ปฐมฉันทสูตร เป็นต้น ... วันเสาร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔

 
มศพ.
วันที่  18 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18576
อ่าน  1,842

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สนทนาธรรมที่

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (ม.ศ.พ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ วันเสาร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๑๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

สัฏฐิเปยยาลวรรคที่ ๒

๑. ปฐมฉันทสูตร (ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่ไม่เที่ยง)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๐๗

(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ในวันอาทิตย์ที่ ๖ มี.ค. ๒๕๕๔)

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๐๗

สัฏฐิเปยยาลวรรคที่ ๒ ๑. ปฐมฉันทสูตร (ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่ไม่เที่ยง)

[๒๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละฉันทะในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยงเธอทั้งหลายพึงละฉันทะในจักษุนั้นเสีย หูไม่เที่ยง จมูกไม่เที่ยง ลิ้นไม่เที่ยง กายไม่เที่ยง ใจไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในใจนั้นเสียดู ก่อนภิกษุทั้งหลายสิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ปฐมฉันทสูตรที่ ๑

๒. ปฐมราคสูตร (ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่ไม่เที่ยง)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจักษุไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในจักษุนั้นเสีย หูไม่เที่ยง จมูกไม่เที่ยง ลิ้นไม่เที่ยง กายไม่เที่ยง ใจ ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ราคสูตรที่ ๒

๓. ปฐมฉันทราคสูตร (ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่ไม่เที่ยง)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในจักษุนั้นเสีย หูไม่เที่ยงจมูกไม่เที่ยง ลิ้นไม่เที่ยง กายไม่เที่ยง ใจไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละฉันทราคะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ปฐมฉันทราคสูตรที่ ๓

๔. ทุติยฉันทสูตร (ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นทุกข์)

[๒๕๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในจักษุนั้น หูเป็นทุกข์ จมูกเป็นทุกข์ ลิ้นเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ทุติยฉันทสูตรที่ ๔

๕. ทุติยราคสูตร (ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจักษุเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในจักษุนั้นเสีย หูเป็นทุกข์ จมูกเป็นทุกข์ ลิ้นเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละราคะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ทุติยราคสูตรที่ ๕

๖. ทุติยฉันทราคสูตร (ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจักษุเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในจักษุนั้นเสีย หูเป็นทุกข์ จมูกเป็นทุกข์ ลิ้นเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์ เธอทั้งหลาย พึงละฉันทราคะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ทุติยฉันทราคสูตรที่ ๖

๗. ตติยฉันทสูตร (ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนัตตา)

[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละฉันทะในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในจักษุนั้นเสีย หูเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละฉันทะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ตติยฉันทสูตรที่ ๗

๘. ตติยราคสูตร (ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละราคะในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ เป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละราคะโนจักษุนั้นเสีย หูเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตาเธอทั้งหลายพึงละราคะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตาเธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ตติยราคสูตรที่ ๘

๙. ตติยฉันทราคสูตร (ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ ในสิ่งนั้นเสียดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่า เป็นอนัตตา. ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละฉันทราคะในจักษุนั้นเสีย หูเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา ใจเป็น อนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ตติยฉันทราคสูตรที่ ๙.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 18 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ข้อความโดยสรุป ปฐมฉันทสูตร เป็นต้น --------------------------------------------- ปฐมฉันทสูตร - ปฐมราคสูตร - ปฐมฉันทราคสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อประโยชน์แก่การละฉันทะ ละราคะ ละฉันทราคะในสิ่งที่ไม่เที่ยง ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ
ทุติยฉันทสูตร - ทุติยราคสูตร - ทุติยฉันทราคสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อประโยชน์แก่การละฉันทะละราคะ ละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์ ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ
ตติยฉันทสูตร - ตติยราคสูตร - ตติยฉันทราคสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อประโยชน์แก่การละฉันทะ ละราคะ ละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ หมายเหตุ..ในสัฏฐิเปยยาลวรรคที่ ๒ นี้ มีทั้งหมด ๖๐ พระสูตร (สัฏฐิ แปลว่า ๖๐) ในอรรถกถาแสดงไว้ว่า เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแต่ละพระสูตรจบลง มีพระภิกษุได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระสูตรละ ๖๐ รูป. ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นได้ที่นี่ ครับ อยากทราบว่า อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา มีความหมายว่าอะไรครับ อนิจฺจํ - ทุกฺขํ [ราหุลสังยุต]
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฉันทะและตัณหา ราคะ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 18 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nong
วันที่ 19 มิ.ย. 2554

ลึกซึ้งและยาก... ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
orawan.c
วันที่ 20 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
มกร
วันที่ 22 มิ.ย. 2554
กราบอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paew_int
วันที่ 23 มิ.ย. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
หลานตาจอน
วันที่ 24 มิ.ย. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 24 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์คำปันมากครับ

และขออนุญาตเรียนสอบถามเพิ่มเติมครับว่า "ฉันทราคะ" มีความหมายอย่างไรครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 24 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ

ฉันทราคะในที่นี้ มุ่งหมายถึงโลภะจตสิก คือความติดข้อง นั่นเองครับอันเป็นกิเลสกาม

ไม่ได้หมายถึงฉันทะเจตสิกที่เป็นความพอใจ ใคร่ที่จะทำ ทีเ่กิดกับกุศลหรือ อกุศลก็ได้

ครับ ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงฉันทราคะ พระองค์แสดงว่า เธอควรละฉันทราคะ คือ ความติด

ข้อง ในสภาพธรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็อนัตตา ในสภาพธรรม เช่น จักษุ ตา เป็นต้น

คือ ละความติดข้อง ฉันทราคะ ใน ตา หู จมูก ...ใจ เป็นต้นครับ ด้วยปัญญา ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
khampan.a
วันที่ 24 มิ.ย. 2554

เรียน ความคิดเห็นที่ ๘ เพิ่มเติมอีกนิด ต่อจากคุณผเดิม ครับ โดยศัพท์แล้ว ฉันทราคะ หมายถึง ความติดข้องด้วยอำนาจแห่งความยินดีพอใจเพราะเหตุว่า โลภะ ซึ่งเป็นความติดข้องนั้นมีหลายชื่อ แต่สภาพธรรม ไม่เปลี่ยน เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น และที่สำคัญ ทุกครั้งที่ราคะหรือโลภะ เกิด จะต้องมีฉันทะ ซึ่งเป็นความพอใจ เกิดร่วมด้วยทุกครั้ง เนื่องจากว่า ฉันทะ เป็นปกิณณก-เจตสิก เกิดร่วมกับจิตได้ทุกชาติ ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นจิตประเภทใด ถ้าฉันทะเกิดร่วมกับกุศลจิต ก็เป็นฉันทะในทางกุศล แต่ถ้าเกิดร่วมกับอกุศลจิต ก็เป็นฉันทะในทางอกุศล อย่างเช่น ความติดข้องในสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ตามข้อความที่ปรากฏในพระสูตร ที่จะต้องละด้วยการอบรมเจริญปัญญาจนกระทั่งถึงโลกุตตรปัญญา ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณจักรกฤษณ์,คุณผเดิม และ ทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 24 มิ.ย. 2554
กราบขอบคุณ และ ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 25 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ผิน
วันที่ 25 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ