เด็กวัด

 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่  7 พ.ย. 2554
หมายเลข  19984
อ่าน  3,063

กราบอาจารย์ที่เคารพอย่างสูงครับ

มีเรื่องกราบรบกวนสอบถามครับ

๑ * * * ช่วงวันหยุดส่วนมาก ผมมีอุปนิสัยที่จะถวายอาหารและพวงมาลัย แก่พระภิกษุ และ

ช่วยท่านถือของไปส่งที่วัด และ ก็รีบกลับมาหาองค์อื่นเพื่อช่วยเหลืออีก หนึ่งวันก็สามารถ

ช่วยได้ ๑ - ๒ องค์ ซึ่งจากที่สังเกต จิตตนเอง และ พิจารณาสิ่งที่แสดงออก (ของภิกษุ)

* * *

๑.๑ เมื่อผมถวายของแล้ว ผมมักจะขออนุญาตพระคุณเจ้า เพื่อช่วยถือของไปส่งที่วัด

แต่คงเป็นธรรมดามั้งครับ ที่ทุกครั้งที่ผมมีการถวายแล้ว พอผมขอช่วยถือของฯ ท่่านก็มักดู

จะยินดีให้ช่วย (ยิ้มแย้ม) แต่ถ้าเมื่อใดผมไม่ได้ถวายกับท่าน ท่านก็มักไม่ค่อยยินดีให้

ช่วย อาจจะเพราะไม่ไว้ใจ ด้วยในสภาพสังคมที่หลอกลวง ในกรุงฯ สังเกตจากเมื่อท่าน

ขัดที่จะให้ผมช่วยไม่ได้ (ตื้อจะช่วย) เวลาเดินท่านก็มักจะชำเรืองมองผม ประมาณว่าเดิน

ตามมาหรือไม่ ผมก็เอื้อเฟื้อด้วยการเดินข้างหลังเยื้องไปเพื่อให้ท่านอยู่ทางขวามือ สักสอง

ก้าว เพื่อท่านจะได้ชำเรืองได้ชัดเจน ไม่ต้องเมื่อย และ กิริยาท่านจะได้ดูเรียบร้อยไม่หัน

หน้าหันหลัง หรือ ที่ไม่ให้ช่วย เพราะกลัวผมจะต้องการของที่ถวายแล้วจากคนอื่นกลับ

บ้าน (คิดเอง) ซึ่งผมไม่หวังสิ่งนั้นเลยครับ (ต้องการช่วยเพราะบางองค์ของที่ถวายให้

มาก+++)

ผมคิดว่าผมควรช่วยต่อไป เพราะสภาพจิตขณะที่ช่วยเหลือเป็นจิตที่ดี ส่วนภิกษุจะคิด

อย่างไร กระทำอย่างไร ก็เป็นส่วนของท่าน (ดูตามความเหมาะสม) ใช่หรือไม่

๑.๒ เคยอ่านในพระวินัยฯ ห้ามภิกษุให้ของที่รับถวายแล้วจากผู้ศรัทธากับผู้อื่น ผมคิดว่า

คงไม่ใช่ ไม่ให้ภิกษุให้ของนั้น แต่ภิกษุควรใช้ประโยชน์ในของนั้นก่อน เหลือแล้วค่อยให้

ต่อ อย่างนี้จึงได้ใช่ไหมครับ

๑.๓ ปริมาณของที่รับถวายเท่าไรถึงจะพองาม เพราะบางองค์ของถวายถึงกับต้องใช้รถ

เข็น , พระ ๑ องค์รับของถวายแล้ว สองย่าม หรือว่ามีผู้ศรัทธาถวายเท่าไรก็ควรเอื้อเฟื้อรับ

ไว้ ซึ่งมีกำหนดไว้หรือไม่ครับ (เกรงว่าจะเป็นที่ติและนินทราจากชาวโลกนะครับ)

๑.๔ สำหรับเด็กวัด หรือ ผู้ที่จะเอื้อเฟื้อภิกษุในการถือของ ควรปฏิบัติอย่างไร เช่นการเดิน

ควรห่างระยะเท่าไร หรือ ต้องเบี่ยงไปทางซ้ายมือของท่าน

๑.๕ เวลาพระให้พรผู้ถวายของ หรือ ขณะมีคนถวายของในบาตร เด็กวัดควรทำอย่างไร

ซึ่งผมนอบน้อมที่สุดด้วยการนั่งคุกเข่า และ พนมมือ น้อมใจยินดีกับภิกษุที่มาให้โอกาสผู้

อื่นได้ทำทาน และ ยินดีกัับผู้ที่มีอุปนิสัยในการให้ถวายทาน บางทีก็อุทิศบุญไปด้วย

ซึ่งจะว่าไปแล้ว ถ้าสติเกิดก็พอจะระลึกรู้ได้ว่า มีสภาพธรรมดีดี เกิดขึ้นขณะช่วยเหลือผู้อื่น

ซึ่งก็ขออนุโมทนากุศลกรรมของอาจารย์ และ พี่พี่ทุกท่านที่ มศพ ที่ให้ความรู้นะ และ

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ

๒ ความหมาย จุลกฐิน (น้องๆ ฝากสอบถามครับ) สั้นๆ ก็ได้ครับ เพราะผมมีส่งเรื่องกฐิน

ของอาจารย์คำปั่นให้น้องแล้ว ๕ ตอนนะครับ (แต่ผมไม่ทราบว่ามีเรื่องจุลกฐินในนั้นหรือ

ไม่) * * ยังอ่านไม่หมดครับ * *

๓ ความหมาย วิหารทาน (Search โดยคำนี้ไม่มีนะครับ จึงเรียนถามครับ)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 7 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย1.1 การช่วยเหลือเป็นสิ่งที่ดีครับ แต่ก็ควรดูว่า ผู้นั้นต้องการให้ช่วยเหลือหรือไม่ หากยัง

ให้ช่วยเหลืออยู่ ก็ควรทำ ส่วนอกุศลของแต่ละคนก็เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา ก็ขออนุโมทนา

บุญ มา ณ ที่นี้ ที่ช่วยถือของพระภิกษุครับ1.2 พระภิกษุ ไม่ควรให้ของที่ยังไม่ได้ฉันเรียบร้อย ควรฉันให้เรียบร้อยก่อนครับ ถึงจะ

แบ่งให้ได้ เพราะ หากให้ก่อน ผู้ที่ถวาย ก็ทำให้ผู้ถวาย มีศรัทธาตกไปครับ ยกเว้นไว้

แต่มารดา บิดา ที่สามารถแบ่งให้ได้เลยครับ

1.3 สำหรับการรับอาหารบิณฑบาต ของพระภิกษุ มีพระพุทธบัญญัติไว้ครับว่า ภิกษุพึงรับ

อาหาร พึงรับพอประมาณ เพียงเสมอขอบบาตร บาตรหนึ่งครับ การรับเกินประมาณ ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ... การที่ภิกษุรับบิณฑบาต จนเต็มบาตร

1.4 ควรเดินตามท่านไปข้างหลัง เป็น สิ่งที่สมควรที่สุดครับ ไม่เดินไปด้านข้างครับ2.จุลกฐิน คือ กฐินน้อย มีเวลาทำน้อย ต้องทำด้วยความรีบร้อนรีบด่วน เป็นกฐินฉุกละหุก

เพราะต้องทำทุกอย่างให้แล้วเสร็จภายในวันเดียว นับตั้งแต่หาฝ้ายมาปั่นทอทำเป็นด้าย

แล้วเย็บให้สำเร็จเป็นจีวรนำไปทอดถวายสงฆ์ ซึ่งจุลกฐิน เป็นประเพณีสมัยปัจจุบันที่คิด

กันขึ้นมาเอง ไม่มีในพระบัญญัติและสมัยพุทธกาลครับ

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาอาจารย์ประเชิญ ที่ให้ความเข้าใจถูกต้องในพระวินัยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 7 พ.ย. 2554

3.วิหารทาน มีในพระไตรปิฎกครับ หมายถึง การถวายวิหาร สร้างวิหาร ถวายแด่สงฆ์ ชื่อ

ว่า วิหารทาน การให้วิหารที่ถวายแด่งสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง 4 ซึ่งการถวายวิหารทาน มีผล

บุญ คือ มีผลมากกว่า การถวายทานกับพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แต่การถึง

สรณคมณ์ มีผลมากกว่า การถวายวิหารทาน คือ ถวายวิหารแด่พระภิกษุงสงฆ์ เป็นต้น

ดังข้อความในพระไตรปิฎกที่แสดงคำว่า วิหารทานครับ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔- หน้าที่ 788 ส่วนทานนอกนี้ คือ วิหารทาน บิณฑบาต สิกขา การเจริญเมตตา ย่อมไม่ถึงเสี้ยว

ที่ ๑๖ ของท่านผู้พิจารณา โดยความสิ้นไป.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

[๒๓๕] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียม

น้อยกว่า มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์มากกว่ากว่ายัญสมบัติ ๓ ประการ มีบริวาร ๑๖

นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญกว่าวิหารทาน กว่าสรณคมน์ และกว่าสิกขาบทเหล่านี้

ยังมีอยู่หรือ. มีอยู่พราหมณ์. ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อย

กว่ามีผลมากกว่าและมีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖

นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ กว่าวิหารทาน กว่าสรณคมน์และกว่าสิกขาบทเหล่านี้.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 7 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยครับ (ในบางประเด็น) -การช่วยเหลือผู้อื่น ขวนขวายในสิ่งที่เป็นประโยชน์ย่อมเป็นสิ่งที่สมควร ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ไม่ได้จำกัด ขึ้นอยู่กับว่าจะมีจิตน้อมไปในทางที่เป็นกุศลนั้นๆ หรือไม่ เมื่อช่วยเหลือ ย่อมเป็นสิ่งที่ดี เป็นกุศลจิตที่เกิดขึ้น เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง

-พระภิกษุนำอาหารบิณฑบาตอันตนได้มาจากมือของคนที่มิใช่บรรพชิต มีส่วนเลิศอันตนหรือบรรพชิตอื่นยังมิได้ฉันเลย ให้แก่ผู้อื่น อย่างนี้ ผิด เป็นสิ่งที่ไม่สมควร เพราะเป็นการยังศรัทธาของผู้ถวายให้ตกไป ยกเว้น ให้แก่มารดาบิดา แต่ถ้าฉันแล้ว เหลือก็สามารถแจกจ่ายให้แก่ผู้อื่นได้ เพราะพระภิกษุท่านละการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล และ เป็นผู้ไม่สะสมอาหาร

-พระภิกษุ เป็นเพศบรรพชิต เป็นเพศที่จะต้องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง อาหารบิณฑบาตที่รับ ก็จะต้องเพียงเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น เพื่อจะได้ทำให้มีชีวิตดำรงอยู่ได้เพื่อศึกษาพระธรรม และน้อมประพฤติปฏิบัิติตามพระธรรม ต่อไป ไม่ใช่เป็นผู้มักมาก โลภมาก เพราะการมักมาก หรือ โลภมาก นั้น ไม่ได้เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสเลย มีแต่จะพอกพูนกิเลสให้มีมากขึ้น ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผเดิม,คุณผ้าเช็ดธุลี และทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เซจาน้อย
วันที่ 7 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 7 พ.ย. 2554

* * * ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น * * *


กราบขอบพระคุณอาจารย์ที่เคารพยิ่ง และ ขออนุโมทนากุศลจิตที่เกิดมีด้วยนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pamali
วันที่ 15 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jaturong
วันที่ 16 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ