ความเข้าใจที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น...[เมตตาหรือโลภะ...ตอน ๓]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 147
ข้อความบางตอนจาก อรรถกถาจตุจักกสูตร
บทว่า อิจฺฉาโลภ นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ธรรมอันหนึ่งนี้แหละ ชื่อว่า
โลภะ เพราะอรรถว่าปรารถนา เพราะอรรถว่าความอยากและความต้องการ. อีก
อย่างหนึ่ง ความอยากมีกำลังทรามเกิดขึ้นครั้งแรก ความโลภมีกำลังเกิดขึ้นในเวลา
ต่อๆ มา. อีกอย่างหนึ่ง ความปรารถนาในวัตถุอันตนยังไม่ได้ ชื่อว่า ความ
อยาก ความยินดีในวัตถุอันตนได้แล้ว ชื่อว่า ความโลภ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 529 ที่ชื่อว่า เมตตา เพราะอรรถว่า ธรรมนี้ มีในมิตร หรือว่า ย่อมเป็นไปเพื่อมิตร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 146 บทว่า เมตฺตจิตฺตํ ความว่า ชื่อว่า เมตตา เพราะอรรถว่า รักใคร่ ความว่า ชื่อว่า เมตตา เพราะอรรถว่า รักใคร่อธิบายว่า ผูกเยื่อใย. ชื่อว่า เมตตา เพราะความเจริญเป็นไปในมิตร หรือความเจริญนั่นเป็นไปต่อมิตร. พึงทราบวินิจฉัย เมตตาโดยลักษณะเป็นต้นต่อไปนี้เมตตามีอัน เป็นไปในอาการให้ประโยชน์เกื้อกูลเป็นลักษณะ มีการนำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเป็นรส มีการปลดเปลื้องความอาฆาตเป็นเครื่องปรากฏ มีการแสดงความพอใจของสัตว์ทั้งหลายเป็นปทัฏฐาน. ความสงบพยาบาทเป็นสมบัติของเมตตานั่น ความมีเสน่หาเป็นวิบัติของเมตตา. ชื่อว่า เมตตาจิต เพราะจิตมีเมตตา.
เมตตา เป็นสภาพธรรมที่หวังดี เกื้อกูล ให้ความเป็นมิตรแก่ผู้อื่น ไม่ใช่สภาพที่
ติดข้อง แต่เป็นความหวังดีเกื้อกูลผู้อื่นที่ไม่ใช่ของเรา โลภะ และ เมตตา มีสภาพ-
ธรรมที่ไม่ทำร้ายคนอื่น ความหวังดีก็ไม่ทำร้ายใครแต่ไม่ผูกพัน เมตตาก็เช่นเดียว
กับความหวังดี ไม่ผูกพันในบุคคลนั้น ขณะใดที่ผูกพันก็เป็น โลภะ ขณะใดที่มารดา
หวังดีต่อบุตร โดยไม่ผูกพัน ก็คือ เมตตา
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...
โลภะ เป็นไฉน? [ธรรมสังคณี - อกุศลเหตุ ๓]
ขอกราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ค่ะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาพี่เมตตาที่นำธรรมดีๆ และเตือนใจให้พิจารณาถูกต้องครับ
* * * ------------------------------- * * *
ขอบพระคุณสำหรับจิตที่เอื้อเฟื้อ และ ขออนุโมทนากุศลจิตที่เกิดขึ้นทุกดวง
* * * ------------------------------------ * * *
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของพี่เมตตา และทุกๆ ท่านครับ