นางสุชาดาคือใคร

 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่  3 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18478
อ่าน  24,082

ในพุทธประวัติมีกล่าวว่าเช้าวันตรัสรู้พระมหาบุรุษทรงรับข้าวมธุปายาสจากนาง สุชาดาธิดาของนายบ้านเสนานิคมซึ่งนางบนเทวดาไว้ว่า ถ้าได้ลูกคนโตเป็นชายก็จะ ถวายเครื่องสักการะแก่เทวดา เมื่อนางได้ลูกชายสมปรารถนาจึงปรุงข้าวมธุปายาสถวาย เทวดาเป็นการแก้บน (โดยเข้าใจว่าพระมหาบุรุษเป็นเทวดา) อรรถกถาเล่าไว้ว่า นาง สุชาดาผู้นี้คือมารดาของยสกุลบุตร ที่บ่นว่า ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ แล้วออกจากบ้านมาพบพระพุทธองค์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในช่วงเวลาที่เสด็จไป โปรดปัญจวัคคีย์หลังจากตรัสรู้แล้วได้ ๒ เดือนนั่นเอง

ข้อสงสัยมีดังนี้ครับ

๑ ถ้านางสุชาดาผู้นี้เป็นมารดาของยสกุลบุตร ยสกุลบุตรก็ควรจะเป็นลูกชายคน โตที่ได้สมปรารถนาจากการบนเทวดา ก็ตอนนั้นยสกุลบุตรเติบโตจนมีภรรยาแล้ว ประมาณว่าน่าจะมีอายุไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี เพราะเมื่อฟังธรรมของพระพุทธองค์แล้วก็บวช เป็นภิกษุได้แล้ว ไฉนนางสุชาดาจึงปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง ๒๐ ปีเพิ่งจะมาแก้บน เอาในตอนนี้ ดูผิดวิสัยของการแก้บนที่น่าจะรีบทำทันทีที่สมปรารถนา

๒ นางสุชาดาผู้นี้ถ้าเป็นมารดาของยสกุลบุตร ก็ควรจะอยู่ที่เมืองพาราณสี แต่ ทำไมจึงมาแก้บนที่อุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งอยู่ไกลกันประมาณถึง ๒๐๐ กิโลเมตร (จำตัว เลขที่แน่นอนไม่ได้ ถ้าผิดพลาดขออภัย) แล้วอีก ๒ เดือนต่อมาก็กลับไปเป็นมารดา ของยสกุลบุตรที่เมืองพาราณสีอีก พูดให้เห็นภาพชัดๆ ก็คือ วันตรัสรู้เจอนางสุชาดาที่ พุทธคยา อีก ๒ เดือนต่อมาก็ไปเจอนางสุชาดาที่เมืองพาราณสีอีก ฟังดูอย่างไรๆ อยู่ ๓ บ้านนางสุชาดาที่อุรุเวลาเสนานิคม กับต้นโพธ์ที่ประทับตรัสรู้ อยู่คนละฝั่งแม่ น้ำ ในพุทธประวัติเล่าว่า พระมหาบุรุษประทับพักผ่อนอยู่ในราวไพรฝั่งบ้านนางสุชาดา ตลอดเวลากลางวัน ตกตอนเย็นก็เสด็จไปสู่ควงไม้มหาโพธ์ ไม่ได้เอ่ยถึงเลยว่าต้องทรงข้ามแม่น้ำเนรัญชรา ฟังดูราวกับว่าอยู่ฝั่งเดียวกันจึงเสด็จไปได้ง่ายๆ ขอความเมตตาจากท่านผู้รู้อธิบายเหตุผลในประเด็นทั้ง ๓ นี้เป็นวิทยาทาน เพื่อ ทรงจำไว้เป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป

ขอขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เรียนอย่างนี้ครับ ตามประวัติตามความเป็นจริงแล้ว นางสุชาดา ก็เป็นมารดาของ ท่านพระยสกุลบุตร ซึ่งประวัติก็คือ ตามที่พอทราบกัน คือ นางสุชาดา เป็นผู้ที่ถวาย ข้าวมธุปายาสกับพระโพธิสัตว์ ก่อนที่พระองค์ทรงตรัสรู้เพราะเคยอธิษฐานไว้กับต้นไทรที่ตำบลอุรุเวลาเสนนานิคมที่พุทธคยา ไว้ว่า หากท่านได้ครองเรือนกับคนที่มี สกุลเสมอกันและได้บุตรชายท้องแรก ท่านจะทำพลีกรรมก็กับต้นไทร ทุกๆ ปี ซึ่งเมื่อท่านได้ลูกชาย ท่านก็ทำพลีกรรมในวันเพ็ญเดือน 6 และท่านก็ถวายข้าวมธุปายาสกับ พระโพธิสัตว์ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็เสด็จไปเมืองพาราณสี หลังจาก ตรัสรู้แล้วสองเดือน ทรงแสดงปฐมเทศนาและแสดงธรรมกับพระปัญจวัคคีย์ เป็นพระอรหันต์และ ยสกุลบุตร ผู้ที่กล่าวว่าวุ่นวายหนอ ก็มาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่เมืองพาราณสี พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม บรรลุเป็นพระอรหันต์ ส่วน บิดา บรรลุเป็นพระ โสดาบัน เพราะไปตามหาท่านพระยส ไม่เจอ แต่พะรพุทธเจ้าแสดงธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบัน บิดาก็เลยนิมนต์พระพุทธเจ้า ไปเสวยที่เรือน พอพระพุทธเจ้าเสวย เสร็จก็แสดงธรรม มารดาพระยสะและภรรยาเก่าของท่านพระยสะ ก็ได้บรรลุเป็นพระ โสดาบันครับ ซึ่งนางสุชาดาที่เป็น มารดาท่านพระยสะ (นางสุชาดา) ท่านเป็น พระโสดาบัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า นางสุชาดาเป็นอุบาสิกาผู้เลิศในการถึงสรณะ เป็นผู้อุบาสิกาที่ถึงสรณะก่อนใครครับ นี่คือประวัติพอสังเขปเพื่อผู้อ่านผู้อื่นจะได้ เข้าใจประเด็นที่ถามต่อไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

และจากที่เรียนถามว่า

๑. ถ้านางสุชาดาผู้นี้เป็นมารดาของยสกุลบุตร ยสกุลบุตรก็ควรจะเป็นลูกชายคนโต ที่ได้สมปรารถนาจากการบนเทวดา ก็ตอนนั้นยสกุลบุตรเติบโตจนมีภรรยาแล้ว ประมาณว่าน่าจะมีอายุไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี เพราะเมื่อฟังธรรมของพระพุทธองค์แล้วก็ บวชเป็นภิกษุได้แล้ว ไฉนนางสุชาดาจึงปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง ๒๐ ปีเพิ่งจะมา แก้บนเอาในตอนนี้ ดูผิดวิสัยของการแก้บนที่น่าจะรีบทำทันทีที่สมปรารถนา


จากข้อความในอรรถกถาในพระไตรปิฎกหลายแห่งแสดงไว้ว่า จะทำพลีกรรมกับ ต้นไทร ทุกๆ ปีครับ ดังนั้นเมื่อท่านได้บุตรชาย ก็ไม่ได้หมายความว่าท่านจะทำแค่ ครั้งนี้ครั้งแรกคือครั้งที่จะถวายกับพระโพธิสัตว์ แต่ท่านก็ทำมาก่อนหน้านั้นเป็นประจำ ทุกๆ ปีอยู่แล้วครับ และมาถึงปีนี้ท่านก็ทำอีก ทำในวันเพ็นเดือน 6 ครับ ดังนั้นไม่ใช่ เพิ่งจะมาแก้บนครับ ทำเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ตามข้อความในพระไตรปิฎก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

ก็สมัยนั้นแล ทาริกาชื่อว่า สุชาดา ผู้เกิดในเรือนของเสนานิกุฎุมพีในตำบล อุรุเวลาเสนานิคม เจริญวัยแล้วได้การทำความปรารถนาที่ต้นไทรต้นหนึ่งว่า ถ้า ข้าพเจ้าไปยังเรือนสกุลที่มีชาติเสมอกัน ได้บุตรชายใน ครรภ์แรกไซร้ ข้าพเจ้าจักทำพลีกรรมโดยบริจาคทรัพย์แสนหนึ่งแก่ท่านทุกปีๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

และที่เรียนถามว่า

๒. นางสุชาดาผู้นี้ถ้าเป็นมารดาของยสกุลบุตร ก็ควรจะอยู่ที่เมืองพาราณสี แต่ทำไม จึงมาแก้บนที่อุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งอยู่ไกลกันประมาณถึง ๒๐๐ กิโลเมตร (จำตัวเลขที่ แน่นอนไม่ได้ ถ้าผิดพลาดขออภัย) แล้วอีก ๒ เดือนต่อมาก็กลับไปเป็นมารดาของ ยสกุลบุตรที่เมืองพาราณสีอีก พูดให้เห็นภาพชัดๆ ก็คือ วันตรัสรู้เจอนางสุชาดาที่ พุทธคยา อีก ๒ เดือนต่อมาก็ไปเจอนางสุชาดาที่เมืองพาราณสีอีก ฟังดูอย่างไรๆ อยู่


ที่ท่านต้องมาแก้บน ทำพลีกรรมที่อุรุเวลาเสนานิคมที่พุทธคยา เพราะเหตุผลว่า นางสุชาดาเกิดที่พุทธคยา อุรุเวลาเสนานิคม (ข้อความในพระไตรปิฎกแสดงไว้) ท่านโตขึ้นตั้งความปรารถนากับต้นไทร ถามว่าต้นไทรไหนก็ต้องเป็นต้นไทรที่บ้านเกิดท่านครับ เพราะตอนนั้นท่านยังไม่ได้แต่งงาน ท่านก็โตเป็นสาว ทำความปรารถนากับต้นไทรว่าถ้าข้าพเจ้าได้ไปยังเรือนสกุลที่มีชาติเสมอกัน ได้บุตรชายในครรภ์แรกไซร้ ข้าพเจ้าจักทำพลีกรรมโดยบริจาคทรัพย์แสนหนึ่งแก่ท่านทุกปีๆ พอเมื่อท่านแต่งงาน ท่านก็ต้องไปอยู่บ้านสามีที่ พาราณสี เพราะโดยธรรมเนียมทั่วไปก็ไปอยู่ที่บ้านสามี ดังเช่น บุตรสาวของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เมื่อแต่งงานก็ไปอยู่บ้านสามี ดังนั้นเมื่อ ท่านทำพลีกรรมที่ต้นไทรที่บ้านเกิดของท่าน คือ บ้านเกิดของนางสุชาดาที่พุทธคยา คืออุรุเวลาเสนานิคม ท่านก็ต้องมาทำพลีกรรม ที่ต้นไทรนั้น ก็ต้องกลับมาที่บ้านเกิด ที่พุทธคยา มาพลีกรรมที่ต้นไทรนี้ทุกๆ ปีครับ และเมื่อท่านทำพลีกรรมเสร็จ ท่านก็เดินทางกลับบ้านสามีที่พาราณสี ซึ่งท่านพระยสะก็อยู่ที่พาราณสีอยู่แล้วครับ ซึ่งเมื่อท่านถวายอาหารกับพระโพธิสัตว์ที่พุทธคยาแล้ว ท่านก็เดินทางกลับไปบ้านสามีที่พาราณสีครับ ซึ่งกว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเมืองพาราณสี เป็นเวลา 2 เดือนครับ คือ วันวิสาขะ ไปวันอาสาฬหบูชา ดังนั้น ระยะเวลา 2 เดือนจึงเพียงพอสำหรับการเดินทางของนางสุชาดา จากพุทธคยา ไป พาราณสี เป็นระยะทาง 250 กิโลเมตรครับ ซึ่งคงไม่ใช่เวลา 2 เดือนหรอกครับ ไม่นานมากก็ถึง ดังนั้นนางสุชาดาจึงกลับไปถึงพาราณสีแล้ว ก่อนพระพุทธเจ้า เพราะพระองค์กว่าจะไปก็ 2 เดือนดังนั้นนางสุชาดาจึงได้มีโอกาสพบพระพุทธเจ้าและได้ฟังพระธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบันครับ ดังข้อความ

พระไตรปิฎกที่กล่าวว่า นางสุชาดาท่านเกิดที่ อุรุเวาเสนานิคม ทีพุทธคยา ต้นไทรที่ อธิษฐานไว้จึงอยู่ที่พุทธคยา ท่านจึงกลับไปพลีกรรมที่พุทธคยาครับ


ก็สมัยนั้นแล าริกาชื่อว่า สุชาดา ผู้เกิดในเรือนของเสนานิกุฎุมพีในตำบล อุรุเวลาเสนานิคม เจริญวัยแล้วได้การทำความปรารถนาที่ต้นไทรต้นหนึ่งว่า ถ้าข้าพเจ้าไป ยังเรือนสกุลที่มีชาติเสมอกัน ได้บุตรชายใน ครรภ์แรกไซร้ ข้าพเจ้าจักทำพลีกรรม โดยบริจาคทรัพย์แสนหนึ่งแก่ท่านทุกปีๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

และที่เรียนถามว่า

๓. บ้านนางสุชาดาที่อุรุเวลาเสนานิคม กับต้นโพธ์ที่ประทับตรัสรู้ อยู่คนละฝั่งแม่น้ำ ในพุทธประวัติเล่าว่า พระมหาบุรุษประทับพักผ่อนอยู่ในราวไพรฝั่งบ้านนางสุชาดา ตลอดเวลากลางวัน ตกตอนเย็นก็เสด็จไปสู่ควงไม้มหาโพธ์ ไม่ได้เอ่ยถึงเลยว่าต้องทรงข้ามแม่น้ำเนรัญชรา ฟังดูราวกับว่าอยู่ฝั่งเดียวกันจึงเสด็จไปได้ง่ายๆ


เรียนตอบอย่างนี้ครับ แม้จะไม่กล่าวว่า ข้ามแม่น้ำเนรัญชรา แต่ก็ต้องข้ามเพราะอยู่กันคนละฝั่ง แต่ท่านก็กล่าวรวบรัดในเหตุการณ์ครับ คำถามก็มีว่า เหมือนจะข้ามง่าย ข้ามแม่น้ำเนรัญชราไม่ยากหรอกครับ ผู้ที่ไปแสวงบุญที่พุทธคยา โดยเฉพาะช่วงก่อนที่มีสะพานข้ามจากฝั่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปบ้านนางสุชาดา สหายธรรมทั้งหลายก็เล่าให้ผมฟังว่า ก็เดินข้ามแม่น้ำไปเลย เพราะน้ำแห้งครับ ซึ่งตอนวันเพ็ญ เดือน 6 ก็คือเดือนพฤษภา ยังเป็นหน้าร้อนของอินเดีย เป็นช่วงที่ร้อนเกือบที่สุด ไม่ใช่หน้าฝน น้ำจึงแห้ง จึงข้ามได้สบายๆ ครับ ช่างหน้าฝนจะเป็น กรกฎาคม ต้นเดือน ตุลาคมก็หมดฝนครับ ผมไปอินเดีย ช่วงเดือนตุลาบ้าง มีนาคมบ้างก็เห็นแม่น้ำแห้งเลย ครับ ดังนั้นข้ามได้สบายๆ และสมมติต่อให้น้ำจะท่วมเท่าไหร่ก็ด้วยบุญของพระองค์ ข้ามไม่ยากหรอกครับ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงจากบ้านนางสุชาดาไปต้นพระศรีมหาโพธิ์จึง ต้องข้ามแม่นำเนรัญชราครับ ข้ามไม่ยากครับ

ขออนุโมทนาสำหรับการถามครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 4 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 4 มิ.ย. 2554

เป็นคำถามและคำตอบที่มีคุณค่าต่อชาวพุทธ เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นไปเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ซึ่งชาวพุทธส่วนใหญ่ ยังสับสนหรือเข้าใจผิดในประเด็นนี้มากทีเดียว จากการที่ได้อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ชัดเจนที่สุด ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ. ทองย้อย และ คุณผเดิม ด้วยครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 4 มิ.ย. 2554

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทานที่มีผลมากและเสมอกัน มี 2 กาล คือ เมื่อตอนที่ นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส ก่อนทีพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ และ นายจุนทะ ถวายสูกรมัททวะ ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน เป็นทานที่มีผลมากเสมอกันค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
aditap
วันที่ 4 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pamali
วันที่ 7 มิ.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
วิริยะ
วันที่ 9 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 8 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 8 มิ.ย. 2564

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติมจากพระไตรปิฎก...

ประวัตินางสุชาดา เสนียธิดา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
โทน
วันที่ 7 ก.ค. 2564

ในความเห็นที่ 12 ให้ดูประวัตินางสุชาดา เข้าดูไม่ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.ค. 2564

เรียนความเห็น 13 - 17 ครับ

อ.เผดิม ได้ตอบประเด็นที่ท่านสงสัยไว้ชัดเจนแล้วครับ ซึ่งตรงกับข้อความในพระสูตรที่นำมาแสดง ตามลิงค์ในความเห็น 12 ซึ่งเข้าอ่านได้ปกติ ครับ

ประวัตินางสุชาดา เสนียธิดา

หากท่านยังเข้าลิงค์นี้ไม่ได้ โปรดอ่านพระสูตรนี้ในความเห็นถัดไป ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.ค. 2564

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หนาที่ 83

อุบาสิกาบาลี

อรรถกถาวรรคที่ ๗

อรรถกถาสูตรที่ ๑

๑. ประวัตินางสุชาดา เสนียธิดา

อุบาสิกาบาลี สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังตอไปนี้.

ดวยบทวา ปม สรณ คจฺฉนฺตีน ทานแสดงวาธิดาของเสนียะ ชื่อ สุชาดา เปนเลิศกวาพวกอุบาสิกาผูดํารงอยูในสรณะกอนคนอื่นทั้งหมด แมนาง ครั้งพระพุทธเจาพระนามวา ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ตอมา นางฟงธรรมกถาของพระศาสดาเห็น พระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผูหนึ่งไวในตําแหนงเอตทัคคะเปนเลิศกวา พวกอุบาสิกาผูถึงสรณะกอนอุบาสิกาทั้งปวง จึงทํากุศลใหยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตําแหนงนั้น นางเวียนวายอยูในเทวดาและมนุษยถึงแสนกัป บังเกิดในครอบครัวของกุฎมพีชื่อ เสนียะ ณ ตําบลอุรุเวลาเสนานิคม กอนพระศาสดาของเราบังเกิด เจริญวัยแลวไดทําความปรารถนาไว ณ ตนไทร ตนหนึ่งวา ถานางไปมีเหยาเรือนกะคนที่เสมอๆ กัน ไดบุตรชายใน ทองแรก จักทําพลีกรรมประจําป ความปรารถนาของนางก็สําเร็จ

เมื่อพระมหาสัตวทรงทําทุกรกิริยาครบปที่ ๖ ในวันวิสาขปุณณมี นางคิดวา จักทําพลีกรรมแตเชาตรู จึงตื่นขึ้นเวลาใกลรุงแหงราตรี แลวใชใหเขารีดนมโค เหลาลูกโคก็ไมไป ถือเอาเตานมของเหลาแมโคนม พอเอาภาชนะใหมๆ เขาไปรองใกลนม หยาดน้ํามันก็ไหล โดยธรรมดาของคน นางสุชาดาเห็นความอัศจรรยนั้น ก็ถือเอาน้ํานม ดวยมือของตนเองใสภาชนะใหม เริ่มเคี่ยว เมื่อขาวมธุปายาสกําลังเคี่ยวอยู ฟองใหญๆ ก็ผุดขึ้นเวียนขวาไปรอบๆ หยาดมธุปายาสสักหยดหนึ่งก็ไมกระเด็นออกขางนอก ทาวมหาพรหมกั้นฉัตร ทาวโลกบาลทั้ง ๔ ถือพระขรรคตั้งการรักษา ทาวสักกะรวบรวมฟนติดไฟ เหลาเทวดานําโอชะ ใน ๔ ทวีปมาใสในขาวมธุปายาสนั้น ในวันนั้นนั่นเอง นางสุชาดา เห็นขออัศจรรยเหลานี้ จึงเรียกนางปุณณทาสีมา สั่งวา แมปุณณะ วันนี้ เทวดาของเรานาเลื่อมใสเหลือเกิน ตลอดเวลาเทานี้ ขาไมเคยเห็นความ อัศจรรยเห็นปานนี้เลย เจาจงรีบไปปฏิบัติเทวสถาน นางปุณณทาสี รับคํานางวา ดีละแมเจา ขมีขมันรีบไปยังโคนตนไม

ฝายพระโพธิสัตว รอเวลาแสวงหาอาหาร ก็เสด็จไปประทับนั่ง ณ โคนตนไมแตเชาตรู นางปุณณะเดินไปเพื่อจะปดกวาดโคนตนไม ก็มาบอกนางสุชาดาวา เทวดาประทับนั่งอยูโคนตนไมแลว นางสุชาดากลาววา แมมหาจําเริญ ถาเจาพูดจริง เจาก็ไมตองเปนทาสีละ แลวประดับเครื่องประดับทุกอยาง จัดขาวมธุปายาสอยางดีลงในถาดทองมีคาแสนหนึ่ง เอาถาดทองอีกถาดหนึ่งปด แลวหุมหอดวยผาขาว หอยพวงของหอม พวงมาลัยไวรอบๆ ยกขึ้นเดินไป พบพระมหาบุรุษ ก็เกิดปติอยางแรง กมตัวลงตั้งแตสถานที่ๆ พบ ปลงถาดลงจากศีรษะ เปดออกแลววางขาวมธุปายาสพรอมทั้งถาดไวในพระหัตถของพระมหาบุรุษ ไหวแลวกลาววา ขอมโนรถของทานจงสําเร็จเหมือนมโนรถของดิฉันที่สําเร็จแลวเถิด แลวก็หลีกไป

พระโพธิสัตวเสด็จไปยังฝงแมน้ําเนรัญชรา ทรงวางถาดทองไว ริมฝง ลงสรงสนานแลวเสด็จขึ้น ทรงปนเปนกอนได ๔๙ กอน เสวยขาวมธุปายาสแลว ทรงลอยถาดทองลงในแมน้ํา เสด็จขึ้นสูโพธิมัณฑสถาน ตามลําดับ ทรงบรรลุพระสัพพัญุตญาณ ประทับ ณ โพธิมัณฑสถาน ลวงไป ๗ สัปดาห ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ ณ ปาอิสิปตนมิคทายวัน

ทรงเห็นอุปนิสัยของเด็กชื่อ ยสะ บุตรของนางสุชาดา จึงเสด็จไปประทับนั่ง ณ โคนไมตนหนึ่ง แมยสกุลบุตรเห็นนางบําเรอ นอนเปดรางในลําดับตอจากครึ่งราตรี เกิดความสลดใจพูดวา วุนวายหนอ ขัดของหนอ แลวออกจากนิเวศนเดินไปยังสํานักพระศาสดานอก พระนคร ฟงธรรมเทศนาแลวแทงตลอดมรรคผล ๓ ขณะนั้น บิดา ของเขาเดินตามรอยเขาไปเฝาพระผูมีพระภาคเจา ทูลถามเรื่องของยสกุลบุตร

พระศาสดาทรงปกปดยสกุลบุตรไวทรงแสดงธรรม จบเทศนา เศรษฐีคฤหบดีก็ดํารงอยูในพระโสดาปตติผล สวนยสะบรรลุพระอรหัต พระผูมีพระภาคเจาตรัสกะเขาวา จงเปนภิกษุมาเถิด ทันใดนั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถของเขาก็หายไป เขาไดเปนผูทรงบาตรและจีวรสําเร็จดวยฤทธิ์ แมบิดาของทานก็นิมนตพระศาสดา

พระศาสดาทรงมีพระยสกุลบุตรเปนปจฉาสมณะ ติดตามไปขางหลัง เสด็จไปเรือนของเศรษฐีนั้น เสวยภัตตาหารเสร็จแลว ก็ทรงแสดงธรรมโปรด จบเทศนา นางสุชาดา มารดาและภริยาเกาของพระยสะ ก็ดํารงอยูในพระโสดาปตติผล ในวันนั้น นางสุชาดากับหญิงสะใภ ก็ดํารงอยูในเตวาจิกสรณะ คือถึงพระพุทธเจา พระธรรม และพระสงฆ์ ครบ ๓ เปนสรณะ นี้เปนความยอในเรื่องนั้น สวนโดยพิสดาร เรื่องนี้มาแลวในคัมภีรขันธกะ ภายหลัง ตอมา พระศาสดาเมื่อทรงสถาปนาเหลาอุบาสิกาไวในตําแหนงตางๆ ตามลําดับ จึงทรงสถาปนาอุบาสิกาผูนี้ไวในตําแหนงเอตทัคคะเปนเลิศกวา พวกอุบาสิกา ผูถึงสรณะ แล

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.ค. 2564

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม...

เรื่องยสกุลบุตร [มหาขันธกะ]

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ