พระ-เณร Download โปรแกรมแล้วใช้ Keygen หรือ Crack ต้องอาบัติหรือเปล่า .

 
แดนกระจ่าง
วันที่  21 ส.ค. 2554
หมายเลข  19541
อ่าน  7,119

1. โปรแกรมที่ถูกคัดลอกมา อย่างเช่นวินโดว์เถื่อน หรือโปรแกรมที่มีการเจาะข้อมูลให้สามารถใช้ได้โดยปลอมแปลงหรือดัดแปลง ทำโปรแกรมที่ต้องเสียลิขสิทธิ์ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน มาใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอะไร การที่ดาว์โหลดมาจากHacker คือผู้ปล่อยให้ดาว์โหลด อย่างนี้พระ-เณร ต้องอาบัติปาราชิกไหม รู้ทั้งรู้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์แต่ก็กระทำการโหลด * แต่ไม่ได้โหลดมาจากเจ้าของตัวจริง แต่เป็นการโหลดมาจากHackerคือโจนกรรมบนอินเตอร์เน็ต อย่างนี้จะวินิจฉัยอย่างไร

2. การที่พระเณรไปเล่นเกมส์ที่ต้องฆ่ากันเช่นเกมส์ยิงปืนฆ่ากัน อย่างนี้ก็ต้องอาบัติปาราชิกเหมือนกันหรือเปล่า ถึงแม้จะไม่มีชีวิตจริง แต่ก็เป็นการสมมติชีวิตมีไถยจิตคิดจะฆ่า ลงมือฆ่าด้วยเจตนา ฆ่าสำเร็จ อย่างนี้ต้องอาบัติปาราชิกเพราะเล่นเกมส์อันตรายๆ อย่างนี้หรือไม่

3. การหยิบยืมของผู้อื่นโดยไม่มีเจตนาที่จะขโมย แต่ลืมให้คืน จนของนั้นผ่านเวลามานานต้องอาบัติอะไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 21 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

1. โปรแกรมที่ถูกคัดลอกมา อย่าง เช่นวินโดว์เถื่อน หรือโปรแกรมที่มีการเจาะข้อมูลให้สามารถใช้ได้โดยปลอมแปลงหรือดัดแปลง ทำโปรแกรมที่ต้องเสียลิขสิทธิ์ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน มาใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอะไร การที่ดาว์โหลดมาจาก Hacker คือผู้ปล่อยให้ดาว์โหลด อย่างนี้พระเณร ต้องอาบัติปาราชิกไหม รู้ทั้งรู้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์แต่ก็กระทำการโหลด * แต่ไม่ได้โหลดมาจากเจ้าของตัวจริง แต่เป็นการโหลดมาจาก Hacker คือโจiกรรมบนอินเตอร์เน็ต อย่างนี้จะวินิจฉัยอย่างไร

ภิกษุมี จิตคิดจะขโมยของที่มูลค่าเท่ากับ ๕ มาสกหรือมากกว่าและมีการขโมย สำเร็จ มีการให้เคลื่อนออกไปจากฐาน ถ้าเป็นวัตถุ เป็นอาบัติปาราชิก ดังนั้นเราก็จะต้องเข้าใจก่อนว่า ของราคา ๕ มาสก นั้นมีราคาเท่าไหร่ เพราะถ้าราคาต่ำกว่า ๕ มาสก ไม่เป็นอาบัติปาราชิกครับ

คำว่า มาสก เป็นคำเรียกเงินตราที่ใช้ในอินเดียสมัยครั้งพุทธกาล ในพระวินัยปิฎก อทินนาทานสิกขาบท ทรงปรับอาบัติปาราชิก แก่พระภิกษุที่ขโมยสิ่งของมูลค่า ตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ซึ่งคำว่า ๕ มาสกในยุดนั้น มีมูลค่าเท่าไหร่ ก็เป็นปัญหาของพระวินัยธร ที่ยากจะวินิฉัยว่าเป็นเงินกี่บาทในยุคนี้ ซึ่งในอรรถกถาและฎีกา ท่านก็มีหลักเทียบดังนี้ มูลค่าทองคำ น้ำหนักเท่ากับ ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก

ซึ่งมูลค่าของทองคำในแต่ละยุคย่อมเปลี่ยนไปตามราคาตลาดที่เขาซื้อขายกัน ณ ปัจจุบัน (21 ส.ค. 2554) ราคาประมาณกรัมละ ๑๗๐๐ บาท ข้าวเปลือก ๒๐ เมล็ด มีน้ำหนัก ๐.๕๖ กรัม ทองคำ ๐.๕๖ กรัม มีมูลค่า ประมาณ ๘๕๐ บาท ดังนั้นมูลค่าเงิน ๕ มาสกในยุคนี้อันเป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก เป็นจำนวนเงิน ประมาณ ๘๕๐ บาท การตีความดังกล่าวนี้อาศัยหลักของอรรถกถาและฎีกา ที่ท่านสืบทอดพระวินัยมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาลครับ

ดังนั้น การมีเจตนาดาวโหลดขโมยลิขสิทธิ์โปรแกรมทั้งๆ ที่รู้อยู่ ซึ่งลิขสิทธิ์โปรแกรมวินโดว์ xp ในปัจจุบันราคาประมาณ ๑๕๐๐ บาท ถ้ารุ่น วินโดว์ เซเว่น รุ่นใหม่ ๔-๕ พัน บาท ดังนั้น ราคาโปรแกรมจึงเลยราคา ๕ มาสก คือ เกิน ๘๕๐ บาท จึงเป็นอาบัติปาราชิกได้ครับในที่นี้ เพราะฉะนั้น เพศภิกษุควรเป็นผู้ขัดเกลากิเลสทุกๆ ประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 21 ส.ค. 2554

2. การที่พระเณรไปเล่นเกมส์ที่ต้องฆ่ากันเช่นเกมส์ยิงปืนฆ่ากัน อย่างนี้ก็ต้องอาบัติปาราชิกเหมือนกันหรือเปล่า ถึงแม้จะไม่มีชีวิตจริง แต่ก็เป็นการสมมติชีวิตมีไถยจิตคิดจะฆ่า ลงมือฆ่าด้วยเจตนา ฆ่าสำเร็จ อย่างนี้ต้องอาบัติปาราชิกเพราะเล่นเกมส์อันตรายๆ อย่างนี้หรือไม่

สัตว์ นั้นต้องมีชีวิตจริงๆ และมีการตายของผู้ที่มีชีวิต คือ มีชีวิตตรินทรีย์ มีรูปที่เกิดจากกรรม เป็นต้น แต่คนในเกมคอมไม่มีชีวิต เป็นแต่เพียงความนึกคิดของผู้เล่นและเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นครับ แต่พระเล่นเกมไม่สมควรนะครับ

3. การหยิบยืมของผู้อื่นโดยไม่มีเจตนาที่จะขโมย แต่ลืมให้คืน จนของนั้นผ่านเวลามานานต้องอาบัติอะไร

ไม่มีเจตนาชโมยไม่อาบัติครับ และมีเจตนารักษาไว้ ไม่ผิดครับ แต่ควรหาโอกาสที่จะคืนครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 22 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-พระภิกษุมีเจตนาที่จะลักทรัพย์ของผู้อื่น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ลักษณะใด มีราคาเท่ากับ ๕ มาสก (ซึ่งมีราคาเท่ากับทองคำหนักเท่ากับนำหนักของเมล็ดข้าวเปลือก ๒๐ เมล็ด ในยุคปัจจุบันนี้ คือ ๘๕๐ บาท ตามที่คุณผเดิมได้กล่าวไว้แล้ว) ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง เพราะเพศบรรพชิตเป็นเพศที่สูงยิ่งกว่าคฤหัสถ์ จะต้องสำรวมระวัง ขัดเกลากิเลสของตนเองเป็นอย่างยิ่ง เพราะการลักทรัพย์ หรือ กระทำทุจริตกรรมประการต่างๆ ไม่ใช่สิ่งที่บรรพชิตจะพึงกระทำอย่างเด็ดขาด [เพราะแม้ผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ ยังไม่กระทำเลย]

-ผู้ที่บวชเป็นบรรพชิต แต่ยังมีพฤติกรรมที่เหมือนคฤหัสถ์ทุกประการ เช่น เล่นเกม ต่างๆ เป็นต้น ถึงแม้ว่าจะไม่ต้องอาบัติหนักถึงขั้นปาราชิก แต่การกระทำอย่างนี้ ไม่ใช่วิสัยของผู้ที่มีอัธยาศัยที่จะเป็นบรรพชิตที่แท้จริง และการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นความประพฤติที่ไม่สมควร เป็นอาบัติ เป็นโทษแก่ตนเองอย่างเดียว

-การยืมของจากผู้อื่น ไม่ว่าจะสิ่งใด ก็ควรที่จะนำมาคืนผู้ที่เป็นเจ้าของ จุดประสงค์ของการบวชเป็นบรรพชิต ในพระพุทธศาสนา นั้น คือ เพื่ออบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสของตนเอง เท่านั้น ถ้าไม่ได้บวชเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวนี้แล้ว ย่อมเป็นบุคคลผู้เสื่อมอย่างยิ่ง เสื่อมจากคุณความดีประการต่างๆ อย่างแน่นอนเป็นผู้ไม่ได้รับประโยชน์จากการดำรงเพศอันเป็นเพศที่สูงยิ่ง เลย ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แสงจันทร์
วันที่ 22 ส.ค. 2554

ผมว่าเราควรพิจารณาว่าเราไม่ได้เป็นผู้ขโมยเองจากเจ้าและก็ไม่ได้ใช้ให้ Hacker ไปขโมยและ Hacker ก็ไม่ได้หวงแหนอะไรปล่อยให้โหลดตามใจ จึงไม่น่าเข้าข่ายปาราชิก แต่ผิดในข้อไม่สมควรมากกว่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 783

สมัยนั้น พวกโจรทำโจรกรรม ฆ่าแม่โคแล้วพากันถือเนื้อเข้าไปสู่ป่าอันธวัน. นายโจรแลเห็นภิกษุณีอุปปลวัณณานั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วจึงดำริว่า ถ้าพวกโจรลูกน้องของเราพบเข้า จักเบียดเบียนภิกษุณีนี้ แล้วได้เลี่ยงไปทางอื่น.

ครั้นเมื่อเนื้อสุกแล้วนายโจรนั้นได้เลือกเนื้อชิ้นที่ดีๆ เอาใบไม้ห่อแขวนไว้ที่ต้นไม้ใกล้ภิกษุณีอุปปลวัณณาแล้วกล่าวว่าเนื้อห่อนี้เราให้แล้วจริงๆ ผู้ใดเป็นสมณะหรือพราหมณ์ได้เห็น จงถือเอาไปเถิด ดังนี้แล้วหลีกไป. ภิกษุณีอุปปลวัณณาออกจากสมาธิ ได้ยินนายโจรนั้นกล่าววาจานี้ จึงถือเอาเนื้อนั้นไปสู่สำนัก. ครั้นราตรีนั้นผ่านไป นางทำเนื้อนั้นสำเร็จแล้ว ห่อด้วยผ้าอุตราสงค์ เหาะไปลงที่พระเวฬุวัน.

อีกอย่างหนึ่งภัณฑะ (วัตถุ) ที่โหลดก็เป็นลักษณะ แสง สี เสียงหรือพลังงานที่เราโหลดมาไม่ใช่วัตถุที่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่เช่นนั้นเวลาพระนั่งรถโดยสารเขาเปิดหนังหรือเพลงที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าพระเพอไปฟังก็เป็นปาราชิก ซิครับ (เป็นเพียงความเห็นหนึ่งของผมเท่านั้นนะครับ)

ส่วนการจะวินิฉัยให้ดู พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 761 -762

วิธีวินิจฉัยอธิกรณ์

ถ้าภิกษุบางรูป ผู้ทำการล่วงละเมิดสิกขาบทแล้ว เข้าไปหาภิกษุผู้ฉลาดในการวินิจฉัยนั้น อย่างนั้นแล้ว พึงถามถึงข้อรังเกียจสงสัยของตนไซร้ ภิกษุ ผู้ฉลาดในการวินิจฉัยนั้น ควรกำหนดให้ดี ถ้าเป็นอนาบัติ ก็ควรบอกว่าเป็นอนาบัติ แต่ถ้าเป็นอาบัติ ก็ควรบอกว่า เป็นอาบัติ ถ้าอาบัตินั้นเป็นเทศนาคามินี ก็ควรบอกว่า เป็นเทศนาคามินี ถ้าเป็นวุฏฐานคามินี ก็ควรบอกว่า เป็นวุฏฐานคามินี ถ้าฉายาปาราชิกปรากฏ แก่ภิกษุผู้ฉลาด ในการวินิจฉัยนั้นไซร้ ไม่ควรบอกว่า เป็นอาบัติปาราชิก เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า การล่วงละเมิดเมถุนธรรม และการล่วงละเมิดอุตตริมนุษยธรรมเป็นของหยาบคาย.

ส่วนการละเมิดอทินนาทานและมนุสสวิคคหะเป็นของสุขุมมีจิตเปลี่ยนแปลงเร็ว ภิกษุย่อมต้องวีติกกมะทั้งสองนั้นด้วยอาการสุขุมทีเดียว (และ) ย่อมรักษาไว้ด้วยอาการสุขุม (เหมือนกัน) . เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ถูกถามความรังเกียจสงสัย ซึ่งมีความละเมิดนั้นเป็นที่ตั้งโดยพิเศษไม่ควรพูดว่า ต้องอาบัติ...

ฯลฯ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 22 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

สำหรับตัวอย่างที่คุณแสงจันทร์ยกมาในพระไตรปิฎกนั้น แสดงถึงว่าวัตถุนั้นไม่หวงแหน ใครจะเอาไปก็ได้ครับ ในข้อความที่ว่า

แล้วกล่าวว่าเนื้อห่อนี้เราให้แล้วจริงๆ ผู้ใดเป็นสมณะหรือพราหมณ์ได้เห็น จงถือเอาไปเถิด

นี่แสดงถึงว่า เจ้าของไม่ได้หวงแหน ดังนั้นการถือเอาไปจึงไม่เป็นอาบัติปาราชิก และผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ถือเอาไปก็ไม่เป็นอทินนาทานเช่นกัน เพราะไม่ครบองค์กรรมบถ เพราะวัตถุนั้นเจ้าของไม่ได้หวงแหนครับ

ส่วนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะมีการอนุญาตให้ใช้หลายรูปแบบครับ คือ โปรแกรมที่เป็น Freeware shareware และโปรแกรมที่ต้องซื้อเท่านั้น ไม่ให้ดาวโหลดให้ใช้

โปรแกรม freeware คือโปรแกรมที่ผู้คิดค้นตั้งใจให้ผู้ใดก็ได้ ดาวโหลดไปใช้ โดยไม่ใช่เอาไว้ขาย อันนี้เจ้าของไมได้หวงแหน เพราะไม่ได้มีการทำธุริกิจที่จะทำขึ้นมาเพื่อที่จะขายผู้อื่นครับ ดังนั้น โปรแกรมฟรีแวร์จึงตรงกับตัวอย่างที่ผู้ถามได้ยกในเรื่องพระไตรปิฎกที่มีคำกล่าวว่า

แล้วกล่าวว่าเนื้อห่อนี้เราให้แล้วจริงๆ ผู้ใดเป็นสมณะหรือพราหมณ์ได้เห็น จงถือเอาไปเถิด

จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของไม่ได้หวงแหนทั้งคู่ การดาวโหลดโปรแกรม ฟรีแวร์มาใช้จึงไม่เป็นอาบัติปาราชิก เพราะวัตถุเจ้าของไม่ได้หวงแหน และผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ ก็สามารถดาวโหลดได้ ไม่เป็นอทินนาทานเพราะเจ้าของไม่ได้หวงแหน ซึ่งทางมูลนิธิฯ จะใช้โปรแกรมที่ซื้อลิขสิทธิ์ และใช้โปรแกรมฟรีแวร์เป็นหลักครับ

สำหรับโปรแกรม shareware สามารถอนุญาตให้ใช้ 30 วัน แต่ถ้าหลังจากนั้นก็ไม่อนุญาตให้ใช้ เห็นไหมครับว่า บางโปรแกรมก็อนุญาตให้ใช้ตามเวลาจำกัด หลังจากนั้นไม่อนุญาต เพราะเขาเอาไว้ขาย ไม่ใช่ให้ดาวโหลดฟรีครับ เพราะเขาตั้งใจทำไว้ขาย ของมีมูลค่าครับ เมื่อเลยเวลา เจ้าของเขาหวงแหนแล้วครับ

สำหรับโปรแกรมที่ไม่ใช่ ฟรีแวร์และแชร์แวร์ ที่จะต้องซื้อขาย เช่น โปรแกรมวินโดว์ ซึ่งเจ้าของกระทู้ก็ได้กล่าวไว้ครับว่า ก็รู้อยู่ว่าละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งโปรแกรมเขาเอามีไว้ขาย ไม่ใช่ให้ดาวโหลดฟรีกัน เจ้้าของหวงแหน เป็นวัตถุที่หวงแหนครับ ดังนั้นเมื่อรู้อยู่ว่าละเมิดลิขสิทธิ์ มีการกระทำทางกาย คือ ดาวโหลดจากที่เข้าแอบมาให้ดาวโหลดกัน ก็เป็นอทินนาทานได้ครับ พระก็ต้องอาบัติปาราชิกได้ ถ้าของมีมูลค่าเท่ากับ ๕ มาสกหรือมากกว่าครับ ดังนั้นเราจะต้องเข้าใจคำว่าลิขสิทธิ์ เจ้าของหวงแหน กับไม่มีลิขสิทธิ์ เจ้าของไม่ได้หวงแหนตามที่ได้อธิบายมาครับ

ส่วนเรื่่อง การฟังเพลง ต้องได้ยินเสียงอยู่แล้วครับ ไม่ใช่ขโมยอะไร ไม่ใช่ว่าใครได้ยินเสียงเพลง จะเป็นการขโมยครับหรือถ้าจะเป็นของ ที่วางไว้ แค่ไปมองเห็นก็ขโมยก็ไม่ใช่ ต้องมีการกระทำทางกาย คือ ไปหยิบของให้เคลื่อนจากฐานครับ แต่สำหรับเรื่องโปรแกรม มีการกระทำทางกายครับ คือการดาวโหลด และโปรแกรมก็ดาวโหลดย้ายมาที่เครื่องของคนที่ดาวโหลดด้วย ดังนั้นเป็นอทินนานทานได้และต้องอาบัติปาราชิกได้สำหรับพระภิกษุ ถ้ามูลค่าราคา ๕ มาสก หรือมากกว่า ธรรมจึงเป็นเรื่องละเอียดครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แสงจันทร์
วันที่ 22 ส.ค. 2554

จากข้อความที่โจรพูดว่า แล้วกล่าวว่าเนื้อห่อนี้เราให้แล้วจริงๆ ผู้ใดเป็นสมณะหรือพราหมณ์ได้เห็นจงถือเอาไปเถิด อย่าลืมว่าเนื้อนั้นเป็นเนื้อที่โจรขโมยและปล้นมาจากชาวบ้าน คงจะเหมือนกับ Hackerเอาโปรแกรมมาจากเจ้าของลิขสิทธ์ และในทุติยปาราชิกข้อนี้ กล่าวว่า ลักเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นไปลัก แต่ในกรณีนี้ Hacker ลักมาเองและตัว Hacker ก็ไม่ได้หวงแหนอะไร ใครอยากโหลดก็โหลดไป ผมว่าไม่น่าถึงปาราชิก แต่จะผิดในความไม่เหมาะสมมากกว่า

และกรณีวัตถุ มีคำถามว่า สมมติมีเทวดาองค์หนี่งอยู่ที่ต้นไม้รักษาบ้านใดบ้านหนึ่งและเจ้าของเค้าก็บูชาอยู่ ถ้าภิกษุมีฤทธิ์ใช้ฤทธิ์นำตัวเอาเทวดานั้นมา จะจัดเป็นปาราชิกหรือเปล่าครับ (ถือว่าเป็นแค่ความคิดแง่หนึ่งเท่านั้นนะครับ) ไม่ได้ประสงค์อย่างอื่น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 22 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

จากข้อความที่ผู้ถามยกมานั้น ไม่ใช่อยู่ในส่วน ทุติยปาราชิก เป็นการแสดงถึงอาบัติในเรื่อง ภิกษุใด รับผ้าจากภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติต้องอาบัติครับ และในส่วนเรื่องนี้ อาจารย์ประเชิญได้แสดงความคิดเห็นว่า เป็นเรื่องของการถวายอาหารกับพระภิกษุณี แต่ไม่ใช่เกี่ยวกับการลักขโมย เพราะพระภิกษุณีรับอาหารจากสัตว์ที่ตายแล้ว และไมได้รับโคทั้งตัวที่เป็นๆ การรับ ต่างกับการขโมย คนละส่วนกัน จะมาปนกันไม่ได้ครับ

ซึ่งกระผมขออนุญาตนำตัวอย่างในทุติยปาราชิก มาอธิบายโดยตรง รวมทั้งข้อความในส่วนของเรื่องนี้ ก็จะเป็นการชัดเจน ในเรื่องการขโมยครับ

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒- หน้าที่ 30

อาการ ๕ อย่าง

[๑๒๒] ปาราชิกอาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑

มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑

ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑

ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑

ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑.

เราต้องมาเข้าใจกันก่อนครับว่า ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ หมายถึงอย่างไร ใครเป็นเจ้าของ ผู้ที่เป็นขโมย ลักข้อมูลมาเผยแพร่ เป็นเจ้าของแล้วเมื่อขโมยมา หรือว่าแม้ขโมยมา ผู้ที่เป็นเจ้าของ ก็คือเจ้าของลิขสิทธิ์เดิมครับ อันนี้ถ้าราเข้าใจถูกว่าใครเป็นเจ้าของทรัพย์ ผู้ที่ขโมยเป็นเจ้าของทรัพย์ หรือแม้โจรขโมย เจ้าของทรัพย์ยังเป็นคนที่มีลิขสิทธิ์หรือไม่ก็จะทำให้เข้าใจประเด็นนี้อย่างถูกต้องครับ

ข้อความในทุติยปาราชิก อธิบาย ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ไว้ดังนี้ครับ

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

ที่ชื่อว่า ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ มีอธิบายว่า ทรัพย์ใดอันเจ้าของไม่ได้ให้ ไม่ได้ละวาง ยังรักษาปกครองอยู่ ยังถือกรรมสิทธิ์อยู่ว่าเป็นของเรา (ลิขสิทธิ์) ยังมีผู้อื่นหวงแหน ทรัพย์นั้นชื่อว่า ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้.

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒- หน้าที่ 105

อรรถาธิบายสิ่งของที่เจ้าของมีกรรมสิทธิ์อยู่

ชื่อว่า ผู้อื่นหวงแหน เพราะว่า เป็นของอันชนเหล่าอื่นผู้เป็นเจ้าของทรัพย์เหล่านั้นยังหวงแหนไว้ ด้วยกิจมีอันยังไม่ทิ้ง ยังรักษา และปกครองอยู่เป็นต้นเหล่านั้น. ทรัพย์นั่นชื่อว่าอันเจ้าของไม่ได้ให้.

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 22 ส.ค. 2554

โดยทั่วไป เมื่อมีคนมาขโมยของในบ้านเรา ซึ่งเราเป็นเจ้าของ หวงแหนรักษา ของที่ขโมยไปนั้น ใครเป็นเจ้าของครับ โจรเป็นเจ้าของใช่ไหมครับ เพราะขโมยไป หรือว่าก็ยังเป็นเจ้าของเดิมคือเรานั่นแหละ เพราะตัวเจ้าของเดิมยังไม่ได้สละให้ผู้อื่น เจ้าของเดิม ก็หวงแหนสิ่งนั้นด้วย ดังนั้นไม่ใช่ว่าเมื่อโจรขโมยของๆ เรา ของสิ่งนั้นจะเป็นของโจรครับ เพราะเรายังหวงแหน ไม่สละ ของสิ่งนั้น ทรัพย์นั้นแม้จะตกเป็นของโจร ก็เท่ากับว่าทรัพย์นั้นยังชื่อว่ามีการปกครอง มีการหวงแหน มีกิจอันไม่ทิ้ง ทรัพย์นั้นจึงชื่อว่าเจ้าของยังไม่ได้ให้ คือ เจ้าของเดิมนั่นเองครับ ดังนั้นโจรที่ขโมยไป ไม่ใช่เจ้าของใหม่เพราะการขโมย แต่ถ้าผู้เป็นเจ้าของเดิม สละให้กับผู้ใด ผู้หนึ่ง ผู้นั้นชื่อว่าเป็นเจ้าของใหม่ครับ

การที่ พวกขโมยข้อมูล (โจร) ขโมยไปลงในเวป คนที่เป็นคนขโมยไม่ใช่เจ้าของใหม่เพราะการขโมย เจ้าของก็ยังเป็นผู้ที่ผลิตซอฟแวร์นั้นนั่นเอง เพราะผู้ผลิต ไม่ได้สละให้ผู้ใด และเจ้าของห็หวงแหน รักษาซอฟแวร์นั้นด้วย และที่สำคัญก็มีลิขสิทธิ์แสดงถึงความเป็นเจ้าของ ดังนั้นผู้ที่มาดาวโหลด จากกระทู้ที่ถามก็กล่าวไว้ว่า

รู้ทั้งรู้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์แต่ก็กระทำการโหลด นี่แสดงว่า รู้ว่าทรัพย์นั้นเจ้าของหวงแหน คือ เจ้าของคือผู้ผลิตซอฟแวร์ และเวลาดาวโหลด เราคิดถึงคนที่ขโมยเป็นเจ้าของซอฟแวร์หรือเปล่าครับ เราก็รู้ทั้งรู้ ตามที่ผู้ตั้งกระทู้กล่าวว่า รู้ทั้งรู้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ผลิต แต่ก็กระทำการโหลด…ก็คิดว่า เจ้าของที่แท้จริงคือผลิตซอฟแวร์นั้นนั่นเอง และในความเป็นจริง เจ้าของก็คือผู้ที่ผลิตนั่นเอง เพราะเขาหวงแหน รักษา ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์จะเปลี่ยนมือเพราะการขโมยครับ

ดังนั้นเมื่อรู้ทั้งรู้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์และขณะที่ดาวโหลดก็รู้อยู่ว่าเจ้าของคือใคร และมีจิตคิดจะดาวโหลด ทำการดาวโหลด ของมีค่าเกิน ๕ มาสกก็อาบัติปาราชิกครับ

--------------------------

ปาราชิกอาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการ ๕ อย่างคือ

ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑

มีความสำคัญว่าทรัพย์อัน ผู้อื่นหวงแหน ๑

ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑

ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 22 ส.ค. 2554

ซึ่งกระผมขอนำตัวอย่างเรื่องการขโมยของโจร ขโมยของ และจะแสดงให้เห็นว่าของที่ขโมยเป็นของโจรแล้วเพราะการขโมย หรือ ว่าเป็นของๆ เจ้าของเดิม ซึ่งจะอยู่ทุติยปาราชิกโดยตรงในเรื่องที่ยกมาครับ

เรื่องไม่เป็นอาบัติเพราะไม่มีจิตลักและไม่รู้ว่ามีเจ้าของหวงแหน

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักชมพู่ ทำชมพู่ให้หล่น แล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้น พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของแล้ว ทิ้งห่อชมพู่หนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุลจึงพากันเก็บชมพู่ห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล.

จากตัวอย่างนี้ พวกขโมยห่อชมพู่ไป ถามว่าห่อชมพู่นั้นเป็นของโจรที่ขโมยใช่ไหมครับ เพราะขโมยมาแล้ว ไม่ใช่ครับ เพราะเจ้าของไม่ได้สละ ยังหวงแหน (เปรียบเหมือนซอฟแวร์ที่เจ้าของไม่สละ มีลิขสิทธิ์หวงแหน แม้พวกขโมยข้อมูลจะขโมยมาให้ดาวโหลด ก็ถือว่าเจ้าของเดิมก็คือผู้ผลิตซอฟแวร์) ข้อความในพระไตรปิฎกแสดงต่อไปว่า

พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า... นี่แสดงถึงว่า คนที่เป็นเจ้าของห่อชมพู่ไม่ใช่โจรเพราะขโมยมาจึงเป็นเจ้าของ แต่เจ้าของก็คือ เจ้าของเดิมที่ยังไม่สละนั่นเองครับ มีความหวงแหนอยู่ จึงเป็นเจ้าของ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 22 ส.ค. 2554

* * ในชีวิตประจำวัน เราอยู่ที่บ้าน เราเห็นโจรขโมยของที่ข้างบ้าน ที่เป็นเพื่อนบ้านของเรา ซึ่งเราก็รู้อยู่ (รู้ว่ามีลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ทั้งๆ ที่รู้เหมือนกับที่ผู้ตั้งกระทู้กล่าว) หากมีคนขโมยของมา โจรก็บอกว่าท่านเอาไปซิ อนุญาต และเราก็ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่า คนนี้ขโมยของเพื่อนบ้านมา ตกลงของที่โจรขโมยมาเป็นของคนที่ขโมย หรือว่า เป็นของเพื่อนบ้านของเรา หากเพื่อนบ้านหวงแหน และไม่ได้สละ โจรก็เอามาบอกท่านหยิบไปซิ การที่เราหยิบทั้งๆ ที่รู้อยู่ ชื่อว่าเป็นผู้ขโมยไหมครับ ก็เป็นผู้ขโมยต่อจากโจรนั่นเอง โจรขโมยสำเร็จแล้ว และเราก็รู้ว่าของเพื่อนบ้านไม่ใช่ของเรา (ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อัน ผู้อื่นหวงแหน ๑) การที่เราทำตามคำของโจร หยิบเอาไปเป็นของตนเอง ชื่อว่าขโมยไหมครับเพราะรู้ว่าเป็นของเพื่อนบ้าน (รู้ว่าซอฟแวร์มีลิขสิทธิ์เจ้าของคือคนผลิต) ก็ขโมยแน่นอนครับ นี่คือการเปรียบเทียบกับการที่พวกขโมยข้อมูลแล้วนำให้เผยแพร่และดาวโหลดกันครับ

ซึ่งซอฟแวร์นั้นสำหรับขาย มีลิขสิทธิ์เจ้าของหวงแหนครับ และก็รู้ทั้งรู้ว่ามีลิขสิทธิ์ยังดาวโหลดอีก ก็เป็นการขโมยต่อจากคนที่ขโมยคนแรกคือพวก แฮ๊กข้อมูลครับ

ตัวอย่างอีกตัวอย่างในพระไตรปิฎกที่เป็นทุติยปาราชิก เรื่องที่โจรขโมยครับ

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักชมพู่ ทำชมพู่ให้หล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยๆ เห็นพวกเจ้าของ ได้ทิ้งห่อชมพู่หนีไป ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิตฉันเสียก่อน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.

จากตัวอย่างนี้แสดงชัดเจนครับว่า แม้โจรจะขโมยไปแล้ว แต่เจ้าของก็คือเจ้าของเดิม เพราะยังไม่ได้สละวัตถุนั้น หวงแหน (มีลิขสิทธิ์) จึงมีข้อความที่พระภิกษุกล่าวว่า

...... ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น แล้วมีไถยจิตฉันเสียก่อน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า .... ข้อความผู้เป็นเจ้าของคือเจ้าของเดิม ไม่ใช่โจร เพราะโจรหนีไปแล้ว และเจ้าของกำลังมาตามนั่นเองครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 22 ส.ค. 2554

ขออนุญาตร่วมสนทนาเพื่อความกระจ่างยิ่งขึ้นด้วยนะครับ

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทางโลกถือว่าเป็นทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่จับต้องได้ นิยมเรียกกันว่า ทรัพย์สินทางปัญญา คือ เป็นสิ่งที่มีค่าที่เกิดขึ้นมาจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลงานออกมาจากปัญญาของผู้สร้างสรรค์ และมูลค่าก็มาจากค่าอนุญาตให้คนอื่นได้ใช้งานที่สร้างสรรค์มานั้นเอง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นนั้น เมื่อเสร็จแล้วก็จะทำสำเนาหรือก็อปปื้ลงในแผ่นดิสค์ หรือดาวน์โหลดลงเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำออกให้ได้ใช้งานกัน และที่คนอื่นนำไปใช้นั้นก็เป็นงานสำเนาของต้นฉบับที่ได้รับอนุญาตแล้ว ส่วนใหญ่การละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นเมื่อมีผู้นำแผ่นดิสค์หรือดาวน์โหลดมาทำซำ้ หรือก็อปปี้อีกเป็นแผ่นปลอมหรือแผ่นผี นำออกจำหน่าย เพื่อให้นำให้ใช้กัน โดยเจ้าของไม่ได้อนุญาต

ในกรณีนี่้ร่วมไปถึงงานอื่นๆ ด้วย เช่น เพลง ภาพยนตร์ ฯ หรือจะเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังๆ ที่ถูกลอกเลียนแบบ เป็นต้น ดังนั้น แผ่นปลอม หรือโปรแกรมที่ถูกก็อปปี้ไว้ให้ได้ดาวน์โหลดกันนั้น จึงไม่ใช่่ของเจ้าของสิทธิ์ เพียงแต่ว่าเป็นของที่ทำขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตของเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น ตามกฎหมายแล้วหากถูกยึดได้ก็จะส่งมอบให้เจ้าของไว้ จะนำไปทำลายหรือทำอะไรก็แล้วแต่เจ้าของนั้นเอง ที่่เจ้าของมีิสิทธิ์ที่แท้จริงคือ สิทธิ์อนุญาตให้คนอื่นได้ใช้งานนั้นๆ เรียกกันว่า ค่าสิทธิ์เมื่อเป็นเช่นนี้จะมีประเด็นที่น่าวิเคราะห์ว่า สิ่งของคือต้นฉบับ ไม่ได้ถูกขโมยไป แต่ถูกคนอื่นลอกเลียน ก็อปปี้ ต้นฉบับ และนำไปใช้ โดยเจ้าของมิได้อนุญาต

กรณีจึงกลายเป็นว่า ไม่มีการนำสิ่งของของผู้อื่นไปจากเจ้าของ แต่เป็นการขโมยเอาความคิดของผู้อื่นไปใช้โดยไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของ ถ้าเจ้าของไม่ได้เป็นพ่อค้านักธุรกิจที่จะแสวงหาประโยชน์จากผลงานนั้นๆ ส่วนใหญ่ก็จะอนุญาตให้ก็อปปื้และนำไปใช้ได้ แต่หากเจ้าของต้องการประโยชน์ ก็จะเก็บค่าสิทธิ์ ซึ่งเรียกกันว่า ค่าอนุญาตให้ได้ใช้งานดังกล่าวนั่นเอง ไม่ใช่ว่าคนอื่นจะได้เป็นเจ้าของงานนั้นๆ แต่อย่างใด ปัญหาจึงมีอยู่ว่าการก็อปปื้งานของผู้อื่น ซึ่งไม่ใช่เป็นการขโมยสิ่งใดจากเจ้าของ หากจะเรียกว่าขโมยก็เรียกได้เพียงว่าเป็นการขโมยความคิดของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตเช่นนี้ จะเข้าหลักในการเอาของของผู้อื่นไปด้วยหรือไม่ ครับ และความเสียหายที่เกิดแก่เจ้าของก็เพียงแต่ว่า ไม่อาจจะแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตให้ใช้ผลงานของตนเองได้ ผลงานยังอยู่เหมือนเดิม ไม่ได้หายไปไหน จึงอนุญาตรบกวนอาจารย์ผเดิมวิเคราะห์เพิ่มเติมอีกสักนิดนะครับว่าจะเข้าข่ายหรือจะปรับให้เข้าในเรื่องนี้เรื่องไม่

อีกเรื่องหนึ่งเรื่องราคา ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม งานเพลง ภาพยนตร์ ฯ ก็เป็นค่าอนุญาตให้ใช่้สิทธิที่เจ้าของจะต้องราคาไว้ในท้องตลาด ราคาไม่สูงมาก เพราะหากจะเป็นค่าโปรแกรม งานเพลง ฯ ต่างๆ ในฐานะเจ้าของสิทธิ์นั้น จะมีมูลค่าเป็นล้านๆ บาท

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
แสงจันทร์
วันที่ 22 ส.ค. 2554

ที่จริง ผมก็รู้สึกเห็นใจและเกรงใจว่าท่านผู้ที่ตอบปัญหาว่าท่านเสียสละจริงๆ ในการหาข้อมูลมาตอบปัญหา แต่ผมเป็นคนช่างสงสัยมาก ถ้าบางที่ถามซอกแซกไปทำให้ท่านวุ่นวาย ขออภัยด้วย แต่ไหนๆ ก็ถามมาแล้วก็ขอถามต่อเลย ๒ ขัอว่า

๑.กรณีที่ทางร้านที่เราซื้อคอมพิวเตอร์เป็นผู้ลงโปรแกรมให้ หรือคนอื่นลงให้จะเป็นไรไหมครับ

๒.เราไม่มีไถยจิต (คิดจะขโมย) แต่เราเห็นว่าเขาให้โหลดเราก็ลองโหลดมาใช้ดูจะเป็นปาราชิกหรือเปล่าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 22 ส.ค. 2554

อนุโมทนากับจิตที่เป็นกุศลด้วยนะครับ

และขอบพระคุณอาจารย์ครับ ที่ให้ความเข้าใจถูกยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 22 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 11 ครับ

สำหรับที่ท่านผู้ถามได้ยกรายละเอียดมานั้น น่าสนใจทีเดียวครับ ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ซึ่งการที่ให้ดาวโหลด โดยที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไมไ่ด้อนุญาต ย่อมมีผลต่อการจะได้รายได้ และเสียรายได้จากการที่มีการดาวโหลด ดังนั้น จึงมี 2 กรณี คือ ทางเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ดาวโหลดได้ ทางเวปนั้นก็ต้องเสียค่าบริการ ก็เป็นอันว่าเจ้าของอนุญาต แต่ถ้าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยที่เจ้าของไม่ได้อนุญาต และก็ไปทำให้ดาวโหลด ย่อมทำให้เสียหายกับผู้ที่ผลิตในการขายได้ครับ ซึ่งต้องไม่ลืมครับว่าแม้ทรัพย์สินทางปัญญาก็มีมูลค่าได้ และก็ทำให้เกิดความเสียหายกับผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้เช่นกันครับ ซึ่งก่อนเข้ามาตอบนั้น ทางเวปมาสเตอร์ของเวปไซด์บ้านธัมมะซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์และเป็นผู้ศึกษาธรรมและเข้าใจธรรมเช่นกัน ก็ได้ส่งข้อความมาอันเป็นประโยชน์เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้ ซึ่งผมเห็นว่ามีประโยชน์ และอธิบายได้เข้าใจได้ดีทีเดียว จึงขอนำข้อความที่เวปมาสเตอร์ มาลงให้ผู้อ่านได้พิจารณาและตอบในความเห็นที่ 11 และ 12 ด้วยครับ

ขออนุโมทนาเวปมาสเตอร์ มา ณ ที่นี้ที่ร่วมสนทนาธรรมครับ ข้อความเป็นดังนี้

ขออนุญาตให้ข้อมูลเสริมนะครับเรื่องลิขสิทธิ์โปรแกรมนี้ต้องแยกให้ดีระหว่างส่วนที่เป็น ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟแวร์ตัวโปรแกรมนั้นเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ซอฟแวร์) ในขณะที่แผ่นซีดีถือเป็นฮาร์ดแวร์ เมื่อก๊อปปี๊มาจากต้นฉบับ ถึงแม้จะไม่ได้ทำให้เจ้าของเสียทรัพย์ (ที่เป็นตัวแผ่นซีดี) โดยตรง แต่การนำเอาโปรแกรมมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมทำให้เจ้าของโปรแกรมเดือดร้อน ด้วยเหตุที่ต้องเสียโอกาสในการวางจำหน่ายไป ต้องไม่ลืมว่าโปรแกรมต่างๆ นั้นล้วนมีต้นทุนในการผลิด หากเป็นการผลิตเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า มิใช่การแจกฟรี การก๊อปปี้นั้นย่อมส่งผลเสียต่อเจ้าของโปรแกรมแม้ว่าจะไม่ได้เป็น Haker โดยตรง หากขณะนั้นรู้สึกยินดีที่จะใช้ของที่รู้ทั้งรู้ว่าขโมยมา หรือส่งเสริมให้เกิดการขโมย เช่นนี้แล้วน่าจะเป็นเรื่องที่ผิด ผมมองว่าประเด็นนี้น่าจะเข้าข่าย อทินนาทาน ครับ

อทินนาทาน มีองค์ ๕

๑. ปรปริคฺคหิตํ ของที่เจ้าของหวงแหน (โปรแกรมมีลิขสิทธิ์ ทำเพื่อการค้า และมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนา)

๒.ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้อยู่ว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน ... (รู้ว่าโปรแกรมมีลิขสิทธิ์)

๓. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดลัก (อยากได้โปรแกรมมาใช้โดยไม่ต้องการเสียเงิน)

๔. อุปกฺกโม พยายามลัก (เสาะแสวงหา ดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต หรือหาซื้อซีดีเถื่อน หรือหาแครก)

๕. เตน หรณํ ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น (ลงโปรแกรมจนสำเร็จ)

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
paderm
วันที่ 22 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 12 ครับ

๑. กรณีที่ทางร้านที่เราซื้อคอมพิวเตอร์เป็นผู้ลงโปรแกรมให้ หรือคนอื่นลงให้จะเป็นไรไหมครับ

ไม่เป็นไรครับ เพราะผู้อื่นลงให้

๒. เราไม่มีไถยจิต (คิดจะขโมย) แต่เราเห็นว่าเขาให้โหลดเราก็ลองโหลดมาใช้ดูจะเป็นปาราชิกหรือเปล่าครับ

ถ้าไม่มีจิตคิดขโมยและไม่รู้ว่าเป็นของมีลิขสิทธิ์ เขาให้โหลดก็โหลดอันนี้ไม่ครบองค์ก็ไม่เป็นกรรมบถและไม่ต้องอาบัติปาราชิก ดังเรื่องพระไตรปิฎกที่ว่า

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกขโมยลักชมพู่ ทำชมพู่ให้หล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้น พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของแล้ว ทิ้งห่อชมพู่หนีไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุลจึงพากันเก็บชมพู่ห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นสมณะ ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร.

ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล.

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
แสงจันทร์
วันที่ 22 ส.ค. 2554

ที่จริงอาบัติข้อนี้เป็นเรื่องละเอียดมาก จึงไม่ควรด่วนตัดสินว่าเป็นหรือไม่เป็น ดังมีมาใน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 762 ว่า

ส่วนการละเมิดอทินนาทานและมนุสสวิคคหะเป็นของสุขุมมีจิตเปลี่ยนแปลงเร็ว ภิกษุย่อมต้องวีติกกมะทั้งสองนั้นด้วยอาการสุขุมทีเดียว (และ) ย่อมรักษาไว้ด้วยอาการสุขุม (เหมือนกัน) เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ถูกถามความรังเกียจสงสัย ซึ่งมีความละเมิดนั้นเป็นที่ตั้งโดยพิเศษไม่ควรพูดว่า ต้องอาบัติ ถ้าอาจารย์เธอยังมีชีวิตอยู่ไซร้, หลังจากนั้น ภิกษุผู้ฉลาดในการวินิจฉัยนั้น ควรส่งภิกษุนั้นไปว่า เธอจงถามอาจารย์ของข้าพเจ้าดูเถิด ถ้าเธอกลับมาอีกบอกว่า อาจารย์ของท่าน ค้นดูจากพระสูตร พระวินัยแล้วบอกผมว่า เป็นสเตกิจฉา (ยังพอแก้ไขได้) , ในกาลนั้น ภิกษุผู้ฉลาดในการวินิจฉัยนั้น ควรพูดกะเธอว่า ดีละๆ เธอจงทำอย่างที่อาจารย์พูด. ก็ถ้าอาจารย์ของเธอไม่มีไซร้ แต่พระเถระผู้เล่าเรียนร่วมกัน มีตัวอยู่ พึงส่งเธอไปยัง สำนักของพระเถระนั้น ด้วยสั่งว่า พระเถระผู้เล่าเรียนร่วมกับข้าพเจ้าเป็นคณปาโมกข์ มีตัวอยู่ เธอจงไปถามท่านดูเถิด แม้เมื่อพระเถระนั้น วินิจฉัยว่า เป็นสเตกิจฉา ก็ควรบอกกะเธอว่า ดีละ เธอจงทำตามคำของพระเถระนั้นให้ดีทีเดียว

ถ้าแม้พระเถระผู้เล่าเรียนร่วมกัน ของเธอไม่มีไซร้,มีแต่ภิกษุผู้เป็นอันเตวาสิก ซึ่งเป็นบัณฑิต พึงส่งเธอไปยังสำนักของภิกษุผู้เป็นอันเตวาสิกนั้น ด้วยสั่งว่า เธอจงไปถามภิกษุหนุ่มรูปโน้นดูเถิด. แม้เมื่อภิกษุผู้เป็นอันเตวาสิกนั้น วินิจฉัย เป็นสเตกิจฉา ก็ควรพูดกะเธอว่า ดีละ เธอจงทำตามคำของภิกษุนั้นให้ดี ถ้าฉายาปาราชิกนั่นแล ปรากฏแม้แก่ภิกษุหนุ่มไซร้ แม้อันภิกษุหนุ่มนั้น ก็ไม่ควรบอกภิกษุผู้ต้องอาบัติว่า เธอเป็นปาราชิก.

ขอขอบคุณที่ให้โอกาสแสดงความคิดเห็นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
khampan.a
วันที่ 22 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ แล้วน้อมประพฤติในสิ่งที่ดีงาม งดเว้นจากสิ่งที่ผิด จากสิ่งที่ไม่ดีทุกอย่างทุกประการ ย่อมจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทั้งผู้ที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ เพราะถ้ากระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามแล้ว ก็ย่อมจะไม่มีเหตุที่จะทำให้เดือดร้อนใจในภายหลัง ความเข้าใจพระธรรมเท่านั้นที่จะอุปการะเกื้อกูลให้ชีวิตดำเนินไปในทางที่ถูกที่ดีงามยิ่งขึ้น ครับ.

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
แดนกระจ่าง
วันที่ 23 ส.ค. 2554

ต้ อ ง ข อ อ ภั ย ที่ ม า อ่ า น ก ร ะ ทู้ ที่ ต อ บ กั น ม า ช้ า ไ ป หน่อยอนุโมทนากับทุกความคิดเห็น

จากกระทู้ที่ตั้งประเด็นไว้ และทราบว่าข้ออทินนาทานนั้นมีการวินิจฉัยที่ละเอียดอ่านยากที่จะตัดสินนั้น

ฉะนั้น ผู้ที่รู้กระบวนในการกระทำคือตัวผู้นั้นเอง ผู้วินิจฉัยย่อมวินิจฉัยไปตามวินัยที่สมควรที่จะเป็น ย่อมไม่สามารถหยั่งรู้กระบวนการจิตที่กำลังทำกรรมนั้นอยู่ ของเจ้าตัวได้

แต่ว่า รู้ทั้งรู้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์ก็จริง แต่ตอนที่จิตรู้นั้น (รู้ว่ามันเป็นลิขสิทธิ์) * * แต่ไม่ได้สำคัญมั่นว่าเราขโมย (ไม่ได้ยินดีที่อยู่ในฐานะขโมยเพราะรู้โทษนั้นอยู่แล้ว)

เพราะจิตขณะนั้นไม่ได้สำคัญว่านั่นคืออาการขโมย ไม่ได้สำคัญว่าอาการดาวโหลดมานั้นเรียกว่าขโมย และก็ไม่ได้มีเจตนาให้ของ (ซอฟแวร์) นั้นๆ หายไป เพราะคิดว่าของที่ถูกขโมยของนั้นๆ ย่อมเคลื่อนไป หายไป สูญไป เพราะถ้าขโมย ทรัพย์นั้นก็ต้องถูกเคลื่อนที่ย้ายไปหายไป เพราะถ้าของนั้นสูญหายไป เคลื่อนไป ก็เข้าใจได้ว่าขโมย

และพระท่านทุกรูปย่อมรู้ดีว่าการลักขโมยต้องอาบัติปาราชิกและคงไม่มีพระรูปใดต้องการปราถนาอาบัติปาราชิก ซึ่งเป็นโทษร้ายแรง

ย้ำอีกถ้าทีว่า ในขณะจิตตอนที่ดาว์โหลดมาใช้มันไม่ได้มีความสำคัญและไม่คิดว่าตนนั้นอยู่ในฐานะผู้ขโมย (พูดอย่างง่ายๆ คือดาวโหลดไปโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คิดว่าไม่น่าจะอาบัติ เพราะถ้ามั่นใจว่าอาบัติ ก็คงจะไม่ทำเป็นแน่)

เพราะถ้ารู้ว่าทำไปแล้วจะปาราชิกก็คงไม่มีใครท่านใดทำ แต่ส่วนใหญ่ที่กระทำลงไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการ และคิดว่ามีจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจ เพราะทุกวันนี้อินเตอรเน็ตพระท่านเณรท่านใช้งานกันก็มีอยู่ไม่น้อย

ย ก อ ธิ บ า ย อ ย่ า ง นี้ ก็ เ ท่ า กั บ ไ ม่ เ จ ต น า ห รื อ ไ ม่ และขอให้แยกแยะให้หน่อยว่าอาบัติใดต้องแล้วไม่ปรับอาบัติ และอาบัติใดถึงแม้จะไม่เจตนาก็ต้องอาบัติ

สำหรับทุติยปาราชิกนี้ยอมรับว่าวินิจฉัยยากจริง แต่ที่เจ้าของเรื่องได้อธิบาย หมายความว่ากำลังอธิบายเพื่อให้มีความกระจ่างชัดว่าที่ทำไปนั้นไม่ได้หวังให้ตนนั้นอาบัติปาราชิก ซึ่งไม่รู้ว่าทำไปแล้วมันจะอาบัติปาราชิก ซึ่งต่างกับ การรู้ว่าทำแล้วปาราชิกก็ยังฝืนต่อให้สำเร็จ

สาธุอย่างยิ่งกับท่านทั้งหลายผู้มีความฉลาดดุจพระวินัยธร ตัดสินอย่างฉลาดในธรรมจริง

สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2554

[เล่มที่ 2] เรียนความเห็นที่ 18 ครับ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒
- หน้าที่ 30

อาการ ๕ อย่าง

[๑๒๒] ปาราชิกอาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการ ๕ อย่างคือ

ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑

มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑

ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑

ไถยจิตปรากฏขึ้น

ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑.

ดังนั้น การจะเป็นอาบัตาปาราชิก สำคัญประการหนึ่ง คือ มีไถยจิตคิดจะขโมยโปรแกรมนั้นมาเป็นของตนหรือไม่ ถ้ามีไถยจิต คิดจะนำโปรแกรมนั้นมาเป็นของตน และมีการดาวโหลดสำเร็จ ก็ชื่อว่าเป็นอาบัติปาราชิกสำหรับเพศพระภิกษุ แต่ถ้าไม่มีไถยจิต คิดจะขโมย ดาวโหลดด้วยความไม่รู้ ไม่มีเจตนาที่จะลัก ไม่เป็นอาบัติปาราชิก ครับ ดังตัวอย่างในทุติยปาราชิก เรื่อง ห่อชมพู่ ในความเห็นที่ 9 และ 10 ครับ

ส่วนเรื่องการเคลื่อนไปจากฐาน ได้เรียนปรึกษากับอาจารย์ที่สอนพระวินัย ก็ได้ความเข้าใจเพิ่มเติมว่า เช่น ต่อไปในอนาคต สื่อต่างๆ ที่เป็นเพลง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันก็มีการขายทางอินเตอร์เน็ทโดยให้ดาวโหลด เช่น เวปอเมซอน หรือ หนังวีดีโอก็ขายกันทางอินเตอร์เน็ที่ให้จ่ายเงินและสามารถดาวโหลดได้ ซึ่งเมื่อก่อนไม่มีการขายกันทางนี้คือทางเน็ทและให้ดาวโหลด ปัจจุบันมีมากขึ้น แม้ในเมืองไทย มี บริษัท อาร์เอส ก็ทำธุรกิจด้านนี้ ผู้คนก็ใช้วิธีนี้มากขึ้น การขายทางซีดีของบริษัทก็น้อยลง เพราะผู้คนนิยมเล่นคอมพิวเตอร์และใช้วิธีการดาวโหลดเป็นหลัก ต่อไปในอนาคต การขายซีดีลดลงจนหายไป ก็มีการขายหนัง เพลง โดยการให้ดาวโหลดเป็นหลัก โดยการจ่ายเงินครับ

ดังนั้น เมื่อลิขสิทธิ์และการซื้อขายคือการให้ดาวโหลด ดังนั้น การที่ซื้อแล้วดาวโหลดมาอันนี้ไม่ผิด เพราะทำตามข้อตกลงของบริษัทในการขายหนังและเพลง แต่เมื่อไม่ได้รับอนุญาต เพลงและหนัง รวมทั้งซอฟแวร์นั้นมีไว้ขาย แต่ทำการดาวโหลด ข้อมูลนั้นโดยไมได้ซื้อจากบริษัทด้วยจิตที่รู้ว่าเขามีไว้ขายและมีลิขสิทธิ์แต่ก็อยากได้มาเป็นของตนด้วยจิตขโมย จึงดาวโหลด เท่ากับว่า เป็นอทินนาทานแน่นอน และที่สำคัญ การเคลื่อนจากฐาน ก็เป็นการเคลื่อนแล้วจากสิ่งที่มีอยู่ มาลงที่เครื่องตน แม้ต้นฉบับก็ยังอยู่ แต่ของๆ นั้น โปรแกรมนั้น เพลงนั้นก็ได้เคลื่อนมาที่เครื่องของตัวเองแล้ว ก็เป็นการเคลื่อนจากฐานได้ครับ การขโมยก็สำเร็จ ไม่เช่นนั้น ต่อไปเมื่อระบบมีการขายอย่างนี้ทั้งหมดในอนาคต ภิกษุบางรูปก็จะอ้างได้ว่า วัตถุไมได้เคลือ่นจากฐาน และทั้งๆ ที่มีจิตขโมย และโปรแกรม หนัง ซีดี เขาให้จ่ายเงินก่อนจึงดาวโหลด แต่ก็ทำการดาวโหลด แต่อ้างว่าไม่เคลื่อนจากฐาน นั่นไม่ใช่ฐานะ เพราะเคลื่อนแล้วมาสู่เครื่องของตน แม้ต้นฉบับจะยังอยู่ แต่ข้อมูลที่สำหรับมีไว้ขายก็ได้ย้ายมาสู่เครื่องของตนแล้วครับ ดังนั้น ธรรมจึงเป็นเรื่องละเอียดและเป็นผู้ตรงตามความเป็นจริงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2554

และจากคำกล่าวที่ว่า และพระท่านทุกรูปย่อมรู้ดีว่าการลักขโมยต้องอาบัติปาราชิกและคงไม่มีพระรูปใดต้องการปราถนาอาบัติปาราชิก ซึ่งเป็นโทษร้ายแรง

อกุศลทุกคนไม่ชอบเพราะรู้ว่าไม่ดีครับ การรู้เพียงโทษของอกุศลขั้นการฟัง ปัญญาขั้นการฟัง แต่ต้องไม่ลืมว่าสะสมกิเลสมามากเท่าไหร่ในสังสารวัฏฏ์ ดังนั้น ขณะที่เห็นโทษที่เป็นเพียงปัญญาขั้นการฟัง ขณะหนึ่ง แต่เมื่อกิเลสมีกำลังที่สะสมมาแสนโกฏิกัปป์นับประมาณไมได้ แม้รู้อยู่ว่าไม่ดี แต่เพราะปัญญาในการเห็นโทษน้อย ดังนั้นเมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็สามารถล่วงศีลได้ทุกข้อ และเป็นอาบัติได้ แม้ปาราชิกด้วยอำนาจความหวั่นไหวที่เป็นปุถุชนอยู่ครับ และจากคำกล่าวที่ว่า เพราะถ้ารู้ว่าทำไปแล้วจะปาราชิกก็คงไม่มีใครท่านใดทำ แต่ส่วนใหญ่ที่กระทำลงไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการ และคิดว่ามีจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจ เพราะทุกวันนี้อินเตอรเน็ตพระท่านเณรท่านใช้งานกันก็มีอยู่ไม่น้อย

เพศบรรพชิต เป็นเพศที่ขัดเกลากิเลสอย่างยิ่งและทุกๆ ประการ ตามพระบัญญัติที่พระพุทธเจ้า บัญญัติไว้ สมกับคำว่า บรรพชา คือ เว้นทั่ว เว้นทั่วจากกิเลสทุกๆ ประการ ดังนั้นเพศบรรพชิต จะใช้ชีวิตดังเพศคฤหัสถ์ไม่ได้ เพราะเป็นเพศที่ต่างกันสิ้นเชิง ดังนั้น การดำรงชีวิตของพระภิกษุจึงต้องละสิ่งต่างๆ เพราะได้ละอาคารบ้านเรือนมาแล้ว ไม่ใช่เพศที่สะสมอีกต่อไป ซึ่งอาจารย์พระวินัยก็ได้อธิบายว่า พระไม่สมควรที่จะมีคอม เพราะเอื้อต่อกิเลสประการต่างๆ พระภิกษุไม่ความเป็ผู้สะสมและควรเป็นผู้ขัดเกลา เพราะเมื่อมีคอม ก็มีการดาวโหลดและก็ทำให้เดือดร้อนใจในภายหลังได้ และเมื่อประพฤติละขัดเกลาก็จะไม่มีภาพที่เพศบรรพชิตใช้คอมหรือเดินซื้อคอมพิวเตอร์หรือ ทำการดาวโหลดโปรแกรมครับ แต่การไม่มีย่อมเป็นผู้เบา เบาด้วยความมีบริขารอันสมควร คือ มีเพียงพอเพื่อดำรงชีวิตเป็นพระภิกษุ ไม่ใช่คฤหัสถ์ เพราะพระภิกษุเป็นผุ้ละ สละ และศึกษาพระธรรม รวมทั้งไม่ใช่การเรียนหนังสือทางโลก นั่นไม่ใช่กิจของพระภิกษุ ดังนั้น ถ้าประพฤติถูกพระวินัยและไม่สะสม เป็นผู้มีความประพฤติเบาก็ย่อมได้สุข โสมนัส และไม่เดือดร้อนใจในภายหลังและย่อมได้ประโยชน์คือ การขัดเกลากิเลสเพื่อถึงการดับกิเลส นี่คือจุดประสงค์ของการบวชที่ถูกต้องครับ คือ อบรมปัญญาเพื่อดับกิเลส ถึงที่สุดแห่งทุกข์จึงเป็นผู้เว้นทั่วจริงๆ ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
แสงจันทร์
วันที่ 23 ส.ค. 2554

ขอเสริมอีกนิดนะครับ เรียนถามคำที่ว่า

ซึ่งอาจารย์พระวินัยก็ได้อธิบายว่า พระไม่สมควรที่จะมีคอม เพราะเอื้อต่อกิเลสประการต่างๆ พระภิกษุไม่ความเป็ผู้สะสมและควรเป็นผู้ขัดเกลา เพราะเมื่อมีคอม ก็มีการดาวโหลดและก็ทำให้เดือดร้อนใจในภายหลังได้ ถ้าเราสละคอมให้ญาติหรือปวารณาเราและเราก็ยื้มกลับมาใช้และก็มีการโหลดลงคอมจะเป็นไรไหม เพราะคอมนั้นไม่ใช่ของเราแล้ว และการเรียนที่่มหาลัยสงฆ์มงกุฎ หรือมหาลัยจุฬาฯ พระเณรสมควรเรียนหรือไม่ และหลักสูตรเนื้อหาส่วนใหญ่ก็เกี่ยวกับหลักธรรม

ขออภัยที่ถามปัญหาเยอะไปหน่อย

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 21 ครับ

สำหรับประเด็นเรื่องการมีคอมพิวเตอร์ของพระภิกษุ คงไม่ใช่แค่เรื่อง การดาวโหลดโปรแกรมเท่านั้นหรอกครับที่ไม่สมควร เมื่อมีคอมก็ใช้ทำสิ่งต่างๆ ไม่ต่างจากเพศคฤหัสถ์ และเป็นการสะสม ดังนั้น เพศบรรพชิต สละอาคาร บ้านเรือนแล้ว เป็นผู้เว้นทั่วและต่างจากคฤหัสถ์ ดังนั้นจะกระทำดังเช่นคฤหัสถ์ไม่ได้ และสิ่งที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ แต่ควรเป็นผุ้มีความประพฤติเบา คือ มีบริขารสมควรกับพระภิกษุ ตามที่ควรจะมีครับ ดังนั้นการไม่มี ไม่สะสมย่อมทำให้เป็นผู้ขัดเกลาและไม่หมกมุ่นในสิ่งที่ดังเช่นคฤหัสถ์ประพฤติกันครับ

ดังนั้น สิ่งที่จะต้องพิจารณาว่า กิจ ธุระของพระภิกษุนั้นคืออะไรครับ คือ ละ สละ ขัดเกลากิเลสและถึงความดับทุกข์เป็นสำคัญครับ แม้คฤหัสถ์จะถวาย คอม ก็สามารถปฏิเสธได้ครับ

ส่วนในกรณ๊ของ มหาวิทยาลัยสงฆ์นั้น ก็ต้องรู้ก่อนครับว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์สอนอะไรและในสมัยพุทธกาล ศึกษาธรรมอย่างไร ต่างกับปปัจุบันนี้หรือไม่ และอย่างไหนถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ครับ

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจว่า พระธรรมที่พระพุทะเจ้าแสดงไว้เป็นไปเพื่อละ สละ กิเลส เป็นไปเพื่อความเบื่อหนาย คลายกำหนัด ไม่ใช่เพื่อได้ เพื่อเพิ่มความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว สำหรับเพศบรรพชิต ย่อมจะเป็นผู้สำเหนียกว่าบวชเพื่ออะไรและชีวิตต่างกับคฤหัสถ์หรือไม่ครับ

การศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ในปัจจุบัน มีการให้ประกาศนียบัตร อันนี้เป็นไปเพื่อได้ หรือ เพื่อละครับ เรียนตามหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก อันนี้เป็นไปเพื่อได้ หรือ เพื่อละ เป็นเพื่อขัดเกลากิเลสหรือไม่ครับ และเหมือนกับคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามหรือไม่ ในการเรียนเป็นหลักสูตร มีการแบ่งหลักสูตร เป็นวิชา ครุศาสตร์ สังคมศาสตร์ ...อื่นๆ แม้พุทธศาสต์ ก็มีการศึกษา ศาสนาเปรียบเทียบ คือ ศึกษาศาสนาอื่น ที่ทางพระพุทธศาสนา คือ ลัทธิอัญเดียรถีย์ สมควรหรือไม่ ที่จะศึกษาสิ่งเหล่านี้ ที่ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าครับ และมีการเรียนวิชาปรัชญา ของตะวันตกและตะวันออกดังเช่นคฤหัสถ์ สมควรหรือไม่ และสมควรหรือไม่ ที่มีการเรียน การสอนแบ่งเป็นคณะต่างๆ เหมือนกับการเรียนของคฤหัสถ์ อันนี้เราจะต้องเป็นผู้ตรงตามพระธรรมที่พระพุทะเจ้าทรงแสดงว่า ตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอนหรือไม่ และในสมัยพุทธกาลสอนธรรมกันอย่างไร คือ พระภิกษุทั้งหลายที่มีความรู้ ย่อม สอนพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่ใช่สอนวิชาการทางโลก ที่เป็นสัมคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เป็นต้นครับ ไม่มีการให้ประกาศนียบัตร ไม่มีการจบเป็นปริญญาตรี โท เอก แต่การศึกษาของพระภิกษุที่ถูกต้องตามพระวินัย คือ เพื่อละคลายกิเลส ไม่ติดข้องครับ

ดังนั้นการเรียนในปัจจุบันจึงต่างกับพุทธกาลโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นไปเพื่อได้ เพื่อติดข้อง ตามที่กล่าวมา แม้จะสอนศาสนาแต่ก็สอนศาตร์วิชาทางโลกอื่นด้วย ซึ่งไม่สมควรเลยสำหรับเพศบรรพชิตครับ

เชิญคลิกอ่านกระทู้นี้ครับ เป็นประโยชน์มาก

การเรียนทางโลกของภิกษุสามเณร เรียนได้หรือเปล่า

ธุระ ๒ อย่างในพระศาสนา

คันถธุระ วิปัสสนาธุระ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
Graabphra
วันที่ 23 ส.ค. 2554

ผมขอแนะนำให้ไปบวชที่สำนักสงฆ์ป่าดงเย็น ตำบลหนองแซง อำเภอหันคาจังหวัดชัยนาท ไม่มีคอมพิวเตอร์ให้พระใช้ หนังสือพิมพ์ต้องผ่านการเซ็นเซอร์จากท่านเจ้าสำนัก โดยอาจจะไม่ได้อ่านครบทุกหน้า (ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้อ่าน) มีแต่หนังสือธรรมมะ โทรศัพท์ต้องขออนุญาตจากท่านเจ้าสำนัก มีสวดพระปาติโมกข์ อุปัฏฐากท่านเจ้าสำนัก (อาจารย์) ล้างห้องน้ำให้อาจารย์ (แบ่งเวร) นวดตัวนวดเท้าให้ท่าน เดินบิณฑบาตถือบาตรให้ท่านเจ้าสำนักหรือพระที่แก่พรรษา มีถลกบาตร ถลกฝาบาตร ถักเองหรือพระผู้อื่นถักให้ มีการเผาบาตร มีโรงย้อมผ้า มีหั่นแก่นขนุนเพื่อต้มทำน้ำย้อมจีวร มีโรงล้างบาตร โรงครัวๆ ลๆ กุฏิต้องเติมน้ำรอบๆ เพื่อกันมดแมลงขึ้นมา มีฟังและสอบถามพระวินัย หากสงสัยเรื่องอาบัติต้องสอบถามโดยเร็ว และบอกอาบัติโดยด่วน ก่อน และ หลังต้องอาบัติๆ ...

อาจไม่มีเรื่องใดที่ทำให้ต้องเสียใจภายหลังนะครับ... ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต ..... อยู่ในประเทศที่สมควร ทำบุญไว้แต่ปางก่อน..ๆ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
แสงจันทร์
วันที่ 23 ส.ค. 2554

ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่ดีครับ แต่ในส่วนตัวผมว่าดีมันก็มีหลายระดับ เช่น

ผู้ที่บวชมาไม่ศึกษาอะไรเลยอยู่ไปวันๆ แต่ท่านก็ดีที่ท่านไม่ได้ออกไปทำบาปอะไรข้างนอก

ผู้ที่เรียนมหาลัยสงฆ์ก็ดีเหมือนกันแม้การเรียนจะเจือด้วยกิเลสแต่ก็ได้ความรู้วิชาต่างๆ และในหลักคำสอนอยู่บ้าง เช่นบางรูปไม่กล้าเทศน์แต่พอได้ออกมาพรีเซนรายงานก็ทำให้กล้าที่จะพูด หรือได้ค้นคว้าหลังคำสอนบ้าง นำไปแนะนำโยมได้บ้าง คือดีกว่าอยู่เฉยๆ นั่นเองเพราะอยู่เฉยๆ อาจจะฟุ้งซ่านแล้วก็สึกไป

ส่วนผู้ที่ดีที่สุดก็อย่างที่ท่านว่าละครับธุระมี๒อย่าง๑วิปัสนา (วาสะธุระ) และคันถธุระ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับอีกครั้งครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
แดนกระจ่าง
วันที่ 23 ส.ค. 2554

หลักมหาปเทส ๔ ควรปรับใช้ได้แล้วเพราะว่ายุคการเวลา การศึกษาถูกเปลี่ยนไปแล้วมุมมองการศึกษาเปลี่ยนไปแล้ว เหลือแต่สังวรสำเนียกของแต่ตัวละบุคคล เราเดินทางสวนกระแสโลกไม่ได้เพราะคนทั้งหลายยังต้องอาศัยเราทั้งนั้น ในขณะเดียวกันทางธรรมต้องเดินประจำใจ แต่ที่อธิบายมานั้นมันต้องอาศัยอาจารย์ผู้เป็นกัลยาณธรรมแล้วสมัยนี้จะหาได้จากที่ไหน ในเมื่อต้องมีการแลกเปลี่ยนทุกที่แม้แต่อาจารย์บางท่านเองด้วยซ้ำ มีแนวทางออกฉะไหนดี

ขอบคุณท่านผู้ทรงคุณวุฒิ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 24

จากคำกล่าวที่ว่า แต่ในส่วนตัวผมว่าดีมันก็มีหลายระดับ เช่น ผู้ที่บวชมาไม่ศึกษาอะไรเลยอยู่ไปวันๆ แต่ท่านก็ดีที่ท่านไม่ได้ออกไปทำบาปอะไรข้างนอกผู้ที่เรียนมหาลัยสงฆ์ก็ดีเหมือนกันแม้การเรียนจะเจือด้วยกิเลสแต่ก็ได้ ความรู้วิชาต่างๆ และในหลักคำสอนอยู่บ้าง เช่นบางรูปไม่กล้าเทศน์แต่พอได้ออกมาพรีเซนรายงานก็ทำให้กล้าที่จะพูด หรือได้ค้นคว้าหลังคำสอนบ้าง นำไปแนะนำโยมได้บ้าง คือดีกว่าอยู่เฉยๆ นั่นเองเพราะอยู่เฉยๆ อาจจะฟุ้งซ่านแล้วก็สึกไป ส่วนผู้ที่ดีที่สุดก็อย่างที่ท่านว่าละครับธุระมี ๒ อย่าง คือ วิปัสนา (วาสะธุระ) และคันถธุระ

เราก็ต้องเป็นผู้ตรงว่าเป็นเพศอะไร บวชเพื่ออะไร การเป็นเพศพระภิกษุ ก็ต่างกับเพศคฤหัสถ์อย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการประพฤติก็ควรขัดเกลาและเป็นไปตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ครับ และที่สำคัญเราไมได้ไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่มีความประพฤติไม่ดี แต่เราต้องยึดหลักพระธรรมวินัย เปรียบเทียบกับพระธรรมวินัยเป็นสำคัญว่า ประพฤติเป็นไปตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติหรือไม่ ในฐานะที่บวชเข้ามาในพระธรรมวินัยนี้ที่เป็นเชื้อสายศากยบุตรแล้วครับ

คำว่า ดี ถ้าเป็นอกุศลแประพฤติล่วงอาบัติ จะกล่าวว่าดีไมได้เลย เพราะเป็นอกุศล ดังนั้น คำว่า ดีและมีประโยชน์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความคิดของใคร แต่ขึ้นอยู่กับสัจจะ ความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงและบัญญัติไว้ว่าเป็นอย่างไร สิ่งที่ดี มีประโยชน์ คือ จะต้องเป็นกุศล อกุศลแม้เพียงเล็กน้อย ล่วงอาบัติจะกล่าวว่ามีประโยชน์และเป็นสิ่งที่ดี ไม่ได้ครับ แต่ประโยชน์ไมได้อยู่ที่การพูดธรรมได้ การกล้าที่จะพูด นี้ ไม่ใช่สาระในธรรมวินัยนี้ เพราะสาระในธรรมวินัยนี้ คือ ศีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ นี่คือสาระที่ได้จากการบวชและประพฤติตามในพระธรรมวินัยนี้ครับ

ดังนั้น เราจะต้องเป็นผู้ตรงว่าจะรักษาพระศาสนาด้วยการประพฤติตามพระธรรมวินัย ไม่ให้พระศาสนาผิดเพี้ยนไปเพราะเห็นว่าดี มีประโยชน์เหมือนดังเพศคฤหัสถ์เขาเรียนกัน เราจะต้องเข้าใจก่อนครับว่าเราไม่ใช่เพศคฤหัสถ์แต่เป็นพศบรรพชิตครับ ดังนั้นการประพฤติตามพระวินัย โดยไม่ได้เรียนวิชาทางโลกอันนำมาซึ่งอาบัติ ทั้งตัวผู้เรียนเองและผู้สอนเอง ถ้าเป็นเพศพระภิกษุ เมื่อรู้อย่างนี้ควรประทำสิ่งที่เป็นอาบัติหรือไม่ และเป็นประโยชน์หรือไม่เมื่อเป็นอาบัติครับ

คลิกอ่านที่นี่...

การเรียนทางโลกของภิกษุสามเณร เรียนได้หรือเปล่า

แม้การอยู่ที่วัด ก็สามารถอ่านธรรม ศึกษาธรรมได้และก็ไม่เป็นอาบัติด้วยเพราะการเรียนวิชาการทางโลกที่เป็นของคฤหัสถ์ไม่ใช่ของบรรพชิต ก็ไม่ทำตนดังเช่นคฤหัสถ์อันเป็นเหตุให้ ผู้มีปัญญาและคฤหัสถ์ติเตียนได้ว่า ประพฤติตนดังเช่นคฤหัสถ์อันนำมาซึ่งความไม่เลื่อมใสในปัจจุบัน และคลายความเลื่อมใสของบุคคลที่เคยเลื่อมใสพระองค์เห็นประโยชน์อำนาจตามที่กล่าวมา จึงบัญญัติสิกขาบท จึงให้ภิกษุประพฤติตามพระวินัยที่พระองค์บัญญัติไว้ ไม่ใช่อนุโลมตามความชอบใจของเราเองเป็นสำคัญครับ ต้องเป็นผู้ตรงว่าเราเป็นเพศอะไรและบวชเพื่ออะไรครับ การเป็นผู้ตรงและประพฤติตามพระธรรมวินัย ย่อมจะได้สาระจากพระธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 25 ครับ

จากคำกล่าวที่ว่า หลักมหาปเทส ๔ ควรปรับใช้ ได้แล้วเพราะว่ายุคการเวลา การศึกษาถูกเปลี่ยนไปแล้วมุมมองการศึกษาเปลี่ยนไปแล้ว เหลือแต่สังวรสำเนียก ของแต่ตัวละบุคคล เราเดินทางสวนกระแสโลกไม่ได้ เพราะคนทั้งหลายยังต้องอาศัยเราทั้งนั้น ในขณะเดียวกันทางธรรมต้องเดินประจำใจ แต่ที่อธิบายมานั้นมันต้องอาศัยอาจารย์ผู้เป็นกัลยาณธรรมแล้วสมัยนี้จะหา ได้จากที่ไหน ในเมื่อต้องมีการแลกเปลี่ยนทุกที่แม้แต่อาจารย์บางท่านเองด้วยซ้ำ มีแนวทางออกฉะไหนดี ขอบคุณท่านผู้ทรงคุณวุฒิ อนุโมทามิ

หลักมหาปเทส ๔ นั้น เป็นการประพฤติให้ตามความเหมาะสมของพระวินัย ไม่ใช่ไปแต่งเติมและให้ไปตามยุคสมัยและทำให้ผิดพระวินัยครับ ซึ่งในการเรียนทางโลก นั้น ไม่ใช่กิจของพระภิกษุเลยโดยประการทั้งปวง ดังนั้นเราจะปรับตามโดยเป็นเช่นดังคฤหัสถ์นั้นไม่ใช่หลักมหาปเทส ๔ ครับ เพราะเป็นการปรับให้ออกห่างจากสิกขาบทและห่างจากพระสัทธรรมและความประพฤติมักน้อย สันโดษของเพศภิกษุครับ ดังนั้นถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็ประพฤติเช่นนี้ไม่เป็นไร เรียนหนังสือทางโลก เพราะเป็นเพศคฤหัสถ์ แต่เมื่อเป็นเพศบรรพชิตแล้ว จะประพฤติดังเช่นคฤหัสถ์ไมไ่ด้ครับ และสิกขาบทก็แสดงไว้แล้วว่า ภิกษุผู้สอนหรือเรียน เดรัจฉานวิชา ก็เป็นอาบัติครับ ดังนั้นก็ต้องประพฤติตามพระธรรมวินัยและตามที่กล่าวว่าผู้อื่นต้องอาศัยเรา ดังนั้นเพศบรรพชิตเองก็ต้องปฏิบัติตามพระวินัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้คฤหัสถ์ได้เข้าใจถูก ไม่เช่นนั้นก็จะทำให้คฤหัสถ์เข้าใจผิดว่า เพศบรรพชิตเรียนหนังสือทางโลกได้ ไดมีปริญญา ประกาศนียบัตร ก็ทำให้มีความเข้าใจผิด พระศาสนาก็อันตรธานเร็วขึ้นครับ ดังนั้นมหาปเทส ๔ จึงเป็นเรื่องที่ปรับให้ตรงตามพระธรรมวินัยไม่ใช่เป็นอาบัติแล้วจะกล่าวว่าเป็นมหาปเทส ไม่ได้ครับ เราต้องเข้าใจว่่าเราเป็นเพศอะไร และจุดประสงค์ที่บวชนั้นเพื่ออะไรครับในพระธรรมวินัยนี้ ขอ

อนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
แดนกระจ่าง
วันที่ 23 ส.ค. 2554

9 ประเด็นผู้รู้ชัดรบกวนหาข้อมูลช่วยผมที่ สาธุ สาธุ จะได้เป็นประโยชน์แก่พระท่านเณรท่าน

1. สรุปว่า รู้ทั้งรู้ว่ามีลิขสิทธิ์ก็จริงแต่โหลดไปด้วยความสำคัญว่าไม่ได้อยู่ในอาการของขโมย ที่ไม่ใช้จิตคิดว่าตนนั้นขโมย หมายถึงไม่มีไถยจิต ไม้ต้องอาบัติปาราชิกใช่ไหมครับ ช่วยอธิบายคำว่าไถยจิตให้กระจ่างทีครับ

2. ปัจจุบัน หนัง เพลง ที่มีลิขสิทธิ์ดูหรือฟังก็ดี ดาว์โหลดก็ดี ในของปลอมซึ่งไม่ใช่ของจริง จะถือว่าของปลอมที่ copy นั้นเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเปล่า หรือว่าของปลอมนั้นถือว่าเป็นของๆ hacker ผู้ปลอม

3. หากผู้นั้นมีความั่นใจว่าสิ่งที่ตนทำนั้นเป็นจริงแต่ไม่ได้ขโมย เพราะสำคัญว่ารู้ว่าดาว์โหลดแต่ไม่ได้สำคัญว่าคือการขโมย จะจัดว่าเป็นไถยจิตหรือไม่อย่างไร

4. คำถามสรุปว่า "ไม่ได้สำคัญว่าขโมยเพราะไม่ได้จงใจขโมย มีความเข้าใจว่าเป็นของมีเจ้าของโดบของนั้นเหมือนบังสุกุลเพราะไม่ได้ขอใคร ไม่มีใครถวาย เหมือนผ้าที่เกี่ยวกิ่งไม้นั้นไว้ ถือนำไปรู้ว่ามีเจ้าของจริงแต่ไม่ได้อยู่ในระยะเวลาทีเป็นปัจจุบันอีกทั้งของนั้นๆ มีไว้แต่สมัยใดก็ไม่ทราบ จึงถือเอาคือดาว์โหลดไปจึงปฏิเสธว่าไม่ได้ขโมย"

5. ซอฟแวร์นั้นเป็นของมีลิขสิทธิ์จริงอยู่แต่ต้องเป็นของแท้ แล้วของ copy มันเป็นของไม่มีลิขสิทธิ์ มันถูกแปลสภาพจาก hacker ที่เอามาโดยมีลิขสิทธิ์ มาทำใหม่คือ copy ของๆ นั้นก็กลายเป็นของไม่มีลิขสิทธิ์ เหมือนกับของมีลิขสิทธิ์แท้ย่อมส่งคืนเจ้าของ แต่ของไม่ไม่มีลิขสิทธิ์คือของปลอมต้องทำลายเพราะเป็นของหาเจ้าของไม่ได้ จริงหรือไม่อย่างไรมีความเห็นเช่นนี้ครับ

6. โปรแกรมที่ hacker ไปเอามาแล้วปล่อยให้คนอื่นดาว์โหลดนั้น จะสำคัญที่ตัวโปรแกรมไม่ได้เพราะโปรแกรมส่วนใหญ่ปล่อยให้ดาว์โหลด ที่สำคัญมันอยู่ที่ Serial number คือรหัส มากกว่า

7. เข้าใจตามพระวินัยปิฏกว่าอาการลักทรัพย์ ทรัพยในที่นี้หมายถึงสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ ถ้าเป็นแผ่นโปรแกรมผีก็ถือว่าใช่ เพราะมันมีชิ้นส่วนของวัตถุธาตุประกอบเป็นชิ้นๆ แต่ถ้าเป็นโปรแกรมดาวนโหลดอ่ะครับมันไม่เป็นวัตถุอ่ะความเป็นธาตุเดิมมันไม่ดี ธาตุ ๔ ในโปรแกรมดาวโหลดบนอินเตอร์เน็ตมันไม่มีอะนะครับ และ

8. Serail number นี้อาจเป็นของเจ้าของผู้ผลิตเดิมได้และเป็นของHackerปลอมแปลงได้ ส่วน Keygen / Crack สองอย่างนี้มันเป็นของ Hacker โดยสมองที่โปโกงเค้ามา ที่ปล่อยมา

9. เรื่องโปรแกรมที่เป็นประเด็นตั้งแต่กระทู้แรกนี่หมายถึงโปรแกรมที่ดาว์โหลดมา ซึงคำว่าดาว์โหลดนี่มันต้องกับ อวหาร๑๓ ข้อตัวไหนครับ ผมไม่ชัดตรงนี้ช่วยผมที

ขอขอบคุณอย่างยิ่ง ที่มีการถ้าตอบแก้กันไปเพื่อให้ชัดเจนกระจ่างๆ แจ้ง ยิ่งขัดเกลาคำถามยิ่งทำความเข้าใจ ก็ยิ่งเป็นผลดี ทั้งนี้บุญกุศลใดที่ท่านทั้งหลายได้ช่วยกันขัดแต่ปัญญา ขอให้ท่านมีความฉลาดประดุจพระนาคเสนเลยน่ะครับ แต่อย่าพึ่งเบื่อก่อนละเพราะว่าจุดมุ่งหมายได้ไม่ไดเพื่อความขัดแย้งหรือข่ม แต่ธรรมมะยิ่งขัดยิ่งกระจ่าง อาศัยช่วยกันนี่แหละครับ

อนุโมทนามาทุกท่านทุกคน

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
แดนกระจ่าง
วันที่ 23 ส.ค. 2554

บุคคลที่ ๑ (เจ้าขอเดิมผู้ผลิต)

บุคคลที่ ๒ (Hacke ปล่อยให้ดาวโหลด)

บุคคลที่ ๓ (ตัวเราที่ดาว์โหลด)

เราสำคัญว่าเราดาว์โหลดคือเอามาจาก บุคคลที่ ๒ ซึ่งไม่ได้สำคัญว่าเอามาจากคนที่ ๑ เจตนาของบุคคลที่ ๓ มันตกไปอยู่คนที่ ๒ ไม่ใช่คนที่ ๑ อย่างนี้ชัดเจนไหมครับ จะปรับโทษไหมแล้วแบบนี้ถือว่ามีไถยจิตไปขโมยของบุคคลที่ ๑ ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 28 และ 29 ครับ

ผมขออนุญาตตอบรวมๆ นะครับ ตามสิกขาบทนี้ หากภิกษุไม่มีไถยจิตคิดจะขโมย แน่นอนครับ ไม่เป็นอาบัติปาราชิกแน่นอน ไม่ว่ากรณีใดๆ แต่ถ้ามีจิตคิดจะขโมย คือ รู้อยู่ว่าเป็นของที่มีลิขสิทธิ์ และการดาวโหลดก็จะทำให้ผู้ที่ผลิต เสียผลประโยชน์เพราะเขามีไว้ขาย ไม่ใช่มีไว้ให้ใช้ฟรี จึงมีจิตที่จะขโมยที่จะได้โปรแกรมนั้นมา จึงดาวโหลดอันนี้ผิดแน่นอนครับ

ส่วนประเด็นเรื่องของแท้ กับของ ก๊อปปี้นั้น ในความเป็นจริง การดาวโหลดก็ทำให้ผู้อื่นเสียหาย เพราะเขามีไว้ขายและเจ้าของหวงแหน ไม่ให้มีการทำลอกเลียนแบบหรือทำก๊อปปี้ เพราะย่อมทำลายประโยชน์ต่อผู้ผลิตที่จะนำมาขายครับ ไม่ใช่ให้ดาวโหลดฟรีครับ ส่วนการก๊อปปี้มาแล้วดาวโหลด การดาวโหลดของที่ก๊อปอีกที ก็เท่ากับว่าขโมยของที่มีลิขสิทธิ์ตั้งแต่ต้นเพราะเป็นเนื้อหา รูปแบบ โปรแกรมเดียวกันนั่นเองครับ ไม่ใช่เปลี่ยนเป็นโปรแกรมอื่น รูปแบบของโปรแกรมอื่นเมื่อมาให้ดาวโหลดที่เป็นก๊อปปี้ใหม่มาครับ

ส่วนในประเด็นข้อ 7

7. เข้าใจตามพระวินัยปิฏกว่าอาการลักทรัพย์ ทรัพยในที่นี้หมายถึงสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ ถ้าเป็นแผ่นโปรแกรมผีก็ถือว่าใช่ เพราะมันมีชิ้นส่วนของวัตถุธาตุประกอบเป็นชิ้นๆ แต่ถ้าเป็นโปรแกรมดาวนโหลดอ่ะครับมันไม่เป็นวัตถุอ่ะความเป็นธาตุเดิมมันไม่ ดี ธาตุ ๔ ในโปรแกรมดาวโหลดบนอินเตอร์เน็ตมันไม่มี อะนะครับ ข้อยกข้อความในี้ให้อ่านอีกครั้งครับอ่านครับ

สื่อต่างๆ ที่เป็นเพลง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันก็มีการขายทางอินเตอร์เน็ทโดยให้ดาวโหลด เช่น เวปอเมซอน หรือ หนังวีดีโอก็ขายกันทางอินเตอร์เน็ที่ให้จ่ายเงินและสามารถดาวโหลดได้ ซึ่งเมื่อก่อนไม่มีการขายกันทางนี้ คือทางเน็ทและให้ดาวโหลด ปัจจุบันมีมากขึ้น แม้ในเมืองไทย มี บริษัท อาร์เอส ก็ทำธุรกิจด้านนี้ ผู้คนก็ใช้วิธีนี้มากขึ้น การขายทางซีดีของบริษัทก็น้อยลง เพราะผู้คนนิยมเล่นคอมพิวเตอร์และใช้วิธีการดาวโหลดเป็นหลัก ต่อไปในอนาคต การขายซีดีลดลงจนหายไป ก็มีการขายหนัง เพลง โดยการให้ดาวโหลดเป็นหลัก โดยการจ่ายเงินครับ ดังนั้น เมื่อลิขสิทธิ์และการซื้อขายคือการให้ดาวโหลด ดังนั้น การที่ซื้อแล้วดาวโหลดมาอันนี้ไม่ผิด เพราะทำตามข้อตกลงของบริษัทในการขายหนังและเพลง แต่เมื่อไม่ได้รับอนุญาต เพลงและหนัง รวมทั้งซอฟแวร์นั้นมีไว้ขาย แต่ทำการดาวโหลด ข้อมูลนั้นโดยไมได้ซื้อจากบริษัทด้วยจิตที่รู้ว่า เขามีไว้ขายและมีลิขสิทธิ์แต่ก็อยากได้มาเป็นของตนด้วยจิตขโมย จึงดาวโหลด เท่ากับว่า เป็นอทินนาทานแน่นอน และที่สำคัญ การเคลื่อนจากฐาน ก็เป็นการเคลื่อนแล้วจากสิ่งที่มีอยู่ มาลงที่เครื่องตน แม้ต้นฉบับก็ยังอยู่แต่ของๆ นั้น โปรแกรมนั้น เพลงนั้นก็ได้เคลื่อนมาที่เครื่องของตัวเองแล้ว ก็เป็นการเคลื่อนจากฐานได้ครับ การขโมยก็สำเร็จ ไม่เช่นนั้น ต่อไปเมื่อระบบมีการขายอย่างนี้ทั้งหมดในอนาคต ภิกษุบางรูปก็จะอ้างได้ว่า วัตถุไมได้เคลือ่นจากฐาน และทั้งๆ ที่มีจิตขโมย และโปรแกรม หนัง ซีดี เขาให้จ่ายเงินก่อนจึงดาวโหลด แต่ก็ทำการดาวโหลดแต่อ้างว่าไม่เคลื่อนจากฐาน นั่นไม่ใช่ฐานะ เพราะเคลื่อนแล้วมาสู่เครื่องของตน แม้ต้นฉบับจะยังอยู่ แต่ข้อมูลที่สำหรับมีไว้ขายก็ได้ย้ายมาสู่เครื่องของตนแล้วครับ ดังนั้น ธรรมจึงเป็นเรื่องละเอียดและเป็นผู้ตรงตามความเป็นจริงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2554

2. ปัจจุบัน หนัง เพลง ที่มีลิขสิทธิ์ดูหรือฟังก็ดี ดาว์โหลดก็ดี ในของปลอมซึ่งไม่ใช่ของจริง จะถือว่าของปลอมที่ copy นั้นเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเปล่า หรือว่าของปลอมนั้นถือว่าเป็นของๆ hacker ผู้ปลอม

ผมขออนุญาตยกข้อความที่แสดงเรื่องใครเป็นเจ้าของ คนขโมย เป็นเจ้าของหรือไม่ครับ

* * ในชีวิตประจำวัน เราอยู่ที่บ้าน เราเห็นโจรขโมยของที่ข้างบ้าน ที่เป็นเพื่อนบ้านของเรา ซึ่งเราก็รู้อยู่ (รู้ว่ามีลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ทั้งๆ ที่รู้เหมือนกับที่ผู้ตั้งกระทู้กล่าว) หากมีคนขโมยของมา โจรก็บอกว่าท่านเอาไปซิ อนุญาต และเราก็ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่า คนนี้ขโมยของเพื่อนบ้านมา ตกลงของที่โจรขโมยมาเป็นของคนที่ขโมย หรือว่า เป็นของเพื่อนบ้านของเรา หากเพื่อนบ้านหวงแหน และไม่ได้สละ โจรก็เอามาบอกท่านหยิบไปซิ การที่เราหยิบทั้งๆ ที่รู้อยู่ ชื่อว่าเป็นผู้ขโมยไหมครับ ก็เป็นผู้ขโมยต่อจากโจรนั่นเอง โจรขโมยสำเร็จแล้ว และเราก็รู้ว่าของเพื่อนบ้านไม่ใช่ของเรา (ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อัน ผู้อื่นหวงแหน ๑) การที่เราทำตามคำของโจร หยิบเอาไปเป็นของตนเอง ชื่อว่าขโมยไหมครับเพราะรู้ว่าเป็นของเพื่อนบ้าน (รู้ว่าซอฟแวร์มีลิขสิทธิ์เจ้าของคือคนผลิต) ก็ขโมยแน่นอนครับ นี่คือการเปรียบเทียบกับการที่พวกขโมยข้อมูลแล้วนำให้เผยแพร่และดาวโหลดกันครับ

ซึ่งซอฟแวร์นั้นสำหรับขาย มีลิขสิทธิ์เจ้าของหวงแหนครับ และก็รู้ทั้งรู้ว่ามีลิขสิทธิ์ยังดาวโหลดอีก ก็เป็นการขโมยต่อจากคนที่ขโมยคนแรกคือพวก แฮ๊กข้อมูลครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 32  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2554

คำแนะนำสำหรับประเด็นเรื่องการใช้คอม และปัญหาเรื่องการดาวโหลดสำหรับภิกษุ สามเณร

ผมขอแนะนำเพื่อประโยชน์กับพระภิกษุกับสามเณรในประเด็นนี้อีกครั้งครับ ถ้าทำได้จะไม่มีความกังวลในเรื่องนี้เลยคัรบ และก็จะเป็นผู้ขัดเกลากิเลสเพิ่มขึ้นด้วย เป็นประโยชน์กับผู้ที่ทำได้จริงๆ ครับ

เพศบรรพชิต เป็นเพศที่ขัดเกลากิเลสทุกๆ ประการ ดังนั้น การที่ประพฤติขัดเกลาและไม่ต้องกังวลคือการไม่มี ไม่ใช่เพราะอยากมีและหาวิธีเลี่ยงในสิ่งต่างๆ นั่นไม่ใช่วิสัยของเพศบรรพชิต และไม่ใช่ผุ้ที่ประพฤติตามพระธรรมวินัยครับ

ดังนั้นจะตัดปัญหาและไม่ให้มีปัญหาในเรือ่งต่างๆ ที่จะต้องถามและประพฤติตามพระธรรมของพระพุทธเจ้าด้วย คือ การมีบริขารตามที่เพศพระภิกษุควรมี และไม่มีคอมพิวเตอร์นั่นเองครับ ถ้าทำได้ก็ประพฤติตามพระธรรมวินัย พระพุทธเจ้าและไม่ไต้องกังวลอีก นี่คือ การแนะนำที่น่าจะเป็นประโยชน์ทีสุดครับ จะไม่มีปัญาหาต้องดาวโหลด ไม่มีปัญหาคือพระเดินซื้อคอมและหมกมุ่นในกิจที่ไม่ใช่ของพระภิกษุเลยครับ และไม่เป็นที่ติเตียนของคฤหัสถ์และนำมาซึ่งความไม่เลื่อมใสของประชุมชนด้วยครับ ก็เป็นการรักษาพระศาสนาด้วยเพราะเราประพฤติตามพระธรรมวินัยนั่นเองครับ แต่ถ้าทำไมไ่ด้ การเป็นคฤหัสถ์ที่ดีย่อมประเสริฐกว่าบรรพชิตที่ไม่รักษาพระธรรมวินัยครับ การตัดปัญหาคือการไม่มี นี่แหละชนะกิเลส และรักษาประพฤติตามพระธรรมวินัยครับ

สำหรับประเด็นเรื่องการมีคอมพิวเตอร์ของพระภิกษุ คงไม่ใช่แค่เรื่อง การดาวโหลดโปรแกรมเท่านั้นหรอกครับที่ไม่สมควร เมื่อมีคอมก็ใช้ทำสิ่งต่างๆ ไม่ต่างจากเพศคฤหัสถ์ และเป็นการสะสม

ดังนั้น เพศบรรพชิต สละอาคาร บ้านเรือนแล้ว เป็นผู้เว้นทั่วและต่างจากคฤหัสถ์ ดังนั้นจะกระทำดังเช่นคฤหัสถ์ไม่ได้ และสิ่งที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ แต่ควรเป็นผุ้มีความประพฤติเบา คือ มีบริขารสมควรกับพระภิกษุ ตามที่ควรจะมีครับ ดังนั้น การไม่มี ไม่สะสมย่อมทำให้เป็นผู้ขัดเกลาและไม่หมกมุ่นในสิ่งที่ดังเช่นคฤหัสถ์ประพฤติกันครับ ดังนั้น สิ่งที่จะต้องพิจารณาว่า กิจ ธุระของพระภิกษุนั้นคืออะไรครับ คือ ละ สละ ขัดเกลากิเลสและถึงความดับทุกข์เป็นสำคัญครับ แม้คฤหัสถ์จะถวาย คอม ก็สามารถปฏิเสธได้ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 33  
 
แสงจันทร์
วันที่ 23 ส.ค. 2554

ที่จริงที่พระพุทธเจ้าก็ทรงผ่อนปรนบางอย่างเช่นเรื่องโหราศาสตร์สมัยก่อนพวกโจรจับภิกษุไปถามเรื่องโหราศาสตร์ฤกษ์ยามภิกษุไม่รู้โจรเลยจับฆ่า ภายหลังพระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาติให้ภิกษุเีรียนเรื่องโหราศาสตร์ได้ หรือถ้าจะมองให้ไกล้ตัวถ้าท่านมีบุตรและอยากให้เขาบวชแต่เล็กท่านจะให้เขาเรียนทางธรรมอย่างเดียวหรือเรียนควบคู่กันไป และครูบาอาจารย์ที่ท่านเรียนมหาลัยสงฆ์จบไปแล้วท่านก็สร้างประโยชน์ให้แก่ศาสนาเยอะแยะ เช่นท่านว.วชิรเมธี แม้ท่านปัญญานันทท่านก็ยังสนับสนุนเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 34  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 33 ครับ

ดังนั้น เราต้องยึดสมัยพุทธกาลที่บัณฑิตทั้หงหลายประพฤติกัน สมกับคำว่า เถรวาทยึดเถระเป็นใหญ่ สมัยนั้น พระภิกษุทั้งหลาย ไม่มีการเรียน การสอนหนังสือที่เป็นของชาวโลก

พระภิกษุเป็นเพศที่ขัดเกลาและสละอาคารบ้านเรือนแล้วครับ จึงไม่ใช่ปรพฤติตัวดังเช่นคฤหัสถ์ หากประพฤติตัวดังเช่น คฤหัสถ์ก็จะมีชาวบ้านและประชุมชนติเตียนและไม่นำมาซึ่งความเลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้เลยเพราะพระประพฤติตนไม่ต่างกับคฤหัสถ์ ไม่สละ ขัดเลกากิเลสเพราะประพฤติเหมือนกับคฤหัสถ์นั่นเอง ดังนั้นก็ต้องเป็นผุ้ตรงว่าบวชเพื่ออะไร และพระพุทธสาสนา พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมและให้ภิกษุทั้งหลายเมื่อบวชแล้ว ทำกิจอะไร มี กิจ 2 อย่างตามที่กล่าวมา มีกิจคือการเรียนทางโลกดังเช่น คฤหัสถ์ที่ทำกันหรือไม่ ในสมัยพุทธกาล การเรียนการสอนจึงไทม่ใช่เอาวิชาความรู้ทางโลกมาสอนกันกับพระภิกษุครับ

ดังนั้น เราจะยึดความคิดของผู้คนสมัยนี้ หรือ จะยึดพระธรรมวินัยเป็นหลักและตัอวย่างที่ดีในสมัยพุทธกาลและสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ สมกับคำว่า มีพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง และมีพระธรรมเป็นที่พึ่งและมีพระอริยสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ตรงตามสิกขาบทในอดีตเป็นที่พึง หรือ จะเอาคนในยุคปัจจุบันโดยไม่พิจารณาว่าประพฤติตรงตามพระวินัยหรือไม่ เป็นที่พึ่งครับ และเมื่อพระพุทธเจ้าก่อนจะปรินิพพาน พระองค์แสดงว่า พวกเธอจงมีพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนเรา ดังนั้น เราทั้งหลาย ก็ควรประพฤติตามพระธรรมวินัยและเคารพในพระะรรมวินัย ด้วยการน้อมประพฤติปฏิบัติตามไม่เป็นผู้หลีกเลี่ยงคำสอนตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ครับ

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒- หน้าที่ 24

ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องเราด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน.

พึงประกอบการเรียกร้องด้วยความเป็นมิตร และไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นศัตรู ด้วยอรรถทั้งก่อนแลหลักอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้

บทว่า มิตฺตวตฺตาย แปลว่า ด้วยการปฏิบัติฉันมิตร.

บทว่า สปตฺตวตฺตาย แปลว่า ด้วยการปฏิบัติอย่างศัตรู.

บทว่า โอกฺกมฺม จ สตฺถุ สาสเน ความว่า เมื่อจงใจล่วงอาบัติ แม้เพียงทุกกฏ และทุพภาษิต ชื่อว่า ประพฤติหลีกเลี่ยง เมื่อไม่จงใจล่วงเช่นนั้น ชื่อว่าไม่ประพฤติหลีกเลี่ยง.

[เล่มที่ 9] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

เรื่องเรียนดิรัจฉานวิชา

[๑๘๓] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์เรียนดิรัจฉานวิชา...ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนดิรัจฉานวิชา รูปใดเรียน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๘๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สอนดิรัจฉานวิชา ชาวบ้านเพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. . .ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนดิรัจฉานวิชา รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ความคิดเห็นที่ 35  
 
มโน
วันที่ 23 ส.ค. 2554

จากการอ่านความเห็นต่างๆ ในกระทู้นี้

การศึกษาพระธรรมวินัย โดยมองหลักเหตุและผล ประการต้น หากความเชื่อปราศจากเหตุและผล ความหลงผิดย่อมบังเกิด ถ้าเราเชื่อว่าบาลีคือภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธพจน์ การที่ท่านอ้างคำในพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยขึ้นมาจะมาจากที่ใด หากไม่ผ่านการศึกษา เหตุที่พระพุทธองค์สามารถทำลายทิฏฐิทั้งหลายในสมัยนั้นได้ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระปํญญา

แล้วในสมัยเราหากต้องพบกับผู้มีมิจฉาทิฏฐิ เราจะอธิบายอย่างไรถ้าไม่ผ่านการศึกษา

ศาสนาเปรียบเทียบ ไม่ใช่วิชาที่สร้างความเลื่อมใสในศาสนาอื่น แต่เป็นการเพิ่มปัญญาให้เห็นแท้ว่า ศาสนาในปัจจุบันที่มีการแตกแยกกัน ก็เพราะขาดการศึกษาซึ่งกันและกัน

การเรียนศาสนาเปรียบเทียบไม่ได้เรียนเพียงวิชาเดียว แต่วิชาที่คู่กันคือวิชา พุทธปรัชญา ในปัจจุบันศาสนาที่ไม่ถูกระบุเป็นศาสนา แต่มีอิทธิพลอย่างมากต่อคนปัจจุบัน คือ ศาสนา - วิทยาศาสตร์ สิ่งที่ทำให้เหล่าพระสงฆ์ต้องศึกษาเพราะการตอบคำถามที่ยากแก่การพิสูจน์ กาศึกษาในวิชาต่างๆ หากไม่ศึกษาจุดประสงค์รายวิชา เห็นแต่ชื่อก็คิดไปต่างๆ จิตที่ฟุ้งซ่านไปยังไม่อาจรู้วาระจิตของตนจะเข้าใจธรรมอะไรได้ นอกจากยกตำราว่าอาจารย์ท่านว่าไว้แล้ว พุทธศาสนาสอนให้เป็นผู้รู้ ผ้ตื่น ผู้เบิกบาน ทำไมไม่ยกวิชาธรรมบทศึกษามากล่าวถึง นี่คือเดรัชฉานวิชาจริงหรือ และการศึกษาธรรมบทนั้น ไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงแค่แปลความถอดความได้

แต่เป็นวิชาที่ให้ความรู้เชิงวิเคราะห์ ถึงเนื้อความที่แท้จริง ซึ่งไม่ได้มองเพียงเนื้อเรื่องนิทาน แต่มองเนื้อพุทธพจน์ที่แท้จริง หากนี่คือเดรัจฉานวิชาแล้ว ถือว่าเป็นการดูถูกพระไตรปิฎกเองด้วยซ้ำ วิชาธรรมะภาคปฏิบัติ เป็นวิชาที่ทำให้ได้พบวิปัสสนาจารย์ ซึ่งก็อยู่ในหลักกัลยาณมิตรและได้ปฏิบัติวิปัสสนาธุระด้วย ถือว่าได้ศึกษาโดยสมบูรณ์ด้วยซ้ำ

บางคำถามที่เกิดจากการปฏิบัติ หากไม่มีกระบวนการศึกษา จะสามารถตอบคำถามในการปฏิบัติอย่างไร จะไปถึงเป้าหมายคือความพ้นทุกข์ได้อย่างไร

สุดท้าย เป็นข้อความชวนคิด องค์ธรรมแท้ สภาวธรรมที่ผู้รู้เท่านั้นที่พบ เข้าใจ ทำให้แจ้งได้ ไม่ใช่บาลี ไม่ใช่ภาษาไทย ไม่ใช่ภาษาใดๆ แต่ต้องบันทึกไว้เพื่ออะไร หากไม่ใช่ ... เพื่อศึกษา?

 
  ความคิดเห็นที่ 36  
 
แดนกระจ่าง
วันที่ 23 ส.ค. 2554

อ้างอิง คห 31

ผมคิดว่าถ้าอุปมาอย่างที่ท่านอาจารย์บอกก็คงไม่มีใครเอาหรอกครับเพราะอย่างนั้น ผิดเต็มๆ เพราะตาก็เห็นอยู่ แถมยังอยู่ใกล้บ้านอีกต่างหาก แต่กรณีซอฟแวร์มันไม่เหมือนกันอ่ะครับ มันไม่เห็นด้วยตา (เห็นเหมือนบ้านใกล้กัน) ไม่ได้เข้าไปยืนใกล้ (รั้วชิดกัน)

แต่มีอยู่อย่างเดียวคือ ไม่รู้ว่ามันผิด ไม่คิดว่ามันถูกที่ทำไป ถึงแม้ว่าผิดจนปรับอาบัติหรือไม่ผิดก็ตาม จิตพร่องจากการพิจารณาแล้วลงมือทำลงไป สติสัมปัชชัญญะไม่ได้สำคัญว่าขโมย ก็เป็นอันว่า ไม่ปรับอาบัติปาราชิก

ผู้ใดเห็นด้วยช่วยแสดงตนด้วยครับ หรือคัดค้านขอท่านแย้งมา เพื่อเอามติเป็นส่วนใหญ่จะได้ฟันธงและมั่นใจครับ ขอทุกท่านจงมีส่วนร่วมน่ะครับ สาธุx3

 
  ความคิดเห็นที่ 37  
 
แดนกระจ่าง
วันที่ 23 ส.ค. 2554

ดีใจมากๆ ที่ทุกคนให้ความสนใจ กท. นี้ครับ ^_^

 
  ความคิดเห็นที่ 38  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 35 ครับ

ศาสนาเปรียบเทียบในปัจจุบัน ที่สอนกันในปัจจุบัน ต่างกับพระธรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงอย่างสิ้นเชิงครับ เพราะศาสนาเปรียบในปัจจุบัน แต่งขึ้น โดยไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง ไม่อยู่ในพระไตรปิฎกเลย ต่างจาก พระธรรมคำสอนพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงเรื่องอัญเดียรถีย์ในความคิดของอัญเดียรถีย์

ดังนั้น แทนที่จะไปเรียนความคิดของผู้แต่งรุ่นหลัง แต่เรียนพระพุทธพจน์ที่มีอยู่แล้วที่แสดงหลักธรรมเปรียบเทียบอยู่แล้ว ก็เท่ากับว่าได้ศึกษาพระพุทธวัจนะโดยตรงครับ และที่สำคัญในสมัยพุทธกาลไม่มีการเรียนศาสนาเปรียบเทียบแบบปัจจุบันนี้ แต่เรียนพระธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงโดยตรง

ดังนั้น เราจะยึดหลักพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง คือเรียนพระธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนโดยตรง แต่ศาสนาเปรียบเทียบที่เรียนปัจจุบัน นำศาสนาอื่นๆ อันเกิจากการที่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้ามารวบรวมย่อมทำให้เกดความเข้าใจผิดได้ครับ แต่พะธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเป็นสัจจะไม่เป็นสองครับ ขอให้มีพระธรรมที่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งครับ ที่สำคัญในสมัยพุทธกาลไม่มีการเรียนเป็นหลักสูตรดังเช่นเหมือนคฤหัสถ์ในปัจจุบัน ท่านเรียนพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงจริงๆ แต่ไม่เรียนเป็นหมวดสังคมศาตร์ คุรุศาสตร์เพราะนั้่นเป็นของชาวโลกที่เรียนกันครับ ไม่ใช่ภิกษุจะต้องมาเรียนแบบคฤหัสถ์

เพราะฉะนั้น เราจะต้องเป็นผู้ตรงว่าบวชเพื่ออะไรและจุดประสงค์ของการบวชคืออะไร และเพศบรรพชิตจะปฏิบัติตนดังเช่นคฤหัสถ์ได้หรือไม่ครับ และนำมาซึ่งความเลื่อมใสของผู้มีปัญญาหรือไม่ครับ ตรงนี้ต้องพิจารณาตามพระธรรมของพระพุทธเจ้าทรงแสดงที่บัญญัติไว้ครับ ต้องเป็นผุ้ตรงจึงจะได้สาระจากพระธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 39  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 23 ส.ค. 2554

ขออนุญาตร่วมสนทนานะครับ

พุทธบริษัทมี ๔ ซึ่งเป็นแกนสำคัญในการส่งเสริมเผยแพร่พระพุทธศาสนา การเป็นพระภิกษุ ๑ (พระภิกษุณี ๑ ไม่มีแล้ว) เป็นเพศที่ควรขัดเกลาอย่างยิ่ง มีพระวินัยเป็นแนวทางแห่งการดำเนิน มีความประพฤติเยี่ยงบรรพชิตเป็นหลักในการเผยแพร่พระศาสนา สิ่งใดที่ผิดหรือแตกต่างออกไปจากพระวินัย แม้จะอ้างว่าเป็นกิจเพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา หากไม่ตรงตามพระวินัยแล้ว ย่อมทำให้ท่านหม่นหมอง และแทนที่จะเป็นการเผยแพร่กลับจะกลายเป็นการทำลายโดยไม่รู้ตัวเสียมากกว่า

แต่ในเพศอุบาสก ๑ อุบาสิกา ๑ ไม่มีพระวินัยเคร่งครัดอย่างเพศบรรพชิต จะประพฤติปฏิบัติอย่างไร หากไม่ผิดศีล ย่อมไม่มีผู้ตำหนิ จะเผยแพร่พระศาสนาในรูปแบบไหน พูดจาอย่างไร สไตล์ไหน ขบขัน ชวนหัว ให้เป็นที่นิยม หรือร่วมสมัย (แต่ต้องถูกต้องตามพระไตรปิฎกจริงๆ ) จะใช้คอมฯ ไม่ใช่คอมฯ จะเรียนทางโลกไปด้วยเพื่อให้ทันกิเลสคนสมัยใหม่ จะได้คุยกันรู้เรื่อง จะเอาประกาศนียบัตรมาเป็นเกียรติ เป็นศักดิศรี จูงใจ ก็ไม่มีใครว่า ตราบใดที่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน จะสร้างอะไร ทำอะไร ช่วยเหลือใคร เพื่อประโยชน์แก่สาธารณะและพระศาสนาก็ทำได้เต็มที่ ไม่ต้องกลัวเรื่องเงินเรื่องทอง เพศทั้งสองเพศนี้จึงเป็นช่องทางที่ดีที่สุดหากต้องการส่งเสริมและเผยแพร่พระศาสนา นอกไปจากการศึกษาอบรมประพฤติปฏิบัติด้วยตนเอง

ดังนั้น ต้องยึดหลักของพระธรรมวินัยไว้ให้มั่นคง ไม่มีข้อยกเว้นที่จะเป็นช่องทางให้หลักการกลายเป็นอื่น อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมต่อไป ผมยังมีความเห็นส่วนตัวว่า เพศบรรพชิตนั้นมีแนวทางเพื่อขัดเกลาอกุศลอย่างยิ่ง หากจะมีเพศบรรพชิต เพียงองค์ สององค์ ที่ยึดในแนวปฏิบัติตามพระธรรมวินัยจริงๆ ทั้งประเทศ ยังดีกว่ามีีมากมายหลายองค์แต่ไม่ได้ยึดพระธรรมวินัยจริงๆ แม้ท่านเหล่านั้นจะมีความรู้ความสามารถมากมายเพียงใดก็ตาม จึงขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมที่ให้ความเห็นที่ตรงไปตรงมาครับ และขออนุโมทนาทุกๆ ท่านที่ร่วมกันสนทนาเพื่อให้เกิดปัญญาในการพิจารณาเรื่องนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 40  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 36 ครับ

แม้ไม่เห็นด้วยตา แต่รู้ด้วยใจว่ามีลิขสิทธิ์ครับ ก็เป็นอันรู้แล้ว ส่วนถ้าไม่รู้หรือไม่มีไถยจิต คิดขโมยก็ไม่เป็นอาบัติปาราชิกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 41  
 
มโน
วันที่ 23 ส.ค. 2554

การศึกษา ที่เป็นทางคฤหัสถ์คืออะไร

การศึกษาเพื่อแก้ปัญหาด้วยปัญญาคืออะไรต้องแยกให้ถูก

การศึกษาของผู้มีปัญญาไม่ใช่เรื่องของการจำกัดเพศ

เพราะถ้ากำจัดเพศนั้น ทางอริยะจะเป็นเฉพาะพระสงฆ์กระนั้นหรือ?

ต้องแยกประเด็นออกจากกัน

เพราะถ้าได้เรียนศาสนาเปรียบเทียบจริง ต้องรู้จุดประสงค์

ผู้ไม่เรียนก็ย่อมไม่รู้เท่านั้น

ศาสตร์หรือสาขาก็แค่ความรู้ แต่สำคัญคือรู้แล้วนำไปทำอะไร

เพศคฤหัสถ์เรียนแล้วนำไปทำอะไร

เพศบรรพชิตเรียนแล้วนำไปทำอะไร

ถ้าท่านแยกได้ต้องชี้แจง

เพราะไม่เช่นนั้นท่านจะไม่เข้าใจในความหมายของเดรัจฉานวิชาที่ท่านอ้างเลย

ถูกที่หลักพระพุทธศาสนาสอนมาอย่างไร

ต้องถามว่า มาทางสื่ออะไรมากกว่า

พระสงฆ์ที่บวชมาก็ต้องศึกษากันทั้งนั้น สิกขา ๓ เป็นเบื้องต้น

ปัญจกัมมัฏฐาน เป็นช่วงต่อ

ปัจจุบันเพราะสื่อการสอนทางพระพุทธศาสนามีในหลายทาง

หากพระสงฆ์ไม่รับรู้ อาทิ เรื่องของ นายชลิต ภักดีบุตร ที่อ้างตัวเป็น ปธฺ ๙ ไปอยู่อิสลาม ซึ่งท่านก็ต้องอ้างพระไตรปิฎกเบื้องต้น และแก้เหตุผล

แล้วได้รับผลเช่นไร เมื่อเรายื่นเรื่อง เขาก็ตอบว่า นายชลิตไม่ใช่อิสลาม

เขาไม่ได้ไปพูดตามบ้าน หรือพิมพ์เอกสาร

แต่ลงสื่อทางอินเตอร์เน็ตด้วย

นี่คือหน้าที่ส่วนหนึ่งที่พระสงฆ์ก็ต้องอธิบาย

หากพระสงฆ์ไม่มีการศึกษา จะยังผู้ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสได้หรือ

ที่ว่าไม่ดูศาสนาอื่น คิดดีๆ เถิด

พระพุทธองค์อธิบายความเป็นพราหมณ์ในวาเสฐสูตรว่าอย่างไร

นี่แหละหลักศาสนาเปรียบเทียบ เราเทียบด้วยปัญญาไม่ใช่ยึดว่าเป็นเช่นนั้นเช่นนี้

เพราะที่ความเห็นก่อนๆ อธิบายเป็นศาสนาเปรียบเทียบในแบบคฤหัสถ์

แต่ทางสงฆ์ก็ยังไม่ได้ผิดไปจากคำสอนในพระพุทธศาสนาด้วยซ้ำ

อีกอย่าง และวิชาอื่นๆ ที่ได้ยกมาก่อนหน้านี้ ทำไมไม่เอ่ยถึง

เพราะคฤหัสถ์ไม่ได้เรียนเหมือนพระสงฆ์ บางชื่อวิชาเหมือนกันแต่ไม่ได้เรียนเองก็ไปกรอบด้วยความคิดตัวเองเท่านั้น

การศึกษาเพื่อค้นหาปัญญาและกัลยาณมิตรนำแนวคิดสู่ความดับทุกข์

แยกให้ดี คฤหัสถ์กับ บรรพชิตเรียนต่างกันอย่างไร

ถึงจะมีปัญญาแท้จริง...

 
  ความคิดเห็นที่ 42  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 23 ส.ค. 2554

ขออนุญาตสนทนาเรื่อง ศาสนาเปรียบเทียบ สักนิดนะครับ

เราเป็นชาวพุทธ จะไปเรียนเรื่อง ศาสนาเปรียบเทียบ ได้อย่างถูกต้องแท้จริงนั้น ก็ไม่พ้นที่จะต้องมีความเข้าใจพระธรรมอย่างไม่มีข้อกังขาเสียก่อน จึงจะนำศาสนาอื่นมาเปรียบเทียบได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น หากเรายังไม่มีความเข้าใจพระธรรมอย่างแท้จริงเสียแล้ว เปรียบเทียบกันไปมา อาจจะเป็นเรื่องคิดเอาเองไปคนละเรื่องเลยก็ได้นะครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 43  
 
แสงจันทร์
วันที่ 23 ส.ค. 2554

ก็เป็นการรักษาพระศาสนาด้วยเพราะเราประพฤติตามพระธรรมวินัยนั่นเองครับ แต่ถ้าทำไมไ่ด้ การเป็นคฤหัสถ์ที่ดีย่อมประเสริฐกว่าบรรพชิตที่ไม่รักษาพระธรรมวินัยครับ

คำกล่าวอย่างนี้ไม่ถูกนะครับ เพราะในพระสูตรกล่าวว่าการทำบุญกับบุคคลผู้มีศีล ๑๐๐ ครั้งไม่เท่ากับทำบุญกับภิกษุผู้ทุศีลครั้งเดียว แสดงให้เห็นว่าถ้ายังเป็นภิกษุอยู่แม้จะเป็นผู้ทุศีลก็ยังถือว่ามีเพศประเสริฐกว่าคฤหัสอยู่ดี เช่นสมัยพุทธกาลโลลุทายี และพวกภิกษุฉัพพัคคีกระทำผิดมากพระพุทธองค์ก็ยังไม่ได้ไล่สึกเลยนะครับ เพราะยังถือว่าท่านยังแก้ไขได้

บ้างครั้งการเรียนปริยัติแบบผิดทางก็เปรียบเสมือนจับงูพิษผิดวิธี เช่นถือว่าตนเองมีความรู้มากมองเห็นคนอื่นต่ำต้อยกว่าตัวเองได้

และที่จริงที่พระพุทธเจ้าก็ทรงผ่อนปรนบางอย่างเช่นเรื่องโหราศาสตร์สมัยก่อนพวกโจรจับภิกษุไปถามเรื่องโหราศาสตร์ฤกษ์ยามภิกษุไม่รู้โจรเลยจับฆ่า ภายหลังพระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาติให้ภิกษุเีรียนเรื่องโหราศาสตร์ได้ หรือถ้า จะมองให้ไกล้ตัวถ้าท่านมีบุตรและอยากให้เขาบวชแต่เล็กท่านจะให้เขาเรียนทางธรรมอย่างเดียวหรือเรียนคู่กันไปทั้งสองทางครับ

โหราศาสตร์เป็นเดรัจฉานวิชาหรือเปล่า

 
  ความคิดเห็นที่ 44  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2554

เนื่องจากกระผมได้ตอบความคิดเห็นไปแล้วมากมาย เราควรสรุปและควรเข้ามาที่ประเด็นแต่ละประเด็นครับ จะได้ใจความที่ถูกต้อง ผมจึงขอกราบเรียนพระคุณเจ้า ขออนุญาตถามปัญหาบ้างเพื่อเป็นการร่วมสนทนาธรรม เพราะผมก็ได้ตอบไปมากแล้ว จึงขออนุญาตถามปัญหา ให้พระคุณเจ้าทั้งหลาย ทั้ง ท่านแดนกระจ่าง ท่านมโนและท่านแสงจันทร์ ช่วยกันตอบคำถามเหล่านี้ ด้วยความเคารพครับ

กระผมค้างกระทู้ที่สหายธรรมได้ถามไว้หลายข้อมาก จึงขอรบกวนถามมาด้วยความเคารพครับ กระผมจะแบ่งเวลาตอบข้ออื่นก่อนครับ รบกวนถามนะครับ เพราะผมก็ได้ตอบท่านทั้งหลายไปมากแล้วครับ ตอบทีละข้อครับ และหากสหายธรรมท่านใดจะช่วยเสริมในคำถามที่ผมถามนี้ ก็จะเป็นประโยชน์ครับ

ผมขออนุโมทนาคุณผู้ร่วมเดินทางที่ร่วมสนทนาเพื่อให้รักษาพระธรรมวินัยและเพื่อควาเมข้าใจถูกครับ

1. จุดประสงค์ที่ถูกต้องในการบวชคืออะไร ตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธจ้าทรงแสดง

2. การที่พระมีคอมพิวเตอร์ เป็นไปเพื่อละคลายกำหนัด เพื่อสละ และเป็นสิ่งที่สมควรกับเพศบรรพชิตหรือไม่

3. การเรียนหนังสือดังเช่นคฤหัสถ์เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด จากกิเลสเพราะเพศบรรพชิตเป้นเพศที่ขัดเกลาอย่างยิ่งหรือไม่ครับ

4. การที่พระใช้คอมในกิจการงานต่างๆ และมีการดาวโหลดสิ่งต่างๆ ดังเช่นคฤหัสถ์สมควรหรือไม่

5. การเรียนหนังสือดังเช่น มหาวิทยาลัยทางโลก เช่น วิชาสัมคมศาสตร์...อื่นๆ ดังเช่นคฤหัสถ์เป็นกิจของสงฆ์ในกิจ 2 อย่าง คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ หรือไม่ และสมควรหรือไม่สำหรับเพศบรรพชิต

6. พระเถระที่เป็นแบบอย่างในอดีตที่เป็นผู้ขัดเกลา มักน้อยท่านเรียนหนังสือทางโลก ทีเป็นวิชาดังเช่นคฤหัสถ์เรียนหรือไม่ครับ

7. พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญให้ศึกษาวิชาการทางโลก ดังเช่นคฤหัสถ์ เช่น วิชา สังคมศาตร์ หรือไม่สำหรับเพศพระภิกษุ

 
  ความคิดเห็นที่ 45  
 
wannee.s
วันที่ 23 ส.ค. 2554
ที่สำคัญอยู่ที่เจตนา ถ้าเจ้าของเขาหวง เจตนาต้องการ มีความเพียรในการคัดลอกข้อมูล แล้วคัดลอกข้อมูลได้สำเร็จ ก็เป็นอทินนาทาน ศีลข้อที่สองขาดค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 46  
 
wannee.s
วันที่ 23 ส.ค. 2554
ขึ้นอยู่กับเจตนาเป็นสำคัญ ถ้ารู้ว่าเจ้าของเขาหวงแหน แล้วยังมีเจตนาต้องการคัดลอกข้อมูล มีเพียรพยายามในการคัดลอกข้อมูล ความเพียงนั้นสำเร็จ ศีลข้อสองขาดค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 47  
 
แดนกระจ่าง
วันที่ 23 ส.ค. 2554

คือ รู้ว่ามีลิขสิทธิ์ แต่ไมมีไถยจิตคิดจะขโมย แต่ก็ดาวโหลดไปแล้วถือว่าเป็นของฟรีครับ ถือว่าไม่ผิดถึงอาบัติปาราชิกใช่ไหมครับ

ขอบคุณอย่างสูงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 48  
 
แดนกระจ่าง
วันที่ 23 ส.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 19541 ความคิดเห็นที่ 40 โดย paderm

เรียนความเห็นที่ 36 ครับ

แม้ไม่เห็นด้วยตา แต่รู้ด้วยใจว่ามีลิขสิทธิ์ครับ ก็เป็นอันรู้แล้ว ส่วนถ้าไม่รู้หรือไม่มีไถยจิต

คิดขโมยก็ไม่เป็นอาบัติปาราชิกครับ

รู้ว่าเป็นโปรแกรมลิขสิทธิ์ แต่ไม่ได้มีไถยจิตขโมยเพราะส่วนใหญ่ตัวเจ้าของเองให้โหลดทดลองใช้งานแต่หลังจากเวลาที่กำหนดต้องมีค่าใช้จ่าย จึงโหลดมา อย่างนี้เรียกว่าผิดที่ไปใช้โปรแกรมของ Hack หรือเลขผลิตภณฑ์มาทำให้มันใช้ได้ตลอด อย่างนี้กระบวนการช่วงไหนถือว่าไม่ผิดตรงไหนถือว่าผิดครับ

บางกรณีเราไม่รู้ว่าลิขสิทธิ์โหลดมาแล้ว พอแตกไฟล์มีโปรแกรมhacker มาพร้อมใช้เลย แล้วเราก็ใช้โดยไม่คำนึงว่ามันจะผิด อย่างนี้จะเข้าค่ายลักทรัพย์หรือเปล่า

ข้อชัดน่ะๆ ครับทุกท่าลองแสดงความคิดเห็นที ละเอียดมากพอมาถึงช่วงนี้ สาธุสาธุสาธุอนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 49  
 
แดนกระจ่าง
วันที่ 23 ส.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 19541 ความคิดเห็นที่ 45 โดย wannee.sที่สำคัญอยู่ที่เจตนา ถ้าเจ้าของเขาหวง เจตนาต้องการ มีความเพียรในการคัดลอกข้อมูล แล้วคัดลอกข้อมูลได้สำเร็จ ก็เป็นอทินนาทาน ศีลข้อที่สองขาดค่ะ

เราไม่รู้ว่าเค้าหวงไม่หวง เพราะไม่ไดคำนึงถึงเรื่องนั้น เพราะเฉพาะหน้าตอนนั้นรู้เพียงว่ามีให้ดาวโหลดก็โหลดไปใช้ จิตไม่ได้ไตรตรองว่ามันจะเป็นโทษ อาการเผลอ อย่างนี้เรียกว่าเจตนามันพร่องไปหรือเปล่า เพราะยังไงผมตั้งตนอยู่แล้วว่าจะไม่ลักขโมยของใคร แต่ที่ดาวโหลดไป เพราะไม่มีเจตนาจะลักไปใช้ และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ควรปรับว่าขาดหรือไม่ขาดละครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 50  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 48 ครับ

ถ้าไม่รู้ว่ามีลิขสิทธิ์ไม่ผิดแน่ครับ ส่วนโปรแกรม จะมีทั้ง ฟรีแวร์ แชร์แวร์และต้องจ่ายเงินไม่ให้ดาวโหลดเลย ซึ่งฟรีแวร์ไม่มีปัญหาครับ แต่ถ้าแชร์แวร์ หมดอายุต้องเสียเงิน ครับ การดาวโหลดทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่าหมดอายุต้องเสียเงินและมีไถยจิตผิดครับ อทินนาทานแน่นอนครับ

เรียนความเห็นที่ 49 ครับ

ถ้าไม่รู้ เผลอ และไม่รู้ว่าเจ้าของหวง ไม่หวง ก็ไม่เป็นอาบัติปาราชิกครับ อนุโมทนา

คงต้องขอกราบเรียนร่วมสนทนาในความคิดเห็นที่ 44 ครับ ช่วยร่วมตอบคำถามในสิ่งที่ถามไปเพราะจะทำให้ได้เข้าใจให้ตรงตามพระธรรมวินัย และเมื่อเข้าใจถูกแล้ว ก็จะไม่เกิดปัญหาเหล่านี้ในประเด็นต่างๆ ที่ถามเลยครับ ดังนั้นกระผมได้ตอบคำถามแล้ว กรุณาร่วมตอบคำถามในความคิดเห็นที่ 44 ครับ ร่วมสนทนาธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 51  
 
แสงจันทร์
วันที่ 24 ส.ค. 2554

ขออนุญาตตอบนะครับ ผมความรูน้อย (นวกะ) ไม่รู้จะตอบถูกหรือเปล่า

1.จุดประสงค์ที่ถูกต้องในการบวชคืออะไร ตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธจ้าทรงแสดง

ตอบ เพื่อกำจัดทุกข์ทั้งปวง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง

2.การที่พระมีคอมพิวเตอร์ เป็นไปเพื่อละคลายกำหนัด เพื่อสละ และเป็นสิ่งที่สมควรกับเพศบรรพชิตหรือไม่

ตอบ การที่พระมีคอมพิวเตอร์ผมถือว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง จะผิดจะถูกขึ้นอยู่การใช้งานถ้าใช้ในทางกุศลในการเจริญปัญญาเช่นเป็นเครื่องมือศึกษาธรรมหรือเผยแผ่ก็สมควร ถ้าใช้ในทางอกุศลไม่สมควร

3.การเรียนหนังสือดังเช่นคฤหัสถ์เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด จากกิเลสเพราะเพศบรรพชิตเป้นเพศที่ขัดเกลาอย่างยิ่งหรือไม่ครับ

ตอบ การเรียนหนังสือดังเช่นคฤหัสถ์ไม่เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย แต่การเรียนของมหาลัยสงฆ์เรียนเพื่อเพิ่มศักยภาพให้พระภิกษุมีความเข้าใจในหลักธรรมลึกและกว้างขวางมากขึ้น ไม่ได้เรียนเพื่อไปประกอบอาชีพอย่างคฤหัสถ์ แม้จะมีใบประกาศแต่ทางนักธรรมหรือเปรียญธรรมก็มีใบประกาสเหมือนกัน

4.การที่พระใช้คอมในกิจการงานต่างๆ และมีการดาวโหลดสิ่งต่างๆ ดังเช่นคฤหัสถ์สมควรหรือไม่

ตอบการที่พระใช้คอมในกิจการงานต่างๆ และมีการดาวโหลดสิ่งต่างๆ ดังเช่นคฤหัสถ์ถ้าเป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดอกุศลไม่สมควร แต่ถ้าโหลดในสิ่งที่เป็นกุศลเช่นข้อธรรมต่างๆ เห็นสมควร

5.การเรียนหนังสือดังเช่น มหาวิทยาลัยทางโลก เช่น วิชาสัมคมศาสตร์...อื่นๆ ดังเช่นคฤหัสถ์เป็นกิจของสงฆ์ในกิจ 2 อย่าง คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ หรือไม่ และสมควรหรือไม่สำหรับเพศบรรพชิต

ตอบ การเรียนหนังสือในมหาลัยสงฆ์ไม่เหมือนทางโลก เนื้อหาส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับเรื่องของสงฆ์ เช่น ธรรมบทศึกษา พระวินัยเบื้องต้น ธรรมภาคปฏิบัติ พุทธวิธีการสอน แม้ศาสนาเปรียบเทียบก็เรียนเพื่อทราบแนวคิดทิฏฐิของศาสนาอื่นว่ามีแนวคิดอย่างไรหรือเหมือนกันอย่างไร เช่น ในอคัญญสูตรทิฏฐิ ๖๒ พระพุทธองค์ยังทรงทราบทิฏฐิของลัทธิต่างๆ และไม่ได้เรียนของเขาเพื่อนำของเขาไปแสดง แต่เรียนเพื่อรู้เขารู้เรา จัดเป็นคันถธุระโดยอนุโลมปฏิโลม

6.พระเถระที่เป็นแบบอย่างในอดีตที่เป็นผู้ขัดเกลา มักน้อยท่านเรียนหนังสือทางโลก ทีเป็นวิชาดังเช่นคฤหัสถ์เรียนหรือไม่ครับ

ตอบ สมัยนั้นยังไม่มีการเรียนการสอนแบบนี้จึงตอบไม่ได้

7.พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญให้ศึกษาวิชาการทางโลก ดังเช่นคฤหัสถ์ เช่น วิชา สังคมศาตร์ หรือไม่สำหรับเพศพระภิกษุ

ตอบ วิชาสังคมศาสตร์เชื่อเหมือนของทางโลก แต่เนื้อหารายวิชา เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาดังที่กล่าวมาแล้ว จงสังเกตุว่าถ้าเหมือนของคฤหัสถ์ป่านนี้ โยมคงแห่มาเรียนกันหมดแล้ว เพราะแทบเรียนฟรี และยังมีวิชาอื่นๆ อีกมาก เช่นอภิธรรม วิปัสสนาปริญญาโท บาลีศึกษาพุทธโคตร เป็นต้น

และขอให้ท่านตอบข้อที่๔๓ผมด้วยครับ และที่จริงการตอบปํญหาต่างๆ ควรมีการยืดหยุ่นบ้างถ้าเอาตามข้อบัญญัติเปะๆ น้อยคนจะทำได้ แม้ในสมัยพุทธกาลก็มีภิกษุอยากศึกเพราะไปสำนักวินัยก็บอกอย่างนี้ ไปสำนักพระธรรมธรก็้ห้ามอย่างนี้จึงไปกราบขอลาสิกขากับพระพุทธเจ้าว่า ทำอะไรก็ผิดไปหมดอยู่ไม่ได้แล้ว พระองค์จึงตรัสบอกว่าเธอรักษาใจของเธออย่างเดียวก็พอแล้ว เพราะอินทรีย์ของคนไม่เท่ากันแม้อริยะบุคคลชั้นต้นๆ ก็ยังคงต้องอาบัติอยู่บ้าง ดังนั้นควรที่จะอนุเคราะห์กันบ้างในบางเรื่องที่เห็นว่าสมควร

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 52  
 
แดนกระจ่าง
วันที่ 24 ส.ค. 2554

1.ลดละเลิกขัดเกลากิเลสให้หมดไป

2. ควรมีหรือไม่อยู่ทีเจตนาในการใช้งาน หากมีความจำเป็น โลกที่วิวัฒนาการก็ต้องปรับไปตามมหาปเทส ๔ แล้วการใช้โดยคำนึงถึงปัจจัยสันนิสิตศีล (การพิจารณาในการใช้สอยปัจจัย)

4.คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการค้นคว้า ส่วนที่จะดีหรือร้ายนั้นผู้ใช้เป็นตัวกำหนด ความประพฤตหนักหรือเบาก็อยู่ที่ว่ายึดติดมากหรือเปล่า คำว่าความประพฤติเบาหมายถึง ประพฤติเพียง 2 คือ สมถะ วิปัสสนา ไม่ได้หมายถึง วัตถุอุปกรณ์เครื่องใช้ของใช้ที่มีเยอะหรือน้อย บรรพชิตท่านรู้ว่าจะต้องมีอะไรบ้างในการดำรงชีพ ศึกษาโดยใช้อุปกรณ์ในการค้นคว้าในทางธรรมก็ได้ ในทางโลกก็ได้ อย่างที่เราใช้โต้ตอบกระทู้นี้ก็เช่นกัน สมัยพุทธกาลไม่มีก็จริงและไม่จำเป็นเพราะศรัทธาเลื่อมใส มีมาก ผู้รู้มีมาก กัลยาณมิตรมีมาก ปัจจุบันมันไมใช่แล้ว

3.บรรพชิต ไม่สมควรเช่น วิศวโยธา บริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว อันนี้ท่านที่จะเรียนท่านต้องรูตัวเองอยู่แล้วว่า อย่างไรก็ต้องสึก เราจะห้ามไม่ให้ท่านเรียนได้อย่างไร ถ้าเกิดว่าห้ามท่านเรียน ภายหลังท่านรู้ว่าเรียนทางโลกมีแต่ทุกข์โทษภัย กลับใจมาเรียนทางธรรมดีกว่า ถ้าเราคิดย่างนั้นก็เหมือนกับไปปิดโอกาส ไม่กลัวบาปที่จะเกิดขึ้น ควรให้บุคคลนั้นพิจารณาเอง เราไม่ควรปิดกั้นโอก่าสในการอุปสมบทท่าน ที่นี่ถามว่า พวกท่านทั้งหลายบวชเข้ามาแล้วจะห้ามให้เข้าไม่สึกได้อย่างไร ศรัทธามีขึ้นมีลง (ขนาดในสมัยพุทธการยังมีการสึกไปเข้าเดรถีย์) ศรัทธาในปัจจุบันต้องชักจูง ต้องใช้กำลังมาก

5.ปัจจุบันศรัทธาอย่างเดียวไม่พอในการให้คนอื่นเข้ามานับถือศาสนาพุทธ รร.พระปริยัติสามัญและสายบาลี วิทยาลัยสงฆ์ทุกแห่ง ที่มีการสอนทั้งทางธรรมก็ดีทางโลกก็ดี ก็ต้องมีการชักชวนให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า การศึกษาดียังไง เมื่อกุลบุตรเข้ามาศึกษาแล้ว ก็จะได้รับความรู้ทางธรรมแทรกในจิตใจ ทีนี้ก็จะเริ่มศรัทธาที่มีปัญญาไปร่วมด้วยเพราะได้เรียนทางธรรม การที่กุลบุตรบวชนั้นเพื่อพ้นทุกข์หรือไม่เป็นไปเพื่อพ้นทุกข์ ก็ไม่ได้ผิดอะไรเพราะปัญญาของคนมีมากน้อยไม่เท่ากัน ศรัทธาของแต่ละมีมากน้อยไม่เท่ากัน เป็นไปตามอำนาจกรรม บางคนทำบุญบารมีมาดีก็บวชอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง บางคนทำบุญน้อยบวชเค้ามาเพียงไม่นนานก็ต้องสึกออกไปเพราะมีเรื่องที่ต้องไปรับกรรมข้างนอกเช่น การมีครอบครัว เป็นต้น (การเรียนธรรมะเป็นสิ่งที่ให้คนเรารู้เท่าทันโลก และให้แซงโลกไป เหนือโลกไป แต่อย่าไปวิ่งในลู่วิงของโลก ต้องวิ่งในลู่วิ่งทางธรรม อุปเหมือนนักกรีฑา) การจะเข้าใจธรรมะก็ต้องมีพื้นฐานมาจากการเข้าใจโลกเสียก่อน ขนาดพระยสเถระ ก่อนบวชเป็นฆราวาสที่มีความเข้าใจในโลกแล้วก็หาทางธรรมแล้วบ่นพรึมพรัมว่า "ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ"

6.พระเถระในอดีตท่านไม่เรียนทางโลก เพราะท่านเข้าใจเข้าถึงโลกแล้ว ท่านผ่านมาหมด เช่น พระสาวกทั้งหลายล้วนแต่ก่อนเป็นคฤหัส์ทั้งนั้น

7.วิชาทางโลกเป็นทางผ่านเท่านั้น พระพุทธองค์ก็ทรงผ่านมาถึง 18 ศาสตร์ ผ่านมาถึงที่สุดแห่งศาสตร์ คือความดับไม่มีเหลือ

ที่เรียนทางโลกเพราะไม่ยังไม่เห็นทางธรรมที่เรียนทางธรรมเพราะเห็นทางเห็นทางโลก

สาธู สาธู สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 54  
 
แสงจันทร์
วันที่ 24 ส.ค. 2554

และสมัยนี้ก็แตกต่างสมัยพุทธกาลมาก ถ้าเราศึกษาเองอยู่แต่ในวัดดูหนังสือเองด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิอาจทำให้ตีความเห็นผิดเข้าข้างตัวเองได้ฉะนั้นจึงควรคบหากัลยานิมิตด้วย และการเข้ามาศึกษามหาลัยสงฆ์ก็ถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่ดี สังเกตุดูว่าพระไตรปิฏกที่เราใช้อ่านกันอยู่มาจากที่ไหนล้วนมาจาก ทั้งของมหามงกุฎและของมหาจุฬา

และบ้างครั้งบางที่บวชมาบางท่านก็ไม่ได้คิดถึงขนาดจะบรรลุนิพพานในปัจจุบัน อาจลางานมาบวชบ้าง พ่อแม่ให้บวชตามประเพณีบ้าง บางคนป่วยมาขอพรให้หายแล้วบวช ภายหลังสนใจในหลักคำสอนจึงอยู่ต่อ ท่านเจ้าอาวาสเห็นว่าควรให้ท่านมีความรู้เพิ่มขึ้นเพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้มาพัฒนาวัดวาอารามบ้างก็ให้ท่านมาเรียน เพราะบางครั้งวัดต่างจังหวัดตำรับตำราไม่ค่อยมีหรือผู้สอนก็หายาก การเข้ามาศึกษาหาความรู้ในมหาลัยสงฆ์ก็ถือว่าเป็นทางออกที่ดีระดับหนึ่ง และต้องขึ้นอยู่กับจุดประสงฆ์ของผู้ที่เข้ามาเรียนด้วย ว่าท่านเรียนเอาไปทำอะไร เช่นการเรียน พุทธศาสตร์ อภิธรรม วิปัสสนาปริญญาโท บาลีศึกษา โรงงานไหนจะรับเข้าไปทำงานบ้าง

แต่ถ้าท่านเรียนเพื่อจะสึกไปประกอบอาชีพจริงถือว่าท่านก็ได้โอกาสจากมหาลัยให้ท่านได้ศึกษาเพาระบางท่านก็ด้อยโอกาสทางการศึกษาเพราะฐานะไม่ดี แต่ถ้าบวชเข้ามาศึกษามหาลัยสงฆ์ก็ให้โอกาสท่านเรียนแล้วคิดดูว่าขณะที่ท่านเข้ามาเรียนในมหาลัยสงฆ์ธรรมต้องซึมทราบเข้าไปในหัวใจท่านไม่ใช่น้อย

แต่ถ้าท่านใดสนใจเอาดีด้านปริยัติก็มีการศึกษาบาลีใหญ่ที่วิทยาลัยเขตพุทธโคตร หรืออภิธรรมก็มี หรือเอาดี ทางด้านวิปัสสนาก็มีหลักสูตรให้ศึกษา ดังนั้นจึงขึ้นอยู่ที่ว่าท่านเรียนเพื่ออะไรถ้าจะกล่าวถึงอัสสาสะการเจริญสมาธิเพื่อหวังให้ได้ฌานก็ถือว่าเป็นอัสสาสะเพราะทำให้ติดและเมื่อฌานเสื่อมก็ย่อมจะเสียใจ แต่ฌานก็มีประโยชน์มากถ้าใช้ให้ถูกต้องดังนั้นจึงขึ้นอยู๋กับจุดประของผู้ที่ต้องการศึกษาจริงๆ

ถ้าบางท่านมีครูอุปัชฌาย์ที่ดีสั่งสอนแล้วก็ไม่เป็นไรท่านจะถือผ้าบังสุกุล๓ผื้นอยู่ปฏิบัติธรรมหวังความหลุดพ้นในชาตินี้ก็ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ของท่านแก่กล้าแล้วและถือว่าประเสริฐที่สุด

แต่การศึกษาของมหาลัยสงฆ์ก็ต้องถือว่าดีระดับหนึ่ง และการบวชเป็นพระก็ถือว่าดีระดับหนึ่งถึงศีลท่านจะด่างผล้อยบ้าง คือท่านไม่ล่วงปาราชิกหรือคลุกาบัติ ก็ยังถือว่าประเสริฐกว่าเพศคฤหัส์อยู่ดี จบความคิดเห็นในเรื่องนี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 55  
 
wannee.s
วันที่ 24 ส.ค. 2554

ในครั้งพุทธกาล จุดประสงค์ของการบวชเพื่อการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน และบรรพชิตเป็นเพศที่สูงมาก ถ้าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ก็ทำให้พ้นทุกข์ พระภิกษุในยุคนั้นมุ่งการศึกษาธรรมะอย่างเดี่ยว ไม่ใช่วิชาทางโลก และอบรมเจริญอริยมรรคมีองค์แปด ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 56  
 
paderm
วันที่ 24 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 43 51 52 และ 54 ครับ

ร่วมสนทนาธรรมนะครับ อย่างไรก็ดี ผมขออนุญาตตอบความเห็นที่ 43 ตามที่พระคุณเจ้าได้ให้ผมตอบ และขอร่วมสนทนาในความคิดเห็นอื่นๆ ด้วย เพื่อกระทู้นี้จะได้เป็นประโยชน์กับพุทธบริษัทและสหายธรรมทั้งหลายได้อ่าน และได้มีความเข้าใจถูกในหลากหลายประเด็น ก็ขอร่วมสนทนาถามตอบกันนะครับ ซึ่งกระผมจะขอยกข้อความในพระไตรปิฎกในส่วนต่างๆ ในการอธิบายแต่ละเรื่อง เพื่อจะได้มีธรรมเป็นที่พึ่งและเป็นเครื่องตัดสินความถูกต้อง โดยไม่เอาความคิดของคนในปัจจุบันเป็นเครื่องตัดสินครับ

เรียนตอบความคิดเห็นที่ 43 ครับ

สำหรับพระวินัยที่ท่านได้ยกมานั้น ในเรื่องที่พระพุทธเจ้าอนุญาต ให้ภิกษุเรียนรู้นักกษัตร ดวงดาว เรียนอย่างนี้ครับ การศึกษาพระวินัยต้องเป็นผู้ละเอียด ต้องเข้าใจว่า ที่พระพุทธเจ้าอนุญาตนั้นมุ่งหมายถึง ภิกษุรูปใด และเหตุใดจึงบัญญัติอนุญาตข้อนี้ครับสำหรับสิกขาบทข้อนี้ เป็นเรื่องที่ภิกษุมากรูปที่อยู่ในป่า (อรัญญกวัตร) ไม่ตั้งน้ำฉัน ไม่ตั้งน้ำใช้ ไม่ตั้งติดไฟและไม่รู้นักษัตร ไม่รู้ทิศ พวกโจรมาต้องการดื่มน้ำ ไม่ได้น้ำ ถามภิกษุทั้งหลาย เรื่องทิศ เรื่องนักษัตร ดวงดาว ภิกษุเหล่านั้นก็ไม่รู้ โจรเลยทุบตีภิกษุเหล่านั้นครับ พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรมเพราะเหตุที่เกิดเรื่องนั้น คือ เรื่องเกิดขึ้นแล้วจึงอนุญาต อนุญาตว่า ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ย้ำนะครับ

สำหรับภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร (อรัญญกวัตร) ควรกระทำกิจต่างๆ (จะยกข้อความในพระไตรปิฎกมาให้อ่านครับ) และก็ให้เรียนนักษัตร ดังนั้นการที่ให้พระเรียนนักกษัตรนั้นเพราะเกิดเรื่อง มีเหตุเกิดขึ้น คือถูกโจรทุบตีเพราะไม่รู้เรื่องนักกษัตรนั่นเองครับ ดังนั้นจึงจำกัดเฉพาะเหตุเรื่องนี้ครับ จะเอาเรื่องนี้ เหตุเกิดเรื่องนี้ไปเหมารวมว่า ควรศึกษาโหราศาตร์และวิชาทางโลกได้สำหรับภิกษุทั่วไป อันนี้เหมารวมไมไ่ด้ ครับ เพราะเมื่ออ่านโดยละเอียดนะครับในเหตุเกิดเรื่องนี้ แสดงถึงวัตรของผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ควรศึกษานักกษัตรเพราะป้องกันโจรครับ ดังนั้นการเรียนนักกษัตรนั้นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เฉพาะเรื่องนี้ครับและที่สำคัญที่สุด สำหรับพระภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเท่านั้น สำหรับในเรื่องนี้ครับ

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจะบัญญัติ อนุญาตเมื่อเหตุเกิดขึ้น คือ โจรทุบตี จึงอนุญาตเฉพาะเรื่องนั้นเหตุการณ์นั้นครับ จึงอนุญาตให้เรียนนักกษัตร และคงต้องย้ำว่า พระองค์แสดงวัตรของพระที่อยู่ป่าเป็นวัตรเท่านั้นครับที่ให้เรียน แต่ไม่ได้บัญญัติไว้เลยว่า ภิกษุที่อยู่ในบ้าน ที่ไมได้อยู่ป่าเป็นวัตรจะเรียนนักกษัตรได้ครับ เพราะไม่มีเหตุที่เกิดเรื่องขึ้น คือ ถูกโจรทุบ และไม่ใช่วัตรของพระภิกษุที่อยู่ตามบ้าน

ดังนั้น เมื่อเราอ่านพระวินัยเรื่องนี้ ซึ่งเป็นของพระภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ก็เลยเป็นอันว่า พระภิกษุที่อยู่ตามบ้าน ไม่ได้อยู่ป่า เป็นปกติ จะมาเรียนนักกษัตรได้ นั่นไม่ใช่เหตุ หากพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัตไว้ครับ

ดังนั้น เราก็ต้องเป็นผู้ตรงว่า ผู้ที่เรียนมหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรหรือไม่ครับ อันนี้ต้องเป็นผู้ตรง ดังนั้นจึงไม่ใช่จับเรื่องนี้ ที่เป็นของภิกษุผู้ป่าเป็นวัตร มารวมกับเรื่องที่เป็นการศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ครับ ซึ่งในสมัยพุทธกาล พระภิกษุผู้ขัดเกลา ไม่ได้เรียนทางโลกดังปัจจุบันครับ

เชิญคลิกอ่านที่นีครับ...

ข้อปฏิบัติภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร

 
  ความคิดเห็นที่ 57  
 
paderm
วันที่ 24 ส.ค. 2554

ส่วนคำถามที่ว่า โหราศาตาร์เป็นเดรัจฉานวิชาหรือไม่

โหราศาสตร์เป็นเดรัจฉานวิชาครับ

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 552

สา. ดูก่อนน้องหญิง ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เหตุดิรัจฉานวิชา คือ วิชาดูพื้นที่ สมณพราหมณ์เหล่านี้เรียกว่า ก้มหน้าฉัน ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เหตุดิรัจฉานวิชา คือ วิชาดูดาวนักษัตร สมณพราหมณ์เหล่านี้เรียกว่า แหงนหน้าฉัน

ซึ่งจากเรื่องที่ท่านได้ยกมาที่อนุญาตให้ภิกษุเรียน นักกษัตรได้ เฉพาะภิกษุที่อยู่ป่าเป็นวัตรและมีเหตุเกิดเรื่องคือถูกโจรทุบครับ ดังนั้น เราจึงไม่เหมารวม วิชาทางโลกว่าควรเรียน ดังพุทธานุญาติเรื่องนี้ครับ ดังเหตุผลที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งวิชาทางโลกที่เรียนกันในมหาวิทยาลัยสงฆ์ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ (ได้ไปดูในหลักสูตรมา) เป็นต้น วิชาเหล่านี้ เป็นเดรัจฉานวิชา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงและบัญญัติสิกขาบท ว่าผู้ใดเรียนหรือสอนเดรัจฉานวิชา ต้องอาบัติครับ ผิดพระวินัยครับ ดังสิกขาบทที่ว่า

[เล่มที่ 9] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

เรื่องเรียนดิรัจฉานวิชา

[๑๘๓] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์เรียนดิรัจฉานวิชา...ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนดิรัจฉานวิชา รูปใดเรียน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๘๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สอนดิรัจฉานวิชา ชาวบ้านเพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนดิรัจฉานวิชา รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

 
  ความคิดเห็นที่ 58  
 
paderm
วันที่ 24 ส.ค. 2554

ประเด็นเรื่องกิจของสงฆ์ มี 2 อย่าง พระธรรมที่พระพุทธเจ้าไม่เปลี่ยนแปลง เป็นสัจจะ พระองค์แสดงว่า กิจของภิกษุ ของสงฆ์คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ

คันถธุระ คือ ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า วิปัสสนาธุระ คือ อบรมปัญญาเพื่อดับกิเลส ดังนั้น เมื่อกิจของสงฆ์ที่ควรทำมีดังนี้ เราก็มาพิจารณาว่า คันถธุระคืออะไร ผมจะไม่เอาความคิดเห็นส่วนตัวนะคัรบ แต่จะนำพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า คันถธุระนั้นคืออะไรครับ

คันถธุระ คือ ธุระ ๒ อย่างในพระศาสนา

พระศาสดาตรัสตอบว่า "ภิกษุ ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ (กับ) วิปัสสนาธุระ เท่านั้น."

พระมหาปาละทูลถามว่า "พระเจ้าข้า ก็คันถธุระเป็นอย่างไร วิปัสสนาธุระเป็นอย่างไร"

ศ. ธุระนี้ คือ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฏกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าวบอก พุทธวจนะนั้น ชื่อว่าคันถธุระ. ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ยังวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการติดต่อแล้ว ถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะอันสงัด ชื่อว่าวิปัสสนาธุระ.

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 209

ฝ่ายภิกษุรูปนอกนี้ คิดว่า "เราจะบำเพ็ญคันถธุระ" ดังนี้แล้วเรียนพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกโดยลำดับ กล่าวธรรม สวดสรภัญญะในสถานที่ตนไปแล้วๆ .

จะเห็นนะครับว่า ภิกษุมี ธุระ 2 อย่างตามที่กล่าวมาและพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงซึ่งเป็นสัจจะความจริงไม่เปลี่ยนไปตามความคิดของใคร แสดงว่า คันถธุระ คือ การเรียนศึกษาพระไตรปิฎก พระพุทธวัจนะครับ ไม่ใช่การเรียนวิชาอื่นที่เป็นวิชาทางโลก ซึ่งเมื่อกระผมได้ไปอ่านหลักสูตรของมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็ได้พบหลักสูตร เช่น คณิตศาสตร์ มนุษยศาตร์

เรียนถามความเห็นที่ 43 และ 51 ครับ คำถามนะครับ

1. วิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาที่นำคำสอนอื่นมาเปรียบเทียบ เช่น ศาสนาเปรียบเทียบ หรือ เรียนปรัชญาตะวันตก เป็นต้น ใช่พระพุทธพจน์หรือไม่ และเป็นคันถธุระหรือไม่ครับ ช่วยยกพระพุทธพจน์อ้างอิงดังที่กระผมอ้างอิงด้วยครับว่า คันถธุระเป็นเช่นนั้นหรือไม่และคันถธุระคืออย่างไร เอาตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 59  
 
paderm
วันที่ 24 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 52 ข้อที่ 4 ครับ

ส่วนเรื่องการประพฤติเบา ที่เกี่ยวกับเรื่องการมีคอมพิวเตอร์ ตามที่ผมกล่าวไว้ตั้งแต่ตอนแรกว่า ภิกษุควรเป็นผู้มีความประพฤติเบา คือ มีบริขารน้อย เท่าที่จำเป็นที่จะมี แต่ท่านเจ้าของความคิดเห็นได้แสดงว่าเป็นสมถะและวิปัสสนา ผมขออนุญาตยกข้อความในพระไตรปิฎกที่แสดงในเรื่องของความประพฤติเบา เพื่อให้ได้มีความเข้าใจถูกทั้งผู้ร่วมสนทนาและสหายธรรมที่อ่านครับ และก็จะทำให้ได้รู้ว่าภิกษุควรเป็นผู้มีความประพฤติเบา คือ มีบริขารที่น้อยเพียงพอกับการใช้กับพระภิกษุเท่านั้นครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก

[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

ความประพฤติของภิกษุนั้นเบา เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า สัลลหุกวุตติ ผู้มีความประพฤติเบา. ภิกษุผู้มีบริขารมากบางรูป เวลาออกเดินทางก็ให้มหาชนยกบาตร จีวร เครื่องปูลาด น้ำมัน น้ำอ้อยงบเป็นต้น เป็นอันมากเดิน ศีรษะ กระเดียดสะเอวเป็นต้น อย่างใด ภิกษุใด ไม่เป็นอย่างนั้น ย่อมเป็นผู้มีบริขารน้อย รักษาแต่เพียงสมณบริขารแปดมีบาตรจีวรเป็นต้นเท่านั้น เวลาเดินทาง ก็ถือเดินทางไปเหมือนนกมีแต่ปีก ภิกษุเห็นปานนั้น ท่านประสงค์ว่า ผู้มีความประพฤติเบา

สำหรับมหาปเทส ๔ (ประเด็นการมีคอมพิวเตอร์ของพระภิกษุ) คงต้องเรียนย้ำอีกครั้งครับว่า การปรับเปลี่ยนให้เป็นผู้สะสม มักมาก และไม่ใช่บริขาร ของเนื่องด้วยบริขารของพระภิกษุ อันควรเป็นผู้มีความประพฤติเบา นั่นไม่สมควรเลยครับ ดังนั้น การปรับตามมหาปเทส ๔ คือ ปรับให้เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ไม่สะสม และให้ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติครับอันนี้สมควรครับ แต่ไม่ใช่ต่อไปโลกจะต้องวิวัฒนาการ (ตามเจ้าของความคิดเห็นกล่าวไว้) เป็นอย่างไร พระภิกษุก็ต้องมีตามคฤหัสถ์ก็ย่อมเป็นที่ติเตียนของวิญญูชน ต่อไปก็ต้องมี ไอโฟน ไอแพดตามคฤหัสถ์ เพราะต้องปรับตามโลก (ซึ่งก็อาจจะเริ่มกันแล้ว) แม้คฤหัสถ์ส่วนมากยังไม่มีกันเลย ซึ่งนั่นไม่สมควรเลยสำหรับเพศพระภิกษุที่เป็นเพศขัดเกลาอย่างยิ่งครับ ดังนั้นการใช้คำว่ามหาปเทส ๔ ต้องใช้ให้ถูกต้องครับ

เรียนความเห็นที่ 52 ครับ

ดังนั้นจึงมีคำถาม ถามในประเด็นเรื่องคอมพิวเตอร์ต่อครับ

1. การที่พระเดินหาซื้อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหมาะสมหรือไม่ครับ

2. และมีการใช้เงินซื้อสิ่งเหล่านั้น อาจจะเป็นคอมหรืออุปกรณ์คอมต่างๆ ถูกต้องตามพระธรรมวินัยหรือไม่ครับในการใช้เงินของพระภิกษุ

3. การที่พระดูข่าวสาร และการบันเทิงและเวปอื่นๆ ที่ไม่ใช่ธรรม โดยใช้คอมพิวเตอร์ ดังเช่นคฤหัสถ์ สมควรสำหรับเพศบรรพชิตหรือไม่ครับ

คำถาม 3 ข้อครับ ผมได้ร่วมตอบไปมากแล้ว รบกวนร่วมสนทนาครับ

เรียนความเห็นที่ 54 ครับ

คำถามครับ

1. พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญภิกษุที่เรียนวิชาการทางโลกหรือไม่ครับ

2. พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ภิกษุทั้งหลายบวชเพื่อเรียนวิชาการทางโลกดังเช่นคฤหัสถ์หรือไม่ครับ

3. จุดประสงค์ของการบวชคือให้ทำกิจ 2 อย่าง คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระหรือไม่ครับ

4. คันถธุระ ใช่วิชาการทางโลกที่เรียนกันหรือไม่ครับ

5. คำว่าดี ถ้าเป็นอาบัติ ดีหรือไม่ครับ และอกุศลดีหรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 60  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 25 ส.ค. 2554

โลภะ โทสะ และ โมหะ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล ในสมัยนี้ หรือในอนาคตกาล ก็มีสภาพหรือสภาวลักษณะไม่ต่างกันเลย ไม่ว่ายุคไหนสมัยใด ธรรม คือ ธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่เป็นไปด้วยอำนาจบังคับบัญชาของใคร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงสัพพัญญู รู้แจ้งโลก ทรงรู้เหตุแห่งความเกิดและตาย ของสรรพสัตว์ ผู้เต็มไปด้วยอวิชชา คือ ความไม่รู้ เหตุที่ทรงบัญญัติพระวินัยข้อต่างๆ ไว้ ผู้มีปัญญา ย่อมรู้ว่า มิได้ทรงกระทำเพื่อประโยชน์ของพระองค์เลย ตรงกันข้าม เพื่ออนุเคราะห์แก่บุคคลผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ สละอาคารบ้านเรือนเข้าสู่เพศบรรพชิต อันอาจเป็นเหตุให้ตกไปในอบาย ด้วยเจตนา และ กรรม ที่กระทำไป บุคคลผู้ฉลาด และ มีปัญญาเท่านั้น ที่รู้ว่า "กรรม" เที่ยงตรงเสมอ และ "ยุติธรรม" ที่สุด ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ไม่สามารถร้องขอให้เปลี่ยนแปลง ให้เป็นไปตามความคิด ความอยาก หรือความเห็นของใคร

กรรม นี่แหละ น่ากลัวที่สุด อบายภูมิ มีนรกเป็นต้น พึงเป็นที่หวัง แก่บุคคล ผู้ไม่ตรงใน "ธรรม" ไม่เชื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องที่ทรงบัญญัติ เพื่อปกป้องผู้ที่ดำรงเพศเป็นบรรพชิตจากนรกและอบายแล้ว จะเชื่อใครดีครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 61  
 
แสงจันทร์
วันที่ 25 ส.ค. 2554

ที่จริงก็เห็นด้วยกับพวกคุณ และยากให้พวกคุณช่วยเสนอเรื่องไปทางกระทรวงมหาลัยหน่อยได้ไหมว่าให้ถอนวิชา คณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ อังกฤษ หรือวิชาอะไรๆ ที่ไม่เกี่ยวกับพุทธพจน์หน่อย เพราะพระท่านก็ไม่อยากเรียนวิชาพวกนี้เหมือนกันมันเรียนยากและก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง พระท่านยากเรียนแต่วิชาที่เกี่ยวกับพระพุทธศานาจริงๆ แต่ไม่รู้จะไปเรียนที่ไหน เห็นว่ามหาลัยสงฆ์เป็นที่ยอมรับเลยมาเรียนกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 62  
 
แสงจันทร์
วันที่ 25 ส.ค. 2554

และคำถามถ้าลูกท่านบวชเรียนแต่เล็ก ท่านจะให้เขาเรียนทางธรรมอย่างเดียวเลยจริงๆ ใช่ไหม

ภาษาไทยที่เราใช้อ่านพระไตรปิฎกเป็นเดรัจฉานวิชาไหม เพราะพระพุทธพจน์จริงเป็นภาษามคธ และก็มีเลขบอกหน้าว่าหน้าที่เท่าไหร่ เลขเป็นเดรัจฉานวิชาไหม

การศึกษาภาษาอื่นเพื่อใช้แปลพระไตรปิฎกไปเป็นภาษาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ เพื่อเผยแผ่พระศาสนาอย่างเป็นเดรัจฉานวิชาไหม

และพระพุทธพจน์ที่พระองค์ตรัสส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของคาถาแต่เนื้อหาบางส่วนในพระไตรปิฎกก็ไม่ใช่พระพุทธพจน์ทั้งหมด เราอ่านไตรปิฎกเป็นผิดไหม

และถ้ามีชาวต่างชาติมาบวชต้องการอ่านพระไตรปิฎกภาษาไทย เขาจึงต้องศึกษาภาษาไทยก่อน อย่างนี้เป็นการเรียนเดรัจฉานวิชาไหม

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
 
  ความคิดเห็นที่ 63  
 
paderm
วันที่ 25 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 61 ครับ

กราบนมัสการพระคุณเจ้าครับ ขออนุโมทนาในความเห็นถูก ส่วนตัวผมว่าคงลำบากครับในการเสนอให้ผู้ใหญ่รับทราบ เพราะเป็นเรื่องของผู้ใหญ่และพระศาสนาย่อมเสื่อมไปตามกาลเวลา นี่ก็พันปีที่ 3 แล้วก็ค่อยๆ เสื่อมไปจนจะหมดคือพันปีที่ 5 ดังนั้น บางอย่างก็ต้องผิดเพี้ยนไป สำหรับความคิดเห็นของกระผมนั้น คิดว่า พระภิกษุควรหาสถานที่ที่มีการบรรยายธรรมที่เป็นความเห็นถูก ซึ่งสถานที่เหล่านี้ ไม่มีการเรียนหนังสือทางโลกด้วยครับ ซึ่งมีแต่การสอนพระธรรมตามพระไตรปิฎก ซึ่งก็มีพระภิกษุหลายรูป ที่มาฟังพระธรรมที่บรรยายตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงครับ นี่คือวิธีที่เหมาะสมสำหรับเพศบรรพชิต ซึ่งก็จะทำให้หลีกเลี่ยงอาบัติในบางข้อได้ด้วยครับ สถานที่ที่มีการสอนพระธรรมล้วนๆ มีครับ โดยไม่มีการสอนหนังสือทางโลกและก็มีพระภิกษุมาฟังกันด้วยครับ กราบนมัสการด้วยความเคารพครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 64  
 
paderm
วันที่ 25 ส.ค. 2554

และคำถามถ้าลูกท่านบวชเรียนแต่เล็ก ท่านจะให้เขาเรียนทางธรรมอย่างเดียวเลยจริงๆ ใช่ไหม

กราบนมัสการครับ ถ้าเรามีความเข้าใจถูกในพระธรรม ได้ศึกษาจุดประสงค์ของการบวชและได้เข้าใจพระธรรมแล้ว หากว่าการให้ลูกบวชแล้วรู้ว่าจะต้องไปเรียนหนังสือทางโลก ก็จะไม่ส่งเรียนครับ เพราะไม่ตรงตามจุดประสงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ก็จะทำให้พระศาสนาผิดเพี้ยนไปได้ครับ แต่ถ้าลูกบวชจริง ก็จะให้ลูกศึกษาพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าแทน ซึ่งมีแสดงไว้มากมาย ให้เข้าใจถูกต้อง เพราะการได้ศึกษาธรรม ประโยชน์สูงสุดคือการขัดเกลากิเลส ค่อยๆ เป็นคนดีและสามารถดับทุกข์ได้ครับ

นี่คือประโยชน์สูงสุดในการบวชและเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ตรงตามพระรรมและสิ่งที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ครับ ซึ่งในสมัยพุทธกาล เมื่อเกิดได้ ๗ ขวบ ก็ให้บวช ท่านก็ศึกษาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงกันครับ และบิดา มารดาก็ยินดีที่ลูกได้กระทำกิจเช่นนั้นครับ สมัยนั้นท่านสรรเสริญผู้มีคุณธรรม ผู้ที่ศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้า ต่างจากยุคปัจจุบันที่เป็นยุคเสื่อมที่เป็นวัตถุนิยม ที่ยกย่องคนเก่ง มีความรู้ทางโลกมาก แต่ไม่ได้ยกย่องคนดี มีคุณธรรมครับ

กราบนมัสการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 65  
 
paderm
วันที่ 25 ส.ค. 2554

ภาษาไทยที่เราใช้อ่านพระไตรปิฎกเป็นเดรัจฉานวิชาไหมเพราะพระพุทธพจน์จริงเป็นภาษามคธ และก็มีเลขบอกหน้าว่าหน้าที่เท่าไหร่ เลขเป็นเดรัจฉานวิชาไหม การศึกษาภาษาอื่นเพื่อใช้แปลพระไตรปิฎกไปเป็นภาษาต่างๆ เช่นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ เพื่อเผยแผ่พระศาสนาอย่างเป็นเดรัจฉานวิชาไหม

คำว่า เดรัจฉานกถา หรือ วิชา คือคำพูด หรือ วิชาที่ไม่เป็นไปเพื่อให้ได้สวรรค์และมรรคผลครับ

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 217

อรรถกถาปฐมวัตถุกถาสูตรที่ ๙

บทว่า ติรจฺฉานกถ ได้แก่ เรื่องที่ขัดขวางทางสวรรค์และนิพานเพราะเป็นเรื่องที่ไม่นำสัตว์ออกทุกข์.

ดังนั้น คำพูดใด ภาษาใดที่เป็นไปในพระธรรมของพระพุทธเจ้า ที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่เป็นเดรัจฉานกถา เดรัจฉานวิชา เพราะผู้คนนั้นเข้าใจภาษานั้น กุศลจิตและปัญญาเกิดได้ด้วยภาษานั้นครับ ดังที่พระองค์ไดแสดงไว้ว่า พวกเธออย่าดูหมิ่นภาษาชาวบ้าน เพราะในคำว่า หม้อ บางที่เข้าใช้คำว่า.. บางที่เขาใช้คำว่า.. แตกต่างกันไปตามภาษา แต่ภาษาใด ที่ผู้คนที่นั่นสามารถเข้าใจได้ และปัญญาเกิดได้ ก็ไม่เป็นเดรัจฉานกถา และวิชา เพราะไม่กั้นสวรรค์และมรรคผล เพราะทำให้กุศลและปัญญาเกิดได้ด้วยภาษานั้นครับ กราบนมัสการครับ

และพระพุทธพจน์ที่พระองค์ตรัสส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของคาถาแต่เนื้อหาบางส่วนในพระไตรปิฎกก็ไม่ใช่พระพุทธพจน์ทั้งหมดเราอ่านไตรปิฎกเป็นผิดไหม

ซึ่งในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ก็มีบางส่วนที่เป็นพระเถระรุ่นหลังที่มีปัญญาสามารถอธิบายเนื้อความพระไตรปิฎก (อรรถกถา) ให้เข้าใจ ซึ่งในความเป็นจริงก็นำมาจากพระพุทธพจน์นั่นแหละครับ ขยายจากพระธรรมโดยถูกต้องตามความเป็นจริงและบางส่วนก็ไม่ได้ยกขึ้นในการสังคายนา ดังนั้น คำอธิบายที่ทำให้เกิดปัญญา ในพระบาลี

พระพุทธพจน์อีกครั้งย่อมเกิดประโยชน์ เพราะเป็นไปเพื่อกุศลปัญญาเจริญขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ไม่ใช่เดรัจฉานกถา หรือ วิขา เพราะเดรัจฉานกถา หรือ วิชา เป็นคำพูดหรือวิชา ที่กั้นสวรรค์และนิพพานครับ ส่วนวิชาทางโลก มีคณิตศาตร์ เป็นต้น ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้ปัญญาในพระพุทธศาสนาเจริญและไม่สามารถดับกิเลสได้ครับ กราบนมัสการที่ร่วมสนทนาครับ

และถ้ามีชาวต่างชาติมาบวชต้องการอ่านพระไตรปิฎกภาษาไทย เขาจึงต้องศึกษาภาษาไทยก่อน อย่างนี้เป็นการเรียนเดรัจฉานวิชาไหม

ควรศึกษาภาษาที่ตนเข้าใจครับ ซึ่งก็มีอยู่แล้วในภาษาอังกฤษ แต่เมื่อหาไม่ได้ ก็อาศัยกัลยาณมิตรผู้รู้ อธิบายโดยการฟังพระธรรมจากผู้รู้ก็ได้ครับ ไม่ต้องเป็นเครื่องเนิ่นช้ากว่าจะเรียนได้ครับ ดังนั้นการศึกษาพระธรรมจึงไม่ใช่จำกัดแค่การอ่านเท่านั้นครับ การฟังพระธรรม ก็เป็นการศึกษาธรรมเช่นกันครับเพราะเป็นเหตุให้ปัญญาเจริญขึ้นได้ กราบนมัสการครับ

หากมีสิ่งใดที่ล่วงเกินพระคุณเจ้าทั้งหลายโดยไม่ได้ตั้งใจ กระผมขออภัย มา ณ ที่นี้ครับ เนื่องด้วยกระผมเห็นประโยชน์ของการรักษาพระศาสนาและเพื่อพระคุณเจ้าทั้งหลายได้ประพฤติตามพระธรรมวินัยถูกต้องขึ้นครับ ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ประพฤติตามและทำให้พระศาสนาดำรงยืนนานขึ้นครับ

ขอกราบนมัสการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 66  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 26 ส.ค. 2554

ผมขอขอบพระคุณและอนุโมทนาพระคุณเจ้า อาจารย์ผเดิม และสหายธรรม ในการสนทนาธรรมที่เป็นไปด้วยเหตุและผลเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีอุทธัจจะ กุกกุจจะ เข้าแทรกแซง ทั้งที่มีมุมมองต่างกันในบางเรื่อง นับว่าเป็นการสนทนาธรรมที่ประเสริฐจริงๆ ครับ

ส่วนเรื่องเดรัจฉานกถา มีกระทู้นี้ "อยากทราบเกี่ยวกับเดรัจฉานกถา..." น่าสนใจติดตามมากครับและจะเข้าใจว่าจะเป็นเดรัจฉานกถาหรือไม่ กลับเน้นที่เจตนา มากกว่าบัญญัติ

 
  ความคิดเห็นที่ 67  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ