ข้อความเตือนสติเรื่องอุทกูปมสูตร

 
wittawat
วันที่  27 ก.พ. 2554
หมายเลข  17959
อ่าน  3,327

ขอเชิญคลิกอ่านพระสูตร..

เรื่อง อุทกูปมสูตร ... พระสูตรที่อุปมาบุคคลดังน้ำ

ข้อความเตือนสติจากชั่วโมงสนทนา พระสูตร

ข้อความเตือนสติที่มาจากส่วน สนทนาที่เกี่ยวข้องกับพระสูตร

1. อรรถของอุทกูปมสูตร

อุทก คือ น้ำ

อุทกูปม คือ อุปมาดังน้ำ

อุทกูปมสูตร คือ พระสูตรที่เปรียบเทียบบุคคลประเภทต่างๆ ด้วยน้ำ

2. ความหมายของห้วงน้ำ

ห้วงน้ำ คือ อกุศลธรรม ตามนัยของพระสูตร มีดังนี้คือ

นิยตมิจฉาทิฏฐิ [1] ของพวกเดียรถีย์

สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ที่พระโสดาบันละได้

ราคะ โทสะ โมหะ อย่างหยาบที่พระสกทาคามีละได้

กามราคะ ปฏิฆะ ที่พระอนาคามีละได้

อาสวะ ทั้งสิ้น ที่พระอรหันต์ละได้

3. ภัยของห้วงน้ำ คือ สังสารวัฏฏ์

คิดว่า อยู่สบาย แต่ความจริง ถูกท่วมทับด้วยห้วงน้ำใหญ่ ผู้มีปัญญาเห็นภัยของสังสารวัฏฏ์ ขวนขวายการพ้นสังสารวัฏฏ์ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย แม้ขณะจิตที่เกิดดับ สืบต่อ

4. เหตุแห่งภัยภายใน

ภัยภายใน คือ ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อตัณหายังไม่ดับ ความเดือดร้อน ย่อมมีเพราะความเกิดของภพชาติ

5. ความปลอดภัย หมดจดจากภัย

ดับขันธปรินิพพาน ชื่อว่า หมดจดจากภัย คือ สังสารวัฏฏ์ทั้งสิ้น เพราะขันธ์ทั้งสิ้น ไม่เกิดอีกเลย

มรรค ผล คือ ความหมดจดจากภัยภายใน เพราะ อกุศลธรรมดับ

6. ความเจริญขึ้นของปัญญาตามนัยพระสูตร

บุคคลจมลงไปคราวเดียว

ถ้าเห็นผิดชีวิตปรกติ เป็นไปในอกุศลมีแต่จม เช่น ครูทั้ง ๖ ท่านเปรียบว่า แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์ยังไม่สามารถทำให้พ้นจากความเห็นผิดได้ เปรียบกุศลของบุคคลพวกนี้ดังเกล็ดเกลือในห้วงน้ำใหญ่

บุคคลโผล่ขึ้นมาแล้วกลับจมลงไป

คนที่โผล่ขึ้นมาแล้วจมลง เพราะมีโอกาสได้ฟังธรรม แต่ศรัทธาที่จะศึกษาประพฤติให้ตรงขึ้นไม่มี เช่น พระเทวทัตฟังพระธรรมจากพระโอษฐ์ อบรมคุณธรรมถึงฌานสมาบัติ แสดงอิทธิฤทธิ์ได้ แต่ลาภสักการะ และ ความริษยาในคุณความดี ครอบงำ ทำให้จมดิ่ง

บุคคลโผล่ขึ้นแล้วทรงตัวอยู่

ทรงอยู่ได้บางครั้งกุศลเกิด บางครั้งอกุศลเกิด เหมือนคลื่นน้ำพัดไปมา

การจมโดยนัยของสภาพธรรม

จม หมายถึง ไม่มีกำลังพอที่จะโผล่ สิ่งที่ปรากฏทางตามีจริงๆ แล้ว เกิดดับแล้ว ไม่มีกำลังที่จะเข้าใจสิ่งที่เกิด เห็นในขณะนี้ ก็เหมือนจมน้ำ

สภาพธรรมที่ปรากฏ // การทรงตัวในห้วงน้ำ

ขณะนี้มีธรรมที่ปรากฏทรงตัวได้หรือไม่ กำลังเห็น กำลังได้ยิน ถ้าจะทรงตัวได้อย่างมั่นคง คือ ขณะนี้รู้ว่ามีสิ่งที่เกิดแล้ว กำลังเห็น เป็นไปตามปัจจัย แล้วก็ดับ เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่งไม่ใช่อย่างอื่น จนกว่าจะถึงความสิ้นไปของความเห็นผิด ทรงตัวเหลียวทิศได้ แต่หากไม่ศึกษาไม่ละเอียดรอบคอบ แม้กุศลเกิด แต่การฟังผิด ก็จมลงได้อีก

บุคคลโผล่ขึ้นแล้วเหลียวไปมา

โผล่เหลียวดูทิศที่ไปได้ คือ อบรมเจริญปัญญาจนดับความเห็นผิดไม่เกิดอีกเลย

7. ความหมายของพราหมณ์

โดย ศัพท์ คือ ผู้มีบาปอันลอยได้แล้ว

โดย ชาติ คือ ผู้เกิดในสกุลพราหมณ์

โดยนัยของ พระสูตร หมายถึง ผู้ประเสริฐหมดจดจากกิเลส เป็นพระอรหันต์ ไม่มีทั้งบุญ และบาป ไม่ใช่เป็นพราหมณ์โดยชาติ ถ้าลอยบาปได้ต้องเป็นผู้มีปัญญาดับกิเลสได้

8. พระนามของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นพราหมณ์เหนือพราหมณ์ เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหม

9. จมอยู่โดยนัยของโอฆะ ๔

คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ จะเห็นได้ว่ากำลังจมจริงหรือไม่ คือ ทำดีสักแค่ไหนรู้หรือไม่ว่าเป็นกาโมฆะอยู่ตลอดเวลา เพราะอุปัตติ คือ วิบากอาศัยการประจวบกันของสภาพธรรม กรรมเป็นปัจจัยให้วิบากเกิดเห็น หลังจากเห็นก็เป็นโลภะ โทสะ โมหะโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นผู้ที่จะละทิฏโฐฆะได้เป็นสมุจเฉท ต้องเป็นพระโสดาบัน

ขณะที่คิด จม หรือ โผล่

ขณะที่คุยมีจิต คิดที่ไม่มีเสียงก็มี คิดที่มีเสียงก็มี ได้ยินแล้วก็คิดต่อก็มี เป็นโลกของความคิด แต่ความจริง คือ ปรากฏแล้วหมดไป แต่ความจำที่ไม่ลืมจำทั้งคำ เป็นเรื่องราวมาก วันหนึ่งๆ เต็มไปด้วยความไม่รู้แค่ไหน แล้วกำลังจมอยู่หรือเปล่า หรือว่าโผล่

10. ประโยชน์ของอุทกูปมสูตร

สาระของบุคคลไม่ว่าจะจมดิ่ง โผล่แล้วจม หรือ โผล่แล้วทรงตัวคืออะไร คือ ให้ทราบว่ามีอกุศลมากขนาดไหน ที่จะไม่ประมาทในอกุศล เพราะกำลังเห็นขณะนี้จมอยู่หรือไม่ อีกประการหนึ่ง ความเห็นผิดเกิดง่ายมาก นิดเดียวผู้ไม่ละเอียดตกไปฝ่ายเห็นผิด โดยไม่รู้ตัว เช่นการฟังพระธรรมต้องใส่สีขาว เพราะเชื่อตามกันมา แม้คิดเอง ทำเองก็ผิดหมด

ข้อความเตือนสติจากบทสนทนาอื่นที่ได้รับประโยชน์ในชั่วโมงพระสูตร

11. ความลึกซึ้งของสภาพธรรมโดยนัยของสังสารวัฏฏ์

โลภะเจาะจงรู้

ฟังเรื่องเห็น ได้ยิน บัญญัติ นิมิต ก็อยากรู้เจาะจงเฉพาะเรื่องที่ฟัง แต่ความจริงที่กำลังปรากฏไม่รู้ ฟังเรื่องเห็นกี่ครั้งก็ยากจะเข้าใจสภาพที่ปรากฏให้เห็นซึ่งแต่ละขณะ คือ สังสารวัฏฏ์ หนึ่งขณะที่เกิดดับ สืบต่อ ถ้าจิตเกิดดับแล้วไม่สืบต่อ ก็สิ้นสังสารวัฏฏ์

เหตุของอุปนิพันธโคจร

มีความจริงก่อนฟังไม่รู้ เมื่อฟังธรรมจึงเข้าใจว่าสุขุมลึกซึ้ง ปัญญาเท่านั้นจึงรู้ได้ เริ่มเข้าใจความจริงทีละหนึ่ง ทีละเล็กทีละน้อย เริ่มเป็นอุปนิพันธะ ผูกสังขารขันธ์ ซึ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง จากการฟัง จนเริ่มถึงขณะที่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ

12. เข้าใจความหลากหลายของสภาพธรรมโดยไม่มีชื่อ

คำว่า ธรรม ไม่ต้องเรียก นามธรรม รูปธรรม เพราะขณะนั้นคือ คิด แต่ขณะที่แข็งปรากฏไม่ต้องคิดเรื่องรูปธรรม เพราะปรากฏจริงๆ และแข็งไม่ใช่สภาพรู้ แต่ไม่ใช่ให้คิดว่าไม่ใช่สภาพรู้ เมื่อรู้ลักษณะของสภาพธรรมหลากหลาย ความต่างของสภาพนั้น จึงเห็นว่า ความรู้สึก ไม่ใช่จำ พอเสียงปรากฏ ลักษณะของเสียงเป็นเสียงต่างกับ สุข ทุกข์ ประมวลเป็นประเภทธรรมที่ไม่สามารถรู้อะไรได้ คือ เข้าใจตัวธรรม ไม่ใช่ใช้คำรู้จักตัวธรรม

ธาตุที่น่าอัศจรรย์

เสียงเกิดแล้วดับ ไม่มีใครทำอะไร ได้ยินเกิดขึ้นได้ยินเสียงไม่มีใครทำอะไร แต่เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป

13. อกุศลที่เป็นอาจารย์ เป็นลูกศิษย์

อกุศลทั้งครอบงำ ทั้งชักจูงให้ทำทุกอย่าง โดยไม่รู้อะไรเลย เมื่อไม่รู้ ก็ติดข้องเป็นโลภะ หรือว่าไม่ชอบ หรืออกุศลทั้งหมดก็มาจากความไม่รู้ ที่เป็นอาจารย์ ก็เพราะแนะนำทุกอย่าง ผู้ไม่รู้ก็แนะให้ทำอะไรที่ไม่รู้ ผู้ติดข้องก็แนะให้ทำสิ่งที่ติดข้อง

14. ความไม่รู้ // ความละเอียดของลักษณะของธรรม

ตราบใดที่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม ไม่มีทางรู้สภาพของเจตสิกได้เลย เป็นเราทั้งหมด กระพริบตา จิตอะไรทำให้กระพริบตา มีความอยากโดยไม่รู้เลย แม้กระพริบตาก็ไม่รู้ลักษณะสภาพธรรมใดก็ไม่รู้ ถ้าโมหะปรากฏ ลักษณะของความไม่รู้ไม่สามารถรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏได้เลย

15. พระศาสดาให้อะไร

ให้ความเห็นถูก อาจารย์ฝ่ายอกุศล คือ โลภะ ขณะใดที่ประพฤติตามพระศาสดาด้วยความเห็นถูก ไม่ได้คิดเอง ถ้าจะให้ปัญญาสามารถเห็นความจริงได้ ต้องอาศัยผู้ที่รู้แจ้งสภาพธรรมแล้วแสดงความจริงให้คนอื่นได้ ธรรมใดเป็นกุศล เป็น อกุศล เคยเป็นลูกศิษย์ที่มีอาจารย์ไม่ดี ชักนำให้อยู่ในสังสารวัฏฏ์ตรงกันข้ามกับพระศาสดาชักนำให้ออกจากสังสารวัฏฏ์ นี้คือ ความต่างของกุศล และ อกุศล ทั้งหมดก็เพื่อรู้ความจริงจึงออกจากสังสารวัฏฏ์ได้


[1] นิยตมิจฉาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิดดิ่ง มีกำลัง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ผิน
วันที่ 3 มี.ค. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prakaimuk.k
วันที่ 12 มี.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สามา
วันที่ 23 เม.ย. 2554

ขออนุโมทนาสาธุ ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 8 พ.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 10 พ.ค. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
bsomsuda
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณมาก และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 8 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
opanayigo
วันที่ 14 มิ.ย. 2554

ได้รับประโยชน์จากการอ่าน เพื่อนำไปน้อมพิจารณา

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
natre
วันที่ 15 มิ.ย. 2554
กราบอนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
montikarn
วันที่ 15 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ เป็นความรู้ใหม่ ที่ไม่เคยทราบมาก่อน ขอขอบคุณพี่ตุ๋ยที่แนะนำสิ่งที่ดีๆ ให้กับชีวิตค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
สมศรี
วันที่ 17 มิ.ย. 2554
ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ลุงหมาน
วันที่ 18 มิ.ย. 2554

อนุโมทนากับกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
มกร
วันที่ 18 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
pamali
วันที่ 21 มิ.ย. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
raynu.p
วันที่ 21 มิ.ย. 2554
กราบอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
wkedkaew
วันที่ 18 ธ.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

ขอแชร์นะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
papon
วันที่ 13 มี.ค. 2557

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 4 ก.ค. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
chatchai.k
วันที่ 13 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ