ปลิโพธ ๑๐

 
Sensory
วันที่  24 เม.ย. 2554
หมายเลข  18251
อ่าน  13,153

ปลิโพธ ๑๐

ได้ย้อนอ่านกระทู้นี้ แล้วเจอว่าปลิโพธเป็นเครื่องกั้นสมถภาวนา จึงอยากทราบว่า หมายรวมถึง เมตตา ไปด้วย หรือเปล่าคะ ถ้ารวมไปด้วย แบบนี้เมตตาก็เกิดยากมากจริงๆ เพราะปลิโพธ ดูเหมือนจะเป็น เรื่องปกติของมนุษย์เลย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 24 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ปลิโพธ หมายถึง ความกังวล, ความห่วงใย ๑๐ ประการ หมายถึง ... ๑. อาวาส ๒. ตระกูล ๓. ลาภ ๔. คณะ ๕. การงาน๖. การเดินทาง ๗. ญาติ ๘. อาพาธ ๙. การศึกษาปริยัติ ๑๐.อิทธิฤทธิ์

ปลิโพธ ๙ ข้อแรกเป็นเครื่องกั้นต่อการเจริญสมถภาวนาครับ ส่วนอิทธิฤทธิ์ไม่เป็นเครื่องกั้นในการเจริญสมถภาวนา แต่เป็นเครื่องกั้นในการเจริญวิปัสสนาภาวนาครับ

สำหรับประเด็นเรื่องเมตตา ปลิโพธ ความกังวลทั้ง ๑๐ ประการ เป็นเครื่องกั้นในการเจริญเมตตาอันเป็นสมถภาวนาให้เมตตาเจริญเพิ่มขึ้น จนถึงระดับเมตตาระดับสูง อันสามารถแผ่ไปทั่วทุกทิศ มีเมตตากับสรรพสัตว์ทั้งหลายครับ เพราะฉะนั้น ความกังวลทั้ง ๑๐ ประการ จึงเป็นเครื่องกั้นต่อการเจริญเมตตาที่เป็นพรหมวิหารอันเป็นไปเพื่อถึงเมตตาระดับสูงที่เป็นสมถภาวนานะครับ อันนี้เราต้องแยกประเด็นคือ เราพูดถึงการเจริญเมตตาที่เป็นสมถภาวนาเพื่อให้มีความเมตตาสูงขึ้นจนถึงระดับสมถภวานา ครับ

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๕๑

กรรมฐานนั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คือ สัพพัตถกกัมมัฏฐาน (กรรมฐานมีประโยชน์ในกุศลธรรมทั้งปวง) ๑ ปาริหาริยกัมมัฏฐาน (กรรมฐานควรบริหารรักษา) ๑. บรรดากรรมฐาน ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า สัพพัตถกกมมัฏฐานได้แก่ เมตตา (ที่เจริญไป) ในหมู่ภิกษุเป็นต้น และมรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย) . พระอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อสุภสัญญาบ้าง. จริงอยู่ ภิกษุผู้จะเจริญกรรมฐาน ครั้งแรกต้องตัดปลิโพธเสียก่อน แล้วจึงเจริญเมตตาไปในหมู่ภิกษุผู้อยู่ในสีมา, ลำดับนั้น พึงเจริญไปในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมา ถัดจากนั้นพึงเจริญไปในอิสรชนในโคจรคาม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 24 เม.ย. 2554

ส่วนการเกิดเมตตาในชีวิตประจำวันที่ไม่ใช่การอบรมสมถภาวนา ความกังวลทั้ง ๑๐ ประการไม่ใช่เครื่องกั้นในการเกิดเมตตาในชีวิตประจำวันครับ เพราะในชีวิตประจำวันเราก็สามารถเกิดจิตเมตตาในชีวิตประวันได้อยู่แล้วครับ แม้จะมีความกังวลประการต่างๆ ก็สามารถเกิดเมตตาได้ แต่ไม่ใช่การอบรมสมถภาวนาที่เป็นการอบรมเจริญเมตตาที่มีอยู่แล้วให้เจริญมากขึ้นอันเป็นไปในการมีเมตตากับสรรพสัตว์ทั่วทุกทิศ อันเป็นเมตตาที่มีกำลังครับ เพราะฉะนั้นะต้องแยกระหว่งการเกิดเมตตาในชีวิตประจำวันเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ใช่การเจริญเมตตาที่เป็นสมถภาวนา ซึ่งการเกิดเมตตาในชีวิตประจำวัน ปลิโพธคือ ความกังวล ๑๐ ประการไม่ใช่เครื่องกั้น แต่ถ้าเป็นเมตตาที่อบรมสมถภาวนา จนถึงการแผ่ไปทั่วทุกทิศ ปลิโพธที่เป็นความกังวลเป็นเครื่องกั้นในการเจริญสมถภาวนาที่เป็นเมตตาในการเจริญสมถภาวนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Sensory
วันที่ 24 เม.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chaiyut
วันที่ 24 เม.ย. 2554

เมตตาในชีวิตประจำวันสำหรับเรา ถ้าศึกษาพระธรรม เข้าใจถูก การอบรมเมตตาก็จะถูกตามไปด้วย คืออบรมเพื่อละคลายขัดเกลาอกุศลเท่านั้นครับ ยุคนี้ เราคงไม่มุ่งจะให้มีเมตตาภาวนาจนได้ถึงฌานแน่นอน เพราะเป็นเรื่องที่ยากเกินกำลัง และไม่ใช่กาลสมบัติครับ เมตตาภาวนา เป็นปกติสำหรับผู้ที่ท่านได้สั่งสมปัญญามามากแล้วจริงๆ เท่านั้น ดังนั้น ชีวิตประจำวันของเรา เราฟังธรรมเข้าใจ เราเห็นประโยชน์ของเมตตาเราก็เริ่มเมตตาได้ โดยเป็นมิตร ช่วยเหลือเกื้อกูล ให้อภัย ไม่เบียดเบียนผู้อื่น สัตว์อื่นแม้จะยังเป็นผู้ที่เต็มไปด้วยเครื่องกังวลต่างๆ ก็ตาม แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อเมตตาที่จะเกิดได้เลยหากสั่งสมเมตตามาพอ เช่น เรามีบ้าน เราก็เริ่มเมตตาคนแล สัตว์ในบ้าน ใครมาบ้าน เราก็ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมบ้านของเราได้ เรามีตระกูล มีลาภ มีคณะ มีการงาน มีการเดินทาง มีญาติ มีอาพาธ มีการศึกษาปริยัติสัทธรรม ก็มีโอกาสที่เมตตาจะเกิดได้ เป็นปกติ ตามการสั่งสมของแต่ละบุคคลครับ ทั้งหมดที่ได้กล่าวนั้น สำหรับชีวิตของคฤหัสถ์ในสมัยนี้ เราต่างก็มีปลิโพธด้วยกันทุกคน มากบ้าง น้อยบ้างตามสมควร เว้นไว้ก็แต่อิทธิฤทธิ์เท่านั้นครับ ที่เราไม่มี และคิดว่าทุกท่านคงไม่สนใจที่จะมี แต่คงสนใจที่จะฟังธรรม อบรมปัญญา และเจริญกุศลทุกประการกันมากกว่าครับ

เป็นคำถามที่ดีมาก ขออนุโมทนาในความแยบคายของคุณ sensory ครับ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในคำตอบพี่ paderm ด้วยครับ ละเอียดมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 24 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตามความเป็นจริงแล้ว ตราบใดที่ยังมีกิเลส ยังมีโลภะ ความติดข้องยินพอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็ย่อมมีความห่วงใย มีความกังวล มากบ้าง น้อยบ้าง ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีกิเลสมากเพียงใด ก็ไม่ไ้ด้เป็นเครื่องกั้นในการเกิดขึ้นของกุศลธรรม กุศลก็สามารถที่จะเกิดขึ้นเป็นไปได้ในชีวิตประจำวัน ควรที่จะอบรมเจริญให้มีขึ้น

เพราะถ้ากุศลไม่เกิดแล้ว จะขัดเกลาละคลายกุศลได้อย่างไร ซึ่งธรรมที่ควรอบรมเจริญและเป็นประโยชน์ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อไม่เคยนำมาซึ่งทุกข์โทษแก่ใครๆ เลย นั่นก็คือ เมตตา (ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อน ความไม่หวังร้าย ฯลฯ) ในชีวิตประจำวัน เราไม่ได้อยู่ในโลกนี้ เพียงคนเดียวอยู่ร่วมกันหลายคน ควรอย่างยิ่งที่จะเป็นโอกาสที่กุศลธรรมจะเกิด และกุศลธรรม ที่ควรจะง่ายและไม่ต้องรอคอยกาลเวลา ก็คือ เมตตา โดยที่ไม่ได้จำกัดเลยว่าผู้นั้นจะเป็นใคร "เมตตา จึงเป็นกุศลธรรมที่ควรอบรมเจริญให้มีขึ้นในชีวิตประจำวันแทนที่จะโกรธกัน ไม่พอใจกัน" ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ Sensory, คุณ paderm, คุณ chaiyut และทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 25 เม.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 26 เม.ย. 2554

เมตตาเป็นคุณธรรมที่ดีที่ควรอบรมให้มีเป็นปกติในทุกๆ วัน ไม่ใช่แค่เมตตา แต่ยังมีกุศลอื่นๆ คือการเจริญสติปัฏฐานที่เป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลส เป็นไปเพื่อละค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
สมศรี
วันที่ 26 เม.ย. 2554
ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 27 เม.ย. 2554
ขอขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ธรรมะหน้าเดียว
วันที่ 28 เม.ย. 2554

ความเมตตาจะช่วยให้ศีล ๕ ของผู้ที่รักษาบริสุทธิ์มากขึ้น เพราะการคิดจะเบียดเบียนหรือตั้งใจทำให้คนอื่นเสียหายหรือเดือดร้อนแทบจะไม่มีเลย

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 29 เม.ย. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
bsomsuda
วันที่ 29 เม.ย. 2554

"ถึงแม้ว่าจะมีกิเลสมากเพียงใด ก็ไม่ไ้ด้เป็นเครื่องกั้นในการเกิดขึ้นของกุศลธรรม กุศลก็สามารถที่จะเกิดขึ้นเป็นไปได้ในชีวิตประจำวัน ควรที่จะอบรมเจริญให้มีขึ้น"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 6 ก.ย. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.ย. 2565

คำบรรยายของ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ขอต่อไปถึงเรื่องของปลิโพธ ซึ่งคำว่า ปลิโพธ เป็นความห่วงใย เป็นความกังวล ผู้ที่ยังไม่หมดกิเลส ก็ย่อมมีความกังวล ย่อมมีความห่วงใย เป็นของที่แน่นอนที่สุด ไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรพชิต เพราะเหตุว่าเรื่องของปลิโพธ มีกล่าวไว้โดยละเอียดใน วิสุทธิมรรค สมาธินิทเทส วิสุทธิมรรค มี ๓ ภาค คือ ศีลนิทเทส สมาธินิทเทส ปัญญานิทเทส

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม จาก ...

ปลิโพธ เป็นความห่วงใย เป็นความกังวล

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ