เมตตา

 
sulphur
วันที่  1 เม.ย. 2554
หมายเลข  18127
อ่าน  2,179

ในมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ให้ความหมายคำว่า 'เมตตา' เป็น ความเป็นเพื่อน มีมิตรไมตรี ต่อบุคคล สัตว์ ฯ และ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน แต่หลายคน หลายวัด บอกว่า มีความ "รัก" ต่อเพื่อนมนุษย์ สัตว์ ฯ "ความรัก" เป็นความผูกพันและโลภะ จะยึดแน่นตรึงในจิต ใช่ไหม ผมจะเชื่อมูลนิธิ หรือ คนอื่นๆ ?? ผมฟัง MP3 ของมูลนิธิมามาก และก็เชื่อว่า ในพระพุทธศาสนาสอนให้ละเลิกความรัก แต่ให้มี่เมตตา....ความเป็นเพื่อน ครับผมสงสัยมาก


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 1 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

โลภะ ต่างจาก เมตตา

[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๗๖ - หน้าที่ ๑๗

โลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?การโลภ กิริยาที่โลภ ความโลภ การกำหนัดนักกิริยาที่กำหนัดนัก ความกำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าโลภะมีในสมัยนั้น.

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๗๕ - หน้าที่ ๕๒๙

เมตตา มีความเป็นไปโดยอาการที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเป็นลักษณะ มีการนำเข้าไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูลเป็นกิจ มีการกำจัดความโกรธ ความอาฆาตเป็นอาการปรากฏ มีการมองเห็นสิ่งที่น่าพอใจของสัตว์ทั้งหลาย (คือไม่เป็นศัตรู) เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เมตตานี้มีการสงบพยาบาทเป็นสมบัติ มีการเกิดขึ้นแห่งเสน่หา (ความติดข้องหรือ โลภะ) เป็นวิบัติ.

ความรัก ความติดข้อง ความยินดีพอใจ เป็นโลภะ เป็นกุศลธรรม เป็นกิเลสตัณหา เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิตใจ ซึ่งไม่พ้นไปจากความติดข้องยินดีพอใจในกามคุณ ๕ กล่าวคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย)

ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวัน

ส่วนเมตตา เป็นธรรมฝ่ายดี เป็นกุศลธรรม หมายถึง ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อน ความหวังดี ไม่หวังร้าย บุคคลผู้ที่มีเมตตานั้น ย่อมจะเป็นมิตรกับทุกคน

ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ไม่ได้มีการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนเลย แม้เพียงจิตที่คิดจะเบียดเบียนก็ไม่มี และประการที่สำคัญ เมตตา เป็นธรรมที่ควรอบรมเจริญให้มีขึ้นในชีวิตประจำวัน เมื่ออบรมเจริญเป็นปกติแล้ว ย่อมเกื้อกูลให้กุศลธรรมประการอื่นๆ เจริญขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น ความรัก ความติดข้อง โลภะ กับ เมตตา เป็นสภาพธรรมที่แตกต่างกัน กล่าวคือ โลภะ เป็นกุศลธรรม เป็นธรรมฝ่ายดำ ที่ควรละ ควรขัดเกลาให้เบาบาง ส่วนเมตตา เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม ที่ควรอบรมเจริญให้มีขึ้น, ความรัก

ความติดข้อง เป็นกุศล นำมาซึ่งทุกข์ แต่ถ้าเป็นเมตตาแล้วจะไม่เป็นทุกข์เลย

บางที่ เวลาที่กล่าวถึง เมตตา ก็มีการแปลว่า รัก เช่นกัน หมายความว่าไม่ชัง หรือ ไม่เกลียด สำคัญที่ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงตามพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ธรรม เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ขอให้มั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรม ด้วยการค่อยๆ สะสมความรู้ความเข้าใจ จากการฟัง การศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวัน โดยไม่ขาดการฟัง ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ความรัก...

คำสั้นๆ ...เมตตา

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 2 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

โลภะและเมตตาเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง หากเราเอาคำ เอาเรื่องราวมาตัดสินใน สภาพธรรม ย่อมยากที่จะรู้จริงๆ ว่าเป็นโลภะหรือเมตตา แต่การจะรู้จริงๆ ว่าขณะไหนเป็น โลภะหรือเป็นเมตตา ต้องเป็นเรื่องของปัญญาที่มีความเห็นถูก รู้ลักษณะของโลภะใน ขณะนั้น รู้ลักษณะของเมตตาในขณะนั้น เพราะสภาพธรรมเป็นเรื่องละเอียด รักด้วย เมตตาและรักด้วยโลภะมีความแตกต่างกัน แต่ถ้าไม่ใช่ปัญญาแล้วก็ไม่สามารถแยกออก ได้เลย เช่น การกระทำอย่างเดียวกันคือการช่วยเหลือบุคคลอื่น ภายนอกอาจจะดูว่าเป็น เมตตาเพราะลักษณะเมตตามีการช่วยเหลือบุคคลอื่นด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาจ เป็นไปด้วยโลภะคือความติดข้อง พอใจในบุคคลนั้น ต้องการความรักจึงช่วยเหลือ บุคคลนั้น เพราะฉะนั้นปัญญาเท่านั้นที่จะแยกความแตกต่างระหว่างโลภะและเมตตา กุศลย่อมเป็นกุศล อกุศลย่อมเป็นอกุศล ปัญญาเท่านั้นที่รู้ตามความเป็นจริงที่ระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นโลภะและเมตตา หากเราติดที่คำ เช่น คำว่าความรัก ก็จะ แยกไม่ออกว่าโลภะหรือเมตตา ปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมย่อมรู้ตามความเป็น จริงว่าเป็นธรรมประเภทใด

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 2 เม.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
sulphur
วันที่ 2 เม.ย. 2554
อนุโมทนา อนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Sensory
วันที่ 3 เม.ย. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ เมื่อผู้อื่นที่เรารัก เราชอบ ไม่เป็นดั่งที่หวัง ก็จะเกิดเป็นโทสะ ความขุ่นเคืองต่างๆ ความรักความชอบใจที่คิดว่าเป็นกุศล ที่แท้เป็นโลภะ ที่เข้าใจมาตลอดว่าคือเมตตา
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 3 เม.ย. 2554

อย่าไปติดที่ "คำ" เลยค่ะ ความเข้าใจสภาพธรรม (จิต) ในขณะนั้นสำคัญกว่า ถ้าเข้าใจจะตอบเองได้ค่ะว่า เป็นเมตตา หรือ โลภะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chaiyut
วันที่ 4 เม.ย. 2554

หลายคน หลายวัดบอก.... บอกอย่างไรไม่สำคัญ

สำคัญที่เป็นความเข้าใจถูกต้องของผู้ฟัง ไม่ใช่การคิดเอาเอง หรือ การเชื่อตามใครบอก แต่ศึกษา คือ ฟังพระธรรมให้เกิดความเข้าใจ เข้าใจพระธรรมขึ้นเมื่อไร ก็พิสูจน์สภาพธรรมที่มีจริงที่ปรากฏกับตนด้วยปัญญาที่เกิดจากการอบรมคือการฟังนั้น พระธรรมที่ทรงแสดงเป็นความจริง ทรงแสดงตามความเป็นจริง ไม่มีวิปริตคลาดเคลื่อน ไม่เปลี่ยนเป็นสอง เพราะไม่ได้มาจากการตรึก แต่มาจากการที่ทรงตรัสรู้สัจธรรมด้วยพระปัญญาบารมีของพระองค์เองโดยไม่ต้องอาศัยใครบอก ฉะนั้น พระธรรมจึงลึกดุจสาคร ยาก ไม่ใช่ของง่าย คิดขึ้นเองไม่ได้ ต้องอบรม เริ่มด้วยขั้นเข้าใจธรรมที่ได้ฟัง

ความสำคัญ คือ การฟังพระธรรมฟังเรื่องของสิ่งที่มีจริงที่กำลังมีตามความเป็นจริง ไม่ใช่ฟังความเห็นของบุคคลที่บอกว่าอย่างนี้จริง อย่างนั้นจริงครับ ฟังพระธรรมต่อไป ปรุงแต่งให้เกิดความเข้าใจ มีปัจจัยให้เข้าใจขึ้นเมื่อไร ก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นเมื่อนั้น แล้วก็ฟังอีก ฟังอีก จนกว่าจะรู้ความจริงของสภาพธรรมตรงตามที่ได้ฟังมา ไม่เลือก ไม่เจาะจงจะรู้ มั่นคงในความเห็นถูกว่าเป็นธรรม ธรรมเป็นอนัตตา อะไรจะเกิด เกิดจากเหตุปัจจัยทั้งหมด รู้เมื่อไรก็เมื่อนั้น ถ้ายังไม่รู้ ก็ฟังแล้วพิจารณาพระธรรมต่อไป สภาพธรรมใดปรากฏ ปัญญารู้ได้ ปัญญาก็รู้สภาพธรรมนั้น ไม่มีเรารู้ และไม่มีตัวตนของใครไปเปลี่ยนลักษณะของธรรมที่เกิดแล้วธรรมใดเกิดเป็นอย่างไร เป็นอย่างนั้น มีลักษณะเฉพาะตนๆ เมตตามีลักษณะอย่างหนึ่งโลภะก็มีลักษณะอย่างหนึ่ง แต่ขณะที่รู้ รู้ทีละหนึ่ง และไม่ใช่คิด ไม่มีชื่อ แต่มีลักษณะของธรรมนั้นที่กำลังปรากฏกับปัญญาครับ

ปัญญาขั้นฟัง ยังไม่ใช่ขั้นที่เห็นความต่างโดยลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรม เพราะเริ่มฟังจากเรื่อง ยังไม่เข้าถึงลักษณะจนกว่าจะฟังเข้าใจแล้วเข้าถึงลักษณะ เมื่อยังไม่เข้าถึงลักษณะก็ฟังพระธรรมต่อ เราละความไม่เข้าใจด้วยความต้องการไม่ได้ แต่ความเข้าใจนั้นเองจะค่อยๆ ละความไม่เข้าใจ ความรู้ค่อยๆ ละความไม่รู้ ความเห็นถูกค่อยๆ ละความเห็นผิด ความกระจ่างแจ้งในธรรมค่อยๆ ละความคลางแคลงสงสัยในธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
icenakub
วันที่ 5 เม.ย. 2554

อนุโมทนาครับ :)

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 5 เม.ย. 2554

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มีปัญญา เพื่อละกิเลส ละอกุศลที่ไม่ดี ละความติดข้องทั้งหลาย ความรักเป็นโลภะ เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ส่วนเมตตาคือความเป็นมิตร หวังดี คิดดี เกื้อกูลกัน สมดังคำที่ว่า เมตตาธรรมค้ำจุนโลกค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
namarupa
วันที่ 6 เม.ย. 2554

ที่คุณบอกว่า...ในพระพุทธศาสนาสอนให้ละเลิกความรัก แต่ให้มี่เมตตา....ความเป็นเพื่อนครับผมสงสัยมาก

ในความคิดของตัวเอง พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนให้ละเลิกความรัก แต่ความรักเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่มีจริง มีลักษณะที่ติดข้องต้องการ เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง เมื่อเกิดปรากฏขึ้น ท่านสอนให้เรารู้จักสภาพธรรมนั้นตามความเป็นจริง ไม่ใช่หรือคะ?

เมตตา....ก็เป็นลักษณะสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่มีจริง คือมีความเป็นเพื่อน ปรารถนาดี เกื้อกูล ซึ่งตรงกันข้ามกับลักษณะที่ติดข้องต้องการคือความรัก (โลภะ) คิดว่าอย่างน้อยๆ หากเราค่อยๆ ศึกษาและเข้าใจพระธรรมในแต่ละคำและพิจารณาตาม ตรึกตามคำสอน เราก็คงจะค่อยๆ เข้าใจขึ้นๆ และเห็นความต่างของธรรมทั้ง ๒ ประเภทนี้ได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ก.ไก่
วันที่ 25 พ.ย. 2565

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ