เป็นความเข้าใจแค่ขั้นการฟังเท่านั้น
ทุกคนสะสมความเป็นตัวเรา ความเป็นตัวตน มามากกว่าแสนโกฏิกัปป์ พร้อมทั้งอวิชชา (ความไม่รู้) ก็สะสมมาเป็นอนันตชาติ การกระทำทุกอย่างในชีวิตประจำวันก็จะมีความรู้สึกว่าเป็นตัวเราที่ทำอย่างนั้น อย่างนี้ สิ่งนั้น สิ่งนี้เป็นของของเรา แม้จะได้สดับฟังพระธรรมแล้ว ก็ยังเป็น ความเข้าใจแค่ขั้นการฟัง เท่านั้น ไม่สามารถละความเป็นตัวตนได้ ไม่ประจักษ์แจ้งความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเป็นเรื่องปกติที่ยังเหมือนบังคับบัญชาได้ ขณะที่สติปัฏฐานไม่เกิด ความเป็นตัวตนซึ่งเป็นอนุสัย (กิเลสละเอียด) ก็ยังคงสะสมไปเรื่อยๆ
ใช่ว่าจะค้านคำกล่าวอ้างของท่าน
ก็โดยที่กระผมไม่อาจจะระรึกรู้ย้อนหลังไปถึงแสนโกฏิกัปป์ แม้กระนั้นก็จะรับฟังไว้ แต่ที่จะคิดตามได้ก็เรื่องวิธีละทางแห่งการก่อทุกข์ และหาหนทางถอนความยึดถือว่าเป็นเรา ซึ่งการอธิบายความว่าที่เป็นทุกข์ ก็เพราะการตรึงฝังอารมณ์ ความพอใจความไม่พอใจ ความต้องการมี ความต้องการเป็น ต่างๆ อีกมากมาย ในความเป็นเราส่วนความละเอียดอ่อนไปถึง สิ่งที่เป็นสี เสียง เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว (รูป) ช่องทางแห่งการับอารมณ์ (ทวาร) สภาพไม่มีตัวตนรับอารมณ์ (จิต) สภาพไม่มีตัวตนเกลียดโกรธ พอใจ รัก โลภอยากได้ หลง (เจตสิก) ทั้งหลายเหล่านี้
กระผมจัดอยู่ในกลุ่มแรกเริ่ม ก็คือเริ่มฟัง ศึกษา ทำความเข้าใจ และหาทางสร้างศรัทธา หาแรงจูงใจ เพื่อให้เกิดความหมั่นเพียรเพื่อจะได้ถอนความเป็นเราออกไป แต่ก็มีอุปสรรคที่ท่านผู้รู้ ผู้บรรยายธรรม ท่านมักจะใช้ศัพท์ที่แปลไม่ทันในช่วงการฟัง เป็นต้นว่า มโนทวาร จุติจิต ปฏิสนธิจิต เกินกว่ากระผมซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดา จะทำความเข้าใจเนื้อความนั้นๆ ได้
หากท่านจะกรุณา ลดระดับการใช้ศัพท์มาเป็นคำพูดธรรมดา ที่ชาวบ้านธรรมดาอย่างกระผมเข้าใจได้ กระผมจะขอบพระคุณมาก
คิดว่าทุกๆ ท่านก็ประสบกับปัญหา เรื่องศัพท์ยากๆ เหล่านี้ด้วยกันทุกคนค่ะ ไม่ว่าจะเป็นผู้เริ่มฟังใหม่หรือ แม้แต่ผู้ฟังมานานแล้วก็ตาม ก็คงจะต้องแนะนำให้มีขันติอดทนฟังไปเรื่อยๆ ค่ะ แล้วบางทีก็จะได้คำตอบ และความเข้าใจเพิ่มขึ้นเอง จากบทต่อๆ ไป.....
ท่านก็คงจะรู้ว่าธรรมะเป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งมาก และถ้าสังเกตดูว่า เมื่อใดทีพอจะเข้าใจความหมายที่ตรงของศัพท์ยากๆ เหล่านี้ขึ้น ก็จะทำให้เข้าใจธรรมะลึกซึ้งขึ้นไปอีกทีละขั้นๆ จึงควรเห็นความสำคัญของความเพียร และความอดทนที่จะศึกษาเพี่อเข้าใจให้ทั่ว ตรง และลึก...... อีกอย่างหนึ่งยิ่งศัพท์ยากเท่าไร เราก็ต้องตั้งใจฟังมากขึ้นเท่านั้น ก็เป็นผลดีมากขึ้นใช่ไหมคะ...
ขอแนะนำให้อ่านหนังสือ ปรมัตธรรมสังเขป ของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์นะคะ จะช่วยให้เข้าใจศัพท์ต่างๆ ได้เยอะเลย.ค่ะ...
เห็นด้วยกับคุณประกายมุก ครับ พระธรรมของพุทธองค์ เป็นเรื่องละเอียด ลึกซึ้ง แม้ในครั้งพุทธกาล ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจพระธรรมได้แตกฉานทั้งหมด พระอริยะขั้นพระโสดาบันก็ต้องมากกว่า พระอรหันต์ และ ปุถุชน ก็ย่อมมากกว่าพระอริยบุคคลอย่างเทียบกันไม่ได้ในพวกปุถุชน ผู้ที่เกิดมาพร้อมด้วยปัญญา ก็ย่อมมีน้อย กว่าผู้ที่เกิดมาไม่พร้อมด้วยปัญญา
ดังนั้นในยุคนี้ สมัยนี้ การเข้าใจพระธรรมนอกจากจะติดขัดเรื่องภาษาบาลี ซึ่งไม่ใช่ภาษาของเราแล้ว พวกเราที่เกิดในยุคนี้ก็ยังเป็นผู้ที่สะสมปัญญามาน้อย ไม่เหมือนในครั้งพุทธกาล นอกจากสะสมปัญญามามากกว่าพวกเราแล้ว พวกท่านเหล่านั้นยังพูดภาษาบาลีในชีวิตประจำวัน และพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็ทรงใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาในการแสดงพระธรรม พวกเราในยุคนี้ก็ต้องอดทนที่จะศึกษาพระธรรม ค่อยๆ ทำความเข้าใจไปทีละเล็ก ทีละน้อย อย่าใจร้อน รีบเร่ง ที่จะทำ จะปฏิบัติธรรม เพราะความใจร้อนต้องการผลเร็วๆ จะเป็นเหตุนำเราไปสู่การปฏิบัติผิดๆ ทีละน้อย จนสะสมเป็นมิจฉาทิฏฐิที่รุนแรงได้ในอนาคต
เรียน ความเห็นที่ 2 ครับ
ลองอ่านความเห็นในกระทู้..
ประสบกับปัญหา เรื่องศัพท์ยากๆ ด้วยกันทุกคน
ขออนุโมทนาครับ