ประโยชน์ของการศึกษากิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘

 
เมตตา
วันที่  14 ก.ย. 2553
หมายเลข  17177
อ่าน  2,822

การศึกษาเรื่องของกิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ เพื่อเข้าใจความละเอียดของธรรมเตือนให้ไม่ประมาทกิเลสที่มีอยู่มาก เพื่อให้เห็นว่าอกุศลมีมากแค่ไหน อกุศลที่เก็บสะสมมาตั้งแต่อดีตจนถึงขณะนี้ กิเลสถ้าเป็นรูป คงไม่มีที่จะเก็บได้หมดแม้จักรวาลนี้ก็ยังไม่พอ

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ที่ไม่พอ สำหรับเก็บ

การฟังพระธรรมให้เข้าใจเพื่อละความไม่รู้ ค่อยๆ สะสมความเข้าใจทีละน้อยเมื่อปัญญาเจริญขึ้น ค่อยๆ ละกิเลสที่มีอยู่ ค่อยๆ อบรมความเห็นถูกเข้าใจถูกในลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริงและอบรมเจริญกุศลทุกประการ ไม่ใช่อยากไปรู้เรื่องราวของกิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘

...ขอเชิญศึกษาความละเอียดของธรรมเพิ่มเติมได้ที่...

ตัณหา ๑๐๘ [สติปัฏฐานสูตร]

ขออนุโมทนาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 14 ก.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กิเลส เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นอกุศลธรรม เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต พระอริยบุคคลเท่านั้นที่จะดับกิเลสได้ตามลำดับมรรค เมื่อว่าโดยจำนวนแล้ว กิเลสไม่พ้นจากอกุศลธรรม ๑๐ ประการ คือ โลภะ (ความติดข้องยินดีพอใจ) โทสะ (ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ) โมหะ (ความหลง ความไม่รู้) มานะ (ความสำคัญตน) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม) อหิริกะ (ความไม่ละอายต่ออกุสลธรรม) อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวต่ออกุศลธรรม) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) และถีนะ (ความท้อแท้ท้อถอย หดหู่) พระโสดาบัน ดับ ความเห็นผิด และ ความลังเลสงสัยได้อย่างเด็ดขาด พระอนาคามี ดับ โทสะ ได้อย่างเด็ดขาด พระอรหันต์ ดับ โลภะ โมหะ มานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ และ ถีนะได้อย่างเด็ดขาด เมื่อกล่าวโดยสูงสุดแล้ว พระอรหันต์ เป็นผู้ห่างไกลจากกิเลสโดยประการทั้งปวง

ที่ตั้งของกิเลส หรือ อารมณ์ของกิเลส นั้น ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริง ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม ๓ ประการ คือ จิต เจตสิก และ รูป กล่าวคือ จิตทั้งหมด นับเป็นหนึ่ง + เจตสิก ๕๒ รวมเป็น ๕๓ รูปธรรม นับสภาวรูป ๑๘ รูป กับ ลักขณรูป ๔ รวมเป็น ๒๒ และ ๕๓ กับ ๒๒ เมื่อรวมกันแล้ว เป็น ๗๕ ซึ่งเป็นสภาพธรรมในสันดานของตน และในสันดานภายนอก คือ ในสัตว์บุคคลอื่น ก็มี ๗๕ ดังนั้น ๗๕ + ๗๕ เป็น ๑๕๐ คูณกับ กิเลส ๑๐ ก็ได้เป็นกิเลส ๑,๕๐๐ พอดี นี้เป็นเรื่องของจำนวน

แต่ประโยชน์สูงสุดของการศึกษาพระธรรมในเรื่องของกิเลส ซึ่งเป็นอกุศลธรรมนั้นไม่ใช่ให้ไปติดที่จำนวน แต่เพื่อให้เข้าใจว่า กิเลสไม่ได้อยู่ในตำรา แต่เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงจึงเป็นเครื่องเตือนใจที่ดีเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ผู้ฟัง ผู้ศึกษาได้พิจารณาขัดเกลากิเลสของตนเองได้อย่างละเอียด เพราะเหตุว่า ทรงชี้ให้เห็นกิเลสและโทษของกิเลสตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่จะเห็นได้ ถ้าไม่มีการฟัง การศึกษาเลย ความรู้ความเข้าใจก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น การฟัง การศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวัน จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชีวิตอย่างแท้จริง เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูก ไปตามลำดับ และปัญญานี้เอง ที่ค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับเมื่อเจริญสมบูรณ์พร้อมก็จะสามารถดับกิเลสได้ในที่สุด ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความนี้เพิ่มเติม (เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น) ครับ

การดับกิเลสของพระอรหันต์ [อุบาลีเถราปทาน]

...ขอบพระคุณพี่เมตตา และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Jans
วันที่ 14 ก.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ups
วันที่ 14 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Sensory
วันที่ 15 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

ถ้าไม่มีการฟัง การศึกษาพระธรรม ก็ไม่รู้จะมีอะไรมาดับกิเลสตัณหาได้เลย มีแต่ทำไปด้วยความไม่รู้ แต่นึกว่ารู้ ไม่รู้จักจบจักสิ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
bsomsuda
วันที่ 15 ก.ย. 2553

"ทรงชี้ให้เห็นกิเลสและโทษของกิเลสตามความเป็นจริง

ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่จะเห็นได้

ถ้าไม่มีการฟัง การศึกษาเลย

ความรู้ความเข้าใจก็จะเกิดขึ้นไม่ได้"

ขอบพระคุณพี่เมตตาและ อ. คำปั่นอย่างสูง

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 15 ก.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
hadezz
วันที่ 15 ก.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 15 ก.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ผิน
วันที่ 15 ก.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
opanayigo
วันที่ 16 ก.ย. 2553

ซึ่งเป็นสภาพธรรมในสันดานของตน และในสันดานภายนอก คือ ในสัตว์ บุคคลอื่น ก็มี ๗๕, ๗๕ + ๗๕ เป็น ๑๕๐ คูณกับ กิเลส ๑๐ ก็ได้เป็นกิเลส ๑,๕๐๐ พอดี นี้เป็นเรื่องของจำนวน

ศึกษาเพื่อให้รู้ ให้เข้าใจ ตามจริง

ไม่ใช่เรา

จำนวนของเขา

จำนวนของเรา

มันก็ จิต เจตสิก รูป

ปรุงปั่น ตามจำนวนที่สะสม

ต่างกรรม ต่างวาระ

แต่เริ่มต้นที่ฟัง เพื่อเข้าใจ และ ละ

ไม่เท่ากัน

จึงเสมือนเป็น เรา-เขา ที่ต่างกัน

เพราะหลงลืม

ขอบคุณและขออนุโมทนาในข้อความอันเป็นประโยชน์ให้ระลึกค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 18 ก.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขณะที่อยากรู้ชื่อ ถูกโลภะหลอกแล้ว

การศึกษาธรรมเพื่อขัดเกลากิเลสไม่ใช่อย่างอื่น

ความเป็นผู้ตรงและจริงใจเท่านั้นที่จะทำให้นำไปสู่การศึกษาธรรมที่ถูก

ขัดเกลากิเลสได้จริงและดับกิเลสได้ในที่สุดครับ

ผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะเห็นโทษของกิเลสและเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

คือตรงทั้งทางกาย วาจาและใจ รวมทั้งในการศึกษาธรรม

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 648

กัจจานะ บุรุษผู้รู้ความก็ฉันนั้นแล เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจักสั่งสอน เราจักแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติได้ตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานนักก็จักรู้เอง จักเห็นเอง ได้ยินว่าการที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูกคือเครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.

[เล่มที่ 15] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

ก็บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายาเป็นคนตรง จักสามารถบรรลุพระอรหัตได้ โดยกาลครู่เดียวเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า คนผู้โอ้อวด คดโกง เราไม่สามารถสอนได้ ดังนี้

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 20 ก.ย. 2553

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 20 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ