ประสงค์จะข้ามห้วงน้ำ
ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ท่านอาจารย์.....อุปมาเหมือนผู้ยืนอยู่ฝั่งนี้อันน่ารังเกียจ
ประสงค์จะข้ามห้วงน้ำ
ต้องเห็นความน่ารังเกียจของฝั่งที่อยู่เสียก่อน
คือความติด ความพอใจ ในรูป
ในเสียง....สัมผัส
และปราถนาที่จะละคลายความน่ารังเกียจนี้
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ คุณหมอ
ยากมาก แต่ก็เป็นไปได้ด้วยความเพียรฟัง เพียรเจริญปัญญา...
ขอบพระคุณและอนุโมทนา ท่านทั้งสองครับ
ผมมีความเห็นว่าฟังให้เข้าใจ เมี่อเข้าใจแล้วก็
อบรมเจริญสติไปรื่อยๆ โดยไม่หวัง ไม่คอย
ผลย่อมมาจากเหตุที่สมควร ครับ
ผู้ยืนอยู่ฝั่งนี้อันน่ารังเกียจ เพราะยังเป็นผู้ที่มีกิเลส ได้สะสมกิเลสในอดีตชาติมายาว
นาน...เมื่อไหร่ที่กิเลสมีกำลังก็พร้อมกระทำอกุศลกรรม ผู้มีปัญญาจึงจะเห็นความน่า
รังเกียจของกิเลสอกุศลธรรมต่างๆ ซึ่งให้ผลเป็นทุกข์แสนสาหัส และต้องเวียนว่าย
อยู่ ณ.ที่ฝั่งนี้ไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าจะเห็นความน่ารังเกียจของอกุศลธรรมต่างๆ ....
อบรมเจริญปัญญาเพื่อละคลายความน่ารังเกียจ จนกว่ากิเลสจะถูกปหานจนหมดสิ้น
เป็นสมุจเฉท เพื่อข้ามห้วงน้ำไปสู่ฝั่งข้างโน้น
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...
เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญาชําแรกกิเลส [นิพเพธิกปัญญสูตร]
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยค่ะ...
ฝั่งนี้มีภัย ฝั่งนี้อันตราย ฝั่งนี้เป็นฝั่งแห่งทุกข์
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอครับ
ความเกิดและความทุกข์เป็นสิ่งน่ารังเกียจ..อะไรเป็นเหตุให้เกิด...และอะไรเป็นเหตุให้ทุกข์....กิเลส...ถ้าไม่เห็นโทษและภัยของกิเลสความคิดที่จะข้ามห้วงน้ำหรือแสวงหาหนทางเพื่อข้ามคงไม่มี..การข้ามโอฆะ [โอฆตรณสูตร] ------------------------------------------------------------------------------------------------พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 25
ขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็นของน่ารังเกียจ เพราะธรรมดาว่าเมื่อความเกิดมีอยู่ ความแก่จักปรากฏแก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 164
ชื่อว่าทุกข์ เพราะความเป็นของน่ารังเกียจ โดยเป็นที่รวมอันตรายหลายอย่างและเพราะความว่างเปล่าจากความสุขยั่งยืน สดชื่น ที่พวกชนพาลหมายมั่นไว้นักหนา.