุณทั้งหลายนี้ ไม่ใช่เป็นความคิดของข้าพระบาท วันนี้เราทั้งหลายควรพากันไปหาสมณะหรือพราหมณ์ ผู้เป็นพหูสูตรู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ซึ่งท่านจะพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราดีกว่า.

[๘๓๘] พระเจ้าอังคติราชได้ทรงสดับคำของวิชยอำมาตย์แล้ว ได้ตรัสว่า ตามที่วิชยอำมาตย์พูดว่า วันนี้เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 207

ผู้เป็นพหูสูต รู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ซึ่งท่านจะพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราดีกว่านั้น แม้เราก็ชอบใจ ท่านที่อยู่ ณ ที่นี้ทุกท่านจงลงมติว่า วันนี้เราทั้งหลายควรจะเข้าไปหาใครผู้เป็นบัณฑิต รู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณซึ่งพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราได้.

[๘๓๙] อลาตเสนาบดี ได้ฟังพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า มีอเจลกที่โลกสมมติว่าเป็นนักปราชญ์อยู่ในมฤคทายวัน อเจลกผู้นี้ ชื่อว่าคุณะ ผู้กัสสปโคตรเป็นพหูสูต พูดจาไพเราะ เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ขอเดชะ เราทั้งหลายควรเข้าไปหาเธอ เธอจักกำจัดความสงสัยของเราทั้งหลายได้.

[๘๔๐] พระราชาได้ทรงสดับคำของอลาตเสนาบดีแล้ว ได้ตรัสสั่งสารถีว่า เราจะไปยังมฤคทายวัน ท่านจงนำยานเทียมม้ามาที่นี่.

[๘๔๑] พวกนายสารถีได้จัดพระราชยาน อันล้วนแล้วไปด้วยงา มีกระพองเป็นเงิน และจัดรถพระที่นั่งรองอันขาวผุดผ่องดังพระจันทร์ในราตรี ที่ปราศจากมลทินโทษ มาถวายแก่พระราชา รถนั้นเทียมด้วยม้าสินธพสี่ตัว ล้วนมีสีดังสีดอกโกมุท เป็นม้ามีฝีเท้าเร็วดังลมพัด วิ่งเรียบประดับด้วยดอกไม้ทอง พระกลด ราชรถม้า และวีชนี ล้วนมีสีขาว พระเจ้าวิเทหราชพร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ เสด็จออกย่อม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 208

งดงามดังพระจันทร์ หมู่พลราชบริพารผู้กล้าหาญขี่บนหลังม้าถือหอกดาบตามเสด็จ พระเจ้าวิเทหราชมหากษัตริย์พระองค์นั้น เสด็จถึงมฤคทายวันโดยครู่เดียว เสด็จลงจากราชยานแล้วทรงดำเนินเข้าไปหาคุณาชีวก พร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ ก็ในกาลนั้น มีพราหมณ์และคฤหบดีมาประชุมกันอยู่ในพระราชอุทยานนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นพระราชามิให้ลุกหนีไป.

[๘๔๒] ลำดับนั้น พระราชาเสด็จเข้าไปประทับนั่งเหนืออาสนะ อันปูลาดด้วยพระยี่ภู่มีสัมผัสอ่อนนิ่ม ณ ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทรงปราศรัยไต่ถามทุกข์สุขว่า ผู้เป็นเจ้าสบายดีอยู่หรือ ลมมิได้กำเริบเสียดแทงหรือ ผู้เป็นเจ้าเลี้ยงชีวิตโดยไม่ฝืดเคืองหรือ ได้บิณฑบาตพอเยียวยาชีวิตให้เป็นไปอยู่หรือ ผู้เป็นเจ้ามีอาพาธน้อยหรือ จักษุมิได้เสื่อมไปจากปรกติหรือ.

[๘๔๓] คุณชีวกทูลปราศรัยกับพระเจ้าวิเทหราชผู้ทรงยินดีในวินัยว่า ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้าสบายดีอยู่ทุกประการ บ้านเมืองของพระองค์ไม่กำเริบหรือ ช้างม้าของพระองค์หาโรคมิได้หรือ พาหนะยังพอเป็นไปแหละหรือ พยาธิไม่มีมาเบียดเบียนพระสรีระของพระองค์แลหรือ.

[๘๔๔] เมื่อคุณาชีวกทูลปราศรัยแล้ว ทันทีนั้น พระราชาผู้เป็นจอมทัพทรงใคร่ธรรมได้ตรัสถาม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 209

อรรถธรรมและเหตุว่า ท่านกัสสปะ นรชนพึงประพฤติธรรมในมารดาและบิดาอย่างไร พึงประพฤติธรรมในอาจารย์อย่างไร พึงประพฤติธรรมในบุตรและภรรยาอย่างไร พึงประพฤติธรรมในวุฒิบุคคลอย่างไร พึงประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์อย่างไร พึงประพฤติธรรมในพลนิกายอย่างไร และพึงประพฤติธรรมในชนบทอย่างไร ชนทั้งหลายประพฤติธรรมอย่างไรละโลกนี้ไปแล้วจึงไปสู่สุคติ ส่วนคนบางพวกผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมไฉนจึงตกลงไปในนรก.

[๘๔๕] คุณาชีวกกัสสปโคตร ได้ฟังพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์ทรงสดับทางที่จริงแท้ของพระองค์ ผลแห่งธรรมที่ประพฤติแล้วเป็นบุญเป็นบาปไม่มี ขอเดชะ ปรโลกไม่มี ใครเล่าจากปรโลกนั้นมาในโลกนี้ ปู่ย่าตายายไม่มี มารดาบิดาจักมีที่ไหน ขึ้นชื่อว่าอาจารย์ไม่มี ใครจักฝึกผู้ที่ฝึกไม่ได้ สัตว์เสมอกันหมด ผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญไม่มีกำลังหรือความเพียรไม่มี บุรุษผู้มีความหมั่นจักได้รับผลแต่ที่ไหน สัตว์ที่เกิดตามกันมา เหมือนเรือน้อยห้อยท้ายเรือใหญ่ สัตว์ย่อมได้สิ่งที่ควรได้ ในข้อนั้น ผลทานจักมีแต่ที่ไหน ผลทานไม่มี ความเพียรไม่มีอำนาจ ทานคนโง่บัญญัติไว้ คนฉลาดรับทาน คนโง่สำคัญตัวว่าฉลาดเป็นผู้ไม่มีอำนาจ ย่อมให้ทานแก่นักปราชญ์ทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 210

[๘๔๖] รูปกายอันเป็นที่รวม ดิน น้ำ ลม ไฟ สุข ทุกข์และชีวิต ๗ ประการนี้ เป็นของเที่ยง ไม่ขาดสูญ ไม่กำเริบ รูปกาย ๗ ประการนี้ของสัตว์เหล่าใด ชื่อว่าขาดไม่มี ผู้ที่ถูกฆ่าหรือถูกตัด หรือ เบียดเบียนใครๆ ไม่มี ศัสตราทั้งหลายพึงเป็นไปในระหว่างรูปกาย ๗ ประการนี้ ผู้ใดตัดศีรษะของผู้อื่นด้วยดาบอันคม ผู้นั้นไม่ชื่อว่าตัดร่างกายเหล่านั้น ในการทำเช่นนั้น ผลบาปจะมีแต่ที่ไหน สัตว์ทุกจำพวกท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร ๘๔ มหากัป ย่อมบริสุทธิ์ได้เอง เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้น แม้จะสำรวมด้วยดีก็บริสุทธิ์ไม่ได้ เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้น แม้จะประพฤติความดีมากมาย ก็บริสุทธิ์ไม่ได้ ถ้าแม้กระทำบาปมากมาย ก็ไม่ล่วงขณะนั้นไป ในวาทะของเราทั้งหลาย ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้โดยลำดับเมื่อถึง ๘๔ กัป พวกเราไม่ล่วงเลยเขตอันแน่นอนนั้นเหมือนคลื่นไม่ล่วงเลยฝั่งไป ฉะนั้น.

[๘๔๗] อลาตเสนาบดีได้ฟังคำของคุณาชีวกกัสสปโคตรแล้วได้กล่าวขึ้นว่า ท่านผู้เจริญกล่าวฉันใด คำนั้นข้าพเจ้าชอบใจฉันนั้น แม้ข้าพเจ้าก็ระลึกชาติหนหลังของตนได้ชาติหนึ่ง คือในชาติก่อนข้าพเจ้าเกิดในเมืองพาราณสีอันเป็นเมืองมั่งคั่ง เป็นนายพรานฆ่าโค ชื่อปิงคละ ข้าพเจ้าได้ทำบาปกรรมไว้มาก ได้ฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต คือ กระบือ สุกร แพะ เป็นอันมาก ข้าพเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้ว มาเกิดในตระกูลเสนาบดีอันบริบูรณ์นี้ บาปไม่มีผลแน่ข้าพเจ้าจึงไม่ต้องไปนรก.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 211

[๘๔๘] ครั้งนั้น ในมิถิลานครนี้ มีคนเข็ญใจเป็นทาสเขาผู้หนึ่ง ชื่อวีชกะ รักษาอุโบสถศีล ได้เข้าไปยังสำนักของคุณาชีวกได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวก และอลาตเสนาบดีกล่าวกันอยู่ ถอนหายใจฮึดฮัด ร้องไห้น้ำตาไหล.

[๘๔๙] พระเจ้าวิเทหราช ได้ตรัสถามนายวีชกะนั้นว่า สหายเอ๋ย เจ้าร้องไห้ทำไม เจ้าได้ฟังได้เห็นอะไรมาหรือ เจ้าได้รับทุกขเวทนาอะไร จงบอกให้เราทราบ.

[๘๕๐] นายวีชกะได้ฟังพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่มีทุกขเวทนาเลย ข้าแต่พระมหาราชา ขอได้ทรงพระกรุณาฟังข้าพระพุทธเจ้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ยังระลึกถึงความสุขสบายของตนในชาติก่อนได้ คือ ในชาติก่อน ข้าพระพุทธเจ้าเกิดเป็นภาวเศรษฐียินดีในคุณธรรมอยู่ในเมืองสาเกต ข้าพระพุทธเจ้านั้นอบรมตนดีแล้ว ยินดีในการบริจาคทานแก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มีการงานอันสะอาด ข้าพระพุทธเจ้าระลึกถึงบาปกรรมที่ตนกระทำแล้วไม่ได้เลย.

ข้าแต่พระเจ้าวิเทหราช ข้าพระพุทธเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้ว มาเกิดในครรภ์ของนางกุมภทาสีหญิงขัดสนในมิถิลามหานครนี้ จำเดิมแต่เวลาที่เกิดแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าก็ยากจนเรื่อยมา แม้ข้าพระพุทธเจ้าจะ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 212

เป็นคนยากจนอย่างนี้ก็ตั้งมั่นอยู่ในความประพฤติชอบ ได้ให้อาหารกึ่งหนึ่งแก่ท่านที่ปรารถนา ได้รักษาอุโบสถศีลในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ทุกเมื่อ ไม่ได้เบียดเบียนสัตว์และไม่ได้ลักทรัพย์เลย กรรมทั้งปวงที่ข้าพระพุทธเจ้าประพฤติดีแล้วนั้นไร้ผลเป็นแน่ ศีลนี้เห็นจะไร้ประโยชน์ เหมือนอลาตเสนาบดีกล่าว ข้าพระพุทธเจ้ากำเอาแต่ความปราชัยไว้ เหมือนนักเลงผู้มิได้ฝึกหัดฉะนั้นเป็นแน่ ส่วนอลาตเสนาบดีย่อมกำเอาแต่ชัยชนะไว้ ดังนักเลงผู้ชำนาญการพนัน ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นประตูอันเป็นเหตุไปสู่สุคติเลย ข้าแต่พระมหาราชา เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวกแล้ว จึงร้องไห้.

[๘๕๑] พระเจ้าอังคติราชทรงสดับคำของนายวีชกะแล้ว ได้ตรัสว่า ประตูสุคติไม่มี ยังสงสัยอยู่อีกหรือวีชกะ ได้ยินว่า สุขหรือทุกข์สัตว์ย่อมได้เองแน่นอน สัตว์ทั้งปวงหมดจดได้ด้วยการเวียนเกิดเวียนตาย เมื่อยังไม่ถึงเวลาอย่ารีบด่วนไปเลย เมื่อก่อนแม้เราก็เป็นผู้กระทำความดี ขวนขวายในพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อนุศาสน์ราชกิจอยู่เนืองๆ งดเว้นจากความยินดีในกามคุณตลอดกาลประมาณเท่านี้.

[๘๕๒] ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายจะได้พบกันอีก ถ้าเราทั้งหลายจักมีการสมาคมกัน (เมื่อผลบุญไม่มี จะมีประโยชน์อะไรด้วยการพบท่าน) พระเจ้า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 213

วิเทหราชครั้นตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จกลับไปยังพระราชนิเวศน์ของพระองค์.

[๘๕๓] ตั้งแต่รุ่งสว่าง พระเจ้าอังคติราชรับสั่งให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ ในที่ประทับสำราญพระองค์ แล้วตรัสว่า จงจัดกามคุณทั้งหลายเพื่อเราไว้ในจันทกปราสาทของเราทุกเมื่อ เมื่อข้อราชการลับและเปิดเผยเกิดขึ้น ใครๆ อย่าเข้ามาหาเรา อำมาตย์ผู้ฉลาดในราชกิจ ๓ นาย คือ วิชยอำมาตย์ ๑ สุนามอำมาตย์ ๑ อลาตเสนาบดี ๑ จงนั่งพิจารณาข้อราชการเหล่านั้น พระเจ้าวิเทหราชครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงใส่ใจกามคุณให้มาก ไม่ต้องขวนขวายใน พราหมณ์ คฤหบดี และกิจการอะไรเลย.

[๘๕๔] ตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันที่ ๑๔ ราชกัญญาพระนามว่ารุจา ผู้เป็นพระธิดาที่โปรดปรานของพระเจ้าวิเทหราช ได้ตรัสกะพระพี่เลี้ยงว่า ขอท่านทั้งหลายช่วยประดับให้ฉันด้วย และหญิงสหายทั้งหลายของเราก็จงประดับ พรุ่งนี้ ๑๕ ค่ำ เป็นวันทิพย์ ฉันจะไปเฝ้าพระชนกนาถ พระพี่เลี้ยงทั้งหลายได้จัดมาลัย แก่นจันทน์ แก้วมณี สังข์ แก้วมุกดาและผ้าต่างๆ สี อันมีค่ามาก มาถวายแก่พระนางรุจาราชกัญญา หญิงบริวารเป็นอันมากห้อมล้อมพระนางรุจา ราชธิดาผู้มีพระฉวีวรรณงามผุดผ่อง ประทับนั่งอยู่บนตั่งทอง งามโสภาราวกะนางเทพกัญญา.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 214

[๘๕๕] ก็พระนางรุจาราชธิดานั้น ประดับด้วยเครื่องสรรพาภรณ์เสด็จไป ณ ท่ามกลางหญิงสหาย เพียงดังสายฟ้าแลบออกจากเมฆ เสด็จเข้าสู่จันทกปราสาท พระราชธิดาเสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช ถวายบังคมพระชนกนาถ ผู้ทรงยินดีในวินัย แล้วประทับอยู่ ณ ตั่งอันวิจิตรด้วยทองคำส่วนหนึ่ง.

[๘๕๖] ก็พระเจ้าวิเทหราช ทอดพระเนตรเห็นพระนางรุจาราชธิดาผู้ประทับอยู่ท่ามกลางหญิงสหาย ซึ่งเป็นดังสมาคมแห่งนางเทพอัปสร จึงตรัสถามว่า ลูกหญิงยังรื่นรมย์อยู่ในปราสาทและยังประพาสอยู่ในอุทยานเล่นน้ำในสระโบกขรณีเพลิดเพลินอยู่หรือ เขายังนำของเสวยมากอย่างมาให้ลูกหญิงเสมอหรือ ลูกหญิงและเพื่อนหญิงของลูก ยังเก็บดอกไม้ต่างๆ ชนิดมาร้อยพวงมาลัยและยังช่วยกันทำเรือนหลังเล็กๆ เล่นเพลิดเพลินอยู่หรือ ลูกหญิงขาดแคลนอะไรบ้าง เขารีบนำสิ่งของมาให้ทันใจลูกอยู่หรือ ลูกรักผู้มีพักตร์อันผ่องใส จงบอกความชอบใจแก่พ่อเถิด แม้สิ่งนั้นจะเสมอดวงจันทร์ พ่อก็จักให้เกิดแก่ลูกจนได้.

[๘๕๗] พระนางรุจาราชธิดา ได้สดับพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา กระหม่อมฉันย่อมได้สิ่งของทุกๆ อย่างในสำนักของทูลกระหม่อม พรุ่งนี้ ๑๕ ค่ำ เป็นวันทิพย์ ขอราชบุรุษทั้งหลายจงนำพระราชทรัพย์พันหนึ่งมาให้กระหม่อมฉันจักให้ทานแก่วณิพกทั้งปวงตามที่ให้มาแล้ว.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 215

[๘๕๘] พระเจ้าอังคติราชได้สดับพระดำรัสของพระนางรุจาราชธิดาแล้วตรัสว่า ลูกหญิงทำทรัพย์ให้พินาศเสียเป็นอันมาก หาผลประโยชน์มิได้ ลูกหญิงยังรักษาอุโบสถศีล ไม่บริโภคข้าวน้ำเป็นนิตย์อยู่ ลูกหญิงไม่พึงบริโภคข้าวน้ำนั้นเป็นนิตย์ เพราะบุญไม่มีจากการไม่บริโภคนั้น แม้วีชกบุรุษได้ฟังคำของคุณาชีวกกัสสปโคตรในกาลนั้น แล้วถอนหายใจฮึดฮัด ร้องไห้น้ำตาไหล ลูกหญิงรุจาเอ๋ย ตราบเท่าที่ลูกยังมีชีวิตอยู่ อย่าอดอาหารเลย ปรโลกไม่มี ลูกหญิงจะลำบากไปทำไม ไร้ประโยชน์.

[๘๕๙] พระนางรุจาราชธิดาผู้มีพระฉวีวรรณงดงาม ทรงทราบกฏธรรมดาในอดีต ๗ ชาติ ในอนาคต ๗ ชาติ ได้สดับพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชแล้วกราบทูลพระชนกนาถว่า แต่ก่อนกระหม่อมฉันได้ฟังมาเท่านั้น กระหม่อมฉันเห็นประจักษ์เองข้อนี้ว่า ผู้ใดเข้าไปเสพคนพาล ผู้นั้นก็เป็นพาลไปด้วย ผู้หลงอาศัยคนหลงย่อมถึงความหลงยิ่งขึ้น อลาตเสนาบดีและนายวีชกะสมควรจะหลง.

[๘๖๐] ขอเดชะ ส่วนพระองค์มีพระปรีชา ทรงเป็นนักปราชญ์ ทรงฉลาดรู้ซึ่งอรรถ จะทรงเป็นเช่นกับพวกคนพาล เข้าถึงซึ่งทิฏฐิอันเลวได้อย่างไร ก็ถ้าสัตว์จะบริสุทธิ์ได้ด้วยการท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์ การบวชของคุณาชีวกก็ไม่มีประโยชน์ คุณาชีวกเป็นคนหลงงมงาย ย่อมถึงความเป็นคนเปลือย เหมือน

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 216

ตั๊กแตนหลงบินเข้ากองไฟ ฉะนั้นคนเป็นอันมากผู้ไม่รู้อะไร ได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวกว่า ความหมดจดย่อมไม่มีได้ด้วยสังสารวัฏฏ์ ก็เชื่อมั่นเสียก่อนทีเดียว จึงพากันปฏิเสธกรรมและผลของกรรม โทษคือความฉิบหายที่ยึดไว้ผิดในเบื้องต้น ก็ยากที่จะเปลื้องได้ เหมือนปลาติดเบ็ด ยากที่จะเปลื้องตนออกจากเบ็ดได้ ฉะนั้น.

[๘๖๑] ข้าแต่พระมหาราชา กระหม่อมฉันจักยกตัวอย่างมาเปรียบถวายเพื่อประโยชน์แก่ทูลกระหม่อม บัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้บางพวกย่อมรู้เนื้อความได้ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนเรือของพ่อค้า บรรทุกสินค้าหนักเกินประมาณ ย่อมนำสินค้าอันหนักยิ่งไปจมลงในมหาสมุทร ฉันใด นรชนสั่งสมบาปกรรมทีละน้อยๆ ก็ย่อมพาเอาบาปอันหนักยิ่ง ไปจมลงในนรก ฉะนั้น ทูลกระหม่อมเพคะ อกุศลอันหนักของอลาตเสนาบดี ยังไม่บริบูรณ์ก่อน อลาตเสนาบดียังสั่งสมบาปอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติอยู่ ขอเดชะการที่อลาตเสนาบดีได้รับความสุขอยู่ในบัดนี้ เป็นผลบุญที่ตนได้ทำไว้แล้วในปางก่อนนั่นเอง บุญของอลาตเสนาบดีนั้นจะหมดสิ้น อลาตเสนาบดีจึงมายินดีในอกุศลกรรมอันไม่ใช่คุณ หลีกละทางตรงเดินไปตามทางอ้อม นรชนสั่งสมบุญไว้แม้ทีละน้อยๆ ย่อมไปสู่เทวโลก เหมือนวีชกบุรุษ ผู้เป็นทาสยินดีในกรรมอันงาม ย่อมมุ่งไปสู่สวรรค์ได้

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 217

เปรียบเหมือนตาชั่งที่กำลังชั่งของ ย่อมต่ำลงข้างหนึ่ง เมื่อเอาของหนักออกเสีย ข้างที่ต่ำก็จะสูงขึ้นฉะนั้น.

นายวีชกะผู้เป็นทาสเห็นทุกข์ในตนวันนี้ เพราะได้เสพบาปกรรมที่ตนกระทำไว้ในปางก่อน บาปของเขาจะหมดสิ้น เขาจึงมายินดีในวินัยอย่างนั้น ทูลกระหม่อมอย่าคบหากัสสปคุณาชีวก ทรงดำเนินทางผิดเลยเพคะ.

[๘๖๒] ข้าแต่พระราชบิดา บุคคลคบคนเช่นใดๆ เป็นบุรุษผู้มีศีลหรืออสัตบุรุษผู้ไม่มีศีล เขาย่อมตกอยู่ในอำนาจของผู้นั้น บุคคลกระทำคนเช่นใดให้เป็นมิตร และเข้าไปคบหาคนเช่นใด แม้เขาก็ย่อมเป็นเช่นคนนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้นได้ ผู้เสพย่อมติดนิสัยผู้ที่ตนเสพ ผู้ติดต่อย่อมติดนิสัยผู้ที่ตนติดต่อ เหมือนลูกศรอาบยาพิษย่อมเปื้อนแล่ง ฉะนั้น.

นักปราชญ์ไม่ควรเป็นผู้มีคนลามกเป็นสหาย เพราะกลัวจะแปดเปื้อน การเสพคนพาล ย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อปลาเน่า แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป ฉะนั้น ส่วนการคบหาสมาคมกับนักปราชญ์ย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อของหอม แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นหอมฟุ้งไป ฉะนั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตรู้ความเป็นบัณฑิตของตนดังใบไม้สำหรับห่อ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 218

จึงไม่คบหาสมาคมอสัตบุรุษ คบหาสมาคมสัตบุรุษ อสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.

[๘๖๓] แม้กระหม่อมฉันก็ระลึกชาติที่ตนได้ท่องเที่ยวมาแล้วได้ ๗ ชาติ และระลึกชาติที่ตนจุติจากชาตินี้แล้วจักไปเกิดในอนาคตอีก ๗ ชาติ ข้าแต่พระจอมประชาชน ชาติที่ ๗ ของกระหม่อมฉันในอดีต กระหม่อมฉันเกิดเป็นบุตรนายช่างทองในแคว้นมคธ ราชคฤห์มหานคร กระหม่อมฉันได้คบหาสหายผู้ลามก ทำบาปกรรมไว้มาก เที่ยวคบชู้ภรรยาของชายอื่นเหมือนจะไม่ตาย กรรมนั้นยังไม่ให้ผลเหมือนไฟอันเถ้าปกปิดไว้.

ในกาลต่อมา ด้วยกรรมอื่นๆ กระหม่อมฉันนั้นได้เกิดในวังสรัฐเมืองโกสัมพี เป็นบุตรเดียวในสกุลเศรษฐีผู้สมบูรณ์มั่งคั่ง มีทรัพย์มากมาย คนทั้งหลายสักการะบูชาอยู่เป็นนิตย์ ในชาตินั้น กระหม่อมฉันได้คบหาสมาคมมิตรสหายผู้ยินดีในกรรมอันงาม ผู้เป็นบัณฑิต เป็นพหูสูต เขาได้แนะนำให้กระหม่อมฉันรักษาอุโบสถศีลในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ตลอดราตรีเป็นอันมาก กรรมนั้นยังไม่ให้ผล ดังขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ใต้น้ำ.

ครั้นภายหลัง บรรดาบาปกรรมทั้งหลาย ปรทารกกรรมอันใดที่กระหม่อมฉันได้กระทำไว้ในมคธรัฐ ผลแห่งกรรมนั้นมาถึงกระหม่อมฉันแล้ว เหมือนดื่ม

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 219

ยาพิษอันร้ายแรง ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากตระกูลเศรษฐีนั้นแล้วต้องหมกไหม้อยู่ในโรรุวนรกสิ้นกาลนาน เพราะกรรมของตน กระหม่อมฉันระลึกถึงทุกข์ที่ได้เสวยในนรกนั้น ไม่ได้ความสุขเลย กระหม่อมฉันยังทุกข์เป็นอันมากให้สิ้นไปในนรกนั้นนานปี แล้วเกิดเป็นลาถูกเขาตอนอยู่ในภินนาคตะมหานคร.

[๘๖๔] กระหม่อมฉัน (เมื่อเกิดเป็นลา) ต้องพาลูกผู้ดีทั้งหลายไปด้วยหลังบ้าง ด้วยรถบ้าง นั่นเป็นผลกรรม คือ การที่กระหม่อมฉันคบชู้ภรรยาของผู้อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากชาติเป็นลานั้นแล้ว ไปบังเกิดเป็นลิงในป่าใหญ่ ถูกนายฝูงผู้คะนองขบกัดลูกอัณฑะ นั่นเป็นผลแห่งกรรม คือ การที่กระหม่อนฉันคบชู้ภรรยาของผู้อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากชาติเป็นลิงนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นโคในทสันนรัฐ ถูกเขาตอน มีกำลังแข็งแรง กระหม่อมฉันต้องเทียมยานอยู่สิ้นกาลนาน นั่นเป็นผลของกรรม คือ การที่กระหม่อมฉันคบชู้ภรรยาของผู้อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากชาติเป็นโคนั้นแล้ว มาบังเกิดเป็นกระเทยในตระกูลที่มีโภคสมบัติมากในแคว้นวัชชี จะได้เกิดเป็นมนุษย์ยากจริงๆ นั่นเป็นผลแห่งกรรม คือ การที่กระหม่อมฉันคบชู้ภรรยาผู้อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 220

ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากชาติเป็นกระเทยนั้นแล้ว ได้ไปบังเกิดเป็นนางอัปสรในนันทนวัน ณ ดาวดึงส์พิภพ มีวรรณะน่าใคร่ มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร สวมกุณฑลแก้วมณี เป็นผู้ฉลาดในการฟ้อนรำ ขับร้อง เป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกะ

ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ เมื่อกระหม่อมฉันอยู่ในดาวดึงส์พิภพนั้น ระลึกชาติแม้ในอนาคตได้อีก ๗ ชาติ ที่กระหม่อมฉันจุติจากดาวดึงส์พิภพนั้นแล้ว จักไปเกิดต่อไป กุศลที่กระหม่อมฉันกระทำไว้ในเมืองโกสัมพีตามมาให้ผล กระหม่อมฉันจุติจากดาวดึงส์พิภพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ข้าแต่พระมหาราชา กระหม่อมฉันเป็นผู้อันชนทั้งหลายสักการะบูชาแล้วเป็นนิตย์ตลอด ๗ ชาติ กระหม่อมฉันไม่พ้นจากความเป็นหญิงตลอด ๖ ชาติ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ชาติที่ ๗ กระหม่อมฉันจักได้เกิดเป็นเทวดาผู้ชาย เป็นเทพบุตรผู้มีฤทธิมาก เป็นผู้สูงสุดในหมู่เทวดา แม้วันนี้ นางอัปสรทั้งหลายก็ยังร้อยดอกไม้เป็นพวงมาลัยอยู่ในนันทนวัน เทพบุตรนามว่า ชวะ สามีของกระหม่อมฉัน ยังรับพวงมาลัยอยู่ ๑๖ ปี ในมนุษย์นี้ราวครู่หนึ่งของเทวดา ๑๐๐ ปีในมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาดังที่ได้กราบทูลให้ทรงทราบมานี้ กรรมทั้งหลายย่อมติดตามไปทุกๆ ชาติแม้ตั้งอสงไขย ด้วยว่ากรรมจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม (อันบุคคลทำแล้ว) ย่อมไม่พินาศไป.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 221

[๘๖๕] ชายใดปรารถนาเป็นบุรุษทุกๆ ชาติไป ก็พึงเว้นภรรยาผู้อื่นเสีย เหมือนบุคคลล้างเท้าสะอาดแล้วเว้นเปือกตม ฉะนั้น หญิงใดปรารถนาเป็นบุรุษทุกๆ ชาติไป ก็พึงยำเกรงสามีเหมือนนางเทพอัปสรผู้เป็นบาทบริจาริกา ยำเกรงพระอินทร์ฉะนั้น ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศและสุขอันเป็นทิพย์ ก็พึงเว้นบาปทั้งหลาย ประพฤติแต่สุจริตธรรม ๓ อย่าง สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ด้วยกาย วาจา ใจ มีปัญญาเครื่องพิจารณาเพื่อประโยชน์ของตน.

นรชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ ที่เป็นคนมียศ มีโภคทรัพย์บริบูรณ์ทุกอย่าง นรชนเหล่านั้นได้สั่งสมกรรมดีไว้ในปางก่อนแล้วโดยไม่ต้องสงสัย สัตว์ทั้งปวงล้วนมีกรรมเป็นของตัว ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์ทรงพระราชดำริด้วยพระองค์เองเถิด ข้าแต่พระจอมชน พระสนม (ผู้ทรงโฉมงดงาม) ปานดังนางเทพอัปสรผู้ประดับคลุมกายด้วยร่างแหทองเหล่านี้ พระองค์ทรงได้มาเพราะผลแห่งกรรมอะไร พระนางรุจาราชกัญญาทรงยังพระเจ้าอังคติราช พระชนกนาถให้ทรงยินดี พระราชกุมารีผู้มีวัตรอันดีงามกราบทูลทางสุคติแก่พระชนกนาถ ดังหนึ่งบอกทางให้แก่คนหลงทาง และได้กราบทูลข้อธรรมถวายโดยนัยต่างๆ ดังนี้แล.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 222

[๘๖๖] ในกาลนั้น นารทมหาพรหมตรวจดูชมพูทวีป ได้เห็นพระเจ้าอังคติราช ผู้ทรงมีความเห็นผิด จึงมาจากพรหมโลกถึงถิ่นมนุษย์ ลำดับนั้น นารทมหาพรหมได้ยืนอยู่ที่ปราสาท เบื้องพระพักตร์แห่งพระเจ้าวิเทหราช พระนางรุจาราชธิดาเห็นนารทฤาษีนั้นมาถึง จึงนมัสการ.

[๘๖๗] ครั้งนั้น พระราชาทรงหวาดพระทัย เสด็จลงจากราชอาสน์ เมื่อจะตรัสถามนารทฤาษี ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ท่านมีผิวพรรณงามดังเทวดา ส่องรัศมีสว่างจ้าไปทั่วทิศดังพระจันทร์ ท่านมาจากไหนหนอ ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกนามและโคตรแก่ข้าพเจ้า คนในมนุษยโลกย่อมรู้จักท่านอย่างไรหนอ.

[๘๖๘] อาตมภาพมาจากเทวโลกเดี๋ยวนี้เอง ส่องรัศมีสว่างจ้าไปทั่วทิศดังพระจันทร์ มหาบพิตรตรัสถามแล้ว อาตมภาพขอถวายพระพรนามและโคตรให้ทรงทราบ คนทั้งหลายเขารู้จักอาตมภาพโดยนามนารทะ และโดยโคตรว่ากัสสปะ.

[๘๖๙] สัณฐานของท่านและการที่ท่านเหาะไปและยืนอยู่บนอากาศได้น่าอัศจรรย์ ดูก่อนท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน เออเพราะเหตุอะไรท่านจึงมีฤทธิ์เช่นนี้.

[๘๗๐] คุณธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ๑ ธรรมะ ๑ ทมะ ๑ จาคะ ๑ อาตมภาพได้ทำไว้แล้วใน

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 223

ภพก่อน เพราะคุณธรรมที่อาตมาภาพเสพมาดีแล้วนั้นแล อาตมภาพจึงไปไหนๆ ได้ตามความปรารถนาเร็วทันใจ.

[๘๗๑] เมื่อท่านบอกความสำเร็จแห่งบุญ ชื่อว่า ท่านบอกความอัศจรรย์ ถ้าแลเป็นจริงอย่างท่านกล่าว ดูก่อนท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงพยากรณ์ให้ดี.

[๘๗๒] ขอถวายพระพร ข้อใดพระองค์ทรงสงสัย เชิญมหาบพิตรตรัสถามข้อนั้นกะอาตมภาพเถิด อาตมภาพจะถวายวิสัชนาให้มหาบพิตรทรงสิ้นสงสัยด้วยนัย ด้วยญายธรรม และด้วยเหตุทั้งหลาย.

[๘๗๓] ดูก่อนท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน ท่านถูกถามแล้ว อย่าได้กล่าวมุสาแก่ข้าพเจ้า ที่คนเขาพูดกันว่า เทวดามี มารดาบิดามี ปรโลกมีนั้น เป็นจริงหรือ.

[๘๗๔] ที่คนเขาพูดกันว่าเทวดามี มารดาบิดามี และปรโลกมีนั้นเป็นจริงทั้งนั้น แต่นรชนผู้หลงงมงาย ใคร่ในกามทั้งหลายจึงไม่รู้ปรโลก.

[๘๗๕] ดูก่อนท่านนารทะ ถ้าท่านเชื่อว่าปรโลกมีจริง สถานที่อยู่ในปรโลกของเหล่าสัตว์ผู้ตายไปแล้วก็ต้องมี ขอท่านจงให้ทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะแก่ข้าพเจ้าในโลกนี้ ข้าพเจ้าจะใช้ให้ท่านพันหนึ่งในปรโลก.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 224

[๘๗๖] ถ้าอาตมภาพรู้ว่ามหาบพิตรทรงมีศีล ทรงรู้ความประสงค์ของสมณพราหมณ์ อาตมภาพก็จะให้มหาบพิตรทรงยืมสักห้าร้อย แต่มหาบพิตรหยาบช้า ทรงจุติจากโลกนี้แล้ว จะต้องไปอยู่ในนรก ใครจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกเล่า ผู้ใดในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศีลธรรม ประพฤติชั่ว เกียจคร้าน มีกรรมอันหยาบช้า บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้หนี้ในผู้นั้น เพราะจะไม่ได้ทรัพย์คืนจากคนเช่นนั้น ส่วนบุคคลผู้ขยันหมั่นเพียร มีศีล รู้ความประสงค์ คนทั้งหลายรู้แล้วย่อมเอาโภคทรัพย์มาเชื้อเชิญเอง ด้วยคิดว่า ผู้นี้ทำการงานเสร็จแล้ว พึงนำมาใช้ให้.

[๘๗๗] ขอถวายพระพร มหาบพิตรเสด็จไปจากที่นี่แล้ว จักทอดพระเนตรเห็นพระองค์เองอยู่ในนรกนั้น ซึ่งถูกฝูงการุมยื้อแย่งฉุดคร่าอยู่ ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตรผู้ตกอยู่ในนรก ถูกฝูงกา ฝูงแร้ง ฝูงสุนัขรุมกัดกิน ตัวขาดกระจัดกระจาย เลือดไหลโทรม.

[๘๗๘] ในโลกันตนรกนั้นมืดที่สุด ไม่มีพระจันทร์และพระอาทิตย์ โลกันตนรกมืดตื้ออยู่ทุกเมื่อ น่ากลัว กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ ผู้ต้องการทรัพย์คนไรเล่า จะพึงเที่ยวไปในสถานที่เช่นนั้นได้.

[๘๗๙] ในโลกันตนรกนั้นมีสุนัข ๒ เหล่า คือ ด่างเหล่า ๑ ดำเหล่า ๑ ล้วนมีร่างกายกำยำ ล่ำสัน

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 225

แข็งแรง ย่อมพากันมากัดกินผู้ที่จุติจากมนุษยโลกนี้ไปตกอยู่ในโลกันตนรก ด้วยเขี้ยวเหล็ก ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกกะมหาบพิตรผู้ตกอยู่ในนรก ถูกสุนัขอันทารุณร้ายกาจ นำทุกข์มาให้ รุมกัดกิน ตัวขาดกระจัดกระจายเลือดไหลโทรมได้.

[๘๘๐] และในนรกอันร้ายกาจ พวกนายนิรยบาลชื่อกาลูปกาละ ผู้เป็นข้าศึก พากันเอาดาบและหอกอันคมกริบมาทิ่มแทงนรชนผู้กระทำกรรมชั่วไว้ในภพก่อน ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกกะมหาบพิตรผู้ถูกทิ่มแทงที่ท้อง ที่สีข้างพระอุทรพรุน วิ่งวุ่นอยู่ในนรก ตัวขาดกระจัดกระจาย เลือดไหลโทรมได้.

[๘๘๑] ในโลกันตนรกนั้น มีห่าฝนต่างๆ ชนิด คือ หอก ดาบ แหลน หลาว มีประกายวาวดังถ่านเพลิง ตกลงบนศีรษะ สายอัสนีศิลาอันแดงโชน ตกต้องสัตว์นรกผู้มีกรรมหยาบช้า และในนรกนั้นมีลมร้อนยากที่จะทนได้ สัตว์ในนรกนั้น ย่อมไม่ได้รับความสุขแม้แต่น้อย ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกกะมหาบพิตร ซึ่งทรงกระสับกระส่าย วิ่งไปมาหาที่ซ่อนเร้นมิได้.

[๘๘๒] ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตรผู้ถูกเทียมในรถวิ่งไปวิ่งมา ต้องเหยียบแผ่นดินอันลุกโพลงถูกแทงด้วยประตักอยู่ได้.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 226

[๘๘๓] ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกกะมหาบพิตรซึ่งทนไม่ได้ วิ่งไปขึ้นภูเขาอันดาดไปด้วยขวากกรด ลุกโชนน่าสยดสยองอย่างยิ่ง ตัวขาดกระจัดกระจายเลือดไหลโทรมได้.

[๘๘๔] ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกกะมหาบพิตร ซึ่งต้องวิ่งขึ้นเหยียบถ่านเพลิงกองเท่าภูเขา ลุกโพลงน่ากลัว มีตัวถูกไฟไหม้ทนไม่ไหวร้องครวญครางอยู่ได้.

[๘๘๕] ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยหนามเหล็ก คมกริบ กระหายเลือดคน หญิงผู้ประพฤติล่วงสามี และชายผู้คบหากระทำชู้ภรรยาผู้อื่น ถูกนายนิรยบาลผู้ทำตามสั่งของพระยายม ถือหอกไล่ทิ่มแทงให้ขึ้นต้นงิ้วนั้น ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์จำนวนนั้นกะมหาบพิตร ซึ่งต้องขึ้นต้นงิ้วในนรกเลือดไหลเปรอะเปื้อน มีกายเหี้ยมเกรียมหนังปอกเปิก กระสับกระส่ายเสวยเวทนาอย่างหนัก ใครเล่าจะไปขอทรัพย์จำนวนเท่านั้นกะพระองค์ผู้หอบแล้วหอบอีก อันเป็นโทษของบุรพกรรม หนังปอกเปิกเดินทางผิดได้.

[๘๘๖] ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยใบเหล็กคมกริบดังดาบ กระหายเลือดคน ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตรซึ่งขึ้นอยู่บนต้นงิ้วนั้น ก้าวไปเหยียบใบเหล็กอันคมดังดาบ ก็ถูกใบงิ้วอันคมนั้นบาด มีตัวขาดกระจัดกระจายเลือดไหลโทรมได้.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 227

[๘๘๗] ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์จำนวนนั้นกะมหาบพิตร ซึ่งเดินหนีออกจากขุมนรกไม้งิ้ว มีใบเป็นดาบ ไปพลัดตกลงในแม่น้ำเวตรณีได้.

[๘๘๙] ข้าพเจ้าแทบจะล้มเหมือนต้นไม้ที่ถูกตัด ข้าพเจ้าหลงสำคัญผิดจึงไม่รู้จักทิศ ท่านฤาษี ข้าพเจ้าได้ฟังคาถาภาษิตของท่านแล้วย่อมร้อนใจ เพราะกลัวมหาภัย ท่านฤษี ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า ดังหนึ่งน้ำสำหรับแก้กระหายในเวลาร้อน เกาะเป็นที่อาศัยในห้วงมหาสมุทร และประทีปสำหรับส่องสว่างในที่มืดฉะนั้นเถิด ท่านฤาษี ขอท่านจงสอนอรรถและธรรมแก่ข้าพเจ้า ในกาลก่อนข้าพเจ้าได้กระทำความผิดไว้ส่วนเดียว ข้าแต่ท่านนารทะ ขอท่านจงบอกทางบริสุทธิ์แก่ข้าพเจ้า โดยที่ข้าพเจ้าจะไม่พึงตกไปในนรกด้วยเถิด.

[๘๙๐] พระราชา ๖ พระองค์นี้ คือ ท้าวธตรฐ ท้าวเวสสามิตระ ท้าวอัฏฐกะ ท้าวยมทัตติ ท้าวอุสสินนระ ท้าวสีวิราชและพระราชาพระองค์อื่นๆ ได้ทรงบำรุงสมณพราหมณ์ทั้งหลายแล้วเสด็จไปยังสวรรค์ ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แม้มหาบพิตรก็ฉันนั้น จงทรงเว้นอธรรม แล้วทรงประพฤติธรรม ราชบุรุษทั้งหลายจงถืออาหารไปประกาศภายในพระราชนิเวศน์ และภายในพระนครว่าใครหิว ใครกระหาย ใครปรารถนามาลา ใครปรารถนา

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 228

เครื่องลูบไล้ ใครไม่มีผ้านุ่งห่ม จักนุ่งผ้าสีต่างๆ ตามปรารถนา ใครต้องการร่ม ใครต้องการรองเท้าอย่างเนื้ออ่อนอย่างดี ราชบุรุษทั้งหลายจงประกาศดังนี้ในพระนครของพระองค์ ทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า มหาบพิตรอย่าได้ใช้คนแก่เฒ่า และโคม้าอันแก่ชราเหมือนดังก่อน และจงพระราชทานเครื่องบริหารแก่บุคคลที่เป็นกำลัง เคยกระทำความดีไว้เท่าเดิมเถิด.

[๘๙๑] มหาบพิตรจงทรงสำคัญพระวรกายของพระองค์ว่าเป็นดังรถ อันมีใจเป็นนายสารถี กระปรี้กระเปร่า (เพราะปราศจากถีนมิทธะ) อันมีอวิหิงสาเป็นเพลาที่เรียบร้อยดี มีการบริจาคเป็นหลังคา มีการสำรวมเท้าเป็นกง มีการสำรวมมือเป็นกระพอง มีการสำรวมท้องเป็นน้ำมันหยอด มีการสำรวมวาจาเป็นความเงียบสนิท มีการกล่าวคำสัตย์เป็นองค์รถอันบริบูรณ์ มีการไม่กล่าวคำส่อเสียดเป็นการเข้าหน้าไม้สนิท มีการกล่าวคำอ่อนหวานเป็นเครื่องรถอันเกลี้ยงเกลา มีการกล่าวพอประมาณเป็นเครื่องผูกรัด มีศรัทธาและอโลภะเป็นเครื่องประดับ มีการถ่อมตนและกราบไหว้เป็นกูบ มีความไม่กระด้างเป็นงอนรถ มีการสำรวมศีลเป็นเชือกขันชะเนาะ มีความไม่โกรธเป็นอาการไม่กระเทือน มีกุศลธรรมเป็นเศวตฉัตร มีพาหุสัจจะเป็นสายทาบ มีการตั้งจิตมั่นเป็นที่มั่น มี

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 229

ความคิดเครื่องรู้จักกาลเป็นไม้แก่น มีความแกล้วกล้าเป็นไม้ค้ำ มีความประพฤติถ่อมตนเป็นเชือกขันแอก มีความไม่เย่อหยิ่งเป็นแอกเบา มีจิตไม่หดหู่เป็นเครื่องลาด มีการเสพบุคคลผู้เจริญเป็นเครื่องกำจัดธุลี มีสติของนักปราชญ์เป็นประตัก มีความเพียรเป็นสายบังเหียน มีใจที่ฝึกฝนดีแล้วเป็นดังม้าที่หัดไว้เรียบเป็นเครื่องนำทาง ความปรารถนาและความโลภเป็นทางคด ส่วนความสำรวมเป็นทางตรง ขอถวายพระพร ปัญญาเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนม้า ในรถคือพระวรกายของมหาบพิตรที่กำลังแล่นไปในรูป เสียง กลิ่น รส พระองค์นั้นแลเป็นสารภี ถ้าความประพฤติชอบและความเพียรมั่นมีอยู่ด้วยยานนี้ รถนั้นจะให้สิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่างจะไม่นำไปบังเกิดในนรก.

[๘๙๒] อลาตเสนาบดีเป็นพระเทวทัต สุนามอำมาตย์เป็นพระภัททชิ วิชยอำมาตย์เป็นพระสารีบุตร วีชกบุรุษเป็นพระโมคคัลลานะ คุณาชีวกผู้อเจลกเป็นสุนักขัตตลิจฉวีบุตร พระนางรุจาราชธิดาผู้ทรงยังพระราชาให้เลื่อมใสเป็นพระอานนท์ พระเจ้าอังคติราชผู้มีทิฏฐิชั่วในกาลนั้นเป็นพระอุรุเวลกัสสปะ มหานารทพรหมโพธิสัตว์เป็นเราตถาคต ท่านทั้งหลาย จงทรงชาดกไว้ด้วยประการฉะนี้แล.

จบมหานารทกัสสปชาดกที่ ๘

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 230

๘. อรรถกถาพรหมนารทชาดก (๑)

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในสวนตาลหนุ่ม ทรงปรารภถึงการทรงทรมานท่านอุรุเวลกัสสป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อหุ ราชา วิเทหานํ ดังนี้

ดังจะกล่าวโดยพิศดาร ในกาลที่พระศาสดาทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ ทรงทรมานชฎิล ๓ คนพี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปชฎิลเป็นต้น แวดล้อมไปด้วยปุราณชฎิล ๑,๐๐๐ คน เสด็จไปยังสวนตาลหนุ่ม เพื่อพระประสงค์จะทรงเปลื้องปฏิญญา ที่ได้ทรงให้ไว้แก่พระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นเจ้าแผ่นดินแห่งมคธรัฐ ในกาลนั้นเมื่อพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าแผ่นดินมคธรัฐ พร้อมด้วยบริษัทประมาณ ๑๒ นหุต เสด็จมาถวายบังคมพระทศพลแล้วประทับนั่งอยู่ ขณะนั้น พวกพราหมณ์คหบดีในภายในราชบริษัท เกิดความปริวิตกขึ้นว่า ท่านพระอุรุเวลกัสสปประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณโคดม หรือพระมหาสมณโคดมประพฤติพรหมจรรย์ในท่านพระอุรุเวลกัสสป.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพวกบริษัทเหล่านั้นด้วยพระทัย จึงทรงพระดำริว่า จักต้องประกาศภาวะที่กัสสปมาบวชในสำนักของเราให้พวกนี้รู้ ดังนี้แล้วจึงตรัสพระคาถาว่า

กัสสปผู้อยู่ในอุรุเวลประเทศท่านเคยเป็นอาจารย์สั่งสอนหมู่ชฎิลผู้ผอมเพราะกำลังประพฤติพรต ท่านเห็นอะไรจึงได้ละไฟที่เคยบูชาเสีย เราถามเนื้อความนั้นกะท่าน อย่างไร ท่านจึงละการบูชาเพลิงของท่านเสีย.


๑. บาลีเป็น มหานารทกัสสปชาดก.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 231

ฝ่ายพระเถระ ก็ทราบพระพุทธประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ใคร่จะแสดงเหตุ จึงกราบทูลว่า

ยัญทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญรูป เสียง กลิ่น รส และหญิงที่น่าใคร่ทั้งหลาย ข้าพระองค์รู้ว่า ของน่ารักใคร่นั้นๆ เป็นมลทินตกอยู่ในอุปกิเลสทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นข้าพระองค์จึงมิได้ยินดีในการเซ่นสรวงและการบูชาเพลิง ข้าพระองค์ได้เห็นธรรมอันระงับแล้วไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง อันเป็นเหตุก่อให้เกิดทุกข์ ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ติดข้องอยู่ในกามภพ มิใช่วิสัยที่ผู้อื่นจะนำมาให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่แปรปรวนกลายเป็นอย่างอื่น เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในการเซ่นสรวงและการบูชาไฟ.

ครั้นพระอุรุเวลกัสสปกล่าวคาถาเหล่านี้แล้ว เพื่อจะประกาศภาวะที่ตนเป็นพุทธสาวก จึงซบศีรษะลงที่หลังพระบาทของพระตถาคต ทูลประกาศว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระองค์ ดังนี้แล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส ๗ ครั้ง คือครั้งที่ ๑ สูงชั่วลำตาล ๑ ครั้งที่ ๒ สูงชั่ว ๒ ลำตาล จนถึงครั้งที่ ๗ สูง ๗ ชั่วลำตาล แล้วลงมาถวายบังคมพระตถาคต นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มหาชนเห็นปาฏิหาริย์ดังนั้น ก็ได้กล่าวสรรเสริญคุณของพระศาสดาว่า น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้ามีอานุภาพมาก ธรรมดาผู้มีความเห็นผิดที่มีกำลังถึงอย่างนี้ เมื่อสำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์ แม้ท่านพระอุรุเวลกัสสป พระองค์ก็ทรงทำลายข่ายคือทิฏฐิทรมานเสียได้.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 232

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย การที่เราถึงซึ่งสัพพัญญุตญาน ทรมานอุรุเวลกัสสปนี้ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เท่ากับครั้งก่อน แม้ในเวลาที่เรายังมีราคะโทสะและโมหะ เป็นพรหมชื่อว่า นารทะ ทำลายข่ายคือทิฏฐิของเธอ กระทำเธอให้หมดพยศ ดังนี้แล้วก็ทรงดุษณีภาพ อันบริษัทนั้นกราบทูลอาราธนาจึงทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าอังคติราช เสวยราชสมบัติในกรุง มิถิลามหานคร ณ วิเทหรัฐ พระองค์ทรงตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา พระองค์มีพระราชธิดาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระนางรุจาราชกุมารี มีพระรูปโฉมสวยงาม ชวนดู ชวนชม มีบุญมาก ได้ทรงตั้งปณิธานความปรารถนาไว้สิ้นแสนกัป จึงได้มาเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสี ส่วนพระเทวีนอกนั้นของพระองค์ ๑๖,๐๐๐ คน ได้เป็นหญิงหมัน พระนางรุจาราชกุมารีนั้นจึงเป็นที่โปรดปรานของพระองค์ยิ่งนัก พระองค์ได้ทรงจัดผ้าเนื้อละเอียดอย่างยิ่ง หาค่ามิได้พร้อมกับผอบดอกไม้ ๒๕ ผอบ อันเต็มไปด้วยบุปผาชาตินานาชนิด ส่งไปพระราชทานพระราชธิดาทุกๆ วัน ด้วยทรงพระประสงค์จะให้พระราชธิดาทรงประดับพระองค์ด้วยของเหล่านี้ และของเสวยที่จัดส่งไปประทานนั้นเป็นขาทนียะและโภชนียะอันหาประมาณมิได้ ทุกกึ่งเดือนได้ทรงส่งพระราชทานทรัพย์ ๑,๐๐๐ ไปพระราชทานพระราชธิดา โดยตรัสสั่งว่า ส่วนนี้ลูกจงให้ทานเถิด และพระองค์มีอำมาตย์อยู่ ๓ นาย คือ วิชยอำมาตย์ ๑ สุนามอำมาตย์ ๑ อลาตอำมาตย์ ๑

ครั้นถึงคืนกลางเดือน ๑๒ ดอกโกมุทบานเทศกาลมหรพ มหาชนพากันตบแต่งพระนครและภายในพระราชฐานไว้อย่างตระการปานประหนึ่งว่าเทพนคร จึงพระเจ้าอังคติราชเข้าโสรจสรงทรงลูบไล้พระองค์ ประหนึ่งเครื่องราชอลังการ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 233

เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จประทับนั่งเหนือราชอาสน์ บนพื้นปราสาทใหญ่ริมสีหบัญชรไชยมีหมู่อำมาตย์แวดล้อม ทอดพระเนตรดูจันทมณฑลอันทรงกรดหมดราคีลอยเด่นอยู่ ณ พื้นคัคนานต์อากาศ จึงมีพระราชดำรัสถามเหล่าอำมาตย์ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ราตรีอันบริสุทธิ์เช่นนี้น่ารื่นรมย์หนอ วันนี้เราพึงเพลิดเพลินกันด้วยเรื่องอะไรดี.

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้นได้ตรัสว่า

พระเจ้าอังคติผู้เป็นพระราชาของชนชาววิเทหรัฐ พระองค์มีช้างม้าพลโยธามากมายเหลือที่จะนับ ทั้งพระราชทรัพย์ก็เหลือหลาย ก็คืนหนึ่งในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๑๒ ดอกโกมุทบาน ตอนปฐมยามพระองค์ทรงประชุมเหล่าอำมาตย์ราชบัณฑิต ผู้เป็นพหูสูตเฉลียวฉลาด ผู้ทรงเคยรู้จัก ทั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่อีก ๓ นาย คือวิชัยอำมาตย์ ๑ สุนามอำมาตย์ ๑ อลาตอำมาตย์ ๑ แล้วจึงตรัสถามตามลำดับว่า เธอจงแสดงความเห็นของตนมาว่า ในวันกลางเดือน ๑๒ เช่นนี้ พระจันทร์แจ่มกระจ่าง กลางคืนวันนี้ พวกเราจะยังฤดูเช่นนี้ให้เป็นไปด้วยความยินดีอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหูตโยโค ความว่า พระองค์ประกอบด้วยพลช้างมากมายเป็นต้น. บทว่า อนนฺตพลโปริโส ได้แก่ พระองค์มีพลโยธามากมายเหลือที่นับ. บทว่า อนาคเต ความว่า ยังไม่ถึง คือ ยังไม่ล่วงถึงที่สุด. บทว่า จาตุมาสา ได้แก่ ในราตรีอันเป็นวันสุดท้ายแห่งเดือนอัน

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 234

มีในฤดูฝน ๔ เดือน. บทว่า โกมุทิยา เมื่อดอกโกมุทบาน. บทว่า มิตปุพฺเพ ความว่า มีปกติกระทำยิ้มแย้มก่อนแล้วกล่าวในภายหลัง. บทว่า ตมนุปุจฺฉิ ความว่า ตรัสถามตามลำดับกะอำมาตย์แต่ละคนในบรรดาอำมาตย์เหล่านั้น. บทว่า ปจฺเจกํ พฺรูถ สํรุจึ ความว่า พวกเธอทั้งหมด จงแสดงเรื่องที่เหมาะสมแก่อัธยาศัยของตนๆ อันน่าชอบใจของตนแต่ละอย่างแก่เรา. บทว่า โกมุทชฺชา ตัดเป็น โกมุที อชฺช. บทว่า ชุณฺหํ ความว่า ดวงจันทร์อันมีในคืนเดือนหงายโผล่ขึ้นแล้ว. บทว่า พฺยปหตํ ตมํ ความว่า แสงจันทร์นั้นกำจัดมืดทั้งปวงเสียได้. บทว่า อุตุํ ความว่า วันนี้ เราจะยังราตรี คือฤดูเห็นปานนี้ ให้เป็นอยู่ด้วยความยินดีอย่างไรหนอ.

ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามพวกอำมาตย์ทั้งหลาย อำมาตย์เหล่านั้น ถูกพระองค์ตรัสถามแล้ว จึงกราบทูลถ้อยคำอันสมควรแก่อัธยาศัยของตนๆ.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า

ลำดับนั้น อลาตเสนาบดีได้กราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงจัดพลช้าง พลม้า พลเสนา จะนำชายฉกรรจ์ออกรบ พวกใดยังไม่มาสู่อำนาจ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็จะนำมาสู่อำนาจ นี่เป็นความเห็นของข้าพระพุทธเจ้า เราทั้งหลายจะได้ชัยชนะผู้ที่เรายังไม่ชนะ (ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงรื่นรมย์ด้วยการรบ นี้เป็นเพียงความคิดของข้าพระพุทธเจ้า).

สุนามอำมาตย์ ได้ฟังคำของอลาตเสนาบดีแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา พวกศัตรูของ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 235

พระองค์มาสู่พระราชอำนาจหมดแล้ว ต่างพากันวางศาสตรา ยอมสวามิภักดิ์แล้วทั้งหมด วันนี้เป็นวันมหรสพ สนุกสนานยิ่ง การรบข้าพระพุทธเจ้าไม่ชอบใจ ชนทั้งหลายจงรีบนำข้าวน้ำ และของควรเคี้ยวมาเพื่อพระองค์เถิด ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงรื่นรมย์ด้วยกามคุณ และการฟ้อนรำ ขับร้อง การประโคม เถิดพระเจ้าข้า.

วิชยอำมาตย์ ได้ฟังคำของสุนามอำมาตย์แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา กามคุณทุกอย่างบำเรอพระองค์อยู่เป็นนิตย์แล้ว การทรงเพลิดเพลินด้วยกามคุณทั้งหลาย พระองค์ทรงหาได้โดยไม่ยากเลย ทรงปรารถนาก็ได้ทุกเมื่อ การรื่นรมย์ด้วยกามคุณทั้งหลายนี้ ไม่ใช่เป็นความคิดของข้าพระบาท วันนี้เราทั้งหลายควรพากันไปหาสมณะหรือพราหมณ์ ผู้เป็นพหูสูต รู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ซึ่งท่านจะพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราดีกว่า.

พระเจ้าอังคติราชได้ทรงสดับคำของวิชยอำมาตย์แล้ว ได้ตรัสว่า ตามที่วิชยอำมาตย์พูดว่า วันนี้เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ ผู้เป็นพหูสูต รู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณซึ่งท่านจะพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราดีกว่านั้น แม้เราก็ชอบใจ ท่านที่อยู่ ณ ที่นี้ทุกท่านจงลงมติว่า วันนี้เราทั้งหลายควรจะเข้าไปหาใครผู้เป็นบัณฑิต รู้แจ้ง

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 236

อรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ที่ท่านพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราได้.

อลาตเสนาบดี ได้ฟังพระราชดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า มีอเจลกที่โลกสมมติว่าเป็นนักปราชญ์อยู่ในมฤคทายวัน อเจลกผู้นี้ชื่อว่าคุณะ ผู้กัสสปโคตรเป็นพหูสูต พูดจาไพเราะ เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ขอเดชะ เราทั้งหลายควรเข้าไปหาเธอ เธอจักขจัดความสงสัยของเราทั้งหลายได้.

พระราชา ได้ทรงสดับคำของอลาตเสนาบดีแล้ว ได้ตรัสสั่งสารถีว่า เราจะไปยังมฤคทายวัน ท่านจงนำยานเทียมม้ามาที่นี่.

บทว่า หฏฺํ แปลว่า ยินดีร่าเริง. บทว่า โอชินามเส ความว่า พวกเราจะเอาชัยชนะ ผู้ที่พวกเราไม่ชนะ นี้เป็นอัธยาศัยของเราแล พระราชาทรงทราบถ้อยคำท่าน ไม่ทรงคัดค้าน ไม่ทรงยินดี. บทว่า เอตทพฺรวิ ความว่า สุนามอำมาตย์ ได้เห็นพระราชาผู้ไม่ทรงยินดี ไม่ทรงคัดค้านคำของอลาตเสนาบดีคิดว่า นี้ไม่เป็นอัธยาศัยของนักรบ เราจะยึดเอาความคิดของท่าน แล้วจักสรรเสริญความยินดียิ่งในกามคุณ จึงได้กล่าวคำนี้มีอาทิว่า กามทั้งหมดเป็นของท่าน. บทว่า วิชโย เอตทพฺรวิ ความว่า พระราชาทรงสดับคำของสุนามอำมาตย์แล้ว ก็ไม่ทรงยินดี ไม่ทรงคัดค้าน. ลำดับนั้นวิชัยอำมาตย์จึงคิดว่าพระราชานี้สดับคำของท่านทั้งสองนี้แล้ว ได้ยืนนิ่งอยู่ทีเดียว ธรรมดาบัณฑิตทั้งหลาย เป็นนักฟังธรรม เราจะสรรเสริญการฟังธรรมแก่พระองค์ ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สพฺเพ กามา กามทั้งปวงดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตวมุปฏฺิตา แปลว่า บำรุงบำเรอพระองค์. บทว่า โมทิตุํ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 237

ความว่า เมื่อท่านมีความปรารถนาจะบันเทิง ยินดียิ่ง พระองค์จะได้กามคุณเหล่านี้โดยไม่ยากเลย. บทว่า เนตํ จิตฺตมตํ มม ความว่า ชื่อว่า ความอภิรมย์ด้วยกามคุณของท่านนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงมติของข้าพระองค์ ความคิดของข้าพระองค์มิได้มุ่งไปในข้อนี้. บทว่า โย นชฺชา ตัดบทเป็น โย โน อชฺช. บทว่า อตฺถธมฺมวิทู ได้แก่ รู้ซึ่งอรรถแห่งบาลีและธรรมแห่งบาลี. บทว่า อิเส ได้แก่ ฤาษี คือผู้มีคุณอันแสวงหาแล้ว. บทว่า องฺคติมพฺรวิ ตัดบทเป็น องฺคติ อพฺรวิ. บทว่า มยฺหํ เจตํว รุจฺจติ ความว่า แม้ข้าพเจ้าก็ชอบใจข้อนั้นเหมือนกัน. บทว่า สพฺเพว สนฺตา ความว่า พวกท่านทั้งหมดมีอยู่ในที่นี้ จงกระทำ คือจงคิดซึ่งมติ. บทว่า อลาโต เอตทพฺรวิ ความว่า อลาตเสนาบดีฟังถ้อยคำของพระราชานั้นแล้ว คิดว่า อาชีวก ผู้ชื่อว่า คุณะ ผู้เข้าสู่ตระกูลของเรานี้ อยู่ในราชอุทยาน เราจะสรรเสริญอาชีวกนั้น กระทำให้เป็นผู้เข้าถึงราชตระกูล จึงได้กล่าวคำนี้มีอาทิว่า อตฺถายํ ดังนี้. บทว่า ธีรสมฺมโต แปลว่า สมมติว่าเป็นบัณฑิต. บทว่า กสฺสปโคตฺตาย ความว่า ผู้นี้เป็นกัสสปโคตร. บทว่า สุโต ได้แก่ มีพุทธพจน์อันสดับแล้วมาก. บทว่า คณี แปลว่า หมู่มาก. บทว่า โจเทสิ แปลว่า ได้สั่งบังคับแล้ว.

พระราชา เมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า

พวกนายสารถีได้จัดพระราชยาน อันล้วนแล้วไปด้วยงา มีกระพองเป็นเงิน และจัดรถพระที่นั่งรองอันขาวผุดผ่อง ดังพระจันทร์ในราตรี ที่ปราศจากมลทินโทษ มาถวายแก่พระราชา รถนั้นเทียมด้วยม้าสินธพสี่ตัว ล้วนมีสีดังสีดอกโกมุท เป็นม้ามีฝีเท้าเร็วดังลมพัด วิ่งเรียบ ประดับด้วยดอกไม้ทอง พระกลด

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 238

ราชรถม้า และวีชนี ล้วนมีสีขาว พระเจ้าวิเทหราชพร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ เสด็จออกย่อมงดงามดังพระจันทร์ หมู่พลราชบริพารผู้กล้าหาญ ขี่บนหลังม้าถือหอกดาบตามเสด็จ พระเจ้าวิเทหราชมหากษัตริย์พระองค์นั้น เสด็จถึงมฤคทายวันโดยครู่เดียว เสด็จลงจากราชยานแล้ว ทรงดำเนินเข้าไปหาคุณาชีวก พร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ ก็ในกาลนั้น มีพราหมณ์และคฤหบดีมาประชุมกันอยู่ในพระราชอุทยานนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น พระราชามิให้ลุกหนีไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส ยานํ ความว่า พวกนายสารถี ได้จัดพระราชยาน ถวายแด่พระราชานั้น. บทว่า ทนฺตํ ได้แก่ อันล้วนแล้วไปด้วยงา. บทว่า รูปิยปกฺขรํ แปลว่า มีกระพองเป็นเงิน. บทว่า สุกฺกมฏฺปริวารํ ความว่า มีรถอันบริสุทธิ์ เกลี้ยงเกลา ไม่หยาบเป็นเครื่องแห่แหน. บทว่า โทสินา มุข ความว่า เป็นเสมือนพระจันทร์เพ็ญ ประหนึ่งหน้าแห่งราตรีที่ปราศจากมลทินโทษ. บทว่า ตตฺราสุํ แปลว่า ได้มีในรถนั้น. บทว่า กุมุทา แปลว่า เป็นเสมือนสีแห่งโกมุท. บทว่า สินฺธวา ได้แก่ ม้าที่มีฝีเท้าเร็วเชื้อชาติม้าสินธพ. บทว่า อนีลุปฺปสมุปฺปาตา ได้แก่ ม้าที่มีกำลังเสมือนกับกำลังลม. บทว่า เสตจฺฉตฺตํ แม้ฉัตรที่เขายกขึ้นไว้บนรถนั้นก็มีสีขาว. บทว่า เสตรโถ ความว่า แม้รถนั้น ก็มีสีขาวเหมือนกัน. บทว่า เสตสฺสา ความว่า แม้ม้าก็มีสีขาว บทว่า เสตวีชนี ความว่า แม้พัดวีชนีก็ขาว. บทว่า นียํ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชแวดล้อมไปด้วยหมู่อำมาตย์ เสด็จไปด้วยรถเงินนั้น ย่อมงดงามดังจันทเทพบุตร. บทว่า นรา นรวราธิปํ ความว่า เป็นอธิบดีแห่งนรชนผู้ประเสริฐ เป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา. บทว่า โส มุหุตฺตํว ยายิตฺวา ความว่า

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 239

พระราชานั้น เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน โดยครู่เดียวเท่านั้น. บทว่า ปตฺติคุณมุปาคมิ ความว่า ทรงพระราชดำเนินเข้าไปหาคุณาชีวก. บทว่า เยปิ ตตฺถ ตทา อาสุํ ความว่าในกาลนั้น พวกพราหมณ์คฤหบดีทั้งหลายไปก่อน ไปในอุทยานนั้น เข้าไปนั่งใกล้อาชีวกนั้น. บทว่า น เต อปนยี ความว่า พระราชาตรัสว่า โทษเป็นของพวกเราเท่านั้น พวกเรามาภายหลัง อย่าวิตกไปเลย จึงไม่ให้พวกพราหมณ์และคฤหบดีกระทำโอกาส คือลุกขึ้นหลีกไปเพื่อประโยชน์แก่พระราชา. บทว่า ภูมิมาคเต ความว่า เขาเหล่านั้น ผู้มาสู่พื้นที่ประชุม อันพระราชามิให้ลุกขึ้นแล้วหนีไป.

พระเจ้าอังคติราชนั้น แวดล้อมไปด้วยบริษัท ผสมกันนั้นแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทรงกระทำปฏิสันถาร.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า

ลำดับนั้น พระเจ้าอังคติราชนั้น เสด็จเข้าไปประทับนั่งบนอาสนะ อันปูลาดพระยี่ภู่ มีสัมผัสอันอ่อนนุ่ม ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทรงปราศรัย ถามทุกข์สุขว่า ผู้เป็นเจ้าสบายดีอยู่หรือ ลมมิได้กำเริบเสียดแทงหรือ ผู้เป็นเจ้าเลี้ยงชีวิตโดยมิฝืดเคืองหรือ ได้บิณฑบาตพอเยียวยาชีวิตให้เป็นไปอยู่หรือ ผู้เป็นเจ้ามีอาพาธน้อยหรือ จักษุมิได้เสื่อมไปจากปรกติหรือ.

คุณาชีวก ทูลปราศรัยกับพระเจ้าวิเทหราช ผู้ทรงยินดีในวินัยว่า ข้าแต่มหาราชา ข้าพระพุทธเจ้าสบายดีทุกประการ บ้านเมืองของพระองค์ไม่กำเริบหรือ ช้างม้าของพระองค์หาโรคมิได้หรือ พาหนะยังพอเป็นไปแหละหรือ พยาธิไม่มีมาเบียดเบียนพระสรีระของพระองค์แลหรือ.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 240

เมื่อคุณาชีวกทูลปราศรัยแล้ว ลำดับนั้น พระราชาผู้เป็นจอมทัพทรงใคร่ธรรม ได้ตรัสถามอรรถธรรมและเหตุว่า ท่านกัสสป นรชนพึงประพฤติธรรมในมารดาและบิดาอย่างไร พึงประพฤติธรรมในอาจารย์อย่างไร พึงประพฤติธรรมในบุตรและภรรยาอย่างไร พึงประพฤติธรรมในวุฒิบุคคลอย่างไร พึงประพฤติธรรมในพลนิกายอย่างไร และพึงประพฤติธรรมในชนบทอย่างไร ชนทั้งหลายประพฤติธรรมอย่างไร ละโลกนี้ไปแล้วจึงไปสู่สุคติ ส่วนคนบางพวกผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมไฉนจึงตกลงไปใต้นรก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุทุกา ภิสิยา ความว่า ด้วยพระยี่ภู่ซึ่งมีสัมผัสสบายอ่อนนุ่ม. บทว่า มุทุจิตฺตกสณฺเต ความว่า บนเครื่องลาดอันวิจิตร มีสัมผัสสบาย. บทว่า มุทุปจฺจตฺถเต ความว่า อันลาดด้วยเครื่องลาดอันอ่อนนุ่ม. บทว่า สมฺโมทิ ความว่า ได้กระทำสัมโมทนียกถากับอาชีวก. บทว่า ตโต ความว่า ถัดจากการนั่งนั่นแล ได้กล่าวสาราณียกถา. บทว่า กจฺจิ ยาปนียํ ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอยู่ดีหรือ ท่านสามารถยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยปัจจัยอันประณีตอยู่หรือ. บทว่า วาตานมวิยตฺตตา ความว่า วาโยธาตุในร่างกายของท่านเป็นไปอย่างสบายอยู่หรือ โรคลมมิได้กำเริบหรือ อธิบายว่า ลมที่เกิดขึ้นเป็นพวกในร่างกายนั้นๆ ของท่านไม่เบียดเบียนท่านหรือ. บทว่า อกสิรา ได้แก่ หมดทุกข์. บทว่า วุตฺติ ได้แก่ ความเป็นไปแห่งชีวิต. บทว่า อปฺปาพาโธ ความว่า เว้นจากอาพาธอันหักรานอิริยาบถ. ด้วยบทว่า จกฺขุ นี้ ท่านถามว่า อินทรีย์มี

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 241

จักขุนทรีย์เป็นต้นของท่านไม่เสื่อมหรือ. บทว่า ปฏิสมฺโมทิ ความว่า ท่านกล่าวตอบด้วยสัมโมทนียกถา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพเมตํ คำที่ท่านกล่าวว่า ลมมิได้กำเริบเสียดแทงเป็นต้น ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นอย่างนั้นนั่นแล. บทว่า ตทูภยํ ความว่า แม้คำที่ท่านกล่าวว่า ท่านมีอาพาธน้อย จักษุไม่เสื่อมหรือ ทั้ง ๒ นั้น ก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า น พลียเร ได้แก่ ไม่ครอบงำ ไม่กำเริบ ด้วยบทว่า อนนฺตรา นี้ ท่านถามปัญหาในลำดับแต่ปฏิสันถาร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถํ ธมฺมญฺจ ายญฺจ ได้แก่ อรรถแห่งบาลี ธรรมแห่งบาลี และอรรถธรรมอันประกอบไปด้วยเหตุ ก็อำมาตย์นั้นเมื่อถามว่า กถํ ธมฺมญฺจเร จึงถามอรรถธรรมและความประพฤติดีนี้ว่า ขอท่านจงบอก อรรถแห่งบาลี ธรรมแห่งบาลี และอรรถธรรมอันสมควรแก่เหตุ อันแสดงการปฏิบัติในมารดาและบิดาเป็นต้นแก่ข้าพเจ้า. บทว่า กถญฺเจเก อธมฺมฏฺา ความว่า ชนบางพวกตั้งอยู่ในอธรรม อย่างไรคนบางพวกจึงเอาหัวลงตกสู่นรก และเอาเท้าขึ้น ตกไปในอบาย.

ก็ปัญหานั้นเป็นปัญหาที่พระราชาควรจะตรัสถามผู้มีศักดิ์ใหญ่คนหลังๆ เพราะไม่ได้คำตอบจากคนก่อนๆ ในบรรดาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธสาวก และพระมหาโพธิสัตว์ แต่กลับตรัสถามคุณาชีวก ผู้เปลือยกาย หาสิริมิได้ เป็นคนอันธพาล ไม่รู้ปัญหาอะไรเลย. คุณาชีวกนั้น ครั้นถูกถามแล้วอย่างนี้ จึงไม่เห็นทางพยากรณ์อันเหมาะสมแก่ราชปุจฉา ซึ่งเป็นประหนึ่งเอาท่อนไม้ตีโคที่กำลังเที่ยวไปอยู่ หรือเหมือนคราดหยากเยื่อทั้งด้วยจวักฉะนั้น แต่ได้ทูลขอโอกาสว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงสดับเถิด แล้วเริ่มตั้งมิจฉาวาทะของตน.

พระศาสดาเธอจะทรงประกาศความนั้นจึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 242

คุณาชีวกกัสสปโคตรได้ฟังพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราช ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์ทรงสดับทางที่จริงแท้ของพระองค์ ผลแห่งธรรมที่ประพฤติแล้วเป็นบุญเป็นบาปไม่มี ขอเดชะ ปรโลกไม่มี ใครเล่าจากปรโลกนั้นมาโลกนี้ ปู่ย่าตายายไม่มี มารดาบิดาจะมีที่ไหน ขึ้นชื่อว่าอาจารย์ไม่มี ใครจักฝึกผู้ที่ฝึกไม่ได้ สัตว์เสมอกันหมด ผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญไม่มี กำลังหรือความเพียรไม่มี บุรุษผู้มีความหมั่นจักได้รับผลแต่ที่ไหน สัตว์ที่เกิดตามกันมา เหมือนเรือน้อยห้อยท้ายเรือใหญ่ สัตว์ย่อมได้สิ่งที่ควรได้ ในข้อนั้น ผลทานจักมีแต่ที่ไหน ผลทานไม่มี ความเพียรไม่มีอำนาจ ทานคนโง่บัญญัติไว้ คนฉลาดรับทาน คนโง่สำคัญตัวว่าฉลาด เป็นผู้ไม่มีอำนาจ ย่อมให้ทานแก่นักปราชญ์ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธาคโต ความว่า ชื่อว่าผู้จากปรโลกนั้นมาสู่โลกนี้ย่อมไม่มี. บทว่า ปิตโร วา ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เฉพาะปิยชนทั้งหลาย มีปู่ย่าตายายเป็นต้นย่อมไม่มี เมื่อท่านเหล่านั้นไม่มี มารดาจะมีแต่ที่ไหน บิดาจะมีแต่ที่ไหน?. บทว่า ยถา โหถ วิโย ตถา ความว่า พวกสัตว์เป็นเหมือนเรือน้อยห้อยท้ายตามเรือใหญ่ไปฉะนั้น. ท่านกล่าวว่า เรือน้อยที่ผูกห้อยท้ายตามหลังเรือใหญ่ไปฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมติดตามไปอย่างแน่นอนทีเดียวถึง ๘๔ กัป. บทว่า อวโส เทว วีริโย ความว่า เมื่อผลของทานไม่มีด้วยอาการอย่างนี้ คนพาลคนใด

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 243

คนหนึ่งย่อมชื่อว่าให้ทาน ท่านแสดงไว้ว่าคนพาลนั้นไม่มีอำนาจไม่มีความเพียร ย่อมให้ทานโดยอำนาจ คือโดยกำลังของตนหาได้ไม่ แต่ย่อมเชื่อต่อคนอันธพาลเหล่าอื่น จึงให้ด้วยสำคัญว่า ผลทานย่อมมี. บทว่า พาเลหิ ทานํ ปญฺญฺตฺตํ ความว่า คนพาลเท่านั้นย่อมให้ทานนั้น บัณฑิตย่อมคอยรับทานที่คนอันธพาลบัญญัติไว้ คืออนุญาตไว้ว่า ควรให้ทานแล.

ครั้นคุณาชีวกทูลพรรณนาภาวะที่ทานเป็นของไม่มีผลอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อพรรณนาถึงบาปที่ไม่มีผล จึงกล่าวว่า

รูปกายอันเป็นที่รวม ดิน น้ำ ลม ไฟ สุข ทุกข์และชีวิต ๗ ประการนี้ เป็นของเที่ยง ไม่ขาดสูญ ไม่กำเริบ รูปกาย ๗ ประการนี้ ของสัตว์เหล่าใด ชื่อว่าขาดไม่มี ผู้ที่ถูกฆ่าหรือถูกตัด หรือเบียดเบียนใดๆ ไม่มี ศาสตราทั้งหลายพึงเป็นรูปในระหว่างรูปกาย ๗ ประการนี้ ผู้ใดตัดศีรษะของผู้อื่นด้วยดาบอันคม ผู้นั้นไม่ชื่อว่าตัดร่างกายเหล่านั้น ในการทำเช่นนั้นผลบาปจะมีแต่ที่ไหน สัตว์ทุกจำพวกท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร ๘๔ มหากัป ย่อมบริสุทธิ์ได้เอง เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้น แม้จะสำรวมด้วยดีก็บริสุทธิ์ไม่ได้ เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้นแม้จะประพฤติความดีมากมาย ก็บริสุทธิ์ไม่ได้ ถ้าแม้กระทำบาปมากมาย ก็ไม่ล่วงขณะนั้นไป ในวาทะของเราทั้งหลาย ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้โดยลำดับเมื่อถึง ๘๔ กัป พวกเราไม่ล่วงเลยเขตอันแน่นอนนั้นเหมือนคลื่นไม่ล่วงฝั่งไปฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 244

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายา แปลว่า หมู่. บทว่า อวิโกปิโน ได้แก่ ไม่อาจจะแยกออกจากกันได้. บทว่า ชีเว จ ได้แก่ ชีวะ (ชีวิต) ปาฐะ ว่า ชีโว จ ดังนี้ก็มีอรรถเป็นอันเดียวกัน. บทว่า สตฺติเม กายา ได้แก่ หมู่สัตว์เหล่านี้. บทว่า หญฺเร วาปิ โกจินํ ความว่า ผู้ใดพึงเบียดเบียน แม้ผู้นั้นก็ไม่จัดว่าเป็นผู้ทำร้าย. บทว่า สตฺถานิ วินิวตฺตเร ความว่า ศาสตราทั้งหลายเที่ยวไปอยู่ในภายในกายทั้ง ๗ นี้ ไม่สามารถจะตัดได้. บทว่า สิรมาทาย ความว่า จับศีรษะของชนเหล่าอื่น. บทว่า นิสิตาสินา ความว่า ท่านกล่าวว่า ตัดด้วยดาบอันคม ท่านแสดงไว้ว่า แม้ผู้นั้นตัดพวกนั้นด้วยกาย ธาตุดินก็จัดเป็นปฐวีธาตุ ธาตุลมเป็นต้น ก็จัดเข้าเป็นอาโปธาตุเป็นต้น สุขทุกข์และชีวิต ย่อมแล่นไปสู่อากาศ. บทว่า สํสรํ ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า สัตว์เหล่านี้จะทำแผ่นดินนี้ให้เป็นลานเนื้ออันหนึ่งก็ดี ท่องเที่ยวไปตลอดกัปมีประมาณเท่านี้ก็ดี ก็หาบริสุทธิ์ได้ไม่ จริงอยู่ ชื่อว่าผู้สามารถจะชำระเหล่าสัตว์ให้บริสุทธิ์จากสงสารย่อมไม่มี สัตว์ทั้งหมดนั้นย่อมบริสุทธิ์ด้วยสงสารนั่นเอง. บทว่า อนาคเต ตมฺหิ กาเล ความว่า ก็เมื่อกาลหนึ่งตามที่กล่าวแล้ว ยังไม่ถึงอนาคตกาล ผู้ที่สำรวมดีก็ดี ผู้มีศีลบริสุทธิ์ก็ดีในระหว่าง ย่อมไม่บริสุทธิ์. บทว่า ตํ ขณํ ได้แก่ ตลอดกาลมีประการดังกล่าวแล้วนั้น. บทว่า อนุปุพฺเพน โน สุทฺธิ ความว่า ความหมดจดย่อมมีโดยลำดับ ในวาทะของเรา อธิบายว่า ความหมดจดโดยลำดับแห่งเราทั้งปวงก็มี. บทว่า ตํ เวลํ ได้แก่ ตลอดกาลมีประการดังกล่าวแล้วนั้น.

คุณาชีวกผู้มีวาทะว่าขาดสูญ เมื่อจะยังวาทะของตนให้สำเร็จตามกำลังของตน จึงกราบทูลโดยหาหลักฐานมิได้.

อลาตเสนาบดี ได้ฟังคำของคุณาชีวกกัสสปโคตรแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านผู้เจริญกล่าวฉันใด คำนั้น

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 245

ข้าพเจ้าชอบใจฉันนั้น แม้ข้าพเจ้าก็ระลึกชาติหนหลังของตนได้ชาติหนึ่ง คือในชาติก่อนข้าพเจ้าเกิดในเมืองพาราณสีอันเป็นเมืองมั่งคั่ง เป็นนายพรานฆ่าโค ชื่อว่า ปิงคละ ข้าพเจ้าได้ทำบาปธรรมไว้มาก ได้ฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต คือ กระบือ สุกร แพะ เป็นอันมาก ข้าพเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้ว มาเกิดในตระกูลเสนาบดีอันบริสุทธิ์นี้ บาปไม่มีผลแน่ ข้าพเจ้าจึงไม่ต้องไปนรก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลาโต เอตทพฺรวิ ความว่า ได้ยินว่า อลาตเสนาบดีนั้น กระทำการบูชาด้วยพวงดอกอังกาบที่เจดีย์ ในกาลแห่งพระทศพลทรงพระนามกัสสปะในกาลก่อน ในมรณสมัยถูกกรรมอื่นซัดไปตามอานุภาพ ท่องเที่ยวไปในสงสาร ด้วยผลแห่งบาปกรรมอันหนึ่ง จึงบังเกิดในตระกูลแห่งโคฆาต ได้กระทำกรรมเป็นอันมาก ครั้นในเวลาที่เขาจะตาย บุญกรรมอันนั้นที่ตั้งอยู่ตลอดกาลประมาณเท่านี้ได้ให้โอกาส เหมือนไฟที่เอาขี้เถ้าปิดไว้ฉะนั้น. ด้วยอานุภาพแห่งกรรมนั้นเขาจึงบังเกิดในที่นี้ ได้รับสมบัติเช่นนั้น และระลึกชาติได้ เมื่อไม่อาจระลึกถึงกรรมอื่นจากอนันตรกรรมในอดีต จึงสนับสนุนวาทะของคุณาชีวกนั้นด้วยสำคัญว่า เราได้กระทำกรรมคือ การฆ่าโคจึงบังเกิดในที่นี้ จึงได้กล่าวคำนี้มีอาทิว่า ยถา ภทฺทนฺโต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเร สํสริตตฺตโน ความว่า ระลึกถึงชาติที่ตนท่องเที่ยวอยู่ได้. บทว่า เสนาปติกุเล แปลว่า เกิดในตระกูลแห่งเสนาบดี

ครั้งนั้น ในมิถิลานครนี้ มีคนเข็ญใจเป็นทาสเขาผู้หนึ่ง ชื่อว่าวีชกะ รักษาอุโบสถศีล ได้เข้าไปยังสำนักของคุณาชีวก ได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวก และอลาตเสนาบดีกล่าวกันอยู่ ถอนหายใยฮึดฮัด ร้องไห้น้ำตาไหล.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 246

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเถตฺถ ความว่า ครั้งนั้นในเมืองมิถิลานั้น. บทว่า ปฏจฺฉรี ได้แก่ คนเข็ญใจกำพร้า. บทว่า คุณสนฺติกวุปาคมิ ความว่า ได้ไปยังสำนักของคุณาชีวก พึงทราบความว่า เข้าไปใกล้ด้วยตั้งใจว่า ข้าพระองค์จักฟังเหตุอะไรนั่นแล.

พระเจ้าวิเทหราชได้ตรัสถามนายวีชกะนั้นว่า สหายเอ๋ย เจ้าร้องไห้ทำไม เจ้าได้ฟังได้เห็นอะไรมา หรือเจ้าได้รับทุกขเวทนาอะไร จงบอกให้เราทราบ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ มํ เวเทสิ เวทนํ ความว่า เจ้าได้รับเวทนาทางกาย หรือทางจิตอะไรหรือเป็นอย่างไร เจ้าจึงร้องไห้อย่างนี้ จงบอกให้เราทราบ เจ้ากระทำตนให้ลำบากอย่างไรหรือ จงบอกเรา.

นายวีชกะได้ฟังพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่มีทุกขเวทนาเลย ข้าแต่พระมหาราชา ขอได้ทรงพระกรุณาฟังข้าพระพุทธเจ้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ยังระลึกถึงความสุขสบายของตนในชาติก่อนได้ คือ ในชาติก่อนข้าพระพุทธเจ้าเกิดเป็นภาวเศรษฐี ยินดีในคุณธรรม อยู่ในเมืองสาเกต ข้าพระพุทธเจ้านั่นอบรมตนดีแล้ว ยินดีในการบริจาคทานแก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มีการงานอันสะอาด ข้าพระพุทธเจ้าระลึกถึงบาปกรรมที่ตนกระทำแล้วไม่ได้เลย ข้าแต่พระเจ้าวิเทหราช ข้าพระพุทธเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้ว มาเกิดในครรภ์ของนางกุมภทาสีหญิงขัดสนในมิถิลามหานครนี้ จำเดิมแต่เวลาที่เกิดแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าก็ยากจนเรื่อยมา

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 247

แม้ข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นคนยากจนอย่างนี้ ก็ตั้งมั่นอยู่ในความประพฤติชอบ ได้ให้อาหารกึ่งหนึ่งแก่ท่านที่ปรารถนา ได้รักษาอุโบสถศีลในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำทุกเมื่อ ไม่ได้เบียดเบียนสัตว์และไม่ได้ลักทรัพย์เลย กรรมทั้งปวงที่ข้าพระพุทธเจ้าประพฤติดีแล้วนั้น ไร้ผลเป็นแน่ ศีลนี้เห็นจะไร้ประโยชน์ เหมือนอลาตเสนาบดีกล่าว ข้าพระพุทธเจ้ากำเอาแต่ความปราชัยไว้ เหมือนนักเลงผู้ไม่ได้ฝึกหัดฉะนั้นเป็นแน่ ส่วนอลาตเสนาบดีย่อมกำเอาแต่ชัยชนะไว้ ดังนักเลงผู้ชำนาญการพนัน ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้า ไม่เห็นประตูอันเป็นเหตุสุคติเลย ข้าแต่พระราชา เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวกแล้วจึงร้องไห้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาวเสฏฺี ความว่า เศรษฐีผู้มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ผู้มีชื่ออย่างนี้. บทว่า คุณรโต แปลว่า ผู้ยินดีในคุณ. บทว่า สมฺมโต ความว่า อันตนอบรมดีแล้ว. บทว่า สุจิ ได้แก่ ผู้มีกรรมอันสะอาด. บทว่า อิธ ชาโต ทุริตฺถิยา ความว่า ข้าพเจ้าเกิดในท้องกุมภทาสี ผู้เป็นหญิงขัดสนเข็ญใจ กำพร้า ในมิถิลานครนี้.

ดังได้สดับมา ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ในปางก่อน. นายวีชกบุรุษนั้นเกิดเป็นนายโคบาล แสวงหาโคพลิพัททะที่หายไปในป่า ถูกภิกษุรูปหนึ่งผู้หลงทางถามถึงหนทางได้นิ่งเสีย ถูกท่านถามอีก ก็โกรธแล้วกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า สมณขี้ข้านี้ปากแข็ง ชะรอยว่าท่านนี้จะเป็นขี้ข้าเขาจึงปากแข็งยิ่งนัก. กรรมหาได้ให้ผลในชาตินั้นไม่ ตั้งอยู่เหมือนไฟ ที่มีเถ้า

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 248

ปิดไว้ ฉะนั้น ถึงเวลาตาย กรรมอื่นก็ปรากฏ. เขาจึงท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารตามลำดับของกรรม เพราะผลแห่งกุศลกรรมอย่างหนึ่ง เขาจึงเป็นเศรษฐี มีประการดังกล่าวแล้ว ในเมืองสาเกต ได้กระทำบุญมีทานเป็นต้น. ก็กรรมที่เขาด่าภิกษุผู้หลงทางนั้นตั้งอยู่ ประหนึ่งขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ในแผ่นดิน ได้โอกาสจึงให้ผลแก่เขาในอัตภาพนั้น. เขาเมื่อไม่รู้จึงกล่าวอย่างนั้นด้วยสำคัญว่า ด้วยกรรมอันดีงามนอกนี้ เราจึงเกิดในท้องของนางกุมภทาสี. บทว่า ยโต ชาโต สุทุคฺคโต ท่านแสดงว่า ข้าพเจ้านั้นตั้งแต่เกิดมา เป็นคนเข็ญใจอย่างยิ่ง. บทว่า สมจริยมธิฏฺิโต ความว่า ข้าพเจ้าตั้งอยู่ในความประพฤติสม่ำเสมอทีเดียว. บทว่า นูเนตํ แก้เป็น เอกํเสเนตํ เป็นอย่างนั้นโดยส่วนเดียว. บทว่า มญฺิทํ สีลํ ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ธรรมดาว่า ศีลนี้เห็นจะไร้ประโยชน์. บทว่า อลาโต ความว่า อลาตเสนาบดีนี้กล่าวว่า เรากระทำกรรมชั่ว คือปาณาติบาตไว้มากในภพก่อนจึงได้ตำแหน่งเสนาบดี เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงสำคัญว่า ศีลไร้ประโยชน์. บทว่า กลิเมว ความว่า ผู้ไม่มีศิลปะไม่ได้ศึกษา เป็นนักเลงสะกา ถือเอาการปราชัย ฉันใด ข้าพเจ้าย่อมถือเอาฉันนั้นแน่ พึงให้สมบัติของตนในภพก่อนฉิบหายไป บัดนี้ข้าพเจ้าจึงเสวยทุกข์. บทว่า กสฺสปภาสิตํ ท่านกล่าวว่า ได้ฟังภาษิตของอเจลกกัสสปโคตร.

พระเจ้าอังคติราชสดับคำของนายวีชกะแล้ว ได้ตรัสว่า ประตูสุคติไม่มี ยังสงสัยอยู่อีกหรือวีชกะ ได้ยินว่าสุขหรือทุกข์สัตว์ย่อมได้เองแน่นอน สัตว์ทั้งปวงหมดจดได้ด้วยการเวียนเกิดเวียนตาย เมื่อยังไม่ถึงเวลาอย่ารีบด่วนไปเลย เมื่อก่อนแม้เราก็เป็นผู้กระทำความดี ขวนขวายในพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 249

อนุศาสน์ราชกิจอยู่เนืองๆ งดเว้นจากความยินดี ในกามคุณตลอดกาลประมาณเท่านี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคติมพฺรวิ ความว่า พระเจ้าอังคติราชสดับคำของคนทั้ง ๓ คือของ ๒ คนนอกนี้ก่อน และของวีชกะในภายหลัง ยึดมั่นมิจฉาทิฏฐิ แล้วกล่าวคำมีอาทิว่า ประตูไม่มี. บทว่า นิยตํ กงฺขา ความว่า ดูก่อนวีชกะผู้สหาย ท่านจงตรวจดูแต่ความแน่นอนเท่านั้น. พระเจ้าอังคติราชตรัสอย่างนี้โดยอธิบายว่า ความจริง กาลมีประมาณ ๘๔ มหากัปเท่านั้น ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้บริสุทธิ์ได้ ท่านอย่ารีบด่วนนักเลย. บทว่า อนาคเต ความว่า ท่านอย่ารีบด่วนว่า เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้นแล้ว เราจะไปสู่เทวโลกในระหว่างได้. บทว่า ปาวโฏ ความว่า อย่าได้มีความขวนขวายด้วยการกระทำมีการกระทำการขวนขวายทางกายเป็นต้นแก่ชนทั้งหลายนั้น คือในพวกพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย. บทว่า โวหารํ ความว่า นั่งในที่เป็นที่วินิจฉัยแล้วพร่ำสอนตามบัญญัติแห่งราชกิจ. บทว่า รติหีโน ตทนฺตรา ความว่า ละจากความยินดีในกามคุณตลอดกาลมีประมาณเท่านี้.

ก็แลครั้นพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ตรัสบอกลาคุณาชีวกว่า ท่านกัสสปโคตร พวกข้าพเจ้าประมาทมาแล้วสิ้นกาลเท่านี้ แต่บัดนี้พวกข้าพเจ้าได้อาจารย์แล้ว ตั้งแต่นี้ไปพวกข้าพเจ้าจะเพลิดเพลินยินดีแต่ในกามคุณเท่านั้น แม้การฟังธรรมในสำนักของท่าน ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก ก็เป็นกาลเนิ่นช้าของพวกข้าพเจ้าเปล่า ท่านจงหยุดเถิด พวกข้าพเจ้าจักลาไปละดังนี้ จึงตรัสคาถาว่า

ปุนปิ ภนฺเต ทกฺเขมุ สงฺคติ เจ ภวิสฺสติ ถ้าการสมาคมจักมีผล พวกข้าพเจ้าจักมาหาท่านอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺคติ เจ ความว่า ถ้าการสมาคมของพวกข้าพเจ้า ในที่แห่งหนึ่งจักไม่เกิดผล คือเมื่อผลบุญไม่มี จะประโยชน์อะไรด้วยท่านที่เราจะมาเยี่ยม.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 250

อิทํ วตฺวาน เวเทโห ปจฺจคา สนฺนิเวสนํ.

ครั้นพระเจ้าวิเทหราชตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จกลับไปยังพระราชนิเวศน์ของพระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺนิเวสนํ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าวิเทหราชครั้นตรัสคำนี้แล้ว จึงเสด็จขึ้นสู่รถพระที่นั่งกลับไปยังพื้นจันทกปราสาทอันเป็นพระราชนิเวศน์ของพระองค์.

ตอนแรกพระราชาเสด็จไปยังสำนักของคุณาชีวก ทรงนมัสการแล้วจึงได้ตรัสถามปัญหา ก็แล เมื่อเสด็จกลับหาได้ทรงนมัสการไม่ ก็เพียงแต่การทรงนมัสการคุณาชีวกยังไม่ได้รับเพราะเป็นผู้ไม่มีคุณ ไฉนจะได้รับพระราชทานสักการะมีก้อนข้าวเป็นต้น. ส่วนพระราชาทรงยังคืนนั้นให้ผ่านไป วันรุ่งขึ้นจึงให้ประชุมเหล่าอำมาตย์แล้วตรัสว่า พวกท่านจงบำเรอกามคุณกันเถิด นับแต่วันนี้ไปเราจะเสวยความสุขในกามคุณเท่านั้น อย่าพึงรายงานกิจการอื่นให้เราทราบเลย ผู้ใดผู้หนึ่งจงกระทำการวินิจฉัยเถิด ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงมัวเมาเพลิดเพลินยินดีอยู่แต่ในกามคุณเท่านั้น.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ตั้งแต่รุ่งสว่าง พระเจ้าอังคติราชรับสั่งให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ ในที่ประทับสำราญพระองค์แล้วตรัสว่า จงจัดกามคุณทั้งหลายเพื่อเราไว้ในจันทกปราสาทของเราทุกเมื่อ เมื่อข้อราชการลับและเปิดเผยเกิดขึ้น ใครๆ อย่าเข้ามาหาเรา อำมาตย์ผู้ฉลาดในราชกิจ ๓ นายคือ วิชยอำมาตย์ ๑ สุนามอำมาตย์ ๑ อลาตเสนาบดี ๑ จงนั่งพิจารณาข้อราชการเหล่านั้น พระเจ้าวิเทหราชครั้นตรัสดังนี้แล้วจึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงใส่ใจกาม

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 251

คุณให้มาก ไม่ต้องขวนขวายในพราหมณ์ คฤหบดี และกิจการอะไรเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฏฺานมฺหิ ได้แก่ ในที่ประทับสำราญพระองค์. บทว่า จนฺทเก เม ได้แก่ ในจันทกปราสาทอันเป็นสำนักของเรา. บทว่า วิเธนฺตุ เม ความว่า จงจัดคือจงบำรุงบำเรอกามคุณทั้งหลายแก่เราเป็นนิตย์. บทว่า คุยฺหปากาสิเยสุ ความว่า เมื่อเรื่องราวทั้งลับทั้งเปิดเผยเกิดขึ้น ใครๆ อย่าเข้ามาหาเรา. บทว่า อตฺเถ ได้แก่ ในที่เป็นที่วินิจฉัยเหตุผล. บทว่า นิสีทนฺตุ ความว่า จงนั่งกับด้วยอำมาตย์ที่เหลือเพื่อกระทำกิจที่เราพึงกระทำ.

ตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงวันที่ ๑๔ ราชกัญญาพระนามว่ารุจา ผู้เป็นพระธิดาที่โปรดปรานของพระเจ้าวิเทหราช ได้ตรัสกะพระพี่เลี้ยงว่า ขอท่านทั้งหลายช่วยประดับให้ฉันด้วย และหญิงสหายทั้งหลายของเราก็จงประดับ พรุ่งนี้ ๑๕ ค่ำ เป็นวันทิพย์ ฉันจะไปเฝ้าพระชนกนาถ. พระพี่เลี้ยงทั้งหลายได้จัดมาลัยแก่นจันทน์ แก้วมณี สังข์ แก้วมุกดาและผ้าต่างๆ สี อันมีค่ามาก มาถวายแก่พระนางรุจาราชกัญญา หญิงบริวารเป็นอันมาก ห้อมล้อมพระนางรุจาราชธิดาผู้มีพระฉวีวรรณงามผุดผ่อง ประทับนั่งอยู่บนตั่งทอง งามโสภาราวกะนางเทพกัญญา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ความว่า จำเดิมแต่ที่พระราชาติดข้องอยู่ในเปือกตมคือกามคุณนั้น. บทว่า เทวสตฺรตตฺตสฺส แปลว่า ในวันที่ ๑๔. บทว่า ธาติมาตมาทพฺรวี ความว่า เป็นผู้ใคร่จะไปยังสำนักของพระบิดา จึงกล่าวกะพี่เลี้ยงทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 252

ดังได้สดับมา ในวันที่ ๑๔ พระนางรุจาราชธิดาทรงผ้าสีต่างๆ แวดล้อมไปด้วยหมู่กุมารี ๕๐๐ พาหมู่พระพี่เลี้ยงนางนมลงจากปราสาท ๗ ชั้น ด้วยสิริวิลาสอันใหญ่ยิ่ง เสด็จไปยังจันทกปราสาทเพื่อเฝ้าพระชนกนาถ. ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตรเห็นพระธิดา ทรงมีพระทัยยินดีชื่นบาน ให้จัดมหาสักการะต้อนรับ เมื่อจะส่งกลับ จึงได้พระราชทานทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วส่งไปด้วย ตรัสว่า นี่ลูก เจ้าจงให้ทาน พระนางรุจานั้นเสด็จกลับไปยังนิเวศน์ของตนแล้ว วันรุ่งขึ้นจึงทรงรักษาอุโบสถศีล ทรงให้ทานแก่คนกำพร้าคนเดินทางไกล ยาจกและวนิพกเป็นอันมาก.

ได้ยินว่า ชนบทหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชได้พระราชทานแก่พระธิดา พระนางรุจาได้ทรงกระทำกิจทั้งปวง ด้วยรายได้จากชนบทนั้น ก็ในกาลนั้น เกิดลือกันขึ้นทั่วพระนครว่า พระราชาทรงอาศัยคุณาชีวก จึงทรงถือมิจฉาทิฏฐิ. พวกพระพี่เลี้ยงนางนมได้ยินเขาลือกันดังนั้น จึงมาทูลพระนางรุจาว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า เขาลือกันว่า พระชนกของพระองค์ทรงสดับถ้อยคำของอาชีวกแล้วทรงถือมิจฉาทิฏฐิ และได้ยินว่า พระราชานั้นตรัสสั่งให้รื้อโรงทานที่ประตูเมืองทั้ง ๔ และทรงข่มขืนหญิงและเด็กหญิงที่ผู้อื่นหวงห้าม มิได้ทรงพิจารณาถึงพระราชกรณียกิจเลย ทรงมัวเมาอยู่แต่ในกามคุณ. พระนางรุจานั้นได้ทรงสดับคำของพระพี่เลี้ยงนางนมเหล่านั้น ก็ทรงสลดพระหฤทัย จึงทรงพระดำริว่า เพราะเหตุอะไรหนอ พระชนกของเราจึงเสด็จเข้าถามปัญหากะคุณาชีวกผู้ปราศจากคุณธรรม ไม่มีความละอาย ผู้เปลือยกายเช่นนั้น สมณพราหมณ์ผู้มีธรรมเป็นกรรมวาที ควรที่จะเข้าไปถามมีอยู่มิใช่หรือ แต่เว้นเราเสียแล้ว คนที่จะปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิพระชนกของเราให้กลับตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิอีก คงจะไม่มีใครสามารถ ก็เราระลึกถึงชาติได้ถึง ๑๔ ชาติ คือ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 253

ที่เป็นอดีต ๗ ชาติ ที่เป็นอนาคต ๗ ชาติ เพราะฉะนั้น เราจะทูลแสดงกรรมชั่วที่ตนทำในชาติก่อน และแสดงผลแห่งกรรม ปลุกพระชนกของเราให้ทรงตื่น ก็ถ้าเราจักเฝ้าในวันนี้ไซร้ พระชนกของเราคงจะท้วงเราว่า เมื่อก่อนลูกเคยมาทุกกึ่งเดือน เพราะเหตุไรวันนี้จึงรีบมาเล่า ถ้าเราจะทูลว่า กระหม่อมฉันมาในวันนี้นั้น เพราะได้ทราบข่าวเล่าลือกันว่า พระองค์ทรงถือมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้ คำของเราจะไม่ยึดคุณค่าอันหนักแน่นได้นัก เพราะฉะนั้น วันนี้เราอย่าไปเฝ้าเลย ถึงวัน ๑๔ ค่ำ จากนี้ไป เฉพาะในวัน ๑๔ ค่ำในกาฬปักข์ เราจะทำเป็นไม่รู้ เข้าไปเฝ้าโดยอาการที่เคยเข้าไปเฝ้าในกาลก่อนๆ ครั้นเวลากลับ เราจักทูลขอพระราชทรัพย์พันหนึ่งมาทำงาน เมื่อนั้นพระชนกของเราจักแสดงการถือมิจฉาทิฏฐิแก่เรา ลำดับนั้น เราจักมีโอกาสให้พระองค์ทรงละทิ้งมิจฉาทิฏฐินั้นเสียได้ด้วยกำลังของตน. เพราะฉะนั้นในวัน ๑๔ ค่ำ พระนางรุจาราชธิดาจึงทรงใคร่จะไปเฝ้าพระชนก จึงตรัสอย่างนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สขิโย ความว่าหญิงสหายกับทั้งกุมาริกาประมาณ ๕๐๐ ของเราทั้งหมด จงประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ แต่ละอย่างไม่เหมือนกัน คือด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้มีสีต่างๆ. บทว่า ทิพฺโย แปลว่า วันทิพย์. ที่ชื่อว่า ทิพย์ เพราะประชุมกันประดับอย่างเทวดาก็มี. บทว่า คจฺฉํ ความว่า ฉันจักไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราชผู้เป็นพระชนกนาถ เพื่อให้นำทานวัตรของเรามา. บทว่า อภิหรึสุ ความว่า เล่ากันมาว่าให้อาบด้วยหม้อน้ำหอม ๑๖ หม้อ แล้วนำไปเพื่อประดับนางกุมาริกา. บทว่า ปริกีริย แปลว่า แวดล้อมแล้ว. บทว่า อโสภึสุ ความว่า วันนั้นหญิงบริวารพากันแวดล้อมพระนางรุจาราชธิดา งามยิ่งนักราวกะนางเทพกัญญา.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 254

ก็พระนางรุจาราชธิดานั้น ประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ทั้งปวง เสด็จไป ณ ท่ามกลางหญิงสหาย เพียงดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ เสด็จเข้าสู่จันทกปราสาท พระนางรุจาราชธิดาเสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช ถวายบังคมพระชนกนาถผู้ทรงยินดีในวินัย แล้วประทับอยู่ ณ ตั้งอันวิจิตรด้วยทองคำส่วนหนึ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเตริตา แปลว่า เหมือนสายฟ้าแลบ. บทว่า อพฺภมิว ได้แก่ แลบออกจากภายในกลีบเมฆ. บทว่า ปาวิสิ ความว่า เสด็จเข้าไปสู่จันทกปราสาทอันเป็นที่ประทับของพระชนกนาถ. บทว่า สุวณฺณขจิเต ได้แก่ ที่ตั่งอันล้วนแล้วด้วยทองคำอันวิจิตรด้วยรัตนะ ๗.

ก็พระเจ้าวิเทหราช ทอดพระเนตรเห็นพระนางรุจาราชธิดา ผู้ประทับอยู่ท่ามกลางหญิงสหาย ซึ่งเป็นดังสมาคมแห่งนางเทพอัปสร จึงตรัสถามว่า ลูกหญิงยังรื่นรมย์อยู่ในปราสาท และยังประพาสอยู่ในอุทยาน เล่นน้ำในสระโบกขรณีเพลิดเพลินอยู่หรือ เขายังนำเอาของเสวยมากอย่างมาให้ลูกหญิงเสมอหรือ ลูกหญิงและเพื่อนหญิงของลูก ยังเก็บดอกไม้ต่างๆ ชนิดมาร้อยพวงมาลัย และยังช่วยกันทำเรือนหลังเล็กๆ เล่นเพลิดเพลินอยู่หรือ ลูกหญิงขาดแคลนอะไรบ้าง เขารีบนำสิ่งของมาให้ทันใจลูกอยู่หรือ ลูกรักผู้มีพักตร์อันผ่องใส จงบอกความชอบใจแก่พ่อเถิด แม้สิ่งนั้นจะเสมอดวงจันทร์ พ่อก็จักให้เกิดแก่ลูกจนได้.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 255

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉรานํว สงฺคมํ ความว่า ทอดพระเนตรเห็นสมาคมนั้น เหมือนสมาคมแห่งนางเทพอัปสร. บทว่า ปาสาเท ความว่า ดูก่อนลูก เจ้าย่อมยินดีเพลิดเพลินในรติวัฑฒปราสาท อันเสมอเวชยันตปราสาท ซึ่งพ่อสร้างไว้เพื่อเจ้าอยู่หรือ. บทว่า อนฺโต โปกฺขรณึ ปติ ความว่า เฉพาะเรื่องภายในนี้ลูกยังประพาสสระโบกขรณี อันมีส่วนเปรียบด้วยนันทโบกขรณีซึ่งพ่อสร้างไว้เพื่อลูก เจ้ายังเล่นน้ำรื่นรมย์ยินดีอยู่หรือ. บทว่า มาลยํ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชตรัสว่า ลูกเอ๋ย พ่อจะส่งผอบดอกไม้ ๒๕ กล่องแก่เจ้าทุกวันๆ พวกเจ้าผู้เป็นกุมาริกาทั้งหมด ยังเก็บดอกไม้ร้อยพวงมาลัยนั้นเล่นเพลิดเพลินอยู่เป็นนิตย์หรือ ยังทำเรือนเฉพาะหลังเล็ก เล่นเพลิดเพลินอยู่หรือ พวกเจ้ายังกระทำเรือนดอกไม้ ห้องดอกไม้ ที่นั่งดอกไม้และที่นอนดอกไม้ เหมือนอย่างแข่งขันกันโดยเฉพาะอย่างนี้ว่า เราจะทำให้ดีกว่าอยู่หรือ. บทว่า วิกลํ แปลว่า ขาดแคลน. บทว่า มนํ กรสฺสุ ความว่า จงยังจิตให้เกิด. บทว่า กุฏมุขี ความว่า พระเจ้าวิเทหราชตรัสกะพระนางรุจานั้นอย่างนั้น เพราะพระนางเป็นผู้มีพักตร์อันผ่องใส ด้วยปลายเมล็ดพันธุ์ผักกาด จริงอยู่ หญิงทั้งหลายทำสีหน้าให้ผ่องใส ทาหน้าด้วยปลายเมล็ดพันธุ์ผักกาดก่อน เพื่อกำจัดต่อมที่หน้าที่มีโลหิตเสียประทุษร้าย แต่นั้นย่อมฉาบทาด้วยผงดิน เพื่อกระทำโลหิตให้สม่ำเสมอ แต่นั้นด้วยปลายเมล็ดงาเพื่อทำผิวให้ผ่องใส. บทว่า จนฺทสมํ หิ เต ความว่า ชื่อว่าหน้าอันงดงามกว่าดวงจันทร์หาได้ยาก ย่อมไม่มี เจ้าชอบใจในของเช่นนั้นจงบอกพ่อ พ่อจะได้ให้จัดแจงให้แก่ลูก.

พระนางรุจาราชธิดา ได้สดับพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา กระหม่อมฉันย่อมได้ของทุกๆ อย่าง ในสำนักของทูลกระหม่อม พรุ่งนี้ ๑๕ ค่ำ เป็นวันทิพย์ ขอราช-

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 256

บุรุษทั้งหลายจงนำพระราชทรัพย์หนึ่งพันมาให้ กระหม่อมฉันจักให้ทานแก่วนิพกทั้งปวงตามที่ให้มาแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพวนิสฺวหํ ความว่า กระหม่อมฉันจักให้ทานในบรรดาวนิพกทั้งปวง.

พระเจ้าอังคติราชได้สดับพระดำรัสของพระนางรุจาราชธิดาแล้วตรัสว่า ลูกหญิงทำทรัพย์ให้พินาศเสียเป็นอันมาก หาผลประโยชน์มิได้ ลูกหญิงยังรักษาอุโบสถศีล ไม่บริโภคข้าวน้ำเป็นนิตย์ ลูกหญิงไม่บริโภคข้าวน้ำเป็นนิตย์ บุญไม่มีแก่ผู้ไม่บริโภค.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคติมพฺรวิ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าอังคติราชนั้น แม้พระราชธิดาเคยทูลขอ ก็ได้ให้ทรัพย์หนึ่งพัน ด้วยตรัสว่า ลูกเอ๋ย เจ้าจงให้ทาน แม้ถูกพระราชธิดาทูลขอในวันนั้นก็ไม่ให้ เพราะถือมิจฉาทิฏฐิ จึงได้ตรัสคำนี้มีอาทิว่า ลูกหญิงทำให้ฉิบหายเสียเป็นอันมาก. บทว่า นิยเตตํ อภุตฺตพฺพํ ความว่า ชรอยว่าเจ้าไม่บริโภคอาหารนี้แน่นอน ผู้บริโภคก็ดี ไม่บริโภคก็ดี บุญย่อมไม่มี คนทั้งปวงพึงบริสุทธิ์ได้โดยไม่ล่วงเลย ๘๔ มหากัปแล.

แม้วีชกบุรุษได้ฟังคำของคุณาชีวกกัสสปโคตรในกาลนั้นแล้ว ถอนหายใจฮึดฮัดร้องไห้น้ำตาไหล ลูกหญิงรุจาเอ๋ย ตราบที่ลูกยังมีชีวิตอยู่ อย่าอดอาหารเลย ปรโลกไม่มี ลูกหญิงจะลำบากไปทำไม ไร้ประโยชน์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วีชโกปิ ความว่า พระเจ้าอังคติราชทรงนำแม้เรื่องแห่งวีชกบุรุษมาเป็นอุทาหรณ์แก่พระราชธิดาว่า แม้วีชกบุรุษ

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 257

กระทำกัลยาณกรรมในกาลก่อน เพราะผลแห่งกรรมนั้นจึงบังเกิดในท้องของนางทาสี. บทว่า นตฺถิ ภทฺเท ความว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ คุณาจารย์กล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ทั้งหลายผู้ผุดเกิดไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงกัน ผู้ปฏิบัติชอบย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น เมื่อปรโลกมีโลกนี้ชื่อว่าพึงมี โลกนี้นั้นนั่นแลย่อมไม่มี และเมื่อมารดาบิดามี บุตรธิดาที่ชื่อว่าจะพึงมีนั้นนั่นแลย่อมไม่มี เมื่อธรรมมี สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมที่จะพึงมีนั้นนั่นแลย่อมไม่มี ลูกจะให้ทานไปทำไมจะรักษาศีลไปทำไม เดือดร้อนไปทำไมไร้ประโยชน์.

พระนางรุจาราชธิดาผู้มีพระฉวีวรรณงดงาม ทรงทราบกฎธรรมดาในอดีต ๗ ชาติ ในอนาคต ๗ ชาติ ได้สดับพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว กราบทูลพระชนกนาถว่า แต่ก่อนกระหม่อมฉันได้ฟังมาเท่านั้น กระหม่อมฉันเห็นประจักษ์เองข้อนี้ว่า ผู้ใดเข้าไปเสพคนพาล ผู้นั้นก็เป็นพาลไปด้วย ผู้หลงอาศัยคนหลงย่อมถึงความหลงยิ่งขึ้น อลาตเสนาบดีและนายวีชกะสมควรจะหลง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพาปรํ ธมฺมํ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระนางรุจาราชธิดาได้ทรงสดับพระดำรัสของพระชนกนาถ ทรงรู้ธรรมในก่อนคือในอดีต ๗ ชาติ และธรรมที่ยังไม่มาถึงคืออนาคต ๗ ชาติ ทรงพระประสงค์จะปลดเปลื้องพระชนกนาถจากมิจฉาทิฏฐิ จึงตรัสคำนี้มีอาทิว่า สุตเมว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุปชฺชถ ความว่า ผู้ใดคบคนพาล ผู้นั้นก็สำเร็จเป็นคนพาลไปด้วย ดังนี้ คำนี้หม่อมฉันได้ยินมาก่อนแล้วทีเดียว แต่วันนี้หม่อมฉันเห็นประจักษ์แล้ว. บทว่า มุฬฺโห หิ

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 258

ความว่า แม้คนหลงด้วยอำนาจทิฏฐิ อาศัยคนหลงด้วยอำนาจทิฏฐิ ย่อมถึงความหลงยิ่งขึ้น หลงหนักขึ้น เหมือนคนหลงทางอาศัยคนหลงทาง ฉะนั้น. บทว่า อลาเตน ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ การที่พระองค์อาศัยคุณาชีวกผู้เป็นพาลไม่มีความละอายเช่นกับเด็กชาวบ้าน แล้วมาหลงกับอลาตเสนาบดีผู้เสื่อมจากชาติ โคตร ตระกูล ประเทศ ความเป็นใหญ่ บุญและปัญญา และกับวีชกทาส ผู้มีปัญญา ผู้ไม่มีปัญญาทราม ผู้เสื่อมแล้วโดยส่วนเดียว เป็นการไม่สมควร เป็นการไม่เหมาะสมเลย เหตุไฉนพระองค์จึงไปหลงกับคนเช่นนั้นเล่า.

พระนางรุจาราชธิดาทรงติเตียนชนทั้ง ๒ นั้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงสรรเสริญพระชนกนารถ ด้วยทรงประสงค์จะปลดเปลื้องจากมิจฉาทิฏฐิจึงกราบทูลว่า

ขอเดชะ ก็พระองค์มีพระปรีชา ทรงเป็นนักปราชญ์ ทรงฉลาดรู้ซึ่งอรรถ จะทรงเป็นเช่นกับพวกคนพาล เข้าถึงซึ่งทิฏฐิอันเลวได้อย่างไร ก็ถ้าสัตว์จะบริสุทธิ์ได้ด้วยการท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์ การบวชของคุณาชีวกก็ไม่มีประโยชน์ คุณาชีวกเป็นคนหลงงมงาย ย่อมถึงความเป็นคนเปลือย เหมือนตั๊กแตนหลงบินเข้ากองไฟ ฉะนั้น คนเป็นอันมากไม่รู้อะไร ได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวกว่า ความหมดจดย่อมไม่มีด้วยสังสารวัฏฏ์ ก็เชื่อมั่นเสียก่อนทีเดียว จึงพากันปฏิเสธกรรมและผลของกรรม โทษคือความฉิบหายที่ยึดไว้ผิดในเบื้องต้นก็ยากที่จะเปลื้องได้ เหมือนปลาติดเบ็ดยากที่จะเปลื้องตนออกจากเบ็ดได้ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 259

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สปฺปญฺโ ความว่า ก็พระองค์เป็นผู้มีปัญญาด้วยปัญญา อันได้ด้วยการใส่ใจถึงยศวัยและปัญญาเครื่องทรงจำ และการสนทนาธรรม ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ เพราะเหตุนั้นเหมือนกัน ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในเหตุ เพราะเหตุแห่งประโยชน์และมิใช่ประโยชน์โดยเป็นนักปราชญ์. บทว่า พาเลหิ สทิโส ความว่า พระองค์เป็นผู้เข้าถึงทิฏฐิอันเลวเหมือนคนเหล่านั้นอย่างไรจึงเป็นคนพาล. บทว่า อปาปตํ ตัดเป็น อปิ อาปตํ อธิบายว่าตกไปอยู่ พระราชธิดาตรัสอธิบายไว้ว่า ข้าแต่พระชนกนาถ เมื่อความบริสุทธิ์ด้วยสงสารมี แม้คุณาชีวกก็ละกามคุณ ๕ แล้วถึงความเป็นคนเปลือยกายไม่มีสิริ ไม่มีความละอาย ไม่มีความแช่มชื่น เพราะความหลงด้วยสามารถแห่งโมหะ เหมือนตั๊กแตนเห็นไฟโพลงในส่วนแห่งราตรี ไม่รู้ถึงทุกข์อันมีกองไฟนั้นเป็นปัจจัย ตกไปในกองไฟนั้นถึงความทุกข์ใหญ่ฉะนั้น. บทว่า ปุเร นิวิฏา ความว่า ข้าแต่พระชนกนาถ ชนเป็นอันมากฟังคำของกัสสปโคตรว่า บริสุทธิ์ด้วยสงสาร เชื่อมั่นลงไปก่อนทีเดียว เพราะถือว่าผลของกรรมที่ทำดีและทำชั่วย่อมไม่มี เมื่อไม่รู้ก็ยึดเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ด้วยความเห็นผิด จึงปฏิเสธกรรม อธิบายว่า เมื่อปฏิเสธกรรมนั้น ก็ชื่อว่าปฏิเสธผลแห่งกรรม เมื่อพวกเขายึดถือเอาโทษอันเป็นความปราชัยแห่งพวกเขาในชั้นต้นอย่างนี้ก็เป็นอันชื่อว่ายึดถือผิด. บทว่า ทุมฺโมจยา พลิสา อมฺพุโช ว ความว่า ชนพาลเหล่านั้นเมื่อไม่รู้อย่างนี้ ยึดถือความฉิบหายด้วยการเห็นผิดดำรงอยู่ ย่อมชื่อว่าปลดเปลื้องออกจากความฉิบหายนั้นได้โดยยาก เหมือนปลาที่กลืนเบ็ดเข้าไป ปลดเปลื้องออกจากเบ็ดได้ยากฉะนั้น.

พระนางรุจาราชธิดาครั้นตรัสดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงพร่ำสอนพระราชาให้ยิ่งขึ้นไป จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 260

ข้าแต่พระราชา กระหม่อมฉันจักยกตัวอย่างมาเปรียบถวาย เพื่อประโยชน์แก่ทูลกระหม่อม บัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้บางพวกย่อมรู้เนื้อความได้ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนเรือของพ่อค้า บรรทุกสินค้าหนักเกินประมาณ ย่อมนำสินค้าอันหนักยิ่งไปจมลงในมหาสมุทรฉันใด นรชนสั่งสมบาปกรรมทีละน้อยๆ ก็ย่อมพาเอาบาปอันหนักยิ่งไปจมลงในนรกฉันนั้น ทูลกระหม่อมเพคะ อกุศลอันหนักของอลาตเสนาบดียังไม่บริบูรณ์ก่อน อลาตเสนาบดียังสั่งสมบาปอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติอยู่ ขอเดชะการที่อลาตเสนาบดีได้รับความสุขอยู่ในบัดนี้ เป็นผลบุญที่ตนทำไว้แล้วในปางก่อนนั่นเอง บุญของอลาตเสนาบดีนั้นจะหมดสิ้น อลาตเสนาบดีจึงมายินดีในอกุศลกรรมอันไม่ใช่คุณ หลีกละทางตรงเดินไปตามทางอ้อม นรชนสั่งสมบุญไว้แม้ทีละน้อยๆ ย่อมไปสู่เทวโลก เหมือนวีชกบุรุษผู้เป็นทาสยินดีในกรรมอันงาม ย่อมมุ่งไปสู่สวรรค์ได้ เปรียบเหมือนตาชั่งที่กำลังชั่งของ ย่อมต่ำลงข้างหนึ่ง เมื่อเอาของหนักออกเสีย ข้างที่ต่ำก็จะสูงขึ้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิรเย ได้แก่ มหานรก ๘ ขุม อุสสทนรก ๑๖ ขุมและโลกันตนรก. บทว่า ภาโร ความว่า ข้าแต่ทูลกระหม่อม ท่านอลาตเสนาบดีนั้น มีอกุศลภาระยังไม่เพียบก่อน. บทว่า ตสฺส ความว่า ข้อที่ท่านอลาตเสนาบดีนั้น ได้ความสุขเพราะบุญ นั่นเป็นปัจจัยนั้นเป็นผลแห่ง

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 261

บุญกรรมที่ตนทำไว้ในชาติก่อน ข้าแต่ทูลกระหม่อม ความจริงผลแห่งการฆ่าโคอันชื่อว่าเป็นบาปอกุศลจักเป็นผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ก็หาไม่ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้เลย. บทว่า อคุเณ รโต ความว่า จริงอย่างนั้น บัดนี้เขาย่อมยินดีแต่ในอกุศลกรรม. บทว่า อุชุมคฺคํ ความว่า ละทางกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า กุมฺมคฺคํ ความว่า แล่นไปสู่ทางอกุศลกรรมบถ ๑๐ อันเป็นทางไปนรก. บทว่า โอหิเต ตุลมณฺฑเล ความว่า เมื่อเอาตราชั่งคล้องไว้เพื่อรับสิ่งของ. บทว่า อุนนฺเมติ ความว่า ย่อมยกให้สูงขึ้นข้างบน. บทว่า อาจินํ ความว่า เมื่อนรชนสั่งสมบุญทีละน้อยๆ ปลดบาปที่หนักลง ยกกัลยาณกรรมขึ้นบนศีรษะแล้วไปสู่เทวโลก. บทว่า สคฺคาติมาโน ความว่า มุ่งไปในสวรรค์ยินดียิ่งในกัลยาณกรรม อันเป็นสุขสำราญยังสัตว์ให้ถึงสวรรค์. บาลีว่า สคฺคาธิมาโน ดังนี้ก็มี อธิบายว่า มีจิตตั้งมั่นกระทำสวรรค์ไว้เป็นเบื้องหน้า. บทว่า สาตเว รโต ความว่า วีชกทาสนั้นยินดีในกุศลกรรมอันน่าสำราญใจ มีผลชื่นใจ เวลาบาปกรรมนี้สิ้นไป เขาจักบังเกิดในเทวโลก เพราะผลแห่งกัลยาณกรรม แต่บัดนี้เขาเข้าถึงความเป็นทาส ได้มีบาปกรรมที่เขาทำไว้ในกาลก่อน อันเป็นทางเป็นไปเช่นนั้นเพราะผลแห่งกัลยาณกรรมหามิได้ ในข้อนี้พึงถึงความตกลงดังว่ามานี้แล.

พระนางรุจาราชธิดาเมื่อจะทรงประกาศความนี้จึงได้ตรัสว่า

นายวีชกะผู้เป็นทาสเห็นทุกข์ในตนวันนี้ เพราะได้เสพบาปกรรมที่ตนทำไว้ในปางก่อน บาปกรรมของเขาจะหมดสิ้น เขาจึงมายินดีในวินัยอย่างนี้ ทูลกระหม่อมอย่าคบหากัสสปคุณาชีวก ทรงดำเนินทางผิดเลยเพคะ.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 262

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา เหวุปฺปถมาคมา ความว่า พระนางรุจาราชธิดาทูลว่า ข้าแต่ทูลกะหม่อม ทูลกระหม่อมเข้าไปหากัสสปคุณาชีวกคนเปลือยนี้ ทูลกระหม่อมอย่าเข้าไปสู่ทางผิดอันเป็นทางไปนรก อย่าได้กระทำบาปเลยเพคะ.

บัดนี้พระนางรุจาราชธิดา เมื่อจะทรงแสดงโทษในการซ่องเสพบาปและคุณในการคบหากับกัลยาณมิตรแก่พระราชา จึงตรัสว่า

ข้าแต่พระราชบิดา บุคคลคบบุคคลใดๆ จะเป็นสัตบุรุษก็ตามอสัตบุรุษก็ตาม ผู้มีศีลก็ตาม ผู้ไม่มีศีลก็ตาม เขาย่อมตกไปสู่อำนาจของผู้นั้น บุคคลทำบุคคลเช่นใดให้เป็นมิตร และเข้าไปคบหาคนเช่นใด แม้เขาก็ย่อมเป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันก็ย่อมเป็นเช่นนั้น ผู้เสพย่อมติดนิสัยผู้ที่ตนเสพ ผู้ติดต่อย่อมติดนิสัยผู้ที่ตนติดต่อ เหมือนลูกศรอาบยาพิษย่อมเปื้อนแล่งฉะนั้น นักปราชญ์ไม่ควรเป็นผู้มีคนลามกเป็นสหาย เพราะกลัวจะแปดเปื้อน การเสพคนพาลย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อปลาเน่า แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป ฉะนั้น ส่วนการคบหาสมาคมกับนักปราชญ์ ย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อของหอม แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นหอมฟุ้งไป ฉะนั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตรู้ความเป็นบัณฑิตของตนดังใบไม้สำหรับห่อ จึงไม่คบหาสมาคมอสัตบุรุษ คบหาสมาคมสัตบุรุษ อสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตํ วา ได้แก่ สัตบุรุษก็ดี บทว่า ยทิ วา อสํ ได้แก่ อสัตบุรุษก็ดี. บทว่า สโร ทุฏฺโ กลาปํว

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 263

ความว่า ข้าแต่พระราชบิดา มิตรชั่ว เมื่อเสพคบหากับคนอื่น และสนิทชิดเชื้อกับคนอื่น ย่อมจะทำบุรุษผู้ไม่ได้แปดเปื้อนกับบาป ให้มีอัธยาศัยเป็นเช่นเดียวกับตน เข้าไปเปื้อนคือ กระทำให้แปดเปื้อนบาปเหมือนกัน. บทว่า วายนฺติ ความว่า แม้หญ้าคาเหล่านั้นที่ห่อของนั้นก็ย่อมมีกลิ่นเหม็นฟุ้งขจรไป. บทว่า ตครญฺจ ความว่า ใบไม้ห่อกฤษณาและคันธชาตที่สมบูรณ์ด้วยกลิ่นอย่างอื่น ย่อมมีกลิ่นหอมไปด้วย. บทว่า เอวํ ความว่า เข้าไปคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จริงอยู่นักปราชญ์กระทำผู้คบกับตนให้เป็นนักปราชญ์เหมือนกัน. บทว่า ตสฺมา ปตฺตปุฏสฺเสว ความว่า เพราะเหตุที่ใบไม้ที่ห่อของหอมมีกฤษณาเป็นต้น ย่อมพลอยมีกลิ่นหอมไปด้วย ฉะนั้น พึงรู้อย่างนี้ว่า แม้เราก็เป็นบัณฑิต เพราะการช่องเสพกับบัณฑิต เหมือนใบไม้สำหรับห่อฉะนั้น. บทว่า สมฺปากมตฺตโน ความว่า ครั้นรู้ความแก่กล้า ความแปรไป ความเป็นบัณฑิตของตนแล้ว พึงละอสัตบุรุษคบหาแต่สัตบุรุษผู้เป็นบัณฑิต. ในบทว่า นิรยํ เนนฺติ นี้ บัณฑิตพึงนำอุทาหรณ์ด้วยอำนาจนิทานว่า ชื่อว่านำนรกมาด้วยเรื่องพระเทวทัตเป็นต้น และนำสุคติมาด้วยเรื่องพระสารีบุตรเถระเป็นต้น.

พระราชธิดา ครั้นทรงแสดงธรรมแก่พระชนกนาถด้วย ๖ คาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงถึงทุกข์อันตนเคยเสวยมาในอดีตจึงตรัสว่า

แม้กระหม่อมฉันก็ระลึกชาติที่ตนท่องเที่ยวมาแล้วได้ ๗ ชาติ และระลึกชาติที่ตนจุติจากชาตินี้แล้ว จักไปเกิดในอนาคตอีก ๗ ชาติ ข้าแต่พระจอมประชาชน ชาติที่ ๗ ของกระหม่อมฉันในอดีต กระหม่อมฉันเกิดเป็นบุตรนายช่างทองในแคว้นมคธ ราชคฤห์มหานคร กระหม่อมฉันได้คบหาสหายผู้ลามก ทำบาป

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 264

กรรมไว้มาก เที่ยวคบชู้ภรรยาของชายอื่นเหมือนจะไม่ตาย กรรมนั้นยังไม่ให้ผล เหมือนไฟอันเถ้าปกปิดไว้ ในกาลต่อมาด้วยกรรมอื่นๆ กระหม่อมฉันนั้นได้เกิดในวังสรัฐเมืองโกสัมพี เป็นบุตรคนเดียวในสกุลเศรษฐีผู้สมบูรณ์มั่งคั่ง มีทรัพย์มากมาย คนทั้งหลายสักการะบูชาอยู่เป็นนิตย์ ในชาตินั้น กระหม่อมฉันได้คบหาสมาคมมิตรสหายผู้ยินดีในกรรมอันงาม ผู้เป็นบัณฑิต เป็นพหูสูต เขาได้แนะนำให้กระหม่อมฉันรักษาอุโบสถศีลในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ตลอดราตรีเป็นอันมาก กรรมนั้นยังไม่ได้ให้ผล ดังขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ใต้น้ำ ครั้นภายหลัง บรรดากรรมทั้งหลาย ปรทารกกรรมอันใดที่กระหม่อมฉันได้กระทำไว้ในมคธรัฐ ผลแห่งกรรมนั้นมาถึงกระหม่อมฉันแล้วเหมือนดื่มยาพิษอันร้ายแรงฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากตระกูลเศรษฐีนั้นแล้ว ต้องหมกไหม้อยู่ในโรรุวนรกสิ้นกาลนานเพราะกรรมของตน กระหม่อมฉันได้ระลึกถึงทุกข์ที่ได้เสวยในนรกนั้น ไม่ได้ความสุขเลย กระหม่อมฉันยังทุกข์เป็นอันมาก ให้สิ้นไปในนรกนั้นนานปี แล้วเกิดเป็นลาถูกเขาตอนอยู่ในภิณณาคตนคร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺต ความว่า ข้าแต่ทูลกระหม่อม ชื่อว่า โลกนี้และโลกหน้า และผลแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีและทำชั่ว ย่อมมี แต่

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 265

สงสารไม่สามารถจะชำระสัตว์ทั้งหลายให้หมดจดได้ ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมหมดจดด้วยกรรมเท่านั้น อลาตเสนาบดีและวีชกะผู้เป็นทาส ย่อมระลึกได้เพียงชาติเดียวเท่านั้น มิใช่แต่ท่านเหล่านั้นเท่านั้นที่ระลึกชาติได้ แม้กระหม่อมฉันก็ระลึกถึงความที่ตนท่องเที่ยวในอดีตได้ถึง ๗ ชาติ ทั้งย่อมระลึกถึงชาติที่จะพึงไปจากนี้แม้ในอนาคตถึง ๗ ชาติเหมือนกัน. บทว่า ยา เม สา ความว่า ชาติที่ ๗ ในอดีตของหม่อมฉันก็มีอยู่. บทว่า กมฺมารปุตฺโต ความว่า ในชาติที่ ๗ นั้นหม่อมฉันเกิดเป็นบุตรช่างทองในกรุงราชคฤห์ มคธรัฐ. บทว่า ปรทารสฺส เหเนฺตา ได้แก่ เบียดเบียนภรรยาของคนอื่น คือผิดในภัณฑะที่คนเหล่าอื่นรักษาคุ้มครองไว้. บทว่า อฏฺ เพราะกรรมชั่วนั้นที่หม่อมฉันทำในเวลานั้นไม่ได้โอกาสได้ตั้งเก็บไว้ แต่เมื่อได้โอกาสจึงให้ผล เหมือนไฟอันเถ้าปิดไว้ฉะนั้น. บทว่า วํสภูมิยํ แปลว่า ในวังสรัฐ. บทว่า เอกปตฺโต ความว่า หม่อมฉันได้เป็นบุตรคนเดียวในตระกูลเศรษฐี มีสมบัติถึง ๘๐ โกฏิ. บทว่า สาตเว รตํ ความว่า ยินดียิ่งในกัลยาณกรรม. บทว่า โส มํ ได้แก่ เขาได้เป็นสหาย ได้ชักนำหม่อมฉันให้ตั้งอยู่ในสิ่งเป็นประโยชน์คือในกุศลกรรม. บทว่า ตํ กมฺมํ ความว่า กัลยาณกรรมของหม่อมฉันแม้นั้น ยังไม่ได้โอกาสในกาลนั้น ครั้นเมื่อได้โอกาสจึงให้ผล. บทว่า อุทกนฺติเก ความว่า ได้เป็นขุมทรัพย์ฝังไว้ในน้ำ บทว่า ยเมตํ ความว่า ลำดับในบรรดากรรมชั่วมีประมาณเท่านี้ของหม่อมฉัน กรรมใดที่หม่อมฉันกระทำแล้วในภรรยาของคนอื่นในมคธรัฐ ผลแห่งกรรมนั้นจึงติดตามมาถึงหม่อมฉัน. ถามว่า เหมือนอะไร? แก้ว่า เหมือนบุคคลบริโภคยาพิษฉะนั้น อธิบายว่า กรรมนั้นย่อมถึงหม่อมฉัน เหมือนยาพิษที่ชั่วช้า กล้าแข็ง ร้ายกาจ กำเริบแก่บุคคลผู้บริโภคโภชนะอันมียาพิษฉะนั้น. บทว่า ตโต ได้แก่ จากตระกูลเศรษฐีในกรุงโกสัมพีนั้น. บทว่า ตํ สรํ ความว่า หม่อมฉันเมื่อระลึกถึงทุกข์ที่

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 266

หม่อมฉันเสวยในนรกนั้น ย่อมไม่ได้รับความสบายใจเลย หม่อมฉันย่อมเกิดแต่ความกลัวเท่านั้น. บทว่า ภินฺ นาคเต ความว่า ในภินนาคตรัฐ หรือ ในนครชื่อว่า ภินนาคตะ. บทว่า อุทฺธตปฺผโล ได้แก่ พืชที่ถูกเขาตอน ก็แพะนั้นได้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง. คนทั้งหลายแม้ขึ้นขี่หลังแพะนำแพะนั้นไป เทียมแพะนั้นแม้ที่ยานน้อย.

พระนางรุจาราชธิดา เมื่อประกาศความนั้นจึงกล่าวว่า

กระหม่อมฉันพาลูกผู้ดีทั้งหลายไปด้วยหลังบ้าง ด้วยรถบ้าง นั่นเป็นผลแห่งกรรมคือการที่หม่อมฉันคบชู้กับภรรยาของคนอื่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาตปุตฺตา ได้แก่ บุตรแห่งอำมาตย์ทั้งหลาย. บทว่า ตสฺส กมฺมสฺส ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ การที่หม่อมฉันหมกไหม้อยู่ในมหาโรรุวนรก และกรรมที่หม่อมฉันถูกตอนในกาลเป็นแพะ ทั้งหมดนั่นเป็นผลของกรรมนั้น คือกรรมที่หม่อมฉันคบชู้กับภรรยาของคนอื่น.

ก็แล ครั้นหม่อมฉันจุติจากชาติเป็นลานั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในกำเนิดลิงในป่า ครั้นในวันที่หม่อมฉันเกิด พวกลิงเหล่านั้นนำหม่อมฉันไปแสดงแก่ลิงผู้เป็นนายฝูง ลิงผู้เป็นนายฝูงกล่าวว่า จงนำบุตรมาให้เรา ดังนี้แล้วจับไว้มั่นแล้วกัดลูกอัณฑะของลิงนั้นถึงจะร้องเท่าไรก็ไม่ปล่อย.

เมื่อพระนางรุจาราชธิดาประกาศความนั้นจึงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระชนกนาถผู้ปกครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากชาติลานั้นแล้ว ก็ไปเป็นลิงอยู่ในป่าสูง ถูกลิงนายฝูงคนองปากขบกัดลูกอัณฑะ นั่นเป็นผลของการที่เป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 267

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิลุจฺฉิตผโลเยว ความว่า หม่อมฉันถูกลิงนายฝูงคนองปากในป่านั้น ขบกัดลูกอัณฑะเอาทีเดียว.

เมื่อพระนางรุจาราชธิดาจะทรงแสดงชาติอื่นๆ จึงทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากชาติเป็นลิงนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นโคในทสันนรัฐ ถูกเขาตอน มีกำลังแข็งแรง กระหม่อมฉันต้องเทียมยานอยู่สิ้นกาลนาน นั่นเป็นผลของกรรม คือ การที่กระหม่อมฉันคบชู้ภรรยาผู้อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากชาติเป็นโคนั้นแล้ว มาบังเกิดเป็นกระเทยในตระกูลที่มีโภคสมบัติมากในแคว้นวัชชี จะได้เกิดเป็นมนุษย์ยากจริงๆ นั่นเป็นผลแห่งกรรม คือ การที่กระหม่อมฉันคบชู้ภรรยาผู้อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากชาติเป็นกระเทยนั้นแล้ว ได้ไปบังเกิดเป็นนางอัปสรในนันทนวัน ณ ดาวดึงส์พิภพ มีวรรณะน่าใคร่ มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร สวมกุณฑลแก้วมณี เป็นผู้ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง เป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกะ ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ เมื่อกระหม่อมฉันอยู่ในดาวดึงส์พิภพนั้น ระลึกชาติแม้ในอนาคตได้อีก ๗ ชาติที่กระหม่อมฉันจุติจากดาวดึงส์พิภพนั้นแล้ว จักไปเกิดต่อไป กุศลที่กระหม่อมฉันทำไว้ในเมืองโกสัมพีตามมาให้ผล กระหม่อมฉันจุติจากดาวดึงส์พิภพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ข้าแต่พระมหาราชา

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 268

กระหม่อมฉันเป็นผู้อันชนทั้งหลายสักการะแล้วเป็นนิตย์ตลอด ๗ ชาติ กระหม่อมฉันไม่พ้นจากความเป็นหญิงตลอด ๖ ชาติ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ชาติที่ ๗ กระหม่อมฉันจักได้เกิดเป็นเทวดาผู้ชาย เป็นเทพบุตรผู้มีฤทธิ์มาก เป็นผู้สูงสุดในหมู่เทวดา แม้วันนี้นางอัปสรทั้งหลายก็ยังร้อยดอกไม้เป็นพวงมาลัย อยู่ในนันทนวัน เทพบุตรนามว่าชวะสามีกระหม่อมฉัน ยังรับพวงมาลัยอยู่ ๑๖ ปีในมนุษย์นี้ราวครู่หนึ่งของเทวดา ๑๐๐ ปีในมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดา ดังที่ได้กราบทูลให้ทรงทราบมานี้ กรรมทั้งหลายย่อมติดตามไปทุกๆ ชาติ แม้ตั้งอสงไขยด้วยว่ากรรมจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม (ยังไม่ให้ผลแล้ว) ย่อมไม่พินาศไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสนฺเนสุ แปลว่า ในทสันนรัฐ. บทว่า ปสุ แปลว่า เป็นโค. บทว่า อหุํ แก้เป็น อโหสิ แปลว่า ได้เป็นแล้ว. บทว่า นิลุจฺฉิโต ความว่า ในกาลที่หม่อมฉันเป็นลูกโคนั้นเองพวกเขาได้ตอนพืชของหม่อมฉันด้วยคิดว่าจักเป็นที่ชอบใจด้วยประการฉะนี้ หม่อมฉันนั้นถูกเขาตอนแล้ว คือเป็นเหมือนคนมีกำลังดีถูกถอนพืชฉะนั้น. บทว่า วชฺชีสุ กุลมาคโต นี้พระนางรุจาราชธิดาแสดงว่า หม่อมฉันจุติจากกำเนิดโคแล้ว บังเกิดในตระกูลคนผู้มีโภคะมากตระกูลหนึ่งในแคว้นวัชชี. ด้วยบทว่า เนวิตฺถี น ปุมา นี้ท่านกล่าวหมายถึงกระเทย. ภวเน ตาวตึสาหํ ความว่า หม่อมฉันเกิดในภพดาวดึงส์. บทว่า ตตฺถ ิตาหํ เวเทห สรามิ ชาติโย อิมา ความว่า ได้ยินว่า พระนางรุจานั้นอยู่ในเทวโลกนั้นตรวจดูอยู่ว่า เรา

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 269

มาสู่เทวโลกเห็นปานนี้ มาจากไหนหนอ? เห็นแล้วซึ่งความเกิดในเทวโลกนั้น เพราะจุติจากความเป็นกระเทยในตระกูลที่มีโภคะมาก ในแคว้นวัชชี จากนั้นพระนางรุจาราชธิดาตรวจดูว่า เพราะกรรมอะไรหนอ เราจึงบังเกิดในที่อันน่ารื่นรมย์เช่นนี้ เห็นแล้วซึ่งกุศลมีทานที่ตนทำแล้วเป็นต้น ทำให้บังเกิดในตระกูลเศรษฐีในกรุงโกสัมพี ตรวจดูว่า เราบังเกิดในอัตภาพเป็นกระเทย ในภพอดีตเป็นลำดับ มาแต่ที่ไหน ดังนี้ ได้รู้แล้วว่าตนเคยเสวยทุกข์ใหญ่ในกำเนิดโค ในทสันนรัฐ เมื่อหวลระลึกถึงชาติต่อจากนั้น ได้เห็นตนถูกตอนในกำเนิดลิง เมื่อหวลระลึกชาติถัดจากนั้น จึงหวลระลึกถึงภาวะที่ตนถูกตอนพืชในกำเนิดแพะ ในภินนาคตะรัฐ เมื่อหวลระลึกถัดจากชาตินั้นได้ระลึกถึงภาวะที่ตนบังเกิดในโรรุวนรก ลำดับนั้นเมื่อพระนางรุจาราชธิดาระลึกถึงภาวะที่ตนหมกไหม้ในนรก และทุกข์ที่ตนเสวยในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ความกลัวจึงเกิดขึ้น. ลำดับนั้น พระนางรุจาราชธิดา เมื่อหวลระลึกถึงชาติที่ ๖ ว่า เราเสวยทุกข์เห็นปานนี้เพราะกรรมอะไรหนอ จึงเห็นกัลยาณกรรมที่ตนกระทำในกรุงโกสัมพีในชาตินั้น แล้วทรงตรวจดูชาติที่ ๗ ได้เห็นกรรมคือ การคบชู้กับภรรยาคนอื่นที่ตนทำเพราะอาศัยมิตรชั่วในมคธรัฐ จึงได้รู้ว่าเราเสวยทุกข์ใหญ่นั้น เพราะผลแห่งกรรมนั้น. ลำดับนั้นพระนางจึงตรวจดูว่า เราจุติจากชาตินี้แล้ว จักบังเกิดในภพไหนในอนาคต ได้รู้ว่า เราจักบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกเทวราชนั่นแลอีก ดำรงอยู่ตลอดชีวิต. เมื่อพระนางได้ตรวจดูบ่อยๆ อย่างนี้ ได้ทราบว่าในอัตภาพที่ ๓ จักบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกเทวราชนั่นแล. ส่วนชาติที่ ๔ และ ๕ ก็เหมือนกัน รู้ว่าเราจักบังเกิดเป็นอัครมเหสีของชวนะเทพบุตรในเทวโลกนั้นนั่นเอง แล้วตรวจดูถัดจากชาตินั้นไป รู้ว่าในอัตภาพที่ ๖ เราจุติจากภพดาวดึงส์นี้แล้ว จักบังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าอังคติราช เราจักมีนามว่า รุจา ดังนี้

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 270

จึงตรวจดูว่า ถัดจากชาตินั้นจักบังเกิด ณ ที่ไหน รู้ว่าในชาติที่ ๗ จุติจากชาตินั้นแล้ว จักบังเกิดเป็นเทพบุตรผู้มีฤทธิ์มากในภพดาวดึงส์ จักพ้นจากความเป็นหญิง เพราะเหตุนั้นพระนางรุจาราชธิดาจึงตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงครอบครองวิเทหรัฐ หม่อมฉันอยู่ที่นั้นระลึกชาติได้ ๗ ชาติ แม้ในอนาคตจุติจากชาตินี้ไปก็ระลึกได้ ๗ ชาติเหมือนกัน. บทว่า ปริยาคตํ ความว่า โดยปริยาย ท่องเที่ยวไปมาตามวาระของตน. บทว่า สตฺต ชจฺจา ความว่า พระนางตรัสว่า ๗ ชาติ คือในเทวโลก ๕ ชาติกับชาติที่เป็นกระเทยในแคว้นวัชชี และในชาติ ที่ ๖ นี้พระนางทรงแสดงไว้ว่า หม่อมฉันเป็นผู้อันเขาบูชาสักการะเป็นนิตย์ตลอด ๗ ชาตินั้น. บทว่า ฉฏฺา ว คติโย นี้ พระนางกล่าวว่า เราจักไม่พ้นความเป็นหญิง ตลอด ๖ คติเหล่านี้ คือในเทวโลก ๕ คติ และในชาตินี้ ๑ คติ. บทว่า สตฺตมี จ ความว่า จุติต่อจากนั้นแล้วเป็นชาติที่ ๗. บทว่า สนฺตานมยํ ความว่า มีความสืบต่อที่ตนทำด้วยอำนาจขั้วเดียวกันเป็นต้น. บทว่า คนฺเถนฺติ ความว่า เป็นเหมือนสืบต่อด้วยกัน. เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ทุกวันนี้นางบำเรอของเราก็ไม่รู้ความจุติของเราในนันทนวัน ย่อมร้อยพวงมาลัยเพื่อประโยชน์แก่เราเท่านั้น. บทว่า โส เม มาลํ ปฏิจฺฉติ ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า โดยชาติอันเป็นลำดับเทพบุตรนามว่า ชวะ ผู้เป็นสวามีของหม่อมฉันย่อมรับพวงดอกไม้ที่หล่นจากต้น. บทว่า โสฬส ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ว่าโดยชาติของหม่อมฉันจนบัดนี้ได้ ๑๖ ปี แต่กาลประมาณเท่านี้ เหมือนกับกาลครู่หนึ่งของเทวดา ก็เพราะเหตุนั้นหญิงบำเรอเหล่านั้น จึงไม่รู้แม้ถึงการจุติของหม่อมฉัน ยังคงร้อยพวงมาลัยเพื่อหม่อมฉันอยู่เชียว. บทว่า มานุสึ ความว่า อาศัยการนับปีของมนุษย์. บทว่า สรโทสตํ ความว่า เป็น ๑๐๐ ปี (ของมนุษย์) เทวดาทั้งหลายมีอายุยืนอย่างนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ด้วยเหตุนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบปรโลก กรรมดีและกรรมชั่วว่ามีอยู่. บทว่า อนฺเวนฺติ ความว่า กรรมดีและกรรมชั่วย่อมติดตามเราไปทุกๆ ชาติ

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 271

อย่างนี้. บทว่า น หิ กมฺมํ วินสฺสติ ความว่า ทิฏฐเวทนียกรรม ย่อมให้ผลในอัตภาพนั้นนั่นเอง อุปปัชชเวทนียกรรม ย่อมให้ผลในอัตภาพถัดไป ส่วนอปราปรเวทนียกรรมไม่ให้ผล จักไม่พินาศไป พระนางรุจาราชธิดาทรงหมายเอาอปราปรเวทนียกรรมนั้น จึงตรัสว่า กรรมจักไม่พินาศไปแล ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เพราะผลแห่งกรรมที่หม่อมฉันทำชู้กับภรรยาของคนอื่น หม่อมฉันจึงหมกไหม้ในนรก แล้วเสวยทุกข์อย่างใหญ่ในกำเนิดสัตว์เดียรฉาน ถ้าแม้บัดนี้ พระองค์ทรงเชื่อถ้อยคำของคุณาชีวก จักกระทำอย่างนี้ พระองค์ก็จักเสวยทุกข์ เหมือนที่หม่อมฉันเสวยแล้วนั่นแล เพราะเหตุนั้นพระองค์อย่าได้ทรงกระทำอย่างนั้นเลย.

ลำดับนั้น พระนางรุจาราชธิดา เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไปแก่พระราชบิดานั้นจึงตรัสว่า

ชายใดปรารถนาเป็นบุรุษทุกๆ ชาติไป ก็พึงเว้นภรรยาผู้อื่นเสีย เหมือนบุคคลล้างเท้าสะอาดแล้วเว้นจากเปือกตม ฉะนั้น หญิงใดปรารถนาเป็นบุรุษทุกๆ ชาติไป ก็พึงยำเกรงสามี เหมือนนางเทพอัปสรผู้เป็นบาทบริจาริกายำเกรงพระอินทร์ ฉะนั้น ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศและสุขอันเป็นทิพย์ก็พึงเว้นบาปทั้งหลายประพฤติแต่สุจริตธรรม ๓ อย่าง สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ควรเป็นผู้ไม่ประมาทด้วยกาย วาจา ใจ มีปัญญาเครื่องพิจารณาเพื่อประโยชน์ของตน นรชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ ที่เป็นคนมียศ มีโภคทรัพย์บริบูรณ์ทุกอย่าง นรชนเหล่านั้นได้สั่งสมกรรมดีไว้ในปางก่อนแล้วโดยไม่ต้องสงสัย สัตว์ทั้งปวงล้วนมีกรรมเป็นของตัว ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระ-

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 272

องค์ทรงพระราชดำริด้วยพระองค์เองเถิด ข้าแต่พระจอมชน พระสนม (ผู้ทรงโฉมงดงาม) ปานดังนางเทพอัปสรผู้ประดับประดาคลุมกายด้วยตาข่ายทองเหล่านี้ พระองค์ทรงได้มาเพราะผลแห่งกรรมอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โหตุํ แปลว่า เพื่อเป็น. บทว่า สพฺพสมนฺตโภคา แปลว่า มีโภคะทุกอย่างบริบูรณ์. บทว่า สุจิณฺณํ ได้แก่สั่งสมไว้ด้วยดีคือกระทำกัลยาณกรรม. บทว่า กมฺมสฺสกา เส ความว่า มีกรรมเป็นของแห่งตน คือเสวยผลของกรรมที่ตนทำนั่นเอง ไม่ใช่กรรมที่มารดาบิดาทำแล้วให้ผลแก่บุตรธิดา ไม่ใช่กรรมที่บุตรธิดาเหล่านั้นทำแล้วให้ผลแก่มารดาบิดา กรรมที่คนนอกนั้นกระทำจะให้ผลแก่คนนอกนั้นอย่างไร? ศัพท์ว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าประท้วง. บทว่า อนุจินฺเตสิ แปลว่า พึงคิดบ่อยๆ. บทว่า ยา เม อิมา ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อันดับแรกพึงคิดด้วยตนเองดังนี้ว่า หญิงที่บำรุงบำเรอพระองค์ ๑๖๐๐ นางนี้นั้น พระองค์นอนหลับได้ หรือได้มาเพราะกระทำการปล้นในหนทาง หรือตัดช่องย่องเบาเป็นต้นได้มา หรือได้มาเพราะอาศัยกัลยาณกรรมเป็นต้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้นจึงตรัสว่า

พระนางรุจาราชกัญญา ยังพระเจ้าอังคติราชชนกนาถให้ทรงยินดี พระราชกุมารีผู้มีวัตรอันดีงาม กราบทูลทางสุคติแก่พระชนกนาถ ประหนึ่งบอกทางให้แก่คนหลงทาง และได้กราบทูลข้อธรรมถวายโดยนัยต่างๆ ด้วยประการฉะนี้แล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺเจวํ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชกัญญานั้น ทรงยังพระราชบิดาให้ทรงยินดีด้วยถ้อยคำอันไพเราะเห็นปานนี้ ด้วยประการฉะนี้. ทูลบอกทางสุคติแด่พระชนกนาถนั้น เหมือน

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 273

คนบอกหนทางแก่คนหลงทางฉะนั้น. และเมื่อจะทรงกล่าวธรรมแก่พระชนกนาถนั่นแหละได้ทรงกล่าวสุจริตธรรมด้วยนัยต่างๆ. บทว่า สุพฺพตา แปลว่า ผู้มีวัตรอันดีงาม.

พระนางรุจาราชธิดา ได้ทูลเล่าถึงชาติที่ตนเกิดมาแล้วในอดีต และแสดงธรรมถวายแด่พระชนกนาถ ตั้งแต่เช้าตลอดคืนยังรุ่งแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์อย่าทรงถือถ้อยคำของคนเปลือยกาย ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเลย โลกนี้มี โลกหน้ามี สมณพราหมณ์มี ผลของความดีความชั่วก็มี ขอพระองค์จงทรงเชื่อฟังคำของกัลยาณมิตร เช่นกระหม่อมฉันกล่าวนี้เถิด อย่าได้ทรงแล่นไปในที่มิใช่ท่าเลย แม้เมื่อพระนางรุจาราชธิดากราบทูลถึงอย่างนี้ ก็ไม่อาจปลดเปลื้องพระชนกจากมิจฉาทิฏฐิได้ ส่วนพระเจ้าอังคติราชทรงสดับวาจาอันไพเราะของพระราชธิดานั้นแล้ว ทรงปลื้มพระราชหฤทัย จริงอยู่ มารดาบิดาย่อมรักเอ็นดูถ้อยคำของบุตรที่รัก แต่คำพูดนั้นหาทำให้บิดาละมิจฉาทิฏฐิได้ไม่. แม้ชาวพระนครก็ลือกระฉ่อนกันว่า พระนางรุจาราชธิดาทรงแสดงธรรมหวังจะให้พระชนกละมิจฉาทิฏฐิ มหาชนพากันดีใจว่า พระราชธิดาเป็นบัณฑิต ปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิพระชนกได้แล้ว จักถึงความสวัสดีแก่ชาวพระนครทั้งหลาย. พระนางรุจาราชธิดา เมื่อไม่อาจปลุกพระชนกให้ตื่นได้ก็ไม่ทรงละความพยายามเลย ทรงดำริหาช่องทางต่อไปว่า จักหาอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง มากระทำความสวัสดีแก่พระชนก แล้วประคองอัญชลีกรรมขึ้นเหนือพระเศียร นมัสการทิศทั้ง ๑๐ แล้วทรงอธิษฐานว่า ในโลกนี้ย่อมมีสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีท้าวโลกบาล ท้าวมหาพรหมเป็นผู้บริหารโลก ข้าพเจ้าขอเชิญท่านเหล่านั้นมาปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิของพระชนกนาถของข้าพเจ้าด้วยกำลังตน เมื่อพระคุณของพระชนกนาถไม่มี ขอเชิญด้วยคุณด้วยกำลังและด้วยความสัจของข้าพเจ้า จงมาช่วยปลดเปลื้องความเห็นผิดนี้ จงได้มาทำความสวัสดีแก่สากลโลก.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 274

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นมหาพรหมนามว่า นารทะ ก็ธรรมดาพระโพธิสัตว์ มีอัธยาศัยใหญ่ด้วยเมตตาภาวนา เที่ยวตรวจดูโลกตามกาลอันสมควร เพื่อจะดูเหล่าสัตว์ผู้ปฏิบัติดีและปฏิบัติชั่ว ในวันนั้น ท่านตรวจดูโลกเห็นพระนางรุจาราชธิดานั้น กำลังนมัสการเหล่าเทวดาผู้บริหารโลก เพื่อจะปลดเปลื้องพระชนกนาถจากมิจฉาทิฏฐิ จึงมาดำริว่า คนอื่นเว้นเราเสีย ย่อมไม่สามารถเพื่อจะปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิพระเจ้าอังคติราชนั้นได้ วันนี้เราควรจะไปกระทำการสงเคราะห์ราชธิดาและกระทำความสวัสดี แก่พระราชาพร้อมด้วยบริวารชนแต่จะไปด้วยเพศอะไรดีหนอ เห็นว่า เพศบรรพชิตเป็นที่รักเป็นที่เคารพ มีวาจาเป็นที่เชื่อฟัง ยึดถือของพวกมนุษย์ เพราะฉะนั้น เราจะไปด้วยเพศบรรชิต ครั้นตกลงใจฉะนี้แล้ว ก็แปลงเพศเป็นมนุษย์ มีวรรณะดังทองคำ น่าเลื่อมใสผูกชฏามณฑลอันงามจับใจ ปักปิ่นทองไว้ในระหว่างชฎา นุ่งผ้าพื้นแดงไว้ภายใน ทรงผ้าเปลือกไม้ ย้อมฝาดไว้ภายนอก กระทำเฉวียงบ่าผ้าหนังเสือ อันแล้วไปด้วยเงินซึ่งขลิบด้วยดาวทอง แล้วเอาภิกขาภาชนะทองใส่สาแหรกอันประดับด้วยมุกดาข้าง ๑ เอาคนโทน้ำแก้วประพาฬใส่ในสาแหรกอีกข้าง ๑ เสร็จแล้วก็ยกคานทองอันงามงอนขึ้นวางเหนือบ่า แล้วเหาะมาโดยอากาศ ด้วยเพศแห่งฤาษีนี้ ไพโรจน์โชติช่วง ประหนึ่งพระจันทร์ (เพ็ญ) ลอยเด่นบนพื้นอากาศ เข้าสู่พื้นใหญ่แห่งจันทกปราสาท ได้ยืนอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์พระเจ้าอังคติราช.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้นจึงตรัสว่า

ในกาลนั้น นารทมหาพรหมตรวจดูชมพูทวีป ได้เห็นพระเจ้าอังคติราชผู้ทรงมีความเห็นผิด จึงมาจากพรหมโลกถึงถิ่นมนุษย์ ลำดับนั้น นารทมหาพรหมได้ยืนอยู่ที่ปราสาทเบื้องพระพักตร์แห่งพระเจ้า

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 275

วิเทหราช ก็พระนางรุจาราชธิดาเห็นนารทฤาษีนั้นมาถึง จึงนมัสการ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทฺทส ความว่า นารทมหาพรหม ผู้สถิตอยู่ในพรหมโลกนั่นแล ได้เพ่งดูชมพูทวีป ได้เห็นพระเจ้าอังคคิราช ผู้ยึดถือความเห็นผิด ในสำนักของคุณาชีวก อธิบายว่า เพราะเหตุนั้นจึงมา. บทว่า ตโต ปติฏฺา ความว่า แต่นั้นพรหมนั้นเมื่อจะแสดงรอยในที่ไม่มีรอยนั้น ในปราสาทนั้น เบื้องพระพักตร์ของพระราชานั้น ผู้แวดล้อมไปด้วยหมู่อำมาตย์ประทับอยู่ จึงยืนอยู่บนอากาศ. บทว่า อนุปฺปตฺตํ แปลว่า ถึงแล้ว คือมาถึงแล้ว. บทว่า อิสึ ความว่า พระศาสดาตรัสเรียกว่า อิสึ เพราะมาด้วยเพศแห่งฤาษี. บทว่า อวนฺทถ ความว่า พระนางรุจาราชธิดานั้นทรงยินดีร่าเริงว่า ท้าวเทวราชนั้นจักมาทำความกรุณาในพระชนกนาถของเรา ด้วยความอนุเคราะห์แก่เรา ดังนี้จึงน้อมกายลงนมัสการนารทมหาพรหม เหมือนต้นกล้วยทองที่ถูกลมพัดต้องฉะนั้น.

ฝ่ายพระราชาพอเห็นนารทมหาพรหม ถูกเดชแห่งพรหมคุกคามแล้ว ไม่สามารถจะทรงดำรงอยู่บนราชอาสน์ของพระองค์ได้ จึงเสด็จลงจากราชอาสน์ประทับยืนอยู่ที่พื้น แล้วตรัสถามพระนารทะถึงเหตุที่เสด็จมา และนามและโคตร.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้นจึงตรัสว่า

ครั้งนั้น พระราชาทรงหวาดพระทัยเสด็จลงจากราชอาสน์ เมื่อจะตรัสถามนารทฤาษี ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ท่านมีผิวพรรณงามดังเทวดา ส่องรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ ดังพระจันทร์ ท่านมาจากไหนหนอ ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกนามและโคตรแก่ข้าพเจ้า คนในมนุษยโลกย่อมรู้จักท่านอย่างไรหนอ.

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 276

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยมฺหิตมานโส ได้แก่ เป็นผู้มีจิตคิดกลัว. บทว่า กุโต นุ ความว่า พระราชาทรงสำคัญว่า ผู้นี้ชรอยว่าเป็นวิชาธรบ้างหรือหนอ จึงไม่ทรงไหว้เลย ถามอย่างนี้.

ลำดับนั้น นารถฤาษี คิดว่า พระราชานี้สำคัญว่า ปรโลกไม่มี เราจักถามเฉพาะปรโลกแก่พระราชานั้นก่อน ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถาว่า

อาตมภาพมาจากเทวโลกเดี๋ยวนี้เอง ส่องรัศมีสว่างจ้าไป ทั่วทิศดังพระจันทร์ มหาบพิตรตรัสถามแล้ว อาตมภาพขอถวายพระพรนามและโคตรให้ทรงทราบ คนทั้งหลายเขารู้จักอาตมภาพโดยนามว่า นารทะ และโดยโคตรว่ากัสสปะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทวโต แปลว่า จากเทวโลก. บทว่า นารโท กสฺสโป จ ความว่า คนทั้งหลายรู้จักอาตมภาพโดยชื่อว่า นารทะ และโดยโคตรว่า กัสสปะ.

ลำดับนั้น พระเจ้าอังคติราชทรงพระดำริว่า เรื่องปรโลกเราจักไว้ถามภายหลัง เราจักถามถึงเหตุที่เธอได้ฤทธิ์เสียก่อน แล้วจึงตรัสคาถาว่า

สัณฐานของท่าน การที่ท่านเหาะไป และยืนอยู่บนอากาศได้น่าอัศจรรย์ ดูก่อนท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามความนี้กะท่าน เออ เพราะเหตุอะไร ท่านจึงมีฤทธิ์เช่นนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาทิสญฺจ ความว่า สัณฐานของท่านเป็นเช่นใด ท่านเหาะไป และยืนอยู่บนอากาศได้อย่างไร นี้น่าอัศจรรย์.

ลำดับนั้น ท่านนารทฤาษีจึงทูลว่า

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 277

คุณธรรม ๔ ประการนี้คือ สัจจะ ๑ ธรรมะ ๑ ทมะ ๑ จาคะ ๑ อาตมภาพได้ทำไว้ในภพก่อน เพราะคุณธรรมที่อาตมภาพเสพมาดีแล้วนั้นนั่นแล อาตมภาพจึงไปไหนๆ ได้ตามความปรารถนาเร็วทันใจ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจํ ได้แก่ วจีสัจจะ. บทว่า ธมุโม จ ได้แก่ สุจริตธรรม ๓ ประการ และฌานธรรมอันเกิดแต่การบริกรรมกสิณ. บทว่า ทโม ได้แก่ การฝึกอินทรีย์. บทว่า จาโค ได้แก่ การสละกิเลสและการสละไทยธรรม. ด้วยบทว่า ปกตา ปุราณา ท่านแสดงว่า เราได้กระทำไว้ในภพก่อน. บทว่า เตเหว ธมฺเมหิ สุเสวิเตหิ ความว่า ด้วยคุณธรรมทั้งปวงนั้น ซึ่งอาตมภาพได้เสพดีแล้ว คือได้อบรมมาแล้ว. บทว่า มโนชโว แปลว่า เร็วทันใจ. บทว่า เยน กามํ คโตสฺมิ ความว่า อาตมภาพจะไปในแดนของเทวดา และแดนของมนุษย์ได้ตามความปรารถนา.

แม้เมื่อพระโพธิสัตว์กราบทูลอย่างนี้ พระเจ้าอังคติราชก็ไม่ทรงเชื่อปรโลก เพราะทรงยึดถือมิจฉาทิฏฐิเสียมั่นดีแล้ว จึงตรัสคาถาว่า ผลของบุญมีอยู่หรือ แล้วจึงตรัสคาถานี้ว่า

เมื่อท่านบอกความสำเร็จแห่งบุญ ชื่อว่าท่านบอกความอัศจรรย์ ถ้าแลเป็นจริงอย่างท่านกล่าว ดูก่อนท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงพยากรณ์ให้ดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุญฺสิทฺธึ ความว่า ท่านเมื่อจะบอกความสำเร็จแห่งบุญ คือความที่บุญให้ผล ชื่อว่าท่านย่อมบอกความอัศจรรย์.

นารทฤาษีจึงทูลว่า

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 278

ขอถวายพระพร ข้อใดพระองค์ทรงสงสัย เชิญมหาบพิตรตรัสถามข้อนั้นกะอาตมภาพเถิด อาตมภาพจะถวายวิสัชนาให้มหาบพิตรทรงสิ้นสงสัยด้วยนัย ด้วยญายธรรม และด้วยเหตุทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเวส อตฺโถ ความว่า อันข้อความที่พระองค์จะพึงถามนั้น. บทว่า ยํ สํสยํ ความว่า พระองค์สงสัยในอรรถข้อใดข้อหนึ่ง พระองค์จงถามความข้อนั้นกะอาตมภาพเถิด. บทว่า นิสฺสํสยตํ ความว่า อาตมภาพจะทำให้พระองค์หมดความสงสัย. บทว่า นเยหิ ได้แก่ ด้วยคำอันเป็นเหตุ. บทว่า าเยหิ ได้แก่ ด้วยญาณ. บทว่า เหตุภิ ได้แก่ ด้วยปัจจัย. อธิบายว่า อาตมภาพจะไม่กราบทูลโดยเหตุ เพียงปฏิญาณไว้เท่านั้น จักกระทำให้พระองค์หมดความสงสัย ด้วยการกำหนดด้วยญาณแล้วกล่าวเหตุ และด้วยปัจจัยอันเป็นเหตุให้ธรรมเหล่านั้นตั้งขึ้น.

ดูก่อนท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน ท่านถูกถามแล้วอย่าได้กล่าวมุสากะข้าพเจ้า ที่คนพูดกันว่า เทวดามี มารดาบิดามี ปรโลกมีนั้น เป็นจริงหรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชโน ยมาห ความว่า พระเจ้าอังคติราชถามว่า ข้อที่พูดกันอย่างนี้ว่า เทวดามี มารดาบิดามี ปรโลกมี ทั้งหมดมีอยู่จริงหรือ?.

พระนารทฤาษีจึงกราบทูลว่า

ที่เขาพูดกันว่า เทวดามี มารดาบิดามี และปรโลกมีนั้น เป็นจริงทั้งนั้น แต่นรชนผู้หลงงมงายใคร่ในกามทั้งหลาย จึงไม่รู้ปรโลก.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 279

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺเถว ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร เทวดามี มารดาบิดามี. ที่นรชนพูดกันว่า ปรโลกมี แม้นั้นก็อยู่จริงทีเดียว. บทว่า น วิทู ความว่า นรชนผู้ติดอยู่ในกามและหลงงมงายเพราะโมหะจึงไม่รู้ คือย่อมไม่ทราบปรโลก.

พระเจ้าอังคติราชได้ทรงสดับดังนั้น จึงทรงพระสรวลตรัสว่า

ดูก่อนนารทะ ถ้าท่านเชื่อว่าปรโลกมีจริง สถานที่อยู่ในปรโลกของเหล่าสัตว์ผู้ตายไปแล้วก็ต้องมี ท่านจงให้ทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะแก่ข้าพเจ้าในโลกนี้ ข้าพเจ้าจะใช้ให้ท่านหนึ่งพันกหาปณะในปรโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิเวสนํ ได้แก่ สถานที่เป็นที่อยู่อาศัย. บทว่า ปญฺจสตานิ แปลว่า ๕๐๐ กหาปณะ.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ เมื่อจะกล่าวติเตียนในท่ามกลางบริษัทจึง ทูลว่า

ถ้าอาตมภาพรู้ว่ามหาบพิตรทรงมีศีลทรงรู้ความประสงค์ของสมณพราหมณ์ อาตมภาพก็จะให้มหาบพิตรทรงยืมสัก ๕๐๐ แต่มหาบพิตรหยาบช้า ทรงจุติจากโลกนี้แล้ว จะต้องไปอยู่ในนรกใครจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกเล่า ผู้ใดในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศีลธรรม ประพฤติชั่วเกียจคร้าน มีกรรมอันหยาบช้า บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้หนี้ในผู้นั้น เพราะจะไม่ได้ทรัพย์คืนจากคนเช่นนั้น ส่วนบุคคลผู้ขยันหมั่นเพียร มีศีล รู้ความประสงค์ คนทั้งหลายรู้แล้ว ย่อมเอาโภคทรัพย์มาเชื้อเชิญเอง ด้วยคิดว่า ผู้นี้ทำการงานเสร็จแล้ว พึงนำมาใช้ให้.

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 280

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ชญฺาม เจ ความว่า ถ้าอาตมภาพรู้ว่ามหาบพิตรเป็นผู้มีศีล รู้ความประสงค์ คือรู้ว่า สมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรมมีความต้องการด้วยสิ่งนี้ ในเวลานี้ เป็นผู้กระทำกิจนั้นๆ ชื่อว่ารู้ความประสงค์ เมื่อเช่นนี้อาตมภาพจึงยอมให้ทรัพย์แก่ท่าน ๕๐๐ กหาปณะ แต่มหาบพิตรเป็นคนหยาบช้า ทารุณ ยึดถือมิจฉาทิฏฐิกำจัดทานและศีล ผิดในภรรยาของคนอื่น จุติจากโลกนี้แล้วจักเกิดในนรก ใครจะไปในนรกนั้นทวงเอาทรัพย์กะมหาบพิตรผู้หยาบช้าผู้อยู่ในนรกว่า ท่านจงให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ ด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า ตถาวิธมฺหา ความว่า คนเช่นนั้นชื่อว่าจะมาทวงหนี้ที่ให้แล้วย่อมไม่มี. บทว่า ทกฺขํ ได้แก่ ฉลาดในการยังทรัพย์ให้เกิด บทว่า ปุนมาหเรสิ ความว่า ท่านทำกรรมของตนแล้วยังทรัพย์ให้เกิด แล้วนำทรัพย์ที่มีอยู่มาให้เราอีก. บทว่า นิมนฺตยนฺติ ความว่า คนทั้งหลายย่อมเชื้อเชิญด้วยโภคทรัพย์แม้ด้วยตนเอง.

พระเจ้าอังคติราชอันพระนารทฤาษีกล่าวข่มขู่ด้วยประการฉะนี้ ก็หมดปฏิภาณที่จะตรัสโต้ตอบ. มหาชนต่างพากันร่าเริงยินดี เล่าลือกันทั่วพระนครว่า วันนี้ท่านนารทฤาษีผู้เป็นเทพมีฤทธิ์มาก ปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิพระเจ้าอยู่หัวได้. ด้วยอานุภาพของพระมหาสัตว์ ชนชาวมิถิลาผู้อยู่ไกลแม้ตั้งโยชน์ ก็ได้ยินพระธรรมเทศนาของพระมหาสัตว์ในขณะนั้นสิ้นด้วยกันทุกคน. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงคิดว่า พระราชานี้ยึดมิจฉาทิฏฐิเสียมั่นแล้ว จำเราจะต้องคุกคามด้วยภัยในนรก ให้ละมิจฉาทิฏฐิแล้วให้ยินดีในเทวโลกอีกภายหลัง ดังนี้แล้วจึงกราบทูลว่า ขอถวายพระพร ถ้าพระองค์ยังไม่ทรงละทิฏฐิไซร้ ก็จักต้องเสด็จสู่นรกซึ่งเต็มไปด้วยทุกขเวทนา แล้วเริ่มกล่าวนิรยกถาว่า

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 281

ขอถวายพระพร มหาบพิตรเสด็จไปจากที่นี่แล้ว จักทอดพระเนตรเห็นพระองค์เองอยู่ในนรกนั้น ซึ่งถูกฝูงการุมยื้อแย่งฉุดคร่าอยู่ ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตรผู้ตกอยู่ในนรก ถูกฝูงกา ฝูงแร้ง ฝูงสุนัข รุมกัดกิน ตัวขาด กระจัดกระจาย เลือดไหลโทรม.

ก็แล ครั้นพระนารทฤาษี พรรณนาถึงนรกอันเต็มไปด้วยฝูงกาและนกเค้าแก่ท้าวเธอแล้ว จึงกราบทูลว่า ถ้าพระองค์ไม่ไปเกิดในที่นั้น ก็จักบังเกิดในโลกันตนรก เพื่อจะทูลชี้แจงโลกันตนรกนั้นถวายจึงกล่าวคาถาว่า

ในโลกกันตนรกนั้นมืดที่สุด ไม่มีพระจันทร์และพระอาทิตย์ โลกันตนรกมืดตื้ออยู่ทุกเมื่อน่ากลัว กลางคืนกลางวัน ไม่ปรากฏ ผู้ต้องการทรัพย์คนไรเล่า จะพึงเที่ยวไปในสถานที่เช่นนั้นได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺธตมํ ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร มิจฉาทิฏฐิบุคคลบังเกิดในโลกันตนรกใด ในโลกันตนรกนั้นมืดที่สุด เป็นที่ห้ามการเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณ. บทว่า สทา ตุมุโล ความว่า นรกนั้น มีความมืดตื้ออยู่เป็นนิจ. บทว่า โฆรรูโป ความว่า นรกนั้นเป็นที่หวาดกลัวอย่างยิ่ง. บทว่า สา เนว รตฺติ น ทิวา ความว่า ในนรกนั้นกลางคืนกลางวันก็ไม่ปรากฏเลย. บทว่า โก วิจเร ความว่า ใครจักเที่ยวไป ยังความพยายามให้สำเร็จเล่า.

ครั้นพระนารทฤาษีพรรณนาโลกันตนรกนั้นถวายแล้ว จึงทูลชี้แจงต่อไปว่า ขอถวายพระพร ถ้าพระองค์ยังไม่ทรงละมิจฉาทิฏฐิ ก็จักต้องได้รับทุกขเวทนาแม้อื่นๆ อีกไม่สิ้นสุด แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 282

ในโลกันตนรกนั้น มีสุนัขอยู่ ๒ เหล่า คือด่างเหล่า ๑ ดำเหล่า ๑ ล้วนมีร่างกายกำยำล่ำสันแข็งแรง ย่อมพากันมากัดกินผู้ที่จุติจากมนุษยโลกนี้ ไปตกอยู่ในโลกันตนรกด้วยเขี้ยวเหล็ก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิโต ปนฺณฺณํ ความว่า ผู้จุติจากมนุษยโลกนี้. แม้ในนรกอื่นก็นัยนี้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น บัณฑิตทั้งหลาย พึงให้สถานที่นรกทั้งหมดนั้นพิศดาร โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังพร้อมกับความพยายามของนายนิรยบาลนั้นแล แล้วพึงพรรณนาบทที่ยังไม่ง่ายแห่งคาถานั้นๆ ว่า

ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกกะมหาบพิตรผู้ตกอยู่ในนรก ถูกสุนัขอันทารุณร้ายกาจนำทุกข์มาให้ รุมกัดกินตัวขาดกระจัดกระจาย เลือดไหลโทรมได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลุทฺเทหิ แปลว่า ทารุณ. บทว่า พาเลหิ แปลว่า ผู้ร้ายกาจ. บทว่า อฆมฺมิเกหิ ความว่า ผู้นำความคับแค้นมาให้ คือ นำความทุกข์มาให้.

และในนรกอันร้ายกาจ พวกนายนิรยบาลชื่อ กาลูปกาละ ผู้เป็นข้าศึก พากันเอาดาบและหอกอันคมกริบทิ่มแทงนรชนผู้ทำกรรมชั่วไว้ในภพก่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หนนฺติ วิชฺฌนฺติ จ ความว่า พวกนายนิรยบาล เอาดาบและหอกสับฟันและทิ่มแทงกระทำร่างกายทั้งสิ้น ให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยให้ตกไปบนแผ่นดินเหล็กอันไฟลุกโชน. บทว่า กาลูปกาลา

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 283

ได้แก่ นายนิรยบาลทั้งหลายผู้มีชื่ออย่างนี้. บทว่า นิรยมฺหิ ความว่า นายนิรยบาล กล่าวคือ กาปลูปกาลา ผู้อยู่ในนรกนั้นนั่นเอง. บทว่า ทุกฺกฏกมฺมการึ ได้แก่ ผู้กระทำกรรมชั่วด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ.

ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกกะมหาบพิตรผู้ถูกทิ่มแทงที่ท้องที่สีข้าง พระอุทรพรุนวิ่งวุ่นอยู่ในนรก ตัวขาดกระจัดกระจายเลือดไหลโทรมได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ ความว่า กะมหาบพิตร ผู้ถูกสับฟันทิ่มแทงอยู่อย่างนั้นในนรกนั้น. บทว่า วชนฺตํ ความว่า ผู้วิ่งไปข้างโน้นข้างนี้. บทว่า กุจฺฉิสฺมึ ความว่า ถูกทิ่มแทงที่ท้องและที่สีข้าง.

ในโลกันตนรกนั้น มีห่าฝนต่างๆ ชนิด คือ หอก ดาบ แหลน หลาวมีประกายวาวดังถ่านเพลิง ตกลงบนศีรษะ สายอัสนีศิลาอันแดงโชนตกต้องสัตว์นรกผู้มีกรรมหยาบช้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคารมิวจฺจิมนฺโต ความว่า ฝนอาวุธมีประกายวาว ดังถ่านเพลิงที่ลุกโชนตกบนศีรษะ. บทว่า ลุทฺทกมฺเม ความว่า ห่าฝนสายอัสนีศิลาอันลุกโชนตั้งขึ้นบนอากาศ แล้วตกกระหน่ำลงบนศีรษะของผู้ทำกรรมชั่วเหล่านั้น เหมือนสายอัสนีตกลงในเมื่อฝนตก.

และในนรกนั้นมีลมร้อนยากที่จะทนได้ สัตว์ในนรกนั้น ย่อมไม่ได้รับความสุขแม้แต่น้อย ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตรซึ่งทรงกระสับกระส่ายวิ่งไปมาหาที่ซ่อนเร้นมิได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตรํปิ แปลว่า แม้นิดน้อย. บทว่า ธาวนฺตํ แปลว่า แล่นไปอยู่.

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 284

ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตรผู้ถูกเทียมในรถวิ่งไปวิ่งมา ต้องเหยียบแผ่นดินอันลุกโพลง ถูกแทงด้วยประตักอยู่ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รเถสุ ยุตฺตํ ความว่า เทียมที่รถอันแล้วด้วยโลหะ อันลุกโชนนั้นๆ ตามวาระโดยวาระ. บทว่า กมนฺตํ แปลว่า ก้าวไปอยู่. บทว่า สุโจทยนฺตํ แปลว่า ไปทวงอยู่ด้วยดี.

ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตรซึ่งทนไม่ได้ วิ่งไปขึ้นภูเขาอันดาดไปด้วยขวากกรด ลุกโชนน่าสยดสยองอย่างยิ่ง ตัวขาดกระจัดกระจายเลือดไหลโทรมได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมารุหนฺตํ ความว่า กะมหาบพิตรผู้อดทนการประหารด้วยอาวุธอันลุกโชนไม่ได้ แล้ววิ่งขึ้นสู่ภูเขาอันล้วนแล้วด้วยโลหะอันลุกโชน ดารดาษไปด้วยคมดาบหอกอันลุกโชน.

ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตร ซึ่งต้องวิ่งเหยียบกองถ่านเพลิงเท่าภูเขา ลุกโพลงน่ากลัว มีตัวถูกไฟไหม้ทนไม่ไหว ร้องครวญครางอยู่ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺพฑฺฒคตฺตํ ได้แก่ ร่างกายที่ถูกไฟไหม้ด้วยดี.

ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยหนามเหล็กคมกริบ กระหายเลือดคน.

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 285

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณฺฏกาหิ จิตา แปลว่า เต็มไปด้วยหนามอันลุกโพลง. บทว่า อโยมเยหิ นี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงหนามอันเต็มไปด้วยเหล็ก.

หญิงผู้ประพฤติล่วงสามี และชายผู้กระทำชู้กับภรรยาของผู้อื่น ถูกนายนิรยบาลผู้ทำตามคำสั่งของพระยายม ถือหอกไล่ทิ่มแทงให้ขึ้นต้นงิ้วนั้น.

บรรดาเหล่านั้น บทว่า ตมารุหนฺติ ความว่า ย่อมขึ้นต้นงิ้วเห็นปานนั้น. บทว่า ยมนิทฺเทสการิภิ ความว่า อันนายนิรบาลผู้กระทำตามคำของพระยายม.

ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์จำนวนนั้นกะมหาบพิตร ซึ่งต้องขึ้นต้นงิ้วในนรกเลือดไหลเปรอะเปื้อน มีกายเหี้ยมเกรียม หนังปอกเปิกกระสับกระส่าย เสวยเวทนาอย่างหนัก ใครเล่าจะไปขอทรัพย์จำนวนเท่านั้นกะพระองค์ผู้หอบแล้วหอบอีก อันเป็นโทษของบุรพธรรม หนังปอกเปิก เดินทางผิดได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิททฺธกายํ แปลว่า มีกายถูกกำจัดแล้ว. บทว่า วิตจํ ความว่า เหมือนดอกทองหลางและดอกทองกวาว เพราะถูกตัดหนังและเนื้อ.

ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยใบเหล็กคมกริบ กระหายเลือดคน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสิปตฺตจิตา แปลว่า เต็มไปด้วยใบดาบเหล็กอันคมกริบ.

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 286

ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตร ซึ่งขึ้นอยู่บนต้นงิ้วนั้น ก้าวไปเหยียบใบเหล็กอันคมดังดาบ ก็ถูกใบงิ้วอันคมนั้นบาด มีตัวขาดกระจัดกระจายเลือกไหลโทรมได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมานุปตฺตํ ความว่า กะมหาบพิตรผู้ซึ่งขึ้นอยู่บนต้นงิ้วนั้น ทนไม่ไหวต่ออาวุธเครื่องประหารของนายนิรยบาล.

ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์จำนวนเท่านั้น กะมหาบพิตรซึ่งเดินหนีออกจากขุมนรกไม้งิ้ว มีใบเป็นดาบ ไปพลัดตกลงในแม่น้ำเวตรณีได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปติตํ แปลว่า ตกลง.

แม่น้ำเวตรณี น้ำเป็นกรด เผ็ดร้อน ยากที่จะข้ามได้ ดาดาษไปด้วยบัวเหล็กใบคมกริบไหลอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขรา แปลว่า หยาบ คือ เผ็ดร้อน. บทว่า อโยโปกฺขรสญฺฉนฺนา ความว่า ปิดด้วยใบบัวเหล็กอันคมกริบอยู่โดยรอบ บทว่า ปตฺเตหิ ความว่า แม่น้ำนั้นคมกริบไหลออกจากใบเหล่านั้น.

ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์นั้นกะมหาบพิตร ซึ่งมีตัวขาดกระจัดกระจาย เปรอะเปื้อนไปด้วยโลหิต ลอยอยู่ในเวตรณีนทีนั้น หาที่เกาะมิได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวตรญฺเ ความว่า ในเวตรณีนที คือ แม่น้ำกรดเวตรณี.

จบนิรยกัณฑ์

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 287

ส่วนพระเจ้าอังคติราช ได้ทรงสดับนิรยกถาของพระมหาสัตว์นี้ ก็มีพระหฤทัยสลด เมื่อจะทรงแสวงหาที่พึ่งกะพระมหาสัตว์ จึงตรัสว่า

ข้าพเจ้าแทบจะล้มเหมือนต้นไม้ที่ถูกตัด ข้าพเจ้าหลงสำคัญผิดจึงไม่รู้จักทิศ ท่านฤาษี ข้าพเจ้าได้ฟังคาถาภาษิตของท่านแล้ว ย่อมร้อนใจ เพราะกลัวมหาภัย ท่านฤาษี ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า ประหนึ่งน้ำสำหรับแก้กระหายในเวลาร้อน เกาะเป็นที่อาศัยในห้วงมหาสมุทร และประทีปสำหรับส่องสว่างในที่มืดฉะนั้นเถิด ท่านฤาษี ขอท่านจงสอนอรรถและธรรมแก่ข้าพเจ้า ในกาลก่อนข้าพเจ้าได้กระทำความผิดไว้ส่วนเดียว ข้าแต่พระนารทะ ขอท่านจงบอกทางบริสุทธิ์แก่ข้าพเจ้า โดยข้าพเจ้าจะไม่พึงตกไปในนรกด้วยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภยสานุตปฺปามิ ความว่า ตามเดือดร้อนเพราะภัยแห่งบาปที่ตนทำไว้. บทว่า มหา จ เม ภยา ความว่า และนิรยภัยใหญ่อันบังเกิดแก่ข้าพเจ้า. บทว่า ทีปํโวเฆ ความว่า เป็นดังเกาะในห้วงน้ำฉะนั้น ท่านอธิบายไว้ว่า เป็นดังท่ามกลางน้ำในกายที่ไม่ติดทั่ว เหมือนเกาะของบุคคลผู้ไม่ได้ที่พึ่งแห่งเรือที่อับปางในห้วงน้ำหรือในมหาสมุทร ท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า เหมือนแสงสว่างที่โชติช่วงแก่ผู้ไปในที่มืด. บทว่า อตีตมทฺธา อปราธิตํ มยา ความว่า ข้าพเจ้าได้กระทำความผิดอันเป็นกรรมชั่วไว้ในอดีต ล่วงกุศลทำแต่อกุศลเท่านั้น.

ครั้นเมื่อพระมหาสัตว์ ทูลบอกทางอันบริสุทธิ์แก่พระเจ้าอังคติราชนั้น เมื่อจะแสดงซึ่งข้อปฏิบัติชอบของพระราชาในปางก่อน โดยยกเป็นอุทาหรณ์ จึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 288

พระราชา ๖ พระองค์นี้ คือ ท้าวธตรฐ ท้าวเวสสามิตร ท้าวอัฏฐกะ ท้าวยมทัตติ ท้าวอุสสินนระ ท้าวสิวิราชและพระราชาพระองค์อื่นๆ ได้ทรงบำรุงสมณพราหมณ์ทั้งหลายแล้วเสด็จไปยังสวรรค์ ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แม้มหาบพิตรก็ฉันนั้น จงทรงเว้นอธรรม แล้วทรงประพฤติธรรม ราชบุรุษทั้งหลายจงถืออาหารไปประกาศภายในพระราชนิเวศน์ และภายในพระนครว่า ใครหิว ใครกระหาย ใครปรารถนามาลา ใครปรารถนาเครื่องลูบไล้ ใครไม่มีผ้านุ่งห่ม จงนุ่งห่มผ้าสีต่างๆ ตามปรารถนา ใครต้องการร่ม ใครต้องการรองเท้าอย่างเนื้ออ่อนอย่างดี ราชบุรุษทั้งหลายจงประกาศดังนี้ ในพระนครของพระองค์ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า มหาบพิตรอย่าได้ใช้คนแก่เฒ่า และโคม้าอันแก่ชราเหมือนดังก่อน และจงทรงพระราชทานเครื่องบริหารแก่บุคคลที่เป็นกำลัง เคยกระทำความดีไว้เท่าเดิมเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอเต จ ความว่า พระราชาทั้ง ๖ เหล่านั้นคือ ท้าวธตรฐ ท้าวเวสสามิตร ท้าวอัฏฐกะ ท้าวยมทัตติ ท้าวอุสสินนระ ท้าวสิวิราช และพระราชาอื่นๆ ได้ประพฤติธรรมอันเป็นวิสัยแห่งท้าวสักกะฉันใด แม้พระองค์ก็พึงเว้นอธรรม พึงประพฤติธรรมฉันนั้น. บทว่า โก ฉาโต ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร พวกราชบุรุษผู้ถืออาหารจงประกาศไปในวิมาน ในบุรี ในราชนิเวศน์ และในพระนครของพระองค์ว่า ใครหิว

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 289

ใครกระหาย ดังนี้เพื่อประสงค์จะให้แก่พวกเหล่านั้น. บทว่า โก มาลํ ความว่า จงโฆษณาว่า ใครปรารถนามาลา ใครปรารถนาเครื่องลูบไล้ ใครปรารถนาสีแดงต่างๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง จงให้ผ้าสีนั้นๆ ใครเป็นคนเปลือยกายจักนุ่งห่ม. บทว่า โก ปนฺเถ ฉตฺตมาเทติ ความว่า ใครจะกั้นร่มในหนทาง. บทว่า ปาทุกา จ ความว่า และใครจะปรารถนารองเท้าอ่อนนุ่มและสวยงาม. บทว่า ชิณฺณํ โปสํ ความว่า ผู้ใดเป็นอุปัฏฐากของท่าน จะเป็นอำมาตย์ หรือ ผู้อื่นที่ทำอุปการะไว้ก่อน ในเวลาที่คร่ำคร่าเพราะชรา ไม่สามารถจะทำการงานได้เหมือนในก่อน. แม้โคและม้าเป็นต้น ในเวลาแก่ก็ไม่สามารถจะทำการงานได้. แม้ในบรรดาโคและม้าเป็นต้น แม้ตัวเดียว ท่านก็อย่าใช้ในการงานทั้งหลายเช่นในก่อน. จริงอยู่ ในเวลาแก่ สัตว์เหล่านั้นไม่สามารถจะทำการงานเหล่านั้นได้ การบริหารในบทว่า ปริหารญฺจ นี้ท่านกล่าว สักการะ. ท่านอธิบายไว้ว่า ก็ผู้ใดเป็นกำลังของท่าน คือเป็นการกระทำอุปการะมาก่อนโดยเป็นเจ้าหน้าที่ ท่านพึงให้การบริหารแก่เขาเหมือนก่อนมา. จริงอยู่ อสัตบุรุษในเวลาที่บุคคลสามารถเพื่อจะทำอุปการะแก่ตนย่อมทำความนับถือ ในเวลาที่เขาไม่สามารถก็ไม่แลดูบุคคลผู้นั้นเลย ส่วนสัตบุรุษในเวลาสามารถก็ดี ในเวลาไม่สามารถก็ดี ย่อมสามารถกระทำสักการะเหมือนอย่างนั้นแก่เขาเหล่านั้น เพราะฉะนั้น แม้พระองค์ก็พึงกระทำอย่างนั้นแล.

ดังนั้น พระมหาสัตว์ครั้นแสดงทานกถาและศีลกถาแล้ว บัดนี้เพราะเหตุที่พระราชานี้ ย่อมยินดีในพรรณนาโดยเปรียบเทียบด้วยรถในอัตภาพของตน เพราะเหตุดังนี้นั้นเมื่อจะแสดงธรรมโดยเปรียบเทียบด้วยรถอันให้ความใคร่ทั้งปวงจึงกล่าวว่า

มหาบพิตรจงทรงสำคัญพระวรกายของพระองค์ว่าเป็นดังรถ อันมีใจเป็นสารถี กระปรี้กระเปร่า

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 290

(เพราะปราศจากถีนมิทธะ) อันมีอวิหิงสาเป็นเพลาที่เรียบร้อยดี มีการบริจาคเป็นหลังคา มีการสำรวมเท้าเป็นกง มีการสำรวมมือเป็นกระพอง มีการสำรวมท้องเป็นน้ำมันหยอด มีการสำรวมวาจาเป็นความเงียบสนิท มีการกล่าวคำสัตย์เป็นองค์รถอันบริบูรณ์ มีการกล่าวคำไม่ส่อเสียดเป็นการเข้าหน้าไม้สนิท มีการกล่าวคำอ่อนหวานเป็นเครื่องรถอันเกลี้ยงเกลา มีการกล่าวพอประมาณเป็นเครื่องผูกรัด มีศรัทธาและอโลภะเป็นเครื่องประดับ มีการถ่อมตนและกราบไหว้เป็นทูบ มีความไม่กระด้างเป็นงอนรถ มีการสำรวมศีลเป็นเชือกขันชะเนาะ มีความไม่โกรธเป็นอาการไม่กระเทือน มีกุศลกรรมเป็นเศวตฉัตร มีพาหุสัจจะเป็นสายทาบ มีการตั้งจิตมั่นเป็นที่มั่น มีความคิดเครื่องรู้จักกาลเป็นไม้แก่น มีความแกล้วกล้าเป็นไม้ค้ำ มีความประพฤติถ่อมตนเป็นเชือกขันแอก มีความไม่เย่อหยิ่งเป็นแอกเบา มีจิตไม่หดหู่เป็นเครื่องลาด มีการเสพบุคคลผู้เจริญเป็นเครื่องกำจัดธุลี มีสติของนักปราชญ์เป็นประตัก มีความเพียรเป็นสายบังเหียน มีใจที่ฝึกฝนดีแล้วเช่นดังม้าที่หัดไว้เรียบเป็นเครื่องนำทาง ความปรารถนาและความโลภเป็นทางคด ส่วนความสำรวมเป็นทางตรง ขอถวายพระพร ปัญญาเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนม้า ในรถคือพระวรกายของมหาบพิตรที่กำลังแล่นไปในรูป เสียง กลิ่น รส พระองค์

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 291

นั้นแลเป็นสารถี ถ้าความประพฤติชอบและความเพียรมั่นมีอยู่ด้วยยานนี้ รถนั้นจะให้สิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่าง จะไม่นำไปบังเกิดในนรก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รถสญฺาโต ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ทรงสำคัญว่า พระวรกายของพระองค์ว่าเป็นดังรถ. บทว่า มโนสารถิโก ความว่า ประกอบด้วยกุศลจิตคือใจเป็นนายสารถี. บทว่า ลหุ ได้แก่ เป็นผู้เบาเพราะปราศจากถีนมิทธะ. บทว่า อวิหึสาสาริตกฺโข ความว่า ประกอบด้วยเพลาอันเป็นเครื่องแล่นอันสำเร็จเรียบร้อยแล้วไปด้วยอวิหึสา. บทว่า สํวภาคปฏิจฺฉโท ความว่า ประกอบด้วยหลังคาอันสำเร็จด้วยการจำแนกทาน. บทว่า ปาทสญฺมเนมิโย แปลว่า ประกอบด้วยกงอันสำเร็จด้วยการสำรวมเท้า. บทว่า หตฺถสญฺมปกฺขโร แปลว่า ประกอบด้วยกระพองอันสำเร็จด้วยการสำรวมมือ. บทว่า กุจฺฉิสญฺมนพฺภนฺโต ความว่า หยอดด้วยน้ำมันอันสำเร็จด้วยโภชนะพอประมาณ กล่าวคือการสำรวมท้อง. บทว่า วาจาสญฺมกูชโน แปลว่า มีการสำรวมวาจาเป็นการเงียบสนิท. บทว่า สจฺจวากฺยสมตตงฺโค ความว่า มีการกล่าวคำสัตย์เป็นองค์รถบริบูรณ์ไม่บกพร่อง. บทว่า อเปสุญฺสุสญฺโต ความว่า มีการไม่กล่าวคำส่อเสียดเป็นการสำรวมสัมผัสอย่างสนิท. บทว่า คิราสขิลเนลงฺโค ความว่า มีการกล่าวคำอ่อนหวานน่าคบเป็นสหาย ไม่มีโทษเป็นเครื่องรถอันเกลี้ยงเกลา. บทว่า มิตภาณิสิเลสิโต ความว่า มีการกล่าวพอประมาณอันสละสลวยเป็นเครื่องผูกรัดด้วยดี. สทฺธาโลภสุสงฺขาโร ความว่า ประกอบด้วยเครื่องประดับอันงาม อันสำเร็จด้วยศรัทธา กล่าวคือการเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมและสำเร็จด้วยอโลภะ. บทว่า นิวาตญฺชลิกุพฺพโร ความว่า ประกอบด้วย

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 292

ทูบรถอันสำเร็จด้วยความประพฤติอ่อนน้อม และสำเร็จด้วยอัญชลีกรรมแก่ผู้มีศีล. บทว่า อถทฺธตานตีสาโก ความว่า ไม่มีความกระด้างหน่อยหนึ่งเป็นงอนรถ เพราะไม่มีความกระด้างกล่าวคือ ความเป็นผู้มีวาจาน่าคบเป็นสหาย และมีวาจานำมาซึ่งความบันเทิงใจ. บทว่า สีลสํวรนทฺธโน ความว่า ประกอบด้วยเชือกขันชะเนาะ กล่าวคือการสำรวมจักขุนทรีย์และมีศีล ๕ ไม่ขาดเป็นต้น บทว่า อกฺโกธนมนุคฺฆาฏี ความว่า ประกอบด้วยการไม่กระทบกระทั่ง กล่าวคือความเป็นผู้ไม่โกรธ. บทว่า ธมฺมปณฺฑรฉตฺตโก ได้แก่ ประกอบด้วยเศวตฉัตรอันขาวผ่อง กล่าวคือ กุศลกรรมบถธรรม ๑๐ ประการ. บทว่า พาหุสจฺจมุปาลมฺโพ ได้แก่ประกอบด้วยสายทาบ อันสำเร็จด้วยความเป็นพหูสูตอันอิงอาศัยประโยชน์. บทว่า ิติจิตฺตมุปาธิโย ความว่า ประกอบด้วยเครื่องลาดอันยอดเยี่ยมหรือด้วยราชอาสน์อันตั้งมั่น กล่าวถึงความเป็นผู้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง อันตั้งมั่นด้วยดี โดยภาวะไม่หวั่นไหว. บทว่า กาลญฺญุตาจิตฺตสาโร ความว่า ประกอบด้วยจิตคือด้วยกุศลจิตอันเป็นสาระ อันรู้จักกาลแล้วจึงกระทำ กล่าวคือความเป็นผู้รู้จักกาลอย่างนี้ว่า นี้กาลที่ควรให้ทาน นี้กาลที่ควรรักษาศีล. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ควรปรารถนาทัพสัมภาระทั้งหมด ตั้งต้นแต่ลิ่มแห่งรถและสิ่งอันบริสุทธิ์ สำเร็จแต่สิ่งอันเป็นสาระฉันใด รถนั้นก็ควรแก่การตั้งอยู่ได้นานฉันนั้น แม้รถคือกายของพระองค์ก็เหมือนกัน จึงมีจิตอันหมดจดรู้จักกาลแล้วจึงกระทำ จงประกอบด้วยกุศลสาระมีทานเป็นต้น. บทว่า เวสารชฺชติทณฺฑโก ความว่า แม้เมื่อแสดงในท่ามกลางบริษัท จงประกอบด้วยไม้สามขากล่าวคือความเป็นผู้แกล้วกล้า. บทว่า นิวาตวุตฺติโยตฺตงฺโค ความว่า ประกอบด้วยเชือกผูกแอกอันอ่อนนุ่ม กล่าวคือความประพฤติในโอวาท จริงอยู่ม้าสินธพย่อมนำรถอันผูกได้ด้วยเชือกผูกแอกอันอ่อนนุ่มไปได้สะดวกพระวรกายของพระองค์ก็เหมือนกัน อันผูกมัด

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 293

ด้วยความประพฤติในโอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย ย่อมแล่นไปได้อย่างสะดวก. บทว่า อนติมานยุโค ลหุ ความว่า ประกอบด้วยแอกเบากล่าวคือความไม่ทนงตัว. บทว่า อลีนจิตฺตสนฺถาโร ความว่า รถคือพระวรกายของพระองค์ จงมีจิตไม่ท้อถอยไม่คดโกงด้วยกุศลมีทานเป็นต้น ย่อมงามด้วยเครื่องลาดอันโอฬารสำเร็จด้วยงา เช่นเดียวกับเครื่องลาดจิตของพระองค์ ที่ไม่หดหู่ย่อหย่อนด้วยกุศลกรรมมีทานเป็นต้นฉะนั้น. บทว่า วุฑฺฒิเสวี รโชหโต ความว่า รถเมื่อแล่นตามทางที่มีธุลีอันไม่เสมอ เกลื่อนกล่นไปด้วยธุลี ย่อมไม่งาม เมื่อแล่นโดยหนทางสม่ำเสมอปราศจากธุลี ย่อมงดงามฉันใด แม้รถคือกายของพระองค์ก็ฉันนั้น ดำเนินไปตามทางตรงมีพื้นสม่ำเสมอเพราะเสพกับบุคคลผู้เจริญด้วยปัญญา จงเป็นผู้ขจัดธุลี. บทว่า สติ ปโตโท ธีรสฺส ความว่า พระองค์มีนักปราชญ์คือบัณฑิต จงมีสติตั้งมั่นอยู่ที่รถเป็นประตัก. บทว่า ธิติ โยโค จ รสฺมิโย ความว่า พระองค์มีความตั้งมั่น กล่าวคือมีความเพียรไม่ขาดสาย และจงมีความพยายาม กล่าวคือความประกอบในข้อปฏิบัติอันเป็นประโยชน์ และจงมีบังเหียนอันมั่นคงที่ร้อยไว้ในรถของพระองค์นั้น. บทว่า มโน ทนฺตํ ปถํ เนติ สมทนฺเตหิ วาชิภิ ความว่า รถที่แล่นไปนอกทางด้วยม้าที่ฝึกไม่สม่ำเสมอ ย่อมแล่นผิดทาง แต่เทียมด้วยม้าที่ฝึกดีแล้ว ศึกษาดีแล้ว ย่อมแล่นไปตามทางตรงทีเดียว ฉันใด แม้ใจของพระองค์อันฝึกแล้วก็ฉันนั้น ย่อมละพยศไม่เสพทางผิด ถือเอาแต่ทางถูกฉะนั้น. เพราะฉะนั้น จิตที่ฝึกดีแล้วสมบูรณ์ด้วยอาจาระ จึงยังกิจแห่งม้าสินธพ แห่งรถคือพระวรกายของพระองค์ให้สำเร็จ. บทว่า อิจฺฉา โลโภ จ ความว่า ความปรารถนาในวัตถุที่ยังไม่มาถึงและความโลภที่มาถึงเข้า เพราะฉะนั้นความปรารถนาและความโลภนี้ จึงชื่อว่าเป็นทางผิดเป็นทางคดโกง เป็นทางไม่ตรง ย่อมนำไปสู่อบายถ่ายเดียว แต่การสำรวมในศีล อันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐ หรือมรรคมีองค์ ๘

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 294

ชื่อว่าทางตรง. บทว่า รูเป ความว่า พระองค์จงมีเป็นปัญญาเป็นเครื่องรถคือ พระวรกายของพระองค์ผู้ถือเอานิมิตในกามคุณมีรูปเป็นต้นอันเป็นที่ชอบใจเหล่านั้น เหมือนประตักสำหรับเคาะห้ามม้าสินธพแห่งราชรถที่แล่นออกนอกทาง ก็ปัญญานั้นคอยห้ามรถคือพระวรกายนั้นจากการแล่นไปนอกทาง ให้ขึ้นสู่ทางตรงคือทางสุจริต. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตนาว ความว่า ก็ชื่อว่า นายสารถีอื่นย่อมไม่มีในรถคือพระวรกายของพระองค์นั้น พระองค์นั้นแหละเป็นสารถีของพระองค์เอง. บทว่า สเจ เอเตน ยาเนน ความว่า ถ้ารถใดมียานเป็นเครื่องแล่นไปเห็นปานนั้นมีอยู่. บทว่า สมจริยา ทฬฺหา ธิติ ความว่า รถคือกายใด ย่อมมีความประพฤติสม่ำเสมอ และมีความตั้งมั่นคงถาวร รถนั้นก็จะไปด้วยยานนั้น เพราะเหตุที่รถนั้นย่อมให้ความใคร่ทั้งปวง คือย่อมให้ความใคร่ทั้งปวงตามที่มหาบพิตรปรารถนา เพราะเหตุนั้นพระองค์ไม่ต้องไปนรกแน่นอน พระองค์ทรงยานนั้นไว้โดยส่วนเดียว พระองค์ไม่ไปสู่นรกด้วยยานนั้น มหาบพิตร จะตรัสข้อใดกะอาตมภาพว่า นารทะ ขอท่านจงบอกทางแห่งวิสุทธิ ตามที่อาตมาจะไม่พึงตกนรกด้วยประการฉะนี้แล้ว ความข้อนั้นอาตมภาพได้บอกแก่พระองค์แล้วโดยอเนกปริยายแล.

ครั้นพระนารทฤาษีแสดงธรรมถวายพระเจ้าอังคติราช ให้ทรงละมิจฉาทิฏฐิ ให้ตั้งอยู่ในศีลอย่างนี้แล้ว จึงถวายโอวาทกะพระราชาว่า ตั้งแต่นี้ไปพระองค์จงละปาปมิตร เข้าไปใกล้กัลยาณมิตร อย่าทรงประมาทเป็นนิตย์ ดังนี้แล้วพรรณนาคุณของพระนางรุจาราชธิดา ให้โอวาทแก่ราชบริษัทและทั้งนางใน เมื่อมหาชนเหล่านั้นกำลังดูอยู่นั่นแลได้กลับไปสู่พรหมโลก ด้วยอานุภาพอันใหญ่.

พระเจ้าอังคติราช ทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพรหมนารทะ ละมิจฉาทิฏฐิ บำเพ็ญบารมีทานเป็นต้น ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 295

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนเราก็ทำลายข่ายคือ ทิฏฐิแล้ว จึงทรมานอุรุเวลกัสสปะนั่นเอง เมื่อจะประชุมชาดก จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ในตอนจบว่า

อลาตเสนาบดีเป็นพระเทวทัต สุนามอำมาตย์เป็นพระภัททชิ วิชยอำมาตย์เป็นสารีบุตร คุณาชีวกผู้อเจลกเป็นสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร พระนางรุจาราชธิดา ผู้ทรงยังพระราชาให้เลื่อมใสเป็นพระอานนท์ พระเจ้าอังคติราช ผู้มีทิฏฐิชั่วในกาลนั้นเป็นพระอุรุเวลกัสสปะ มหาพรหมโพธิสัตว์เป็นเราตถาคต ท่านทั้งหลายจงทรงจำชาดกไว้ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถากมหานาทกัสสปชาดกที่ ๘