ถ้าเห็นแล้วเป็นอกุศล หลับดีกว่า
สวัสดีค่ะ ดิฉันฟังแผ่น ท่านอาจารย์สุจินต์ บรรยายว่า ถ้าเห็นแล้วเป็นอกุศล หลับดี
กว่า ดิฉันขอความกรุณา ท่านผู้รู้ กรุณาอธิบาย อย่างละเอียด เพราะว่า ดิฉัน เป็นคนที่
ชอบนอนเยอะน่ะค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง มีหลายหลายนัย แสดงตามความเป็นจริงของ
สภาพธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ เป็นต้นครับ
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนครับว่า สภาพธรรมทีเป็นจิต มี 4 ประเภท คือ กุศลจิต อกุศล
จิต วิบากจิต (ผลของกรรม) และกิริยาจิต
สำหรับสภาพธรรมทีไม่ดี มีโทษเพราะมีสภาพธรรมที่ไม่ดี คือ เจตสิกที่ไม่ดี มีโลภะ
โทสะเกิดร่วมด้วย จึงเป็นจิตที่มีโทษ ไม่เป็นประโยชน์กับตัวเองและผู้อื่นเมื่อเกิดขึ้น
ครับ นั่นคือ สภาพธรรมที่เป็น จิต ประเภท อกุศลจิต ซึ่งอกุศลจิตไม่ดี ส่วนสภาพ
ธรรมที่เป็นวิบากที่เป็นผลของกรรม ทีเป็น จิต เจตสิก ขณะที่หลับนั้นเป็นจิตชาติ
วิบาก เป็นผลของกรรม เรียกว่า ภวังคจิต คือ จิตที่ ทำกิจดำรงภพชาติ หลังจากเกิด
จนถึงก่อนตาย ในขณะที่ไม่มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การกระทบ
สัมผัสทางกาย และการคิดนึกทางใจ เช่น ในขณะที่หลับสนิท ดังนั้นขณะที่หลับสนิท
จิตไม่เป็นอกุศลเลยในขณะนั้น จึงไม่มีโทษในขณะนั้นเพราะไม่เป็นอกุศล
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ... ขณะหลับสนิทเป็นภวังคจิต
ดังนั้นพระธรรมที่แสดงว่า ถ้าเห็นเป็นอกุศล หลับเสียดีกว่า ก็คือ เพราะขณะที่เป็น
อกุศลมีโทษ เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี เมื่อเกิดขึ้นกับจิตของผู้นั้น ดังนั้นเมื่อเทียบสภาพ
ธรรมแล้ว ขณะที่หลับเป็นภวังคจิต เป็นชาติวิบากทีเป็นผลของกรรม จึงไม่มีโทษ คือ
ไม่เป็นอกุศลเลยในขณะหลับ ดังนั้น จึงเป็นการแสดงธรรมโดยนัยเปรียบเทียบว่า
ถ้าเห็นแล้วเป็นอกุศล (อกุศลไม่ดี) หลับเสียดีกว่า หมายถึง การหลับยังดีกว่า การที่จะ
เป็นอกุศลครับ เพราะหลับไมได้เป็นอกุศลนั่นเองครับ
แต่ไมได้หมายความว่า เมื่อเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัสเป็นอกุศลแล้ว
ก็ไปนอนเลย ไม่ใช่อย่างนั้นครับ เพียงแต่เป็นการเปรียบเทียบ สภาพธรรมแต่ละอย่างที
มีโทษและไม่มีโทษ นั่นคือ อกุศลมีโทษ ส่วนวิบากไม่มีโทษ เพราะไม่นำมาซึ่งสิ่งไม่
ดี เพราะเป็นเพียงผลของกรรมครับ จึงเป็นการเปรียบเทียบนั่นเองครับ ถ้าเห็นเป็น
อกุศล หลับเสียดีกว่า การหลับ ดีกว่าการเป็นอกุศล เพราะสภาพธรรมแตกต่างกันครับ
ในชีวิตประจำวันของปุถุชน ส่วนใหญ่จิตเป็นอะไรครับ คือ เป็นอกุศลส่วนใหญ่ คือเมื่อ
เห็นก็เป็นอกุศลแล้ว โดยไม่รู้ตัว ได้กลิ่น ลิ้มรส...ดับไปก็จิตเป็นอกุศลเป็นส่วนใหญ่ จึง
ไม่ใช่เมื่อเป็นอกุศลแล้วก็ไปนอนเลย แต่พระธรรมที่พระองค์แสดงยังละอียด เปรียบ
เทียบลึกซึ้งไปอีกว่า หากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลที่เป็นอยู่นั้น การหลับเรากล่าวว่า
เป็นหมันในพระธรรมวินัยนี้ หมายถึง ไม่นำมาซึ่งความเจริญงอกงามเลยครับ เพราะขณะ
ที่หลับ ไม่สามารถเจริญกุศล ไม่สามารถอบรมเจริญปัญญาได้ ดังนั้นการหลับจึงเป็น
โทษเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับสภาพธรรมที่เป็นกุศล เพราะการตื่น ก็สามารถอบรม
ปัญญา สามารถเจริญกุศลประการต่างๆ ได้ครับ การหลับพระพุทธองค์จึงทรงแสดงว่ามี
โทษเพราะทำให้เสื่อมจากความเจริญขึ้นของกุศลธรรมและปัญญา เพราะไมได้อบรม
ปัญญานั่นเองครับ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑- หน้าที่ 359
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหลับยังดีกว่า (อกุศล) แต่เรากล่าวความหลับว่า
เป็นหมันไร้ผล เป็นความงมงาย ของคนที่เป็นอยู่ ตนลุอำนาจของวิตก
เช่นใดแล้ว พึงทำลายหมู่ให้แตกกันได้ ก็ไม่ควรตรึกถึงวิตกเช่นนั้นเลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นความเป็นหมัน (การหลับ) อันนี้แลว่าเป็น
อาทีนพ (โทษ) ของคนที่เป็นอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้
พระธรรมที่พระองค์แสดงยังแสดงว่า ความเป็นผู้ยินดีในการหลับ ก็เป็นธรรมที่ทำให้
เสื่อมจากคุณธรรมที่ดี เช่นกันเพราะแทนที่จะมีเวลาและเห็นประโยชน์ของการตื่นที่ได้
อบรมปัญญา เจริญกุศล แต่ขณะที่ยินดีในการหลับ ก็เท่ากับยินดีในการที่ไม่เจริญกุศล
ไม่เห็นประโยชน์ของการตื่น มีเวลาที่จะอบรมปัญญานั่นองครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ในเรื่องการเป็นผู้ยินดีในการหลับครับ
ดังนั้นในชีวิปตระจำวันก็มีอกุศลเกิดเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ผู้ที่สะสมความเห็นถูกในพระ
พุทธศาสนามาก็สะสมกุศลธรรมและปัญญาได้ แม้ส่วนใหญ่เป็นอกุศลบ้าง แต่ก็นับ
ว่าเป็นประโยชน์หากตื่นด้วยการเจริญกุศลแะอบรมปัญญาในบางขณะ เพราะขณะที่
หลับไม่สามารถเจริญกุศลและอบรมปัญญาได้เลยครับ ใช้เวลาที่เหลือน้อยให้เป็น
ประโยชน์ก็เท่ากับว่าเป็นผู้ไม่ประมาทในการอบรมปัญญา ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษา
พระธรรม เจริญกุศลตามเวลาและโอกาสครับ ขออนุโมทนา
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขณะที่หลับสนิท เป็นภวังคจิต เป็นวิบากจิตที่เกิดขึ้นทำกิจดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้ไว้ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่ได้รู้สิ่งที่กระทำสัมผัสกาย ไม่ได้คิดนึก ไม่ได้เป็นกุศล ไม่ได้เป็นอกุศล ใดๆ เลย และที่น่าพิจารณา คือขณะที่หลับสนิท กุศลไม่เกิดขึ้น บุญไม่เจริญ, ในชีวิตประจำวัน หลัง เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น เป็นต้น สภาพจิตที่เกิดขึ้นต่อจากนั้น ขึ้นอยู่กับการสะสมของแต่ละบุคคล กุศลจิต หรือ อกุศลจิต? นี้เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา เพราะเหตุว่าปกติ หลังจากที่ได้รับผลของกรรม ไม่ว่าจะเป็น กุศลวิบาก คือ ได้รับอารมณ์ที่น่าพอใจ หรือ เป็นอกุศลวิบาก คือ ได้รับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ หลังจากนั้นแล้ว โดยมากจิตเป็นอกุศลหวั่นไหวไปแล้วด้วยอำนาจของกิเลส มีโลภะโทสะ โมหะ เป็นต้น โดยที่ไม่รู้ตัวเลย เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นเลยว่า อกุศลจิตของเรานั้นเกิดมากมายแค่ไหน เพราะไม่ว่าจิตจะมีอารมณ์ใดมากระทบ ทั้งที่ดี และที่ไม่ดี จิตของเราก็เป็นอกุศล เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมโดยละเอียด ก็จะไม่มีทางรู้อย่างนี้ได้เลย เพราะฉะนั้น จึงต้องฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เพื่อจะได้ทราบว่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำรัสเตือนอยู่บ่อยๆ เนืองๆ อย่างนี้ ก็เพื่อให้ผู้ฟัง ผู้ศึกษาได้เข้าใจตนเอง ให้รู้ว่าขณะนั้นจิตเป็นอกุศล หรือ จิตเป็นกุศล และจะรู้อย่างนี้ได้ ต้องรู้ได้ในขณะที่ไม่หลับ นั่นเอง การรู้อย่างนี้จะเป็นหนทางที่จะดับอกุศลได้
การฟังพระธรรมให้เข้าใจและเห็นโทษของอกุศล จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะทำให้กุศลจิตเกิดได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่เห็นโทษของอกุศลจิต ก็จะเดือดร้อนเพราะอกุศลจิตที่เกิดขึ้น และจะพอกพูนอกุศลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า กุศลจิต เกิดขึ้นได้ตามเหตุปัจจัย โดยอาศัยความเข้าใจ และ การเห็นโทษของอกุศล ที่เกิดจากได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวัน เพราะถ้ายังไม่เห็นโทษของอกุศล ก็ยังละอกุศลไม่ได้ และถ้ายังไม่เข้าใจ ก็หมายความว่า ยังไม่เห็นโทษของอกุศล อยู่นั่นเอง จึงควรอย่างยิ่งที่จะได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญาไปตามลำดับ เพื่อละความไม่รู้ เพื่อเห็นโทษของอกุศลตามความเป็นจริง และเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ต่อไป เป็นคนดี ควบคู่ไปกับการฟังพระธรรมให้เข้าใจ ครับ . ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...