ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ [ขุททกนิกาย มหานิทเทส]
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 339
เชิญคลิกอ่านที่นี่
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขณะที่อกุศลกรรมให้ผล เป็นอกุศลวิบาก ทำให้ได้รับในสิ่งที่ไม่ดี ได้รับทุกข์ประการต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ในทางตรงกันข้าม ขณะที่กุศลกรรมให้ผล เป็นกุศลวิบาก ทำให้ได้รับในสิ่งที่ดี ได้ความสุขประการต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
วิบากซึ่งเป็นผลของกรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน จะเกิดมีไม่ได้ ถ้าไม่ได้สร้างเหตุคือ กรรม ทั้งกุศลกรรม และ อกุศลกรรม โดยไม่ปะปนกัน เพราะอกุศลกรรมเป็นอกุศลกรรม กุศลกรรม เป็นกุศลกรรม การได้รับโลกธรรมฝ่ายเสื่อมเป็นผลของอกุศลกรรม ส่วน การได้รับโลกธรรมฝ่ายดี เป็นผลของกุศลกรรม ซึ่งเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น วิบากที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัยทั้งสิ้น ถ้าเป็นผู้ที่ได้ อบรมเจริญปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เข้าใจในเรื่องกรรมและผลของกรรม ย่อมจะไม่หวั่นไหว ในทั้งสองเหตุการณ์ ถ้าเป็นผู้ได้รับอกุศลวิบาก ก็จะไม่โกรธ ไม่หงุดหงิด ไม่ขุ่นเคืองใจ หรือ ถ้าได้รับกุศลวิบาก ก็จะไม่ลุ่มหลง ไม่เพลิดเพลิน ไม่มัวเมาไม่ติดข้อง ไม่เกิดความสำคัญตน เป็นต้น
เหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน จึงเป็นเครื่องทดสอบปัญญาได้เป็นอย่างดีว่ามีมากน้อยแค่ไหน เพราะผู้ที่มีความเข้าใจธรรม มั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรม ความหวั่นไหวก็จะมีน้อย ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม แต่เมื่อว่าโดยอย่างสูงสุดแล้ว ผู้ที่จะไม่หวั่นไหวจริงๆ เป็นผู้ที่มั่นคง ไม่หวั่นไหวไปด้วยอำนาจของกิเลสใดๆ เลยนั้น ต้องเป็นพระอรหันต์ ครับ
...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณคำปั่นและทุกท่านครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ อาจารย์คำปั่นและทุกๆ ท่านครับ