จิตของแต่ละคนมีกี่ดวงครับ

 
oj.simon
วันที่  7 พ.ค. 2554
หมายเลข  18323
อ่าน  21,170

ผมเคยได้ยินมาว่าจิตของแต่ละคนไม่เที่ยงเป็นอนิจจังเกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่ก็เคย

ได้ยินมาว่าจิตคนเรามีเพียงดวงเดียวที่เที่ยวไปในภพน้อยใหญ่ ด้วยคุณสมบัติหลังนี้ จึง

เป็นที่มาหรือสามารถกล่าวได้ว่าจิตเดิมเป็นประภัสสร ที่ถูกต้องตามพระสัทธรรมขององค์

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร ขอความกรุณาให้คำตอบด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 7 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ในพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ทรงแสดงว่าธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะเหตุ

ปัจจัย เมื่อมีเหตุปปัจจัยธรรมก็เกิดขึ้น จิตเป็นสภาพธรรม เมือมีเหตุปัจจัยคือมีเจตสิก

และสภาพธรรมอื่นๆ เกิดขึ้น จิตจึงเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นครับว่า จิตไม่ใช่มีอยู่

แล้วลอยๆ มีดวงเดียวที่ท่องเที่ยวไปเพราะไม่เช่นนั้นจิตก็ไม่ดับและก็เที่ยงตลอดเวลา

เพราะตายจิตก็ย้ายไปร่างใหม่ดวงเดียวนั้นเอง นั่นไม่ใช่ความจริงเพราะจิตเกิดขึ้นและ

ดับไปครับ ไมไ่ด้มีอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น เสียงพิณ เสียงดนตรีไม่ใช่มีอยู่แล้ว แต่เพราะ

อาศัยเหตุปัจจัยคือเครื่องดนตรี คนเล่นดนตรีและการเล่น เสียงดนตรีจึงเกิดขึ้น เสียง

ดนตรีไม่ได้มีอยู่แล้วครับ แต่เพราะอาศัยเหตุปัจจัยเสียงดนตรีก็เกิดขึ้นได้ครับ และเสียง

นั้นก็ดับไปด้วย เสียงไมไ่ด้รอเกิดต่อแต่เสียงดับไปครับ ฉันใด จิตก็อาศัยเหตุปัจจัยเกิด

ขึ้น จึงไม่ไ่ด้เกิดรออยู่แล้วไม่ไ่ด้มีดวงเดียวรอที่จะย้ายภพภูมิ แต่จิตอาศัยเหตุปัจจัยเกิด

ขึ้นคือเจตสิกและสภาพธรรมอื่นจึงเกิดขึ้น และจิตก็ดับไปเหมือนเสียงดนตรีที่ต้องดับ

จิตไม่ได้เที่ยง ไม่ดับครับ เพราะจิตและสภาพธรรมทั้งหลายเป็นสังขารธรรมมีเหตุปัจจัย

เกิดขึ้นและต้องดับไปครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่

จิตดับแล้วไม่ไปที่ไหน [อุทยัพพยญาณนิทเทส]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 7 พ.ค. 2554

ควรเข้าใจว่าจิตไม่ไ่ด้มีอยู่แล้วและเที่ยงตลอดเวลา แต่จิตเกิดขึ้นและดับไป แต่จิตมี

หลายประเภทไม่ใช่มีจิตประเภทเดียว เช่น มีจิตเห็น จิตได้ยิน จิตที่เป็นกุศล เป็นอกุศล

จิตที่ประเภทต่างๆ มากมายตามความหลากหลายของเจตสิกที่ประกอบด้วยครับ จิตจึงมี

89 ประเภท โดยพิสดารมี 121 ประเภท แต่จิตทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็ต้องเกิดขึ้นและดับ

ไป ไม่ใช่มีอยู่แล้ว แ่ต่เพราะอาศัย สี แสงและการรำพึงถึงจึงทำใ้ห้เกิดจิตเห็นเกิดขึ้น

ครับ ไ่ม่ใช่เห็นอยู่ตลอดเวลา เห็นก็ดับไปครับ ส่วนเมื่อบุคคลนั้นตายจากโลกนี้ จิตอีก

ประเภทหนึ่งซึ่งไม่ใช่จิตเห็นแต่เป็นจุติจิตทำหน้าที่เคลื่อนจากภพนี้ไปอีกภพหนึ่ง แต่ว่า

โดยสภาพธรรมคือจิตอีกประเภทหนึ่งเกิดต่อคือปฏิสนธิจิต ซึ่งก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัย

โดยที่ไม่ใช่มีจิตที่เป็นปฏิสนธิจิตเกิดรออยู่แล้วครับ ดังนั้นต้องเริ่มจากความเข้าใจถูกว่า

สภาพธรรมทั้งหลายที่เป็นสังขารธรมคือจิต เจตสิก รูปเป็นธรรมที่เกิดขึ้นและต้องดับไป

ไม่เที่ยงและมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นครับ เมื่อเข้าใจอย่างนี้ย่อมเข้าใจว่าไม่มีทางเลยที่จะมี

จิตเดียวและจิตเดียวนั้นแหละย้ายไปเกิดในภพภูมิอื่นครับ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นก็แสดง

ถึงความเที่ยง ความยั่งยืนซึ่งไม่ตรงกับสัจจะของพระพุทเจ้าว่าสภาพธรรมที่เป็นสังขาร

ธรรม เป็นอนิจจัง ทุกขังและอนัตตาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 7 พ.ค. 2554

ดังนั้นในประเด็นเรื่องของจิตประภัสสร ที่หมายถึงความผ่องใสของจิต จิตจะผ่องใส

ได้ก็ต่อเมื่อเป็นกุศลจิต เพราะประกอบด้วยโสภณเจตสิก (เจตสิกฝ่ายดี) มี ศรัทธา

หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ เป็นต้นเกิดร่วมด้วย จึงผ่องใส และอีกประการหนึ่ง

ขณะที่เป็นภวังคจิต ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้อยู่ อารมณ์ของโลกนี้ไม่ปรากฏ

ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่นไม่ได้ลิ้มรสไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เพียงชั่วขณะที่จิต ไม่รู้

อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นทางกาย ทางใจนั้น ไม่มีกิเลสประการต่างๆ

เกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่ ดังนั้น ขณะที่เป็นภวังคจิต จึงกล่าวว่า เป็นจิตประภัสสร ด้วย

จิตประภัสสรจึงไม่ได้หมายถึงการที่มีจิตเดียวและผ่องใสและก็จิตเดียวนั้นแหละที่ย้าย

ภพภูมิครับ แต่จิตประภัสสรแสดงให้เห็นถึงลักษณะของจิตบางประเภทที่ผ่องใส ผ่องใส

ด้วยสภาพธรรมฝ่ายดีและเพราะไม่มีกิเลสในขณะนั้นจึงผ่องใสครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 7 พ.ค. 2554

ส่วนที่จะกล่าวลักษณะของจิตอีกอย่างคือ จิตทุกประเภท เป็นปัณฑระ คือ ขาว

แม้แต่อกุศลจิต ก็เป็นปัณฑระ ตามข้อความที่ว่า "เพราะจิตมีลักษณะรู้อารมณ์ จึงไม่เป็นกิเลสด้วยความเศร้าหมอง โดยสภาวะเป็นจิตบริสุทธิ์ทีเดียว แต่เมื่อประกอบด้วยอุปกิเลส จิตจึงเศร้าหมอง แม้เพราะเหตุนั้น จึงควรเพื่อกล่าวว่า ปัณฑระ (ขาว) "

----------------------------------------------------------------------------------

แต่ก็ไมไ่ด้หมายความว่าจิตเดิมดวงเดียวนั้นที่บริสุทธิ์ท่องเที่ยวไปดวงเดียวในการ

เกิดในภพภูมใหม่ครับ หากเราเข้าใจมั่นคงในเรื่องความเป็นจริงของสภาพธรรมที่ต้อง

เกิดขึ้นและดับปแล้วก็จะเข้าใจความจริงว่าไมไ่ด้มีจิตเดียวที่เที่ยวท่องเที่ยวไปในภพภูมิ

แต่มีจิตมากมายหลายประเภทเกิดขึ้นและดับไปอาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น ตามสัจจะที่

พระพุทธองค์ทรงแสดงว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา ลักษณะของจิตที่เป็น

ประภัสสรและปัณฑระ เป็นการแสดงถึงลักษณะบางประการของจิต แต่จิตไมไ่ด้เปลี่ยน

ลักษณะคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 7 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น จิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ จิตมีหลายประเภทมาก ไม่มีใช่มีดวงเดียว แต่เวลาที่จิตเกิดขึ้น จะเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ จะไม่เกิดพร้อมกัน ๒ หรือ ๓ ขณะ ตราบใดที่ยังมีกิเลส เมื่อจุติจิต ซึ่งเป็นจิตขณะสุดท้ายของชาตินี้ เกิดขึ้นแล้วดับไป ย่อมเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไป คือ ปฏิสนธิจิต ในภพใหม่ เกิดขึ้นสืบต่อทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น [ถ้าไม่มีจิตประเภทใด จิตประเภทนั้นก็ไม่เกิดขึ้น เช่น ฌานจิต โลกุตตรจิต เป็นต้น] ในสังสารวัฏฏ์อันยาวนาน แต่ละบุคคลก็เกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากความเป็นไปของสภาพธรรม คือ จิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) และรูป (สภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์อะไร) เพราะผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ ยังมีตัณหา ยังมีอวิชชาซึ่งยังดับไม่ได้ ก็ยังต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป ประการที่สำคัญ คือ ไม่ว่าจะเกิดเป็นใคร มีอายุยืนนานอยู่เพียงใด ก็ดำรงอยู่เพียงชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้น จิตขณะหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น จิตไม่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันสองดวงหรือสองขณะได้ หรือ ไม่ใช่ว่าจะมีจิตดวงเดียวเกิดขึ้นเป็นสิ่งยั่งยืนตลอดไป เพราะตามความเป็นจริงแล้ว มีจิตเกิดดับสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา อย่างไม่ขาดสาย เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เป็นวิบากบ้าง เป็นกิริยาบ้าง ตามความเป็นไปของจิต ซึ่งก็เป็นอย่างนี้มานานแล้วในสังสารวัฏฏ์ ทุกขณะของชีวิตคือการเกิดดับสืบต่อกันของจิต (รวมถึงสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต คือ เจตสิก ด้วย) ในแต่ละภพในแต่ละชาติ จิตขณะแรก คือ ปฏิสนธิจิต ซึ่งเกิดสืบต่อจากจุติจิตของชาติที่แล้ว เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นแล้วดับไป ก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อๆ ไปเกิดขึ้นเป็นไป...จนกว่าจะถึงขณะสุดท้ายของชาตินี้ คือ จุติจิต, จิตแต่ละขณะย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (ไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอยๆ โดยไม่มีเหตุ) เมื่อเกิดแล้วก็ดับไป ไม่ยั่งยืนอย่าง เช่น ปฏิสนธิจิต ซึ่งเป็นจิตขณะแรกในชาตินี้ ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ แต่เป็นผลของกุศลกรรม จึงทำให้เกิดมาเป็นมนุษย์ (ที่ไม่พิการบ้าใบ้บอดหนวก) เพราะปฏิสนธิจิต เป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรม ซึ่งไม่มีใครบังคับหรือทำให้เราเกิดได้ ในชาตินี้ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นการได้ในสิ่งที่ยากแล้ว ประโยชน์สูงสุดของการเกิดมาเป็นมนุษย์ คือ การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม สะสมความรู้ความเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้ ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นธรรม มีชีวิตอยู่เพื่ออบรมเจริญปัญญาต่อไป "ปัญญา จะมีได้ ก็ต่อเมื่อฟัง และมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น" ขณะที่ฟังพระธรรมเข้าใจ รวมไปถึงขณะที่จิตเป็นกุศล เป็นไปในทานบ้าง ศีลบ้าง ภาวนา บ้าง ชื่อว่า เป็นจิตประภัสสร เพราะผ่องใสด้วยกุศลธรรม นอกจากนั้น ขณะที่เป็นภวังคจิต ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้ไว้ จนกว่าจะจุติ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน เป็นต้น ขณะนั้น อกุศลจิตไม่เกิด ก็ชื่อว่า เป็นจิตประภัสสร เช่นเดียวกัน ครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเิติมยิ่งขึ้นได้ที่นี่ ครับ ปัณฑระ กับ ประภัสสร ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Endeavor
วันที่ 8 พ.ค. 2554

การที่ท่านได้รับฟังข้อความใดๆ ที่มีบุคคลยกมากล่าวอ้าง ท่านควรจะพิจารณาตามข้อความใน มหาปเทส ๔ ก่อนที่จะ เชื่อ หรือไม่เชื่อ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำความเห็นให้ตรง ไม่คลาดเคลื่อน

ในพระไตรปิฎกมีแสดงไว้ชัดเจนว่า จิตเกิดขึ้นและดับไปทีละดวงตามลำดับโดยอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย ไม่มีการเกิดขึ้นซ้อนหลายๆ ดวงพร้อมๆ กัน และไม่มีจิตดวงใดที่เกิดขึ้นแล้วจะตั้งอยู่โดยไม่ดับไป โดยที่จิตทั้งหมดแบ่งออกเป็น ๘๙ ประเภท (หรือ ๑๒๑ ประเภทตามพระอริยบุคคลที่บรรลุคุณธรรมพร้อมฌานจิต)

ดังนั้น เมื่อมีข้อความที่ว่า จิตดวงเดียวเที่ยวไป ซึ่งพบอยู่ใน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓ * ก็ไม่ควรตีความว่าแต่ละคนมีจิตเพียงดวงเดียวไม่ดับไปหรือย้ายไปย้ายมาจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึงเพียงดวงเดียว เพราะสอบสวนเทียบเคียงกับคัมภีร์ปัฏฐานไม่ได้

ถ้าจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นรู้อารมณ์หลายๆ อารมณ์ก่อนจะดับไป จะไม่สามารถจำแนกจิตเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ ประเภทได้เลย

ดังนั้น พึงเข้าใจว่า จิตดวงหนึ่งๆ รู้อารมณ์ได้เพียงหนึ่งอารมณ์เท่านั้นและดับไป จิตดวงต่อไปที่เกิดขึ้นก็รู้อารมณ์ได้เพียงหนึ่งอารมณ์และดับไป ตามที่ได้สอบสวนเทียบเคียงกับคัมภีร์ปัฏฐานแล้ว และท่านที่มีปรกติเจริญสติปัฏฐาน ก็จะมีความเห็นที่ถูกต้องมั่นคง หมดความสงสัยในเรื่องนี้ได้ครับ

ขออนุโมทนาท่านผู้ถามและทุกท่านที่มีความเพียร พยายามกระทำความเห็นให้ตรงครับ

* ข้อความมีว่า

ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้นจะพ้นเครื่องผูกแห่งมาร

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
oj.simon
วันที่ 8 พ.ค. 2554
ขอบคุณทุกๆ ท่านในทุกๆ กุศลจิตที่ท่านได้เสียสละเวลาอันมีค่ากรุณาตอบปัญหาเป็นธรรมทานให้ทราบ ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jadesri
วันที่ 10 พ.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 10 พ.ค. 2554

จิตทั้งหมดมี 4 ชาติ คือ ชาติกุศล ชาติอกุศล ชาติวิบาก ชาติกิริยา

ขณะที่เราให้ทาน ขณะนั้นจิตเป็นชาติกุศล ขณะที่โกรธ จิตขณะนั้น

ก็เป็นชาติอกุศล เพราะฉะนั้น จิตไม่ใช่มีเพียงดวงเดียว จิตมีหลาย

ประเภท เกิดดับสื่บต่อตามเหตุตามปัจจัย ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pamali
วันที่ 11 พ.ค. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เซจาน้อย
วันที่ 11 พ.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 12 พ.ค. 2554
ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
opta
วันที่ 27 พ.ค. 2554
ขออนุโมทนา
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ