ความเป็นในสิ่งที่ควรทำ จากผู้ที่บวชยังไม่นานครับ

 
samroang69
วันที่  25 พ.ค. 2554
หมายเลข  18418
อ่าน  2,147

ขอรบกวนถามท่านผู้รู้บ้างเรื่องที่กระผมรู้สึกไม่สบายใจเท่าไรที่ต้องทำตามคำที่เขาขอ

ร้องและเราต้องฝืนทำโดยติดค้องในใจเล็กน้อยจึงขอเรียนถามตามนี้ครับ มีพระรูปหนึ่ง

ที่เขาได้อาศัยอยู่ในวัดแล้วได้ทำการเผาถ่านและได้เอาเงินไปใช้ส่วนตัว จริงอยู่ที่เขา

เป็นผู้เผาและได้นำไม้ที่เขาได้ใช่ เช่น ต้นไม้ที่ถูกลมพายุล้มลงมา หรือไม้ที่มันแผ่กิ่ง

ก้านสาขาไปกีดขวางสายไฟบ้าง และที่มันเป็นสิ่งที่เขาต้องการจะเอาออก สรุปคือไม้ที่

อยู่ในวัดที่เขาไม่ใช้ก็จะเอาไปเผ่าถ่านแล้วเงินที่เผาถ่านเขาก็ไม่ได้ให้กับวัดเลย ที่วัดนี้

ค่อนข้างมีต้นไม้เยอะพอสมควร ถ้าเขาทำเราก็คงจะไม่ไปคิดมากอะไรแต่เขามาขอร้อง

เราให้ไปช่วยเลื่อยไม้ที่เป็นท่อนใหญ่ๆ (ส่วนท่อนที่เล็กเขาจะทำเอง) กระผมไม่ได้กลัว

เหนื่อยอะไรถ้าเป็นสิ่งที่ทำให้วัดก็คงจะไม่เป็นไร เช่น ตัดกิ่งไม้ที่กีดขวางหรือถูกลมพัด

หักลงมาหรือตัดหญ้าหรือตัดแต่งกิ่งไม้ แต่นี้เอาไปเผาถ่านและขายเป็นลำเป็นสันเลย

จริงอยู่ที่ไม่มีใครห้ามแม้แต่เจ้าอาวาสก็ตามแต่ตัวผมเองรู้สึกไม่สบายใจเลยครับ ผมไม่

ได้รับเงินกับเขาหลอกครับแต่การที่ไปช่วยเขาผมก็รู้สึกไม่สบายในครับ ผมรู้สึกแกรงใน

เขามากเลยไม่กล้าผูดอะไรได้ ก็เลยอยากขอคำแนะนำหน่อยครับ 1.สิ่งที่เขาทำนั้นผิด

หรือไม่ครับ 2.ผมควรทำไงครับ เพราะที่ถ้าคงจะทำอยู่อย่างนี้ไปอีกนานที่เดียวครับ ผม

กำลังคิว่าจะขอย้ายไปอยู่วัดอื่นจะดีใหมครับ เพื่อแก้ปัญหานี้ ขอความกรุณาตอบหน่อย

นะครับ อย่ารู้ทางแก้ไขมากครับ ขอคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 26 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระวินัยได้แสดงเรื่องนี้ไว้ครับ ว่าของที่เป็นครุภัณฑ์ที่เป็นของหนัก เช่น อาราม

สวน หม้อสำริด เตียง หรือรวมทั้งหญ้าที่จะใช้มุงอาราม ไม้ที่เกิดในบริเวณธรณีสงฆ์จัด

เป็นครุภัณฑ์ เมื่อเป็นครุภัณฑ์แล้ว จะจำหน่าย แลกโดยส่วนตัวไมได้ครับ และไม่ควร

แบ่งกันเป็นสjวนตัว เป็นของที่ควรใช้ร่วมกัน ส่วนของที่เป็นลหุภัณฑ์ ของเบา มีบาตร

เป็นต้น เมื่อมีเหตุก็แบ่ง แจกจ่ายกันได้ครับ ซึ่งในกรณีนี้ ไม้เมื่อเกิดในธรณีสงฆ์ เป็น

ของครุภัณฑ์ ห้ามแจก จำหน่าย ภิกษุใด แจก จำหน่าย ต้องอาบัติถุลจัย ผิดพระวินัย

ครับ ส่วนไม้ใดที่เขาไมได้ใช้ เมื่อจะใช้ต้องบอกขอยืมก่อนครับเพื่อจะสร้างเสนาสนะ

ของตนนั่นเอง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไม้นั้นที่เกิดในธรณีสงฆ์ ย่อมใช้เป็นส่วนกลางหรือเมื่อยืมไปก็ต้อง

นำมาใช้ด้วยสิ่งที่สมควร ที่เป็นกัปปิยะคือเป็นของที่สมควรครับแต่จะไม่นำเอาไม้ที่เกิด

ในที่ของสงฆ์ ไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของที่เป็นอกัปปิยะที่เป็นของไม่เหมาะสมมีเงินทอง

เป็นต้นเลยครับ นั่นก็ผิดพระวินัยแล้วครับ ในการแลกสิ่งที่ไม่เหมาะสม แม้แต่การแลก

เปลี่ยนที่เป็นของครุภัณฑ์ ต้องบอกสงฆ์และทำการแลกเปลี่ยนในของที่เหมาะสมครับ

และไม่ใช่ทำตามอำเภอใจส่วนตัวครับ ดังนั้นจึงไม่สมควรอย่างยิ่งในการนำของที่เป็น

ครุภัณฑ์ไปแลกเปลี่ยนในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะคือของที่ไม่เหมาะสม มีเงิน ทอง เป็นต้น

ครับ ดังนั้นของที่เกิดในธร๊สงฆ์จะต้องพิจารณาก่อนทำครับ ดังนั้นเหตุการณ์ที่กล่าวมา

จึงไม่ถูกต้อง เป็นอาบัติแน่นอนครับ เป็นอาบัติถุลจัย เป็นต้นครับ

ดังนั้นการเอาไม้ไปเผาเป็นถ่าน แล้วไปแลกด้วยของที่ไม่เหมาะสมมีเงินทอง ก็ผิด

ต้องแต่การนำของที่เกิดธรณีสงฆ์ไปแจก จำหน่ายและก็ผิดที่แลกของที่ไม่สมควรครับ

มีเงิน ทอง เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 26 พ.ค. 2554

การแลกเปลี่ยนในสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์ มีไม้ที่เกิดในธรณีสงฆ์จึงต้องแลกเปลี่ยนกับ

ของที่เหมาะสมครับและสงฆ์รับทราบ แม้แต่การขอยืมไม้ก็ต้องแจ้งให้กับสงฆ์รับรู้ การ

แลกเปลี่ยนก็ต้องทำให้ถูกตามพระธรรมวินัยครับ ดังนั้นผิดตั้งแต่การแจกจ่าย จำหน่าย

ครุภัณฑ์คือไม้แล้วครับ แม้จะไปเผาแล้วเอาถ่านแลกก็ชื่อว่าเอาไม้ไปแลกอยู่ดีครับ และ

ก็ยินดีเงินทอง รับเงินทองก็ผิดพระวินัย เป็นอาบัติเช่นกันครับ

เพศฆราวาสกับเพศบรรพชิตจึงต่างกัน ผู้ใดยังยินดีในกามคุณ แสวงหากามคุณ มี

เงินทองนั่นสมควรเป็นเพศคฤหัสถ์ ส่วนเพบรรพชิตเป็นเพศควรขัดเกลากิเลส เว้นทั่ว

ในอกุศล ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยด้วยความเคารพครับ เงินทองไม่สมควรกับพระ

ภิกษุเลยและการแลกเปลี่ยนในสิ่งที่ไมเหมาะสมโดยครุภัณฑ์มีไม้โโยการเผาแล้วแลก

กับเงินทองก็ไม่สมควรอย่างยิ่งครับ ผิดพระวินัยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 26 พ.ค. 2554

หากผู้มี่ส่วนเกี่ยวข้องหลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำร่วมในเหตุการณ์นี้ก็สมควรครับ เพราะเป็น

การทำร่วมกันในสิ่งที่ผิดพระวินัย ดังนั้นก่อนอื่นเมื่อยังอยู่ที่วัดนี้ก็ปฏิเสธที่จะไม่ทำการ

งานนั้นด้วยอ้างพระวินัยว่าเป็นอาบัติ ต้องกล้าในสิ่งที่ควรกล้าครับ รักษาตัวเราเองก่อน

ผู้อื่นเราห้ามไมได้ครับ ได้แต่เตือนด้วยพระธรรมวินัยครับ ส่วนจะย้ายไปที่อื่น หากเรา

ยังไม่เป็นผู้กล้าแล้ว เมื่อเจอเหตุการณ์นี้อีกหรือเหตุการณ์อื่นที่เราจะต้องร่วมกันทำผิด

เราก็ต้องย้ายไปเรื่อยๆ อีกครับ ดังนั้นเริ่มจากความกล้าตอนนี้คือปฏิเสธไปก่อนครับ

โดยอ้างพระธรรมวินัยครับ พระธรรมเป็นเรื่องตรงและขัดเกลากิเลสของพระพุทธเจ้า

อย่างแท้จริง ประโยชน์คือน้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม แต่ท้ายสุดถ้าไม่สบายใจ

การย้ายเพื่อหลีกเลี่ยงก็ควรอยู่ครับ กราบนมัสการพระคุณเจ้า ขออนุโมทนาครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...เรื่อง ครุภัณฑ์ มีไม้ เป็นต้น [มหาวิภังค์ ]

เหตุใดจึงมีพระวินัยบัญญัติไม่ให้พระรับเงินทอง

ขอเรียนถามเรื่อง การถวายปัจจัย (เงิน) แด่พระภิกษุ

เกี่ยวกับการรับเงินทองของพระ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 26 พ.ค. 2554

ผู้ที่บวชมาเป็นพระภิกษุสามารถประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยได้ไหม ถ้าประพฤติตาม

พระวินัยไม่ได้ มีโทษมาก ถ้าที่ไหนอยู่แล้วไม่มีความสุข และกุศลธรรมไม่เจริญ

ก็ให้ย้ายไปอยู่ที่อื่น ที่ ๆ มีกัลยาณมิตร มีสัตบุรุษ จะได้ไม่ทำผิดพระวินัยด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 26 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เป็นสิ่งที่ยากมาก และเมื่อบวชแ้ล้ว การยินดีในการบวชก็ยิ่งยาก เพราะต้องเป็นอัธยาศัยของผู้นั้นจริงๆ ที่เห็นโทษของการอยู่ครองเรือน เห็นโทษของความติดข้องยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายเลย แต่สำหรับผู้ไม่มีอัยธยาศัยในการบวช ไม่เห็นคุณของการขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิต ก็เข้าใจว่าเป็นเรื่องง่ายๆ บวชแล้วจะทำอะไรก็ได้ อย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะสิ่งใดที่ผิด ก็คือ ผิด สิ่งใดถูก คือ ถูก จะไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น สำหรับผู้ที่บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ควรอย่างยิ่งที่จะได้ศึกษาพระธรรมวินัย ให้ละเอียดถี่ถ้วน ถ้ามีความเข้าใจในพระธรรมวินัยอย่างถูกต้อง และ มีการสำรวมระวังตามสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ ก็ย่อมจะไม่มีเหตุที่จะต้องทำให้เดือดร้อนใจในภายหลัง แต่ถ้าได้กระทำผิดไปแล้ว รู้ว่าผิด ก็จะต้องแก้ไขให้ถูกต้องตรงตามพระวินัย พร้อมทั้งมีความจริงใจ มีความตั้งใจที่สำรวมระวังให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ถ้าหากว่าเป็นผู้ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัย เทีี่ยวย่ำยีสิกขาบทน้อยใหญ่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ เป็นอันตรายมากทีเดียว เพราะถ้าต้องอาบัติแล้ว ไม่กระทำคืน ย่อมเป็นเครื่องกั้นในการบรรลุมรรคผล และ กั้นการไปสู่สุคติภูมิ ในชาติหน้าด้วยซึ่งไม่คุ้มเลยกับการที่ได้บวชในพระพุทธศาสนา อันเป็นเพศที่ยิ่งกว่าเพศคฤหัสถ์ ดังนั้น การศึกษาพระธรรมวินัย พร้อมกับมีการขัดเกลากิเลสของตนเอง นั้น เป็นสิ่งที่สำคัญทีุ่สุด ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
samroang69
วันที่ 26 พ.ค. 2554
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
samroang69
วันที่ 26 พ.ค. 2554

ขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำ ก็มีที่นี้และที่ผมรู้สึกว่ามีเพือนหรือสหาย (สหายธรรม) ทำให้ผมอยากจะถามอีกบ่อยๆ ถ้ามีโอกาศ การที่ผมคิดว่าการพูดคุยที่ไม่ใช้ธรรมะรู้สึกว่าไรสาระและทำให้ผมเป็นคนพูดน้อยด้วยส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเป็นธรรมะแล้วรู้สึกว่าเป็นเพื่อนที่สนิทมากทีเดียวครับ ยังไงก็ขออบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ที่ทำให้ผมมีทางออก

ขออนุโมทนา
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ