พระพุทธเจ้าสอนพระโมคคัลลานะเรื่องแก้ง่วง ๘ วิธี ช่วยแปลให้หน่อยครับ

 
จิมมี่
วันที่  21 พ.ค. 2554
หมายเลข  18390
อ่าน  42,548

๑. ทําสัญญาให้มาก (เช่น ภาวนาพุทโธอยู่ ให้รัวเร่งคําภาวนา)

๒. คิดถึงธรรมะที่ได้เรียนไปแล้วให้มาก

๓. ให้สาธยายธรรม (อ่านธรรมะออกเสียง)

๔. เคะหู เอามือลูบตามตัว

๕. ล้างหน้า แหงนดูดาว

๖. กําหนดความสว่างไว้ในใจ (ข้อนี้ใช่การใช้กสิณหรือไม่)

๗. เดินจงกรม

๘. นอนตะแคงขวา เท้าทั้งสองซ้อนเหลือม ที่ผมเข้าใจข้อใดผิดกรุณาอธิบายด้วยจัก

ขอบพระคุณยิ่ง

จิมมี่ มจร.ชลต๒


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 21 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

1. เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่ง สัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

สัญญาหรือความจำที่ทำให้ง่วง ต้องเป็นสัญญาเจตสิก (เกิดกับจิตทุกดวงที่เกิดกับ อกุศลจิต มีมิทธะเจตสิก อันหมายถึงความโงกง่วง ดังนั้นกุศลธรรมจะง่วงไมได้เลย เพราะฉะนั้นต้องเป็นอกุศลสัญญา ที่เกิดพร้อมกับจิตที่เป็นอกุศล สัญญาใดที่ทำให้ ง่วง คือสัญญาที่เป็นไปกับอกุศลจิต มีถีนมิทธะ แต่สัญญาใด หรือสิ่งใดที่จำแล้วไม่ทำ ให้ง่วง พึงระลึกถึงสัญญานั้นที่ไม่ทำให้ง่วงก็จะละความง่วงได้ สัญญาเจตสิกเกิดกับจิต ทุกดวง ดังนั้นต้องเป็นสัญญาความจำที่ไม่ใช่เกิดกับจิตที่เป็นอกุศล เพราะพระพุทธเจ้า ย่อมไม่ให้จำเป็นไปในอกุศล ดังนั้นความจำทีเป็นประโยชน์เป็นสิ่งที่ดีคือ อนิจจสัญญา ความจำหมายด้วยความไม่เที่ยง อนัตตสัญญา ความจำหมายว่าไม่ใช่สัตว์บุคคล มรณ สัญญา ความจำหมายระลึกถึงความตาย ขณะนั้นจิตเป็นกุศลเมื่อนึกถึงสัญญานั้นอัน ประกอบด้วยปัญญา ย่อมไม่ง่วงในขณะนั้นครับ ดังนั้นสัญญาจึงไม่ใช่เรื่องการท่องสวด ครับ แต่เป็นสัญญา ความจำทีเป็นกุศล มีอนิจจสัญา เป็นต้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 21 พ.ค. 2554

ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอถึงตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้วด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

เมื่อยังละความง่วงไมได้ก็ให้พิจารณาไตร่ตรองธรรมที่ได้เรียนมาแล้ว ที่ได้ทรงจำ ไว้ครับ ขณะที่พิจารณาไตร่ตรองในธรรมที่ถูกต้อง จิตเป็นกุศล ย่อมไม่เป็นถีนมิทธะ จึงไม่ง่วงในขณะนั้นครับ

3. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้ว ได้เรียนมา แล้วโดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอ ละความง่วงนั้นได้

ถ้ายังละความง่วงไมได้ก็สาธยายธรรมคือ ธรรมใดที่จำได้ก็ท่องธรรม สวดธรรมนั้น ตามที่ทรงจำได้อันประกอบด้วยความเข้าใจธรรม ตามที่ได้เรียนและทรงจำมาครับ

4. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็น เหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้

ข้อนี้เป็นที่เข้าใจครับ ซึ่งไม่ไ่ด้หมายเอามือเคาะหู แต่หมายถึงเอานิ้วยอน แหย่เข้าไปในช่องหูแต่ไม่ได้ลึก นะครับ

5. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

ถ้ายังง่วงอยู่ก็เอาน้ำล้างหน้าล้างตาและก็ดูดาว เป็นต้น

6. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงทำในใจถึงอาโลกสัญญา ตั้งความสำคัญในกลางวัน ว่า กลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น

ใช่ครับ เป็นอาโลกกสิณ อันเป็นการเจริญฌาน กำหนดแสงสว่างได้ จิตขณะนั้นเป็น กุศลและปราศจากนิวรณ์ ก็ย่อมละความง่วงได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 21 พ.ค. 2554

7. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่เปิดไปให้ภายนอก

ใช่ครับเป็นการเดินจงกรม แต่ต้องเดินด้วยการสำรวมอินทรีย์คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจด้วยสติและสัมปชัญญะ ด้วยจิตที่เป็นกุศลในขณะนั้นครับ

8. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือนอนตะแคงเบื้องหน้าขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญยะ ทำความหมายในการนอน ความสุขในการ เอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ

ถ้ายังละความง่วงไม่ได้ก็ต้องนอนแต่นอนด้วยหวังว่าจะตื่น เพื่ออบรมปัญญาต่อ เพราะรู้ว่าเป็นการพักให้หายง่วงเท่านั้น เพราะกิจคืออบรมปัญญาต่อนั่นเองครับ จึงมี สติและสัมปชัญญะอยู่ครับ กำหนดหมายที่จะลุกขึ้นเพื่ออบรมปัญญาต่อไป ดังนั้นการ พักของท่านคือพักเพื่อให้หายง่วงและก็อบรมปัญญาต่อไปเมื่อตื่นขึ้นแล้วครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ....

ธรรมละความง่วง 8 ประการ [โมคคัลลนสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 21 พ.ค. 2554

ซึ่งในเรื่องความง่วง 8 ประการนี้เป็นเรื่องที่ท่านพระมหาโมคัลลานะ กำลังบำเพ็ญ เพียรเพราะท่านยังเป็นเพียงพระโสดาบันและท่านเกิดความง่วงครอบงำ พระพุทธเจ้า จึงไปปรากฎต่อหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะ และได้ตรัสเรื่องเมื่อความง่วงเกิดขึ้น ควรทำอย่างไร 8 ประการ พระพุทธองค์ก็ทรงสอนธรรมอื่นๆ เมื่อพระมหาโมคคัลลานะ ได้ฟังแล้ว ก็เจริญวิปัสสนา บรรลุเป็นพระอรหันต์ครับ

ความง่วงเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นมิทธเจตสิก เป็นอกุศลเจตสิก แต่จะเกิดร่วม กับถีนเจตสิกเสมอ ซึ่งความง่วงเกิดกับจิตที่เป็นโลภะและโทสะที่มีกำลังอ่อนครับ ซึ่ง จะดับได้เมื่อถึงความเป็นพระอรหันต์ครับ

ความง่วงเป็นสภาพธรรมเมื่อเป็นสภาพธรรมแล้วย่อมเป็นอนัตตา ความง่วงจึงเกิด ขึ้นได้ ไม่ว่าเวลาไหนแพราะมีเหตุปัจจัยก็ยังเกิดความง่วงได้ จึงควรเข้าใจความจริง ว่า ไม่มีการจะบังคับให้ง่วงหรือไม่ง่วง แต่เมื่อมีเหตุให้ไม่ง่างก็ไม่ง่วง หรือจะง่วงก็ง่วง ได้เป็นไปตามเหตุปัจจัย จึงควรเห็นค่า ของเวลาในการอบรมปัญญา เพราะเวลา เหลือน้อยแล้วในชาตินี้ที่จะได้อบรมปัญญา พระภิกษุสมัยนั้นจึงปรารภความเพียร เมื่อ ท่านง่วง ท่านก็หาวิธิประการต่างๆ แม้เมื่อไม่ไหวท่านก็นอน แต่ท่านก็กำหนดหมายที่ จะลุกขึ้นเพื่ออบรมปัญญาต่อ ผู้ที่ศึกษาพระธรรมจึงควรเห็นค่าของเวลาว่า ในเมื่อได้ เกิดเป็นมนุษย์แล้ว พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นและได้มีโอกาสฟังพรธรรม สิ่งที่เป็นสาระใน ชีวิตและสามารถติดตัวไปได้คือ ปัญญา ความเข้าใจอันสะสมต่อไป เพราะเราไม่มี ทางรู้เลยว่าชาติต่อไปจะได้พบพระธรรมหรือไม่ จึงควรเห็นเวลาอันมีค่าเหมือนกับพระ อริยสาวกทั้งหลายที่ท่านเห็นเวลามีค่าในการศึกษาพระธรรม แม้ท่านก็ง่วงท่านก็ปรารภ ความเพียรเพื่อได้ศึกษาพระธรรมต่อไปครับ อย่าปล่อยให้ขณะอันประเสริฐล่วงเลยไป

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Khun
วันที่ 21 พ.ค. 2554

สาธุ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 22 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตราบใดที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ย่อมมีสภาพธรรมที่กล่าวถึง คือ ความง่วงเหงาหาวนอน ความท้อแท้ท้อถอย เกิดขึ้นเป็นไป ไม่สามารถที่จะบังคับบัญชาได้ เพราะธรรมเป็นอนัตตา ไม่เป็นอิสระ เนื่องจากว่าต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริงเป็นเจตสิกธรรม (ถีนะ มิทธะ) ที่เกิดร่วมกับอกุศลจิตที่มีกำลังอ่อน ถ้าหากว่าเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร และ มีการคบกับกัลยาณมิตรผู้มีปัญญา พร้อมทั้งมีการสนทนาธรรม ก็จะเป็นไปเพื่อละคลายถีนะและมิทธะได้ โดยเฉพาะอย่าง คือ การสนทนาธรรม (การกล่าวด้วยดีซึ่งธรรม) เพราะในขณะที่มีการสนทนาธรรม กล่าวถึงธรรมประการต่างๆ เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมคือ ปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูก (และกุศลธรรมประการอื่นๆ มีศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น) ขณะที่กุศลธรรมเกิด อกุศลก็เกิดไม่ได้ ถีนะและมิทธะ ไม่สามารถเกิดได้ในขณะที่จิตเป็นกุศล ประโยชน์อย่างยิ่งของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เพื่อเข้าใจธรรมตามความจริง จากที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าเป็นธรรม ก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แม้แต่ถีนะและมิทธะก็เช่นเดียวกัน เป็นธรรม ไม่ใช่เรา, ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง มีให้ศึกษาอยู่ทุกขณะ ชีวิตของแต่ละบุคคลที่ดำเินินไป ต้องอาศัยการพักผ่อนด้วยการนอนหลับ ซึ่งเป็นปกติในชีวิตประจำวัน แต่ถ้านอนมาก นอนเกินเวลา ก็จะทำให้เสียโอกาสในการที่จะกระทำคุณประโยชน์อย่างอื่น คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดสำหรับชีวิต ไป แต่ถ้าเห็นประโยชน์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมแล้ว มีโอกาสเมื่อใด ก็จะไม่ละเลยโอกาสที่กล่าวถึงเมื่อนั้น ถึงแม้จะมีการหยุดไปไม่ได้ฟังในขณะที่นอนหลับ แต่เมื่อตื่นขึ้นแล้ว ก็ต้องฟัง ต้องศึกษา สะสมปัญญาต่อไป เพราะเหตุว่า เราไม่สามารถจะรู้ได้ว่า เวลาในการศึกษาพระธรรมของเราในชาตินี้ จะสิ้นสุดลงเมื่อใด ควรที่จะได้พิจารณาอยู่เสมอว่า "จะมีวันพรุ่งนี้หรือไม่ ที่จะเราจะได้ฟังพระธรรม" ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผเดิมและทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 22 พ.ค. 2554

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ทางสายกลาง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 โดยที่ไม่พักด้วย อกุศล ไม่เพียรด้วยความเห็นผิด และไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Supakij.k
วันที่ 23 พ.ค. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
papon
วันที่ 2 ธ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 14 มิ.ย. 2564
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
penrudee1205
วันที่ 9 ม.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

"หรือสิ่งใดที่จำแล้วไม่ทำให้ง่วง พึงระลึกถึงสัญญานั้น"
ประโยคนี้หมายถึง ให้ระลึกถึงความจำที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่เคยพบว่าทำให้ไม่ง่วงถูกต้องไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
khampan.a
วันที่ 16 ม.ค. 2567

เรียน ความคิดเห็นที่ ๑๓ ครับ

ต้องเป็นสัญญาที่เป็นไปพร้อมกับกุศลและปัญญาที่เข้าใจความจริง ขณะนั้นย่อมไม่ง่วง เพราะขณะที่ง่วง เป็นอกุศล ครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ