เรียนถาม

 
guy
วันที่  18 พ.ย. 2554
หมายเลข  20051
อ่าน  2,859

จากหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป

บทที่11 คำถามทบทวน

1.ทิฏฐิเจตสิก เกิดกับจิตกี่ดวง ตอบว่า 4 ดวงถูกไหมครับ

คำว่า ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ คือ ไม่เกิดร่วมกับความเห็นผิด 4ดวง คือไม่มีทิฏฐิเจตสิกหรือ มีทิฏฐิเจตสิก ที่ประกอบด้วยความเห็นถูก (แสดงว่าในโลภะ ประกอบด้วยความเห็นคือสัมมาทิฏฐิ 4มิจฉาทิฏฐิ4 รวมเป็น 8 ดวง) ซึ่งต้องตอบว่า 8 ดวง อย่างไหนถูกครับ ช่วยอธิบายด้วยครับ และช่วยขยายความคำว่า ทิฏฐิคตวิปปยุตต์

ภาคผนวก รูป 28 ประเภท

ผู้ที่ปฏิสนธิเป็นโอปปาติกกำเนิด (เกิดเป็นกายที่มีอวัยวะครบทันที) เช่น เทวดา เปรต อสุรกาย และ ผู้ที่เิกิดในนรก มีกัมมชรูปครบทั้ง7 กลาปพร้อมกันทันทีในขณะปฏิสนธิ คือ หทยทสกกลาป กายทสกกลาป ภาวทสกกลาป จักขุทสกกลาป โสตทสกกลาปฆานทสกกลาป ชิวหาทสกกลาป แสดงว่า เทวดา เปรต อสูรกาย และในนรกมีเพศ เป็นเพศหญิงเพศชายเป็นส่วนมาก มีส่วนน้อยที่กรรมไม่เป็นปัจจัยให้ภาวะรูปเกิดก็จะไม่มีเพศ ถูกต้องไหมครับ (มีบางท่านบอกว่าสัตว์นรกไม่มีเพศก็ไม่ถูกใช่ไหมครับ) ช่วยอธิบาย สาธิปติชวนจิตตชรูป17 อเหตุกจิตตชรูป17 สเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป20

ขอบคุณมากครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 18 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ดังนี้ 1.ทิฏฐิเจตสิก เกิดกับจิตกี่ดวง ตอบว่า 4 ดวงถูกไหมครับ ตามความเป็นจริงแล้ว ทิฏฐิ ที่มาในพระอภิธรรม เช่น ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ก็ดี หรือ ทิฏฐิคตวิปยุตต์ ก็ดี ต้องหมายถึง เฉพาะมิจฉาทิฏฐิ เท่านั้น อันได้แก่ ทิฏฐิเจตสิกแต่ถ้าเป็นความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาิทิฏฐิ,ญาณ,ปัญญา) แล้ว ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ไม่ใช่ทิฏฐิเจตสิก ดังนั้น จากคำถามที่ว่า ทิฏฐิเจตสิก เกิดกับจิต ได้ ๔ ดวง จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง เพราะมิจฉาทิฏฐิ นั้น เกิดร่วมกับโลภมูลจิต ๔ ดวง ครับ จากคำถามที่ว่า

คำว่า ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ คือ ไม่เกิดร่วมกับความเห็นผิด 4ดวง คือไม่มีทิฏฐิเจตสิกหรือ มีทิฏฐิเจตสิก ที่ประกอบด้วยความเห็นถูก (แสดงว่าในโลภะ ประกอบด้วยความเห็นคือสัมมาทิฏฐิ 4มิจฉาทิฏฐิ4 รวมเป็น 8 ดวง) ซึ่งต้องตอบว่า 8 ดวง อย่างไหนถูกครับ ช่วยอธิบายด้วยครับ และ ช่วยขยายความคำว่า ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ ก่อนอื่นต้องแปลก่อนว่า ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ คือ อะไร? ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ คือ โลภ-มูลจิตที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด ดังนั้น ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ ไม่ได้หมายถึง กุศลจิต เลย ความเห็นที่ผิดจะไปเกิดกับกุศลจิต ไม่ได้ หรือ ความเห็นถูก จะไปเกิดกับ อกุศลจิต ก็เป็นไม่ได้เช่นเีดียวกัน เป็นธรรมคนละประเภทกัน ที่ไม่เกิดร่วมกันอย่างเด็ดขาด ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ หมายถึงเฉพาะอกุศลจิต ประเภทโลภมูลจิต ที่ประกอบด้วยความเห็นผิด เพียง ๔ ดวงเท่านั้น อย่างที่เรียนให้ทราบตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า คำว่า ทิฏฐิ ถ้ามาในพระอภิธรรม จะหมายถึง ความเห็นผิด เพียงอย่างเดียว จากคำกล่าวที่ำว่า " (แสดงว่าในโลภะ ประกอบด้วยความเห็นคือสัมมาทิฏฐิ 4 มิจฉาทิฏฐิ4 รวมเป็น 8 ดวง) " นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะความเห็นถูก จะไปเกิดร่วมกับโลภะไม่ได้เลย โลภมูลจิต มี ๘ ดวง จำแนกเป็นประเภทที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวง และ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ประโยคหลัง ไม่ได้หมายถึงว่า เมื่อไม่ได้ประกอบด้วยความเห็นผิดแล้ว ก็จะประกอบด้วยความเห็นถูก ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ตามความเป็นจริงของอกุศลจิตประเภทที่มีโลภะเป็นมูล นั้น บางครั้งก็เกิดร่วมกับความเห็นผิด โดยเห็นว่าเที่ยง ยั่งยืน เป็นตัวตน เป็นต้น และบางครั้ง ก็ไม่ได้ประกอบด้วยความเห็นผิด เช่น ขณะที่มีความติดข้องในรสอาหาร ซึ่งมีเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ขณะนั้น เพียงติดข้องโดยที่ไม่ได้มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย คำถามต่อไป ในส่วนภาคผนวก รูป 28 ประเภท

ผู้ที่ปฏิสนธิเป็นโอปปาติกกำเนิด (เกิดเป็นกายที่มีอวัยวะครบทันที) เช่น เทวดา เปรต อสุรกาย และ ผู้ที่เิกิดในนรก มีกัมมชรูปครบทั้ง 7 กลาปพร้อมกันทันทีในขณะปฏิสนธิ คือ หทยทสกกลาป กายทสกกลาป ภาวทสกกลาป จักขุทสกกลาป โสตทสกกลาป ฆานทสกกลาป ชิวหาทสกกลาป แสดงว่า เทวดา เปรต อสูรกาย และในนรกมีเพศ เป็นเพศหญิงเพศชายเป็นส่วนมาก มีส่วนน้อยที่กรรมไม่เป็นปัจจัยให้ภาวะรูปเกิดก็จะไม่มีเพศ ถูกต้องไหมครับ (มีบางท่านบอกว่าสัตว์นรกไม่มีเพศก็ไม่ถูกใช่ไหมครับ) ตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ไม่มีภาวรูปเลย ได้แก่พรหมบุคคล ดังนั้น สัตว์ในภพภูมิอื่น ก็มีภาวรูป ทั้งนั้น รวมถึงสัตว์ในอบายภูมิ มี สัตว์นรก เป็นต้น ด้วย

คำถามต่อไป ช่วยอธิบาย สาธิปติชวนจิตตชรูป 17 อเหตุกจิตตชรูป17 สเหตุกปฏิสนธิกัมม-ชรูป20 เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ถ้าผู้ถามได้อ้างที่มาก็จะเป็นการดี ชวนจิตที่มีเหตุ ๒ กับ ชวนจิตที่มีเหตุ ๓ เกิดร่วมด้วย รวมเรียกว่า สาธิปติชวนจิต (ชวนจิตที่มีอธิบดี) ได้แก่ ชวนจิต ๕๒ ดวง โดยจำแนกเป็นดังนี้ คือ สาธิปติชวนจิต ที่ประกอบด้วยเหตุ ๒ มี ๑๘ ดวง ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ มหากุศลญาณวิปปยุตตจิต ๔ มหากิริยาญาณวิปปยุตตจิต ๔ สาธิปติชวนจิต ที่ประกอบด้วยเหตุ ๓ มี ๓๔ ดวง ได้แก่ มหากุศลญาณสัมปยุตต-จิต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหัคคตกุศลจิต ๙ มหัคคตกิริยาจิต ๙ และ โลกุตตรจิต ๘ รูปที่เกิดจากจิตเหล่านี้ คือ เกิดจากสาธิปติชวนจิต ๕๒ ดวง เรียกว่า สาธิปติ-ชวนจิตตชรูป ---------------------------------------- อเหตุกจิต มีทั้งหมด ๑๘ ดวง มีเพียง ๘ ดวงเท่านั้น ที่เป็นเหตุให้เกิดจิตตชรูปยกเว้น ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวงเท่านั้น รูปที่เกิดจากจิต ๘ ดวงที่เป็นอเหตุกจิตเรียกว่า อเหตุกจิตตชรูป ------------------------------------- รูปที่เกิดจากกรรม ที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิตของสัตว์ในสุคติภูิมิ คือ ของผู้ที่เกิดเป็นมนุษย์ผู้ไม่พิการตั้งแต่กำเนิด เกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ และของผู้ที่เกิดเป็นรูปพรหมบุคคล ในรูปพรหมภูมิ (ยกเว้น อสัญญสัตตาพรหม ที่มีเพียงรูปธรรมเกิดขึ้นเท่านั้น) ซึ่งเป็นปฏิสนธิจิตที่ประกอบด้วยเหตุ ๒ และ เหตุ ๓ ตามสมควรแก่บุคคลนั้นๆ ชื่อว่า สเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป ---------------------------------------- สำหรับจำนวนที่กล่าวมา ก็ต้องศึกษาอีกทีว่าตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ และมุ่งหมายถึงอะไร เพราะรูปที่เกิดจากจิต มี ๑๕ รูป ได้แก่ คือ วิญญัติรูป ๒ วิการรูป ๓ สัททรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ และปริจเฉทรูป ๑ ส่วนรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ก็ตามสมควรแก่สัตว์ในภพภูมินั้นๆ อย่างเช่น ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็มีรูป ๓ กลุ่มที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ได้แก่ กลุ่มของกายปสาทรูป กลุ่มของภาวรูป และ กลุ่มของหทยรูป ครับ ขอให้ท่านผู้รู้ ได้ช่วยแก้ไข และ เพิ่มเติมให้ด้วยครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ จิตตชรูป กัมมชรูป ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 19 พ.ย. 2554

ทิฏฐิ เป็นคำกลาง ๆ หมายถึง ความเห็น ถ้าเป็นความเห็นถูก ก็เป็นสัมมาทิฏฐิ

ถ้าเป็นความเห็นผิดก็เป็น มิจฉาิทิฏฐิ ส่วนทิฏฐิในข้อนี้ หมายถึง ความเห็นผิด

ซึงเป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิตที่ประกอบด้วยความเห็นผิด 4 ดวงเท่านั้น ไม่

เกิดร่วมกับจิตประเภทอื่น ส่วนผู้ที่จะดับความเห็นผิดจะต้องบรรลุเป็นพระโสดาบันค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เซจาน้อย
วันที่ 19 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
guy
วันที่ 21 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณมากครับ ที่จริงเคยเข้าใจถูกมาแล้วแต่เป็นเพราะไม่มั่นคงในความเข้าใจทำให้เขวไป (ได้ยินมาว่าโลภะเอาทิฏฐิไปด้วยเสมอ ส่วนมานะจะมีในวิปยุตต์เท่านั้นมีบ้างไม่มีบ้างตามสมควร) ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 21 พ.ย. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 20051 ความคิดเห็นที่ 4 โดย guy

ขอบพระคุณมากครับ ที่จริงเคยเข้าใจถูกมาแล้วแต่เป็นเพราะไม่มั่นคงในความเข้าใจทำให้เขวไป (ได้ยินมาว่าโลภะเอาทิฏฐิไปด้วยเสมอ ส่วนมานะจะมีในวิปยุตต์เท่านั้นมีบ้างไม่มีบ้างตามสมควร) ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตด้วยครับ

โลภมูลจิต เกิดโดยที่ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ก็ได้ มี ความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ก็ได้ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ดังตัวอย่างที่ได้ยกตั้งแต่ข้างต้นแล้ว แต่ถ้าจะมีมานะเกิดร่วมด้วยนั้น มานะจะต้องเกิดกับโลภมูลจิตประเภทที่ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยเท่านั้น มานะกับความเห็นผิด จะไม่เกิดพร้อมกัน ครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ ทิฏฐิกับมานะ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ guy และทุกๆ ท่านครับ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ