ทำอย่างไรให้อยู่ด้วยความรักด้วยความสามัคคี
ทุกคนจะต้องตายควรเมตตากัน
อนนุโสจิยชาดก
[๖๑๒] อายุสังขาร หาได้เป็นไปตามเฉพาะสัตว์ที่ยืน นั่ง นอน หรือเดินอยู่เท่านั้นก็หาไม่ วัยย่อมเสื่อมไปทุกขณะที่ยังหลับตาและลืมตาอยู่.
[๖๑๓] เมื่อวัยเสื่อมไปอย่างนั้นหนอ ในตน ซึ่งเป็นทางอันตรายนั้นหนอ ต้องมีความพลัดพรากจากกันโดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ ควรมีเมตตาเอ็นดูกัน ส่วนที่ตายไปแล้ว ไม่ควรจะต้องเศร้าโศกถึง
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่มที่ ๒ - หน้าที่ 373
โรคสูตร
ว่าด้วยโรค ๒ อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรค ๒ อย่างนี้ โรค ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
โรคกาย ๑
โรคใจ ๑
ปรากฏอยู่ว่าสัตว์ทั้งหลายผู้ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกาย ตลอดเวลา ๑ ปีก็มี ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๒ ปีก็มี ๓ ปีก็มี ๔ ปีก็มี ๕ ปีก็มี ๑๐ ปีก็มี ๒๐ ปีก็มี ๓๐ ปีก็มี ๔๐ ปีก็มี ๕๐ ปีก็มี ๑๐๐ ปีก็มี ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีก็มี แต่ว่าผู้ที่จะยืนยันว่าไม่มีโรคทางใจ แม้เพียงเวลาครู่เดียวนั้น หาได้ยากในโลก เว้นแต่พระขีณาสพ
เมตตามีหลายระดับตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงสูงสุด
สำหรับความมีเมตตา มีความหมายหลายระดับตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงสูงสุด ฉะนั้น ต้องอบรมให้มีเมตตาก่อน คือ ในชีวิตประจำวัน มีความเป็นมิตร มีความปรารถนาดีและความหวังดีกับทุกๆ คน และสรรพสัตว์ที่พบเห็น ผู้อบรมเจริญเมตตา จนเมตตามีกำลังมากๆ มีความสงบของจิตในระดับอุปจารและอัปปนาฌาน จึงแผ่เมตตาความปรารถนาดีไปยังสัตว์ทุกหมู่เหล่าทุกทิศไม่มีขอบเขต
ธรรมทัศนะ
วันที่ : ๒๙-๐๖-๒๕๔๙
ผู้ที่มีปกติอยู่ด้วยเมตตาย่อมไม่มีความโกรธง่าย
สำหรับผู้ที่มีปกติอยู่ด้วยเมตตาย่อมไม่มีความโกรธง่าย และพระอริยบุคคลตั้งแต่พระอนาคามีบุคคลขึ้นไป ท่านดับโทสะเป็นสมุจเฉท ท่านย่อมไม่มีความโกรธอีกเลย
ธรรมทัศนะ
วันที่ : ๒๙-๐๖-๒๕๔๙
พระพุทธพจน์ข้างต้นนับว่าเป็นประโยชน์มาก
ขออนุโมทนา
บางท่านเมื่อได้รับแนะนำจากบัณฑิตแล้ว กลับเป็นผู้มีความเห็นถูกว่า ควรมีเมตตาต่อกัน บางท่านแม้ได้รับคำแนะนำจากบัณฑิต ก็ยังคงเหมือนเดิมก็มี เป็นไปตามการสะสมของคน ในฐานะเพื่อนที่ดี ควรแนะนำเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรเป็นทุกข์ร้อนให้มากนัก คงต้องวางอุเบกขา
สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม
ทุกคนจะต้องตายควรเมตตากัน ผู้ที่มีปกติอยู่ด้วยเมตตาย่อมไม่มีความโกรธง่าย ในฐานะเพื่อนที่ดีควรแนะนำเท่าที่จะทำได้ สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม
ขณะที่โทสะเกิด เมตตาย่อมไม่ปรากฏ
พิสูจน์ได้ว่าแม้แต่การคิดถึงความตายก็ไม่ปรากฏเช่นกัน หากต้องเผชิญกับนิมิตที่ทำให้โทสะเกิดบ่อยๆ และปกติเป็นผู้ที่เมตตาไม่เจริญ ทำอย่างไรที่จะไม่ให้ผูกโกรธ และไม่ให้มานะเกิดว่าเราดีกว่าเขา อกุศลของผู้อื่นจะเป็นปัจจัยให้กุศลจิตเกิดได้อย่างไร
ผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาย่อมไม่ผูกโกรธและย่อมไม่สำคัญตน อกุศลของผู้อื่นจะเป็นปัจจัยให้กุศลจิตเกิดได้ โดยหลายนัย เช่น เกิดความกรุณาในตัวเขาที่ถูกอกุศลครอบงำ หรือวางเฉยว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม คือไม่ใส่ใจ