ขันธ์ ๕ ทำไมมีความต่างกัน
รบกวนสอบถามครับ เนื่องจากอ่านในหัวข้อสนทนา
006627 เรื่องขันธ์ ๕ ส่วนของ ปกิณณกธรรม ครับ
รูปขันธ์ ได้แก่ รูปทุกรูป รูปทุกชนิด ทุกประเภท เวทนาขันธ์ ได้แก่ เวทนาเจตสิก (ความรู้สึกสุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เฉยๆ ) ๑ ดวง สัญญาขันธ์ ได้แก่ สัญญาเจตสิก (ความจำหมายรู้อารมณ์) ๑ ดวง สังขารขันธ์ ได้แก่ เจตสิก ๕๐ ดวง (เว้นเวทนาเจตสิก และสัญญาเจตสิก) วิญญาณขันธ์ ได้แก่ จิตทุกดวง
รูปขันธ์ ที่มี ดิน น้ำ ไฟ ลม ทำไมไม่เหมือนกับ ส่วนนี้แหละครับ
หรือ เป็นอีกหนึ่งนัย
กราบขอบพระคุณในความกรุณาที่ดีเยี่ยม เหมือนเช่นเดิมมาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย เป็นปรมัตถธรรม
เป็นขันธ์ ๑ ขันธ์ ในบรรดาขันธ์ ๕ คือเป็นรูปขันธ์ เป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนสัตว์บุคคล รูปธรรมเมื่อจำแนกแล้ว มีทั้งหมด ๒๘ รูป ดังนั้นรูปขันธ์ หมายรวมทุกรูป คือ 28 รูป ซึ่งรูปอธิบายได้หลายนัยครับ นัยหนึ่ง
รูปแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ มหาภูตรูป 4 และอุปาทายรูป 24 รวมเป็น 28 รูป เป็น
รูปขันธ์
มหาภูตรูป คือ สภาพที่เกิดขึ้นมีอยู่โดยความเป็นใหญ่เป็นประธาน และเป็นที่
อาศัยของอุปาทายรูป (รูปที่อาศัยมหาภูตรูป) ก็ประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลมและไฟ
ด้วย เรียกว่ามหาภูตรูป 4 อันเป็นรูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน อุปาทายรูป คือ รูปที่เข้าไปอาศัยมหาภูตรูป หมายถึง รูป ๒๔ รูป นอกเหนือจาก
มหาภูตรูป ๔ ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นเองตามลำพังได้ จะต้องอาศัยมหาภูตรูปเกิดพร้อม
กัน มหาภูตรูป ๔ จึงเป็นที่อาศัยของอุปาทายรูป ๒๔ มี อุปาทายรูป มี สี กลิ่น รส
โอชา เป็นต้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการแสดงในเรื่องรูปขันธ์จึงแสดงได้หลายนัย เพราะฉะนั้นรูปขันธ์
คือ รูปทุกรูป รวมทั้งมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมด้วยครับ และอุปาทายรูป 24
รวมเป็นรูป 28 นั่นเอง เป็นรูปขันธ์ ขออนุโมทนา
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ
รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป เป็นมหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๒๔
มหาภูตรูปเป็นที่อาศัยของอุปาทายรูป
มหาภูตรูป
รูปทั้งหลายในร่างกายของ สัตว์ บุคคล
ความจริงแห่งชีวิต...ตอนที่ ๘ รูปปรมัตถ์
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
เหตุเพราะความไม่ละเอียดในคำของ "อรรถกถา" จึงเข้าใจไม่ละเอียดและ ทำให้เข้าใจ
คลาดเคลื่อน ขอบพระคุณอีกหลายๆ ครั้งครับการเข้าใจครั้งนี้มีผลมากครับ เพราะจะ
สนทนาธรรมกับ คุณพ่อกะคุณแม่และ ญาติๆ ด้วยครับ
ในหนึ่งกลาปจะต้องมีอวินิโภครูป 8 รูป ซึ่งแยกขาดจากกันไม่ได้ ประกอบด้วย
ดิน น้ำ ลม ไฟ สี กลิ่น รส โอชา เพราะฉะนั้นรูปขันธ์ จึงไม่ใช่มี
แค่เพียง ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้นค่ะ
ขอขอบพระคุณ คุณผเดิม ลุงหมาน กะ พี่พรรณีมากเลยครับ
และ ขออนุโมทนาจิตเมตตา กรุณา ต่อผม
ขอนอมน้อมแด่พระผู้มีพระภาค พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพียงกระดาษแผ่นเดียวที่ลุงหมานอนุเคราะห์
และ คำเสริมเรื่องอวินิพโภครูป พี่วรรณี
รู้เพิ่มเติมขึ้นครับ สำหรับทำมัยทุกท่านถึง นอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้ามากมาย
ข้อมูลแค่นี้ก็ยากที่สุดที่จะเข้าใจ พระพุทธเจ้าทรงทราบได้งัย
สมแล้ว งามแล้ว พร้อมแล้ว
สาธุ รู้แค่นี้ยังปีติเลย
และถ้าเข้าใจคำสอนฯ ขั้นประจักษ์ ก็คงไม่ต้องกล่าวอะไรกันมาก
สาธุ
ตามที่ลุงหมานลงแผนภูมิประกอบ รูป 28 มาด้วยก็ขอขอบคุณมากครับ แต่ผมอยากได้ข้อมูลเพิ่มใน ข้อย่อยของแผนภูมิคือ สมุฏฐาน 4 มี กรรม 18 จิต 15 อุตุ13 และอาหาร 12
ว่า เช่นกรรม 18 มีอะไรบ้าง เป็นต้น ขอขอบคุณครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เรียน ความคิดเห็นที่ ๘ (คุณ natre) ครับ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้สรุปเรื่องรูปแต่ละรูป เกิดจากสมุฏฐานต่างๆ ไว้ดังนี้ (ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป จิตต-สังเขป ได้ หรือ สามารถโหลดอ่านจากเว็ปไซต์นี้ ตั้งแต่หน้า ๔๐๕ เป็นต้นไป) รวมรูปแต่ละรูปเกิดจากสมุฏฐานใดสมุฏฐานหนึ่งใน ๔ สมุฏฐาน ดังนี้ คือ
อวินิพโภครูป ๘ เกิดได้จากสมุฏฐาน ๔ คือ
บางกลาป (กลาป = กลุ่ม) ก็มีกรรมเป็นสมุฏฐาน
บางกลาปก็มีจิตเป็นสมุฏฐาน
บางกลาปก็มีอุตุเป็นสมุฏฐาน
บางกลาปก็มีอาหารเป็นสมุฏฐาน
ปสาทรูป ๕ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น
ภาวรูป ๒ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น
หทยรูป ๑ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น
ชีวิตินทริยรูป ๑ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น
วิการรูป ๓ เกิดจากสมุฏฐาน ๓ คือ
บางกลาปเกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน
บางกลาปเกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐาน
บางกลาปเกิดจากอาหารเป็นสมุฏฐาน
วิญญัติรูป ๒ เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานเท่านั้น
สัททรูป ๑ เกิดจากสมุฏฐาน ๒ คือ
บางกลาปเกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน
บางกลาปเกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐาน
ปริจเฉทรูป ๑ เกิดจากสมุฏฐาน ๔ คือ
เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน เมื่อคั่นระหว่าง
กลาปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน
เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน เมื่อคั่นระหว่าง
กลาปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน
เกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐาน เมื่อคั่นระหว่าง
กลาปที่เกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐาน
เกิดจากอาหารเป็นสมุฏฐาน เมื่อคั่นระหว่าง
กลาปที่เกิดจากอาหารเป็นสมุฏฐาน
ลักขณรูป ๔ ไม่เกิดจากสมุฏฐานใดเลย เพราะเป็นเพียงลักษณะ-
อาการของสภาวรูป ๑๘ รูป ...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ตามที่ลุงหมานลงแผนภูมิประกอบ รูป 28 มาด้วยก็ขอขอบคุณมากครับ แต่ผมอยากได้ข้อมูลเพิ่มใน ข้อย่อยของแผนภูมิคือ สมุฏฐาน 4 มี กรรม 18 จิต 15 อุตุ13 และอาหาร 12
ว่า เช่นกรรม 18 มีอะไรบ้าง เป็นต้น ขอขอบคุณครับ
ลองสังเกตในภาพให้ดี เขาจะทำเครื่องหมายลักษณะของสีต่างกัน ดูตรงสมุฏฐาน 4
กรรม 18 จะมีสีแดง จิต 15 สีเหลือง อุตุ 13 สีชมพู อาหาร 12 สีฟ้า เมื่อสังเกตรู้แล้วก็
ลองกลับมานับในรูป 28 ตามสีนั้นตรงกันไหมตรงขอบของดวง บางดวงจะประกอบด้วย
สมุฏฐาน 4 บางดวงสมุฏฐาน 3 บางดวงสมุฏฐาน 2 บางดวงสมุฏฐาน 1 ลักขณะรูป 4
ไม่มีสมุฏฐานใดๆ เลย (ให้สังเกตุดูและนับตามสี)