อะไรคือเหตุใกล้ ของสติ?

 
apitum
วันที่  19 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18584
อ่าน  2,054
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 19 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย สติเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นเจตสิกฝ่ายดี ทำหน้าที่ระลึก ดังนั้นสติเกิดกับกุศลจิต

ทุกประเภท ส่วนคำถามที่ถามหมายถึง สติ ที่เป็นสติปัฏฐาน อันเป็นสติขั้นวิปัสสนา

ภาวนา ซึ่งธรรมทั้งหลายมีเหตุจึงเกิดขึ้น สติที่เป็นสติปัฏฐานก็มีเหตุให้เกิดขึ้นเช่นกัน

การฟังพระธรรม ให้เข้าใจในเรื่องของสภาพธรรม จนมั่นคง ย่อมเป็นปัจจัยให้สติ

ปัฏฐานเกิด ซึ่งไม่ใช่แค่สติเท่านั้นที่เกิดขึ้น รวมทั้งปัญญาด้วยที่เกิดพร้อมสติ ดังนั้น

สติและปัญญาจะเกิดรู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ที่เป็น

สติปัฏฐาน ก็ต้องเริ่มจากเบื้องต้น คือ การฟังพระธรรมให้เข้าใจในเรื่องสภาพธรรม

เพราะต้องการู้ความจริงของธรรม แต่ถ้ายังไม่เข้าใจว่าธรรมคืออะไร ก็ไม่มีทางที่สติจะ

ไปรู้ตัวธรรมได้เลยครับ เพราไม่มีความเข้าใจเบื้องต้น ซึ่งในพระไตรปิฎกแสดงเหตุให้

เกิดสติ คือ สัญญาที่มั่นคง ความจำที่มั่นคง ซึ่งหมายถึง ความจำในเรื่องของสภาพ

ธรรมที่มีจริงในขณะนี้ อันอาศัยการฟังพระธรรม แค่จำชื่อใช่ไหม ไม่ใช่ครับ เพราะ

สภาพธรรมแต่ละอย่างเมื่อเกิดขึ้นจะต้องมีเจตสิกอื่นๆ เกิดร่วมด้วยครับ ดังนั้นไม่ใช่

เพียงจำ ที่เป็นสัญญาเท่านั้น ต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วยในขณะนั้น จึงกล่าวได้ว่า

สัญญาที่มั่นคง หรือความจำที่มั่นคงพร้อมๆ กับความเข้าใจที่เกิดขึ้นด้วยครับ จึงเป็น

เหตุให้สติปัฏฐานเกิดครับ ขณะที่ฟังพระธรรมเข้าใจ ในเรื่องสภาพธรรม ขณะนั้นจำ

พร้อมความเข้าใจธรรม แต่ต้องฟังบ่อยๆ จำและเข้าใจบ่อยๆ จนในที่สุดก็จะเป็นเหตุ

ให้เกิดสติปัฏฐานคัรบ

การฝึกสติ ไม่มีเราที่ฝึกแต่เป็นธรรมทีเกิดขึ้นปรุงแต่ง นั่นคือ ขณะที่ฟังเข้าใจ

ปัญญาเกิดจากการฟัง ขณะนั้นก็กำลังฝึกแล้ว ไม่ต้องไปมีเราที่จะพยายามฝึกเลย

ครับเพราะขณะที่เข้าใจทีละน้อยจากการฟังก็ค่อยฝึกจนให้สติเกิดครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 19 มิ.ย. 2554

ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ สุจริต 3 คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เป็น

ปัจจัยแต่สติ กุศลทุกอย่างเกื้อกูลกันและเป็นปัจจัยให้สติเกิด การคบหากับสัตบุรุษ

การฟังธรรมของสัตบุรุษ การพิจารณาโดยแยบคาย ฯลฯ เป็นปัจจัยให้สติเกิดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ลุงหมาน
วันที่ 19 มิ.ย. 2554

แสดงลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ของสติเจตสิก คือ -

อปิลาปนลกฺขณา วา อนุสฺสรณลกฺขณา = มีการที่ใจไม่เลื่อนลอยไปเป็นลักษณะ หรือ

มีการระลึกได้อยู่เสมอเป็นลักษณะ

อสมฺโมหรสา = มีการไม่หลงลืมในคุณของพระรัตนตรัย บิดามารดา ครูบาอาจารย์

รูปนามเป็นกิจ

อารกฺขปจฺจุปฺปฏฺฐานา = มีการรักษาอารมณ์ไว้ไม่ให้ออกไปจากจิตเป็นอาการปรากฎ

ถิรสญฺญาปทฎฺฐานา วา สติปฏฺฐานา = มีความจำที่มั่นคงเป็นเหตุใกล้ หรือ มี สติ

ปัฏฐานทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nong
วันที่ 20 มิ.ย. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วิริยะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pamali
วันที่ 20 มิ.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
raynu.p
วันที่ 21 มิ.ย. 2554
กราบอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
พรรณี
วันที่ 22 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
apitum
วันที่ 15 ม.ค. 2555

การเจริญสติปัฐาน โดยไม่เจริญสมถะควบคู่กันไป จะกล่าวว่าจะทำให้

การเจริญสติปัฐานไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เพราะว่ากุศลจิตและปัญญาเกิดขึ้นชั่วขณะสั้นๆ

ไม่สามารถแทงตลอดได้ ซึ่งเทียบกับบุคลที่มีสมาธิดี ขั้นอุปจาร หรืออัปปมา

จะเจริญสติปัฐานได้ดีกว่ามาก ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ช่วยโต้แย้งด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ