นิพพาน ไม่ใช่อนัตตา แล้วนิพพานคืออะไร

 
wii
วันที่  18 พ.ย. 2554
หมายเลข  20050
อ่าน  7,796

นิพพาน ไม่ใช่อนัตตา แล้วนิพพานคืออะไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 18 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย สภาพธรรมที่มีจริง คือ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน ซึ่งสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมดนี้ ก็

ไม่พ้นกฎธรรมชาติที่เป็นไป คือ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา

ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรม

สำหรับ จิต เจตสิกและรูป เป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นอนิจจังเกิดขึ้นและดับไป

เป็นทุกข์ ทนอยู่ไมไ่ด้และเป็นอนัตตาด้วยคือ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา และไม่ใช่

เรา แต่เป็นธรรม จึงเป็นอนัตตา เป็นของสูญ คือ สูญจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน

ส่วนพระนิพพานเป็นสภาพธรรมที่มีจริง แน่นอนครับว่า นิพพานต้องเป็นพระนิพพาน

ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ไม่เป็น จิต เจตสิกและรูป แต่พระนิพพาน เป็นสภาพธรรมที่ไม่มี

ปัจจัยปรุงแต่ง คือ ไม่มี จิต เจตสกิและรูป จึงไม่เกิดขึ้นและดับไปเลย เป็นสภาพธรรม

ที่เที่ยง และเป็นสภาพธรรมที่เป็นสุขด้วย แต่ที่สำคัญ พระนิพพาน แม้จะเที่ยง เป็นสุข

แต่พระนิพพานก็เป็นอนัตตาด้วย ไม่ใช่อัตตา เพราะพระนิพพาน เป็นสภาพธรรมที่สูญ

สูญในที่นี้ไม่ไ่ด้หมายความว่าไม่มีอะไรเลย แต่สูญ จากความเป็นสัตว์ บุคคล คือ ไม่มี

เรา ไม่มีสัตว์บุคคลให้ยึดถือในพระนิพพาน พระนิพพานจึงไม่ใช่สัตว์ บุคคล แต่เป็น

สภาพธรรมที่มีจริง และที่สำคัญ บังคับบัญชาไม่ได้ด้วยครับจึงเป็นอนัตตา ตามที่กล่าว

มา ไม่ใช่อัตตา ดังนั้น เรียกพระนิพพานว่าพระนิพพานได้ และพระนิพพานก็เป็นอนัตตา

ด้วยครับ ซึ่งขอแสดงข้อความในพระไตรปิฎก ที่แสดงว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาและ

พระนิพพานก็เป็นอนัตตาด้วยครับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 305

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ความว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นไป ในภูมิ ๔ ทั้งหมด เป็นอนัตตา.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 172
อัสสาสะปัสสาสะ - ลมหายใจเข้าออก ย่อมตกแต่งกาย ฉะนั้นจึงชื่อว่า กายสังขาร. สัญญาด้วย เวทนาด้วย ย่อมตกแต่งจิต ฉะนั้น จึงชื่อว่าจิตตสังขาร. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอา สังขตสังขาร. ชื่อว่า อนิจจา - ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า มีแล้วกลับไม่มี.ชื่อว่า ทุกขา - เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า เบียดเบียน. คำว่า สพฺเพ ธมฺมา - ธรรมทั้งปวง ท่านกล่าวรวมเอาพระ-นิพพานเข้าไว้ด้วย. ชื่อว่า อนัตตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ.

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ....พระนิพพาน

ธรรมชาติพระนิพพาน [ตติยนิพพานสูตร]

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เซจาน้อย
วันที่ 18 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 18 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง สามารถพิสูจน์ได้ทุกขณะว่าเป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ว่าจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก ดีใจ เสียใจ ติดข้องยินดีพอใจ หงุดหงิดโกรธขุ่นเคือง ไม่พอใจ เป็นต้น ล้วนเป็นธรรมทั้งหมด, ธรรม ไม่ได้หมายถึงเพียงสภาพธรรมฝ่ายดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายรวมถึงสิ่งที่มีจริงทั้งหมด ชีวิตประจำวันที่ดำเนินไปนั้นไม่พ้นไปจากธรรมเลย เมื่อไม่ได้ศึกษา ย่อมไม่สามารถจะรู้ได้ว่าเป็นธรรม เพราะแท้ที่จริงแล้ว ทุกขณะเป็นธรรม มีจิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) และ รูป เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอดเวลา จิต เจตสิก รูปนั้น เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ที่ไม่เที่ยงนั้นเพราะเกิดแล้วดับไป สภาพธรรมที่เกิดแล้วดับไปนั้น เป็นทุกข์ เป็นทุกข์เพราะเหตุว่าตั้งอยู่ไม่ได้ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เมื่อไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จึงเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ลักษณะทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นลักษณะที่ทั่วไปแก่สภาพธรรมที่เป็นสังขารธรรมทั้งหมด แต่เมื่อกล่าวถึงอนัตตาแล้ว ไม่มีเว้นธรรมอะไรเลยหมายรวมถึงพระนิพพานด้วย เพราะพระนิพพาน ก็เป็นอนัตตา ดังพระพุทธพจน์ที่ว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่เพียงธรรมแต่ละอย่างๆ เท่านั้นจริงๆ ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ยากที่จะเข้าใจ แต่ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ การศึกษาธรรม เป็นการศึกษาถึงสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพื่อเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง เนื่องจากคุ้นเคยกับความเป็นตัวตน คุ้นเคยกับความเป็นเรา พร้อมทั้งได้สะสมความไม่รู้มาอย่างเนิ่นนาน จึงหลงยึดถือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่าเป็นต้วตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเรา ดังนั้น ธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้น จึงควรที่จะศึกษา เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกตามความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อละคลายความไม่รู้ ละความเห็นผิดในสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลได้ในที่สุด ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ปุ้ม
วันที่ 18 พ.ย. 2554

ถ้าเห็นอารมณ์พระนิพพานแล้ว สติสัมปัชชัญญะนับได้หรือไม่ว่าเป็นเรา

คือก่อนจะดับขันธ แต่เมื่อเวลามาถึงแม้สติสัปชัญญะก็ไม่มี

ช่วยแนะหน่อยนะครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 18 พ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

ในความเป็นจริง สภาพธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่เรา แม้สติและสัมปชัญญะ (ปัญญา) เป็น

ธรรมไม่ใช่เรา สำหรับปุุถุชนที่ยังไม่ใช่พระโสดาบัน ที่ยังไม่ได้ประจักษ์พระนิพพาน

ย่อมยึดถือสภาพธรรมทั้งหลายว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล รวมทั้ง สติและปัญญา

(สัมปชัญญะ) ว่าเป็นเราอยู่ แต่เมือ่ได้ประจักษ์พระนิพพาน หรือ เห็นพระนิพพานด้วย

ปัญญาแล้ว ก็ถึงความเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันละความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล

ทั้งหมด ดังนั้นท่านจึงไม่ยึดถือ สติและสัมปชัญญะว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคลเย ดังนั้น

ผู้ที่เห็นประจักษ์พระนิพพานด้วยปัญญา ย่อมไม่ยึดถือสภาพธรรมใดๆ ว่าเป็นเรา รวมทั้ง

ไม่ยึดถือว่า สตืและสัมปชัญญะว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคลเลยครับ และเมื่อ เวลามาถึง

คือ สติสัมปชัญญะเกิด ผู้มีปัญญาประจักษ์พระนิพพานก็ไม่ยึดถือสภาพธรรมใดๆ ทั้ง

หมด รวมทั้งสติและสัมปชัญญะว่าเป็นเราเลยครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ปุ้ม
วันที่ 19 พ.ย. 2554

เมื่อขันธนั้นไม่ดับ ต้องเกิดดับทุกขณะแล้วจะเอาอะไรเป็นเครื่องอยู่ในเครื่องระลึกละครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 19 พ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 7 ครับ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่าขันธ์ก่อนครับ ขันธ์ คือสภาพธรรมที่มีจริงที่เกิดขึ้นและ

ดับไป คือ จิต เจตสิกและรูป ซึ่งไม่ได้หมายความว่า เมื่อเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ

สภาพธรรมนั้นจะไม่มีคุณ หรือ ไม่มีโทษ สภาพธรรมที่มีคุณ มีประโยชน์ แม้เกิด

ดับ ก็คือ สภาพธรรมที่ดีงาม มี สติ และ ปัญญาครับ เพราะสติและปัญญาที่เกิดขึ้น

ย่อมนำมาซึ่งสิ่งที่ดีมีการคิดถูก พูดถูก และการกระทำที่ถูก และสติปัญญาที่เกิดขึ้น

ย่อมสละ ละคลายกิเลสประการต่างๆ จนถึงการดับกิเลสได้ เพราะฉะนั้น แม้สติและ

ปัญญา เป็นขันธ์๋และเกิดดับแต่เมื่อใด สติและปัญญาเกิดขึ้น ย่อมเป็นที่พึ่ง เครื่อง

อยู่ที่ประเสริฐในขณะนั้นครับ หากไม่มีสภาพธรรมใดเลยที่เป็นเครื่องอยู่ ที่พึ่งที่ระลึก

พระพุทธเจ้าก็ไม่สามารถดับกิเลสได้ เพราะก่อนเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงมี

ขันธ์ที่เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปตลอดเวลาเช่นกันครับ ขออนุโมทนาที่ร่วม

สนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ปุ้ม
วันที่ 19 พ.ย. 2554

อะไรคือการเป็นอยู่โดยชอบในแบบของท่านครับ (paderm)

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 19 พ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 9 ครับ

ขอนำพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ในการอยู่โดยชอบ หรือ การดำเนินชีวิต

ที่ชอบ ถูกต้อง คือ อย่างไรครับ

[๘๔๐] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า

อะไรหนอ เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐของคนในโลกนี้ อะไรหนอ ที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้ อะไรหนอเป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่อย่างไร ว่า ประเสริฐสุด.

[๘๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ศรัทธา เป็นทรัพย์อันประเสริฐของคน ในโลกนี้ ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้ว นำ ความสุขมาให้ ความสัตย์แล เป็นรสอัน ล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าว ชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา ว่า ประเสริฐสุด.

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ปุ้ม
วันที่ 19 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณครับผม

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
bsomsuda
วันที่ 19 พ.ย. 2554

"..พระนิพพานก็เป็นอนัตตาด้วย ไม่ใช่อัตตา.."

"ชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา ประเสริฐสุด"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผเดิม อ.คำปั่น และทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
SRPKITT
วันที่ 21 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
sinnerman108
วันที่ 22 พ.ย. 2554

ที่ว่า"เป็นอยู่ด้วยปัญญา" นั้นเป็นอยู่อย่างไรจึงชื่อว่าเป็นอยู่ด้วยปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
paderm
วันที่ 22 พ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 14 ครับ

มีชีวิตอยู่ด้วยความเห็นถูก คือ เมื่อมีความเห็นถูก ก็คิดดี พูดดีและกระทำทางกายที่ดี

ไม่ทำบาป อกุศลธรรมประการต่างๆ ดังนั้น การดำเนินชีวิตประจำวัน ที่มีปัญญาเป็น

เครื่องกำกับ ก็ทำให้กาย วาจาและใจเป็นไปในทางที่ดี และประกอบอาชีพที่สุจริต เมื่อ

มีปัญญา ก็ย่อมทำกุศลธรรมประการต่างๆ และเห็นประโยชน์ของการเจริญกุศลและอบรม

ปัญญา ด้วยการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมครับ นี่คือ มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
sinnerman108
วันที่ 23 พ.ย. 2554

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
peem
วันที่ 28 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ