ฝันในเหวลึก
วันเสาร์ที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๔ มูลนิธิฯ นำปปาตสูตร (ว่าด้วยเหว คือ ความเกิด เป็นต้น) มาสนทนาในชั่วโมงพระสูตร ท่านอาจารย์ได้สรุปว่า เหว คือ ภพภูมิ (รวมทั้งพรหม ภูมิด้วย) เพราะเป็นที่ขังสัตว์ไว้ในสังสารวัฏฏ์ และที่สำคัญ เหว คือ อวิชชา ความไม่รู้ ลักษณะ ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงในขณะนี้ เมื่อไม่รู้ จึงทำให้ติด ข้องในสภาพธรรมทั้งหลาย เหมือนความฝัน เพราะคิดถึงสิ่งที่ไม่มีจริง คือสิ่งที่เกิดขึ้น ดับไปแล้ว หมดไป แล้ว และเป็นการฝันในเหวลึกด้วย แม้จะได้ยินคำสอนว่า “ทุกอย่าง เป็นธรรม” แต่เข้าใจแล้วก็ไม่เข้าใจ เพราะเมื่อฟังคำว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ทุกคนก็เข้าใจ แต่เป็นเพียงการเข้าใจเพียงคำ หรือเพียงชื่อ เมื่อเห็นเกิดขึ้น ก็เป็นเราเห็น ไม่ใช่ ธรรม ก็คือไม่เข้าใจอีก จึงต้องฟังเรื่อง ลักษณะของสภาพธรรมบ่อยๆ เนืองๆ ฟังครั้งแรก ก็ยังไม่เข้าใจว่า “ทุกอย่างเป็นธรรม” เป็น อย่างไร ฟังอีก ๒ – ๓ ครั้ง ก็ยังไม่คิดถึงคำ ว่า “ทุกอย่างเป็นธรรม” เมื่อฟังมากๆ ขึ้นก็จะเกิด สัญญา ความจำที่มั่นคงว่า “ทุกอย่าง เป็นธรรม” จริงๆ แล้วจึงจะเริ่มระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ท่านอาจารย์ถามว่า “จะฝันอยู่ในเหวต่อไปไหม?” พระผู้มีพระภาคทรงปลุกให้ตื่น ด้วยพระธรรม จะตื่นหรือยัง ตื่น ก็คือขณะที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้นั่นเอง
เมื่อมีผู้ถามว่า “แม้กำลังอยู่ในเหว ทำไมยังไม่รู้ว่าอยู่ในเหว” ท่านอาจารย์ย้อนถาม ว่า “ไม่รู้ เป็นอะไร” ผู้ถามตอบว่า “เป็นอวิชชา” ท่านอาจารย์ก็สรุปว่า “เห็นหรือยังว่า เหว คือ อวิชชานั้นลึกแค่ไหน แม้กำลังไม่รู้ ก็ไม่รู้ว่าไม่รู้ กำลังอร่อยอยู่ในเหว กำลังสนุก เพลิดเพลิน อยู่ในเหว ก็ยังไม่รู้”
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูง ที่กรุณาพร่ำสอนด้วย อุปมาต่างๆ ให้เข้าใจพระธรรมที่ลึกซึ้ง และรู้ตามได้ยากเช่นนี้ แม้ท่านจะพยายามมากและนานเท่าไร ก็ดูเหมือนยังฝันอยู่ในเหวลึก คือ อวิชชาอีกต่อไป เพราะปัญญาขั้นฟังก็เพิ่งเริ่มเข้าใจ บ้าง ยังไม่ถึงขั้นพิจารณาไตร่ตรอง และเกิดสัญญา ความจำที่มั่นคงว่า ทุกอย่างเป็นธรรม
พระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนผู้ชี้ทาง
พระธรรม เปรียบเหมือนทางดี หรือพื้นที่ที่ปลอดภัย
พระสงฆ์ เปรียบเหมือนผู้เดินทาง ถึงที่ที่ปลอดภัย
พระพุทธเจ้า ผู้เป็นวีรบุรุษเปรียบเหมือนผู้ประทานความไม่มีภัย
พระธรรม เปรียบเหมือนไม่มีภัย
พระสงฆ์ ผู้ล่วงภัยทุกอย่าง เปรียบเหมือนชนผู้ถึงความไม่มีภัย
เหวลึก อันตราย และมีภัยร้าย ... สัตว์โลกมัวเมาหลับใหลอยู่ในเหวนี้ ไม่ใคร่จะขึ้นมาสักที จนกว่าจะฟังธรรมจนเข้าใจจริงๆ ว่า "ทุกอย่างเป็นธรรมะ"
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์กาญจนาครับ
"... เมื่อฟังมากๆ ขึ้นก็จะเกิด สัญญา ความจำที่มั่นคงว่า “ทุกอย่างเป็นธรรม” จริงๆ
แล้วจึงจะเริ่มระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ..."
ได้ยินว่า พระมหาจุนทเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า การฟังดี เป็นเหตุให้การฟังเจริญ การฟังเป็นเหตุให้เจริญปัญญา บุคคลจะรู้ประโยชน์ก็เพราะปัญญา ประโยชน์ที่บุคคลรู้แล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ภิกษุควรซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด ควรประพฤติธรรมอันเป็นเหตุให้จิตหลุดพ้นจากสังโยชน์ ถ้ายังไม่ได้ประสบความยินดี ในเสนาสนะอันสงัดและธรรมนั้น ก็ควรเป็นผู้มีสติรักษาตน อยู่ในหมู่สงฆ์
(จากธรรมเตือนใจ)
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของพี่แดงด้วยครับ
ผู้อยู่ในเหวสามารถแยกได้เป็น ๒ ประเภท
- ประเภทแรก อยู่ในเหว แต่ก็ไม่รู้ว่าอยู่ในเหว เป็นผู้เต็มไปด้วยความประมาทมัวเมาเพลิดเพลินไหลไปด้วยอำนาจของอกุศลธรรม ไม่สะสมที่พึ่ง คือ กุศลธรรมให้กับตนเอง ซึ่งจะเป็นเหตุให้จมอยู่ในเหวอีกต่อไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น ซ้ำร้ายไปกว่านั้น จะเป็นเหตุให้จมลึกลงไปในเหวที่น่ากลัวกว่าสุคติภูิมิ นั่นก็คือ อบายภูมิ ซึ่งได้รับความทุกข์ทรมานเดือดร้อนมากมาย
- อีกประเภทหนึ่ง คือ อยู่ในเหว แต่ก็รู้ว่าตนเองอยู่ในเหว โดยเฉพาะเหวที่ลึกที่สุด คือ เหวของอวิชชา ความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง (อวิชชาเป็นอกุศลธรรม ที่ยังสัตว์ให้แล่นไปในสังสารวัฏฏ์อย่างไม่มีวันจบสิ้น) จึงเป็นผู้เห็นประโยชน์ของการฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง สะสมความเข้าใจถูก ความเห็นถูกไปตามลำดับ ไม่ปล่อยมือจากกุศลธรรม และไม่ปล่อยมือจากการฟังพระธรรม
ฝันในเหวลึก
- ประเภทแรก คงฝันในเหวลึกอย่างไม่มีวันตื่นและมีโอกาสที่ตกลึกไปจากเดิม
- ประเภทที่สอง ถูกพระธรรมปลุกให้ตื่นได้มากหรือน้อยตามกำลังของปัญญาและมีโอกาสที่จะไต่ให้พ้นจากเหว
อนุโมทนาพี่แดงและคุณเมตตาค่ะ
เชิญคลิกอ่าน ... ข้อมูลจากคุณเมตตา
แม้จะได้ยินคำสอนว่า “ทุกอย่างเป็นธรรม” แต่เข้าใจแล้วก็ไม่เข้าใจ เพราะเมื่อฟังคำว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ทุกคนก็เข้าใจ แต่เป็นเพียงการเข้าใจเพียงคำ หรือ เพียงชื่อ เมื่อ เห็น เกิดขึ้น ก็เป็นเราเห็น ไม่ใช่ธรรม ก็คือไม่เข้าใจอีก
...กราบอนุโมทนาในกุศลจิตของ พี่แดง ด้วยค่ะ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการนี้ คือ
ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑
ย่อมเข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ๑
ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ ๑
ย่อมทำความเห็นให้ตรง ๑
จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส ๑
กราบเท้าขอบูชาคุณท่านอาจารย์ที่อดทนพร่ำสอนพระธรรมที่เข้าใจตามได้ยากจริงๆ หากไม่ได้พบท่านแล้ว ก็คงไม่มีทางที่จะเข้าใจถูกเห็นถูกในพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้ อย่างน้อยๆ ก็เริ่มที่จะเข้าใจบ้างว่า ยังไม่รู้ว่า เห็นเป็นธรรมะ แต่พอที่จะเข้าใจได้ว่า เห็นเป็นธรรมะอย่างไร ค่ะ
...กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง ค่ะ...
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด
เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ
ขออนุโมทนา
ขอกราบอนุโมทนา พระคุณอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์
และอนุโมทนากับสมาชิกทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็น สาธุ สาธุ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ