ความโกรธของเราเรื่องใหญ่ แต่ความโกรธของคนอื่นเรื่องเล็กหรือคะ?

 
ZetaJones
วันที่  6 พ.ค. 2554
หมายเลข  18316
อ่าน  1,849

คนเราเมื่อขาดเมตตาก็รังเกียจความโกรธของบุคคลอื่น โกรธตอบ ด่าว่า ใส่ร้ายเรื่องจริงบ้างไม่จริงบ้างต่างๆ มากมาย ในเมื่อความโกรธเป็นอกุศลเหมือนกัน ทำไมจึงรังเกียจอกุศลของคนอื่นมากมาย แต่ไม่รังเกียจอกุศลของตนเองบ้าง เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ต้องมนสิการอย่างไรคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 6 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๖๘"...เพราะความโกรธนั้น โทษที่ลามก จึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ, บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ ย่อมชื่อว่า ชนะสงความซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้น ชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายคือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น..."

(จาก...พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เวปจิตติสูตร) บุคคลผู้ที่ไม่มีความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่เข้าใจความเป็นเหตุเป็นผลของธรรม เวลาที่ตนเองเกิดอกุศลจิต ก็มักจะโทษผู้อื่น หรือ หาว่าผู้อื่นเป็นเหตุทำให้ตนเองเกิดอกุศลจิต แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่เกี่ยวกับบุคคลอื่นเลย นั่น เป็นผลมาจากการสะสมอกุศลของเราเอง เมื่อได้เหตุได้ปัจจัย อกุศลก็เกิดขึ้น คนอื่นไม่สามารถทำร้ายจิตใจของเราได้เลย แต่ว่ากิเลสของเราเองเท่านั้น ที่เกิดขึ้นทำร้ายจิตใจของเราเอง เวลาโกรธ ขาดเมตตา ด่าว่า หรือ ว่าใส่ร้ายผู้อื่น เป็นต้น ตัวเราเองย่อมเดือดร้อน ด้วยอำนาจของอกุศลที่เกิดขึ้น และควรที่จะพิจารณาว่า ผู้โกรธก่อน ยังไม่เลวเท่าผู้ที่โกรธบุคคลผู้โกรธก่อน เพราะเขาเป็นอกุศลแล้ว เกิดสิ่งที่ไม่ดีแล้ว เราก็ยังเป็นเหมือนกับเขาอีก ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้ที่เข้าใจความจริง พร้อมทั้งมีความอดทน ย่อมจะไม่โทษผู้อื่น ไม่ว่าจะประสบกับเหตุการณ์ใดก็ตาม ถึงแม้ว่าจะถูกโจรจับเลื่อยอวัยวะส่วนต่างๆ โจรสามารถทำร้ายได้เพียงร่างกาย แต่จิตของบุคคลนั้นเป็นกุศลเกิดขึ้น โจรไม่สามารถจะทำร้ายได้ เพราะฉะนั้น อกุศลทั้งหมดไม่ได้อยู่ที่คนอื่นเลย ไม่ว่าหน้าตา พฤติกรรมทางกาย ทางวาจาจะเป็นอย่างไรก็ตาม ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้อกุศลจิตของเราเกิดได้ ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะกิเลสของเราเอง ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าเขาหรือเราก็เป็นผู้เต็มไปด้วยกิเลสด้วยกันทั้งนั้น ควรที่จะเห็นใจผู้อื่น เห็นใจในความผิดของผู้อื่น แล้วให้อภัย พร้อมกันนั้น ก็ควรพิจารณาเห็นหรือตรวจสอบความประพฤติของตนเองด้วย แต่ถ้าจะไม่พิจารณาเลยก็ไม่สมควร สำหรับผู้ที่มีกิเลสหนามาก เป็นผู้ที่ว่ายากและไม่เคยเห็นกิเลสของตนเองเลย เห็นแต่กิเลสของคนอื่นหมด ถ้าเป็นอย่างนี้ก็จะต้องตั้งต้นตั้งแต่การฟังพระธรรมและพิจารณาให้เห็นโทษของอกุศล และมีความเพียรเกิดขึ้นที่จะระลึก ทบทวน อกุศลของตนเองอยู่เสมอบ่อยๆ เนืองๆ เพื่อประโยชน์แก่การขัดเกลาให้เบาบาง ดังนั้น ประโยชน์สูงสุด จึงอยู่ที่การศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง อบรมเจริญปัญญา ค่อยๆ ขัดเกลากิเลสของตนเองเมื่อปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้นๆ แม้จะได้รับในสิ่งที่ไม่ดี กุศลจิตก็สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง แทนที่จะเป็นอกุศล ซึ่งทั้งหมด นั้นเป็นธรรม ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล "ความเข้าใจพระธรรม เท่านั้น ที่จะเป็นที่พึ่งที่แท้จริง สำหรับชีวิต" ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ZetaJones
วันที่ 6 พ.ค. 2554
ขอบพระคุณค่ะ จะจำไว้ค่ะอาจารย์
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 6 พ.ค. 2554

ขณะที่โกรธ ขณะนั้นไม่มีความละอายต่อบาป ไม่มีความเกรงกลัวบาป ขณะนั้นมืดตื้อ

ทำให้ไม่รู้อรรถ ไม่เห็นธรรม ความโกรธไม่ว่าจะเกิดกับตนเองหรือคนอืนก็ไม่ดีทั้งนั้นที่ว่าความโกรธเกิดกับตนเองทำไมไม่รังเกียจ เพราะขณะนั้นมีฉันทะ มีความพอใจที่จะ

โกรธ ต้องอบรมปัญญาจนกว่าจะบรรลุเป็นพระอนาคามี ถึงจะดับความโกรธได้หมดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 6 พ.ค. 2554

เพราะยังหลงผิดคิดว่าเป็นความโกรธ "ของเรา" .... ความโกรธ "ของเขา"

ต้องศึกษาต่อไปจนกว่าจะเข้าใจว่าเป็น "ธรรม"

เมื่อนั้นก็จะเป็นเพียงสภาพของความโกรธ ทั้งเราและเขา.....ก็ไม่มีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 6 พ.ค. 2554

เป็นธรรมดาที่รักตนเองมากกว่าคนอื่น-เราโกรธใครจึงเป็นเรืองใหญ่กว่าโกรธของคนอื่นจึงเป็นเรื่องเล็ก..โกรธเป็นอกุศลใครโกรธคนนั้นเศร้าหมอง..โกรธของคนอื่นเป็นอกุศลของคนคนนั้น..แต่โกรธตอบเป็นอกุศลของเราเอง พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 610

เมื่อผู้ทำความผิดมีคุณ เราไม่ควรทำความโกรธในผู้มีคุณ. เมื่อไม่มีคุณควร

แสดงความ สงสารเป็นพิเศษ. ยศอันเป็นคุณของเราย่อมเสื่อมเพราะความโกรธ.

สิ่งเป็นข้าศึกทั้งหลายมีผิวพรรณเศร้าหมองและการอยู่เป็นทุกข์เป็นต้น ย่อมมาถึง

เราด้วยความโกรธ. อนึ่ง ชื่อว่าความโกรธนี้กระทำสิ่งไม่เป็นประโยชนได้ทุกอย่างยังประโยชน์ทั้งปวงให้พินาศ เป็นข้าศึกมีกำลัง. เชิญคลิกอ่าน....การสอนตนเมื่อเกิดปฏิฆะ [วิสุทธิมรรคแปล]ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต [ปฐมอาฆาตวินยสูตร]

ขออนุโมทนาค่ะ


 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 6 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การรังเกียจอกุศล จึงต้องเข้าใจคำนี้ให้ถูกต้องครับว่าการรังเกียจอกุศลไม่ใช่เป็น

การรังเกียจ การไม่ชอบอกุศลของตนเองและผู้อื่นด้วยจิตที่เป็นโทสะด้วยความไม่ชอบ

อันเป็นความรังเกียจที่เป็นอกุศล แต่ความรังเกียจอกุศลที่เป็นกุศลจิตที่เป็นหิริ ความ

ละอายในบาปอกุศลต้องเป็นกุศลที่เห็นโทษของอกุศล เมื่อเห็นอกุศลของผู้อื่นก็เข้าใจ

และเป็นเครื่องเตือนว่าอกุศลเหล่านั้นไม่ดี ไม่ควรทำดังในสัลเลขสูตรอันเป็นพระธรรม

ที่พระุพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องการขัดเกลาว่า หากผู้อื่นจะเป็นผู้ฆ่าสัตว์...ลักทรัพย์หรือ

ทำอกุศลประการอื่นๆ แต่เราจะไม่พึงกระทำอกุศลอย่างนั้น นั่นแสดงให้เห็นครับว่าการ

รังเกียจอกุศลของผู้อื่นด้วยกุศล ด้วยปัญญาด้วยความเห็นโทษ เพราะเราจะไปโทษใคร

ในเมื่อไม่มีใครให้โทษมีแต่เพียงสภาพธรรมที่เป็นอกุศลเท่านั้นที่เกิดขึ้น อกุศลเป็นใคร

หรือเปล่าหรือเป็นเพียงธรรมเท่านั้นครับ จึงไม่ควรไปโกรธสภาพธรรมที่หาความเป็น

สัตว์ บุคคลไมไ่ด้เลยครับ

การรังเกียจอกุศลของผู้อื่นด้วยกุศลเพื่อขัดเกลากิเลสตนเอง

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

สัลเลขสูตร

ธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธในข้อนี้ เราทั้ง

หลายจักไม่มีความโกรธ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้ในข้อนี้ เราทั้ง

หลายจักไม่ผูกโกรธ.

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน ในข้อนี้ เราทั้ง

หลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 6 พ.ค. 2554

การที่ไม่เห็นอกุศลของตนเอง เห็นอกุศลของผู้อื่นเพราะขณะนั้นเป็นอกุศลจิต ขณะ

ที่เห็นอกุศลของผู้อื่นด้วยจิตที่ไม่ดี ขณะที่เป็นจิตไม่ดีในขณะนั้นจะไม่มีทางเห็นอกุศล

ของตนเองได้เลยครับ เพราะการเห็นอกุศลของตนเอง ต้องเห็นโดยความเป็นโทษ

และเห็นว่าเป็นรรมไม่ใช่เรา ต้องเห็นด้วยปัญญา แต่เมื่อปัญญาไม่เกิดทั้งที่จิตตัวเองก็

เป็นอกุศลอยู่แท้ๆ แต่ก็ไม่เห็น เพราะอกุศลจิตของตัวเองจะไม่มีทางเห็นอกุศลจิตของ

ตัวเองเลยครับ เมื่อจิตเป็นโทสะก็ย่อมเห็นโทษของคนอื่นไม่เห็นโทษของตัวเองเพราะ

เมื่อโทสะะเกิดย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นย่างไร สมดังที่พระพุทธองค์ตรัวไว้

ว่าผู้ที่เกิดโทสะ ถูกโทสะครอบงำย่ำยีแล้วย่อมเห็นอรรถ ไม่เห็นธรรมเลยครับ

ธรรมชาติของสัตว์โลกจึงย่อมแล่นไปในอกุศลเป็นส่วนมาก เพราะฉะนั้นแม้อกุศล

ของตนเองก็ไม่รู้ ขณะที่เห็นอกุศลของผู้อื่นจะกล่าวว่ารู้อกุศลของคนอื่นก็ไม่ด้เพราะ

ขณะนั้นจิตก็เป็นอกุศลนั่นเอง อกุศลจะรู้ไม่ไ่ด้นอกจากปัญญาเพราะฉะนั้นด้วยความที่

มากไปด้วนกิเลสจึงทำให้ไม่เห็นโทษของอกุศลของตนเองและก็ไม่เห็นโทษของอกุศล

ของผู้อื่นด้วย เพราะเห็นด้วยโทสะ ด้วยความไม่ชอบไมไ่ด้ด้วยการเห็นโทษเพื่อจะ

ขัดเกลาตัวเองครับ

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔– หน้าที่-59 โทษของคนอื่นเห็นได้ง่าย "โทษของบุคคลเหล่าอื่นเห็นได้ง่าย, ฝ่ายโทษ ของตนเห็นได้ยาก; เพราะว่า บุคคลนั้น ย่อมโปรย โทษของบุคคลเหล่าอื่น เหมือนบุคคลโปรยแกลบ, แต่ว่าย่อมปกปิด (โทษ) ของตน เหมือนพรานนก ปกปิดอัตภาพด้วยเครื่องปกปิดฉะนั้น."

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 6 พ.ค. 2554

การพิจารณาให้ถูกต้องคือเข้าใจความจริงว่าเป็นธรรมไม่มีสัตว์ บุคคล อกุศลก็เป็น

อกุศลไม่มีของใครมีแต่สภาพธรรมที่เป็นอกุศลธรรมเท่านั้น จึงไม่มีตัวตนหรือใครหรือ

เราที่จะโกรธหรือไม่ดี เข้าใจความจริงเช่นนี้ก็จะเห็นถึงความเป็นธรรมและเป็นธรรมดา

ของสภาพธรรม และอกุศลของผู้อื่นที่เห็นก็กำลังแสดงและเตือนใจของบุคคลที่เห็นว่า

แม้ตัวเราเองก็มีอกุศลเช่นนั้น เช่นกัน เพราะยังเป็นผู้หนาด้วยกิเลส ประโยชน์คือ

ขัดเกลากิเลสตนเองอันเป็นสัลเลขธรรม คือเมื่อเห็นอกุศลผู้อื่นก็พิจารณาขัดเกลาตัว

เองที่จะไม่ประพฤติแบบนั้น แต่ต้องด้วยความเข้าใจ ด้วยปัญญาครับ ซึ่งจะต้องเริ่ม

จากการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ ปัญญานั่นเองจะค่อยๆ เจริญขึ้น เมื่อ

ปัญญาเจริญขึ้น ก็จะเห็นโทษของกิเลสที่ไม่ใช่ด้วยความรังเกียจด้วยโทสะแต่ด้วย

ปัญญาทั้งกิเลสของตนเองและผู้อื่นครับ ที่สำคัญที่สุด ควรเข้าใจคนอื่นที่เป็นอย่างนั้น

ด้วยความเมตตาและไม่โต้ตอบอะไรเขานอกจากทำดีให้เขา มีการให้และการประพฤติที่

ดีต่อบุคคลนั้นครับ ประโยชน์คือการน้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมของตนเองครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ZetaJones
วันที่ 6 พ.ค. 2554

ธัมมะทั้งปวงเป็นอนัตตา จะฟังจนกว่ามีความมั่นคงค่ะ ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 7 พ.ค. 2554

ความจริงคือไม่มีทั้งเราและเขา แต่โกรธมี เมตตามี และไม่ใช่เรา เป็นสภาพธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
bsomsuda
วันที่ 8 พ.ค. 2554

"ต้องเริ่มจากการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ

ปัญญานั่นเองจะค่อยๆ เจริญขึ้น

เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ก็จะเห็นโทษของกิเลส

ที่ไม่ใช่ด้วยความรังเกียจด้วยโทสะ

แต่ด้วยปัญญา ทั้งกิเลสของตนเองและผู้อื่นครับ...

...เข้าใจคนอื่นที่เป็นอย่างนั้น ด้วยความเมตตา..."

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 11 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ