เพียงดึงใบตะไคร้น้ำขาด ถึงกับต้องเกิดเป็นพยานาค

 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่  13 ก.ย. 2554
หมายเลข  19716
อ่าน  3,765

* * * ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกพระองค์ * * *

กราบเรียน อาจารย์ที่เคารพอย่างสูง

อ้างถึง - เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ [คาถาธรรมบท]

๑. จากข้อความว่า "ภิกษุหนุ่ม ขึ้นเรือไปในแม่น้ำคงคา ยึดใบตะไคร้น้ำกอหนึ่ง

เมื่อเรือแม้แล่นไปโดยเร็ว, ก็ไม่ปล่อย. ใบตะไคร้น้ำขาดไปแล้ว.

ภิกษุหนุ่มนั้นไม่แสดงอาบัติ ด้วยคิดเสียว่า " นี้เป็นโทษเพียงเล็กน้อย "

แม้ทำสมณธรรมในป่าสิ้น ๒ หมื่นปี ในกาลมรณภาพ เป็นประดุจใบตะไคร้น้ำผูก

คอ แม้อยากจะแสดงอาบัติ เมื่อไม่เห็นภิกษุอื่น ก็เกิดความเดือดร้อนขึ้นว่า "

เรามีศีลไม่บริสุทธิ์ " จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดเป็นพระยานาค ร่างกาย

ประมานเท่าเรือโกลน. เขาได้มีชื่อว่า " เอรกปัตตะ " นั่นแล. ในขณะที่

เกิดแล้วนั่นเอง พระยานาคนั้นแลดูอัตภาพแล้ว ได้มีความเดือดร้อนว่า " เราทำ

สมณธรรมตลอดกาลชื่อมีประมาณเท่านี้ เป็นผู้บังเกิดในที่มีกบเป็นอาหาร ใน

กำเนิดแห่งอเหตุกสัตว์."

จากคาถาธรรมบท ที่ภิกษุหนุ่มต้องกำเนิดเป็นพยานาคนั้น เพราะอย่างนี้หรือไม่

๑ กรรมที่ผิดพระวินัยหรือไม่ ซึ่งอ่านแล้วท่านก็ไม่ได้ตั้งใจให้ตะไคร้น้ำขาดมั้งครับ

๒ อกุศลจิตที่เกิดขณะมีความกังวลที่ไม่ได้แสดงอาบัติ ก่อนจะมรณภาพ

๓ อเหตุกสัตว์ ความหมายคืออย่างไรครับ

กาลนี้ผมเข้าใจว่า สำคัญที่จิต และ ความเป็นไปของจิต ก็เลยเป็นปัจจัยให้ผลเป็น

ไปอย่างนั้น นั้นกราบขอบพระคุณอาจารย์ และ กราบอนุโมทนาข้อความคาถาธรรมบท

เรื่องนี้นะครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระัรัตนตรัย๑ กรรมที่ผิดพระวินัยหรือไม่ ซึ่งอ่านแล้วท่านก็ไม่ได้ตั้งใจให้ตะไคร้น้ำขาดมั้งครับ

พระภิกษุรูปนั้นจับใบตะไคร้น้ำไว้ครับ และเมื่อเรือแล่นเร็วก็ไม่ยอมปล่อยตะไคร้น้ำ

ซึ่งท่านก็รู้ครับว่าเรือกำลังแล่นไป ถ้าไม่ปล่อยก็ต้องขาดแน่ แต่ในข้อความก็แสดงว่า

พระภิกษุท่านก็ยังยึดใบตะไคร้น้ำอยู่ ไม่ยอมปล่อยทำให้ใบตะไคร้น้ำขาด การพรากของ

เขียว โดยมีเจตนาเช่นนี้เป็นอาบัติครับ ซึ่ง ธรรมที่กั้นสวรรค์และนิพพาน คลิกอ่านที่นี่..

อันตรายิกธรรม [ธรรมที่ทำอันตรายแก่สวรรค์และนิพพาน] เมื่อบุคคลนั้นตายไป

ประการหนึ่งคือ การที่ภิกษุมีอาบัติอยู่แต่ไม่ได้ปลงอาบัติ ก็ทำให้เมื่อตายไปไม่สามารถ

ไปสุคติภูมิได้และชาตินั้นก็ไม่สามารถบรรลุธรรมด้วย เมื่ออาบัติติดตัว ไม่ได้ปลงอาบัติ

ครับ ดังนั้นอบายภูมิจึงเป็นที่หวังได้ จึงเิกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็น นาคราชนั่นเองครับ

ซึงในเรื่องนาคราชเรื่องนี้ เมื่อภิกษุรูปนั้นเกิดเป็นนาคราช ก็มีความเดือดร้อนใจ

ปรารถนาจะพบพระพุทะเจ้า ต้องรอเวลาพุทธนดรหนึ่ง จึงได้พบพระพุทธเจ้าและ

ทูลพระพุทธเจ้าว่า ข้าพระองค์มีอาบัติเล็กน้อยไมได้ปลงอาบัติ เิกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

ไม่ได้พบพระพุทธเจ้าและฟังพะรธรรมตลอดเวลาอันยาวนานมาก

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของนาคราชนั้นแล้ว ตรัสว่า " มหาบพิตร ชื่อว่า

ความเป็นมนุษย์หาได้ยากนัก, การฟังพระสัทธรรม ก็อย่างนั้น การอุบัติขึ้นแห่งพระ

พุทธเจ้า ก็หาได้ยากเหมือนกัน ; เพราะว่าทั้งสามอย่างนี้ บุคคลย่อมได้โดยลำบาก

ยากเย็น " เมื่อจะทรงแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก, ชีวิต

ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก, การฟังพระสัทธรรม

เป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เป็นการยาก."

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ย. 2554

๒ อกุศลจิตที่เกิดขณะมีความกังวลที่ไม่ได้แสดงอาบัติ ก่อนจะมรณภาพ

อาบัติที่ไม่ได้ปลง เมื่อใกล้ตาย ก็ทำให้เกิดอกุศลจิตเกิดขึ้นครับ เกิดว่าตัวเองมีศีลไม่

บริสุทธิ์ เมื่ออกุศลจิตเกิดขึ้น ก็เป็นปัจจัยให้กรรมอื่นที่เป็นอกุศลกรรมให้ผล ทำให้ท่าน

ไปเกิดในอบายภูมิครับ

๓ อเหตุกสัตว์ ความหมายคืออย่างไรครับ

อเหตุกสัตว์ หมายถึง เหล่าสัตว์ที่เกิดด้วยปฏิสนธิจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเลย คือไม่

ประกอบด้วยอโลภะเหตุ อโทสะเหตุ อโมหะเหตุ ปฏิสนธิจิตของอเหตุกสัตว์จึงเป็น

อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก ไม่ประกอบด้วยเหตุตามที่กล่าวมาครับ ซึ่งเป็นผลของ

อกุศลกรรมที่ทำมาให้ผล ทำให้เกิดเป็นอเหตุกสัตว์ ซึ่งก็คือสัตว์อบายภูมิ เป็นส่วนมาก

ครับ มี สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เป็นต้นครับและอเหตุกสัตว์อีกประเภท คือ เหล่าสัตว์ี่

เกิดจากกุศลกรรมอย่างอ่อน ทำให้ปฏิสนธิจิตเป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก แต่เป็น

จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ที่พิการตั้งแต่กำเนิดครับ แต่ในที่นี้ ใน

เรื่องนาคราชที่เป็นอเหตุกสัตว์ คือ เกิดจากผลของอกุศลกรรมที่ทำให้เิกิดด้วยปฏิสนธิ

จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ เป็นอเหตุกสัตว์ที่เกิดจากอกุศลกรรมให้ผล ปฏิสนธิจิตเป็น

อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก ไม่ประกอบด้วยเหตุครับ (อเหตุกสัตว์) เหตุคือ อโลภะ

อโทสะ อโมหะครับ ส่วน มนุษย์ที่ไม่พิการตั้งแต่กำเนิด ปฏิสนธิสนธิประกอบด้วยเหตุ

คือ อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ หรืออาจมีอโมหะเหตุด้วยก็ไ้ด้ครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 13 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น บุคคลผู้ที่จะบวชเป็นบรรพชิตได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยน้อมไปที่จะขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิตด้วยใจจริง ซึ่งต้องสละอาคารบ้านเรือน สละวงศาคณาญาติรวมถึงสละโภคสมบัติด้วย เมื่อบวชแล้ว ยังจะต้องศึกษาพระธรรมวินัย ศึกษาในสิกขาบทข้อต่างๆ ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ถ้าปราศจากการศึกษาหรือไม่มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง พฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่มีความละอาย ล่วงละเมิดพระวินัยบัญญัติ ก็ย่อมจะเกิดขึ้นได้ การต้องอาบัติแม้เพียงเล็กน้อย ก็เป็นโทษเป็นเครื่องกั้นการรู้แจ้งอริยสัจจธรรรม เป็นเครื่่องกั้นการไปสู่สุคติภูิมิ ด้วย ดังเช่น พระภิกษุรูปดังกล่าวนี้ ท่านพรากของเขียว เป็นอาบัติปาจิตตีย์ (ซึ่งพอจะแก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยได้ ด้วยการแสดงอาบัติ) แต่ก็ไม่ได้แสดงอาบัติ ในที่สุดเวลาใกล้ตายก็หาพระที่ตนจะแสดงอาบัติด้วยไม่ได้ เกิดความเดือดร้อนใจ จิตใจเศร้าหมองอกุศลจิต เกิดก่อนตาย เมื่อมรณภาพ (ตาย) แล้ว ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานในอบายภูมิ ซึ่งการเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน (อเหตุกสัตว์ ประเภทหนึ่ง) เป็นผลของอกุศลกรรม ไม่มีใครทำให้เลย แม้ว่าจะได้บำเพ็ญสมณธรรมมานานเพียงใดก็ตาม ในเมื่อเป็นผู้มียังมีอาบัติอยู่ อาบัติ จึงเป็นเครื่องกั้นการไปสู่สุคติภูมิได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าคิดทีเดียว ว่า ในชาตินั้น ท่านได้บวชเป็นพระภิกษุ แต่ชาติถัดไป ต้องไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานในอบายภูมิ ซึงเป็นตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความเป็นบรรพชิต ถ้ารักษาไม่ดี มีแต่จะคร่าไปสู่อบายภูมิจริงๆ ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 14 ก.ย. 2554

* * * -------------------------- * * *

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกพระองค์

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ และ อนุโมทนากุศลจิตอาจารย์ครับ

* * * --------------------------------- * * *

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 14 ก.ย. 2554

กราบเรียนถามอาจารย์ที่เคารพอย่างสูงครับ

"อเหตุกสัตว์ หมายถึง เหล่าสัตว์ที่เกิดด้วยปฏิสนธิจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเลย คือไม่ ประกอบด้วยอโลภะเหตุ อโทสะเหตุ อโมหะเหตุ

๑ คำว่า "ไม่ ประกอบด้วยอโลภะเหตุ อโทสะเหตุ อโมหะเหตุ" คือหมายถึง ไม่ใช่โลภะ ไม่ใช่โทสะ ไม่ใช่โมหะ หรือไม่ครับ

๒ ถ้า เหตุ หมายถึง อโลภะ อโทสะ อโมหะ ทำไมท่านไม่ใช้คำว่า ปฏิสนธิจิตที่ไม่ประกอบด้วยกุศล แหละ ครับ

กราบขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 14 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

1.คำว่าไม่ประกอบด้วยเหตุ คือ เหตุ 6 นั่นแหละครับ คือ รวมโลภะ โทสะและโมหะด้วย

2. แต่ที่ผมกล่าวเพียง อโลภะ อโทสะ อโมหะเท่านั้นเพราะว่า ปฏิสนธิจิตที่ประกอบด้วย

เหตุ ไม่มี โลภะ โทสะ โมหะ แต่มีแต่ อโลภะ อโทสะ อโมหะเท่านั้นครับ ส่วนที่ไม่ประกอบ

ด้วยเหตุ คือ ไม่ประกอบด้วยเหตุอะไรเลยในเหตุ 6 ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 14 ก.ย. 2554

* * * -------------------------- * * *

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกพระองค์

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ และ อนุโมทนากุศลจิตอาจารย์ครับ

เข้าใจมากขึ้นแล้วครับ

* * * --------------------------------- * * *

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ค่อยๆศึกษา
วันที่ 2 ก.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ