โลกียะจิต 81 เจตสิก 51 เว้นโลภเจตสิก 1 รูป 28 มีสภาพที่เป็นทุกข์

 
ลุงหมาน
วันที่  4 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18479
อ่าน  3,250

โลกียะจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภเจตสิก1) รูป ๒๘ มีสภาพเป็นทุกข์ ตกอยู่ในสภาพของไตรลักษณ์ทั้งสิ้น

เมื่อมาพิจารณา รูป ๒๘ นั้น เป็นนิปผันนรูป ๑๘ อนิปผันนรูป ๑๐ ที่เป็นข้อคิดนั้น คือ อนิปผันรูป ๑๐ นั้นไม่มีสภาวะของตนเรียกว่าอสภาวรูป การเคลื่อน

ไหวต่างๆ ก็เป็นการเคลื่อนไหวของนิปผันรูปคือ รูปปรมัตถ์แท้ ความเบา ความอ่อน ความควรแก่การงานนั้นก็เป็นของรูปปรมัตถ์แท้ โดยอาศัยรูปปรมัตถ์แท้เกิดไม่มีสภาวะของตัวเอง เป็น

๑. อสภาวรูป คือ รูปที่ไม่สภาวะของตนๆ

๒. อสลักษณะรูป คือ รูปที่ไม่มีลักษณะ อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ

๓. อนิปผันนรูป คือ รูปที่ไม่ได้เกิดขึ้นจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร

๔. อรูปรูป คือ รูปที่ไม่มีการเสื่อมสิ้นสลายไป

๕. อสัมมสนรูป คือ รูปที่พระโยคีบุคคล พิจารณาโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาไม่ได้

เมื่อมาพิจารณาทั้งสองจะมีการขัดกันขึ้นมาทันที ขอรบกวนความคิดเห็น หรือท่านจะอาจมีเหตุผลอื่นๆ อีก


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 4 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น สภาพธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงในชีิวิตประจำวัน ที่สามารถศึกษาและเข้าใจได้นั้น ก็คือ ขณะนี้ ทั้งนามธรรม และ รูปธรรม ไม่พ้นไปจากสิ่งเหล่านี้เลย ไม่ใช่ศึกษาเรื่องอื่น แต่ศึกษาสิ่งที่มีจริงเหล่านี้ เพื่อเข้าใจตามความเป็นจริง เพื่อละคลายความเห็นผิดละคลายความไม่รู้ จากประเด็นคำถามได้ยกขึ้นมาให้พิจารณา นั้น สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจตั้งแต่ต้นที่จะต้องพิจารณา คือ อสภาวรูป อสลักษณรูป อนิปผันนรูป อรูปรูป อสัมมสนรูป ก็คือรูปธรรม นั่นเอง ไม่ใช่นามธรรม แต่เป็นรูปที่ไม่มีลักษณะไม่มีสภาวะเป็นของตนเอง (ซึ่งได้แก่รูป ๑๐ รูป คือ ปริจเฉทรูป,กายวิญญัติรูป วจีวิญญัตติรูป,ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป, อุปจยะ สันตติ ชรตา และ อนิจจตา) เพราะไม่มีสภาวะเป็นของตนเอง เป็นรูปที่อิงอาศัยรูปที่มีสภาวะมีลักษณะเป็นของตนเอง จึงไม่มีลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาเป็นของตน, เพราะเป็นรูปที่อาศัยรูปที่มีลักษณะเป็นของตนเอง ซึ่งมีลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อรูปที่มีลักษณะเป็นของตนเอง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีการเกิดขึ้นและดับไปรูปที่ไม่มีสภาวะเป็นของตนเองซึ่งอิงอาศัยรูปที่มีลักษณะมีสภาวะเป็นของตนเอง จึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เมื่อกล่าวโดยประมวลแล้ว รูปทั้งหมด ๒๘ รูป เป็นทุกขสัจจ์ ครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นได้ที่นี่ ครับ อสภาวรูป อสลักขณรูป อนิปผันนรูป อรูปรูป อสัมมสนรูป

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 4 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ลุงหมาน
วันที่ 4 มิ.ย. 2554

กราบขอบคุณ อ. คำปันมากครับ ที่ช่วยกรุณาอธิบายให้เข้าใจครับ ขอแนะนำตัวหน่อยครับ เพื่อสะดวกต่อการสนทนาต่อไป ผมเองก็ได้ศึกษามาบ้างพอสมควร คือ กำลังศึกษาชั้นมหาอภิธรรมิกเอกที่ มจร. แต่ก็ยังขาดการภาคปฏิบัติ ขาดการตรึก วิจารต่างๆ ในหลายๆ ด้านในเรื่องธรรมะ หรือเรียกว่ายังอ่อนหัด มุ่งแต่ท่องจำเพื่อสอบประจำปีการศึกษา การนำมาใช้ในชีวิตประจำวันยังไม่ได้นำมาใช้เลย ดูแล้วต้องใช้ความพยายามอีกมาก บางครั้งอาจจะมีความเห็นที่แตกต่างออกไปก็ต้องขออภัยนะครับ

ที่ถามนั้นเพื่อประดับความรู้ไม่อยากจะเก็บความสงสัยอะไรให้มาก และจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และผมก็จะพยายามหาความรู้เรื่อยๆ ไปนะครับ ก็อย่าเพิ่งเบื่อคำถามผมเสียก่อน และที่ได้เข้ามาเว็บบ้านธรรมะก็ได้รับคำตอบจากท่านหลายๆ ท่านผู้ทรงความรู้เป็นอย่างดี ต้องขอขอบคุณทุกท่านครับ และก็ได้ความรู้หลายๆ อย่าง ทั้งที่ถามบ้างและได้อ่านจากความเห็นของหลายๆ ท่านบ้าง ซึ่งเป็นประโยชน์กับผมมากเลยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 4 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาคุณลุงหมานด้วยครับ ทีเห็นประโยชน์ในการสนทนาธรรม ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความเข้าใจขึ้น ผมขออนุญาตแนะนำในการศึกษานิดนึงครับ เพื่อเป็นประโยชน์

การศึกษาธรรม ไม่ว่าจะในคัมภีร์ใด ปิฎกใด ประโยชน์คือ เพื่อเข้าใจความจริงขอสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ เพราะสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ทรงแสดงความจริงที่มีในขณะนี้ครับ ดังนั้น การศึกษาธรรมจึงไม่ใช่เป็นไปเพื่อความได้ เพื่อความรู้เยอะ แต่ประโยชน์คือ การเข้าใจความจริงตามที่พระองค์ทรงแสดงว่าขณะนี้เป็นธรรมไม่ใช่เรา ดังนั้น หากคุณลุงหมานกำลังศึกษาธรรมอยู่ ไม่ว่าอ่านเรื่องอะไร ส่วนใดในพระไตรปิฎกก็เพื่อเข้าใจความจริงในขณะนี้ครับ ขอให้เริ่มจากจุดประสงค์ตามที่กล่าวมา เมื่อจุดประสงค์ถูก ไม่ว่าจะไปศึกษาที่ใด ส่วนใดก็น้อมไปในความเห็นถูกครับ ขออนุโมทนาคุณลุงหมานครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ลุงหมาน
วันที่ 5 มิ.ย. 2554

ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่าน

ที่ตอบข้อสงสัยด้วยความเมตตา ขอน้อมรับคำกล่าวติติงเพื่อเตือนทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ลุงหมาน
วันที่ 5 มิ.ย. 2554

อกุศลจิต 12
อเหตุกจิต 18
กามาวจรจิต 24
มหัคคจิต 27

ขออภัยความเห็นบนทำไม่เรียบร้อย แก้ไขไม่ได้ จะแสดงถึง โลกียจิต 81

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
govit2553
วันที่ 6 มิ.ย. 2554

แค่นี้ ก็เห็นถึงพระสัพพัญญู ของพระพุทธเจ้าแล้วครับ

ว่าเลิศล้ำถึงเพียงไหน

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
bsomsuda
วันที่ 6 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 8 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 22 ก.พ. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ