ความหมายของคำว่า พร
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 281
เรื่องนางวิสาขา มิคารมาตา ทูลขอพร ๘ ประการ
ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ท่านอาจารย์ มีข้อสงสัยเรื่อง "พร" ไหม
ถาม ขอให้อธิบายความหมายของคำว่า "พร"
ท่านอาจารย์ พร ก็หมายความถึงสี่งที่ ประเสริฐ หรือ ดี ใช่ไหมคะ วร หรือ พร ถูกไหมคะ ภาษาบาลี เพราะฉะนั้นก็คงจะเป็นสี่งที่ทุกท่านปราถนา เพราะว่าเป็นสี่งที่ประเสริฐ เป็นสี่งที่ดี โดยมากมักจะปราถนา ผล เวลาที่ขอ พรคนอื่น ผิดกับท่านวิสาขา วิคารมารตา ขอพรจากพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ ขอโอกาส ซึ่งจะได้ทำกุศล ซึ่งเป็เหตุที่จะให้ได้พรนั้น ไม่ใช่ว่าคนอื่นจะนำพรมาให้ได้ แต่ต้องเป็นกุศลกรรมของตนเอง
คุณอดิศักดิ์ ที่อาจรย์อ่านเมื่อกี้มีคำว่า คิลาน คิลานเภสัช คิลานอะไร
ท่านอาจารย์ คิลานภัตร ค่ะ
คุณนิภัทร คิลานตัวเดียว แปลว่า ไข้ ยาแก้ไข้ คิลานภัต คืออาหารสำหรับคนไข้
ท่านอาจารย์ ดีนะคะ ที่ได้ถามถึงความละเอียดของพยัญชนะด้วย ถ้าไม่ถาม ก็ คิดว่าเข้าใจ อย่างคิลาน บางคนอาจคิดว่า ยา แต่ความจริง เภสัช เป็นยา คิลาน เป็นไข้ คิลาน กับ อาพาธ ก็เหมืแนกันใช่ไหม มีข้อสงสัยอื่นอีกไหม เรื่องพร
ต่อไปนี้จะให้พรใครคะ มีพรจะให้ไหม หรือจะเป็นคนนั้นเองที่ขอพร แต่ไม่ใช่พรจากคนอื่น พร คือ เจตนาที่จะกระทำ สี่งที่ดียี่งขึ้น เพราะฉะนั้นอย่างเดียวไม่พอ ก็หมายความว่า ต้องกระทำกุศลมากๆ ทุกประการ
ถาม อยู่ในฐานะอะไร ควรจะขอพร หรือ ไม่ควรขอ
ท่านอาจารย์ ไม่จำเป็นเลย เพียงแต่ว่า แสดงความตั้งใจ หรือขอโอกาส ที่จะทำกุศล สำหรับท่านวิสาขา วิคารมาตา เมื่อจะทำสี่งหนึ่งสี่งใดที่เป็นประโยชน์ แก่พระภิกษุสงฆ์ ถ้าจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะได้ ประทานโอกาสที่ท่านจะได้ทำกุศล ถ้าท่านจะทำกุศลแล้วจำเป็นจะต้องขออนุณาตจากใคร ก็ขอพร คือขอโอกาส ที่จะได้ทำกุศลนั้นๆ จากบุคคลนั้น
ในพระไตรปิฏกใช้คำว่า "ขอพร" เพราะว่าขอโอกาสที่จะได้ทำกุศล ถ้าตั้งเจตนาโดยไม่ขอจากบุคคลหนึ่งบุคคลใดเลยก็ได้
แต่เมื่อขอโอกาสจากบุคคลที่จำเป็นจะต้องขออนุญาตที่จะทำกุศลนั้นเช่นท่านวิสาขา วิคารมาตา ก่อนที่จะถวายสี่งหนึ่งสี่งใด ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับอนุญาตจาก พระผู้มี พระภาคเจ้าก่อน มีพรเยอะไหมคะ อยากได้พรมากๆ ไหม ถ้าเข้าใจ พร แล้วจะเป็นประโยชน์กว่าขอโดยไม่เข้าใจ ใช่ไหมคะ เพราะว่า ให้มีกุศลทุกประการ ก็ว่าน้อยไป แต่ที่จริงแล้วมากไหม ขอให้มีกุศลทุกประการ
เหตุย่อมสมควรแก่ผล..เหตุดี-ผลจึงดี..ขอพรที่สมควรคือขอโอกาสสร้างเหตุที่ดีขออนุโมทนาคะ