ธรรมสโมธาน ๘ ประการ

 
vipanapa
วันที่  4 ก.ย. 2549
หมายเลข  2009
อ่าน  4,142

ธรรมสโมธาน ๘ ประการ ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่จะสำเร็จ ได้เพราะประมวลมาซึ่งธรรม ๘ ประการ (ธรรมสโมธาน) คือ:- ๑. ความเป็นมนุษย์ ๒. ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๓. ความถึงพร้อมด้วยเหตุ (แห่งการบรรลุพระอรหัต) ๔. การเห็นพระศาสดา ๕. การบรรพชา ๖. การสมบูรณ์ด้วยคุณ (อภิญญา ๕, สมาบัติ ๘) ๗. การกระทำยิ่งใหญ่ (บริจาคชีวิต) ๘. ความพอใจ (ฉันทะอันใหญ่หลวง อุตสาหะ ความพยายาม) ท่านสุเมธดาบสกระทำความปรารถนายิ่งใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนา ของท่านจักสำเร็จ ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า

แต่ทำไมคนในสมัยนี้จึงบรรลุเป็นพระโสดาบัน พระอนาคามี หรือ พระอรหันต์ กันได้ในชาตินี้โดยไม่ยากเลย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 5 ก.ย. 2549

สรุป คือ ต้องใช้เวลาในการสะสมอบรมคุณธรรมต่างๆ จึงจะบรรลุได้

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
อิสระ
วันที่ 5 ก.ย. 2549

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
panup
วันที่ 5 ก.ย. 2549

ผมเป็นสมาชิกใหม่ครับ ขอแนะนำตัวสถานที่ติดต่อทางเมล์นะครับ ความคิดเห็นนี้ เป็นส่วนตัว แต่ผมพิจารณาดูแล้วไม่ได้ขัดต่อหลักพุทธศาสนา แต่อาจเกิดประโยชน์ แก่บางคนที่มีจริตในทางนี้ ถ้าผิดถูกประการใดขอน้อมรับคำแนะนำด้วยครับ

จริงๆ แล้วการบรรลุธรรมไม่ใช่ว่าจะเป็นของยากเลยและก็ไม่ใช่เป็นของง่ายเช่นกัน ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับความเข้าใจ (ปัญญา) มากกว่า หมายความว่าปัญญานั้น จะผุดขึ้น มาเองเป็นความรู้สึก แล้วภายหลังจากนั้นจะเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามมาเรื่อยๆ ผู้ที่ได้ ปัญญาจะมองโลกไปตามสภาพความเป็นจริง การปรุงแต่งจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ ส่วนตัวผมคิดว่าการที่จะได้ปัญญานั้น จะต้องปฏิบัติตัวให้ค้นพบตัวเองก่อน ดังนั้น จึงจำต้องลด ละ เลิกกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำให้จิตฟุ้งได้

วิธีที่ดีที่สุดคือการปฏิบัติตาม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั่นเอง ซึ่งก็ไม่มีอะไรยุ่งยากมากมาย ก็แค่เอาชนะกิเลส ให้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลทั่วไปมักจะชอบเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า การปฏิบัติ เท่ากันแต่คนนี้ได้อีกคนกับไม่ได้นั้น คำตอบคือการสั่งสมการปฏิบัติแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนั้นเมื่อได้เกิดมาเป็นคนแล้ว อยู่ในประเทศสิ่งแวดล้อมของศาสนาพุทธแล้ว จึงควร รีบปฏิบัติกันเถิด ผมคนหนึ่งขอรับรองว่าถ้าเป็นคนจริงแล้ว จะเห็นผลของการปฏิบัติได้ อย่างแน่นอน แต่ผลของการปฏิบัติเป็น ปัตจัตตังนะครับ คือผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน แต่ละ คนก็จะรู้ได้ในรายละเอียดไม่เหมือนกัน แต่หลักจะต้องไม่เพี้ยน ทั้งนี้ความศรัทธาและ ความเพียรจะต้องมีมากถึงมากที่สุด การปฏิบัติตามคำสั่งสอนที่พระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ ดีที่สุด เป็นทางลัดที่สุดแล้ว ซึ่งถ้าไม่รู้อะไรเลยแต่ในจิตใจมีคำถามตลอดเวลา เช่น เกิดมาทำไม ทำไมจึงต้องเกิด ตายแล้วไปไหน เป็นต้น ถ้าอยากจะตอบข้อสงสัยนี้ ปฏิบัติเลยครับ อย่าช้า

ผมขอแนะนำอย่างนี้

1. ศีล 5 ต้องทำให้ได้เป็นปกติ จริงๆ แล้วเป็นของง่ายนะครับ

2. สมาธิเป็นสิ่งจำเป็น ต้องทำนะครับ แต่ไม่ต้องมีวิธีการมาก หลักการคือพยายามอยู่ คนเดียว หาที่สงบๆ แล้วดูตัวเอง คือ คิดมองที่จิตตัวเองไปเรื่อยๆ (ดูที่อารมณ์ตัว เองในขณะนั้นว่าอยู่ในอารมณ์อะไร) พยายามตัดความคิดฟุ้งซ่านออกไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็จะสงบเอง

3. ปัญญา ว่ากันทีหลังนะครับ ไม่ต้องไปสนใจมันเลย ถ้าได้จะได้เองจากความรู้สึก ภายใน ซึ่งจะมาตอบปัญหาในอารมณ์ที่ตนเสวยอยู่ อาจเป็นนิมิตก็ได้ ไม่ใช่เกิด จากความคิดเองหรือมาจากในหนังสือ ผู้สอน หรือจากสิ่งต่างๆ ทั้งหมดคืออุปาทาน สิ่งที่ได้ในรายละเอียดจะเป็นความรู้ของเราคนเดียวเท่านั้น นั่นคือของจริง

วันนี้ผมขอแค่นี้ก่อนนะครับ และท้ายที่สุดผมขอยืนยันว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็น เรา ตถาคต แน่นอน ซึ่งผู้ที่ได้รับนั้นจะมีความสุขมากกว่าความสุขยิ่งกว่าสุข และ ต่อมาผู้ใดได้เห็นปัญญาแล้ว ผู้นั้นจะมีความสุขยิ่ง ยิ่งกว่าความสุขใดใด

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เจตสิก
วันที่ 5 ก.ย. 2549

เท่าที่อ่านความเห็นที่ 3 เขียนมา มีพอยอมรับได้อยู่ประโยคหนึ่ง คือ "แต่หลักจะ ต้องไม่เพี้ยน" ที่เหลือไม่มีอะไรตรงกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย เอาแต่ จะทำอย่างเดียว แล้วจะเอาหลักที่ไหนมาเทียบว่าการกระทำของคุณผิดหรือถูก ตรง หรือไม่ตรงกับคำสอน เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นสัมมามรรคหรือมิจฉามรรค

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Guest
วันที่ 5 ก.ย. 2549

1. ศีล ๕ ต้องทำให้ได้เป็นปกติ จริงๆ แล้วเป็นของง่ายนะครับ ... ต้องบรรลุเป็นพระโสดาบันจึงไม่ล่วงศีล ๕ ตลอดไป

พระอริยะบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปท่านมีปัญญาประจักษ์แจ้งอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ละกิเลสอันเป็นเหตุของการล่วงศีลได้แล้ว ท่านจึงไม่มีการล่วงศีลอีก สำหรับปุถุชนผู้ที่หนาด้วยกิเลส อันเป็นเหตุให้ล่วงศีล ฉะนั้นพระอริยะบุคคลท่านละกิเลสอย่างหยาบอันเป็นเหตุให้ล่วงศีลได้แล้ว จึงไม่มีการล่วงศีลอีกเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Guest
วันที่ 5 ก.ย. 2549

2. สมาธิเป็นสิ่งจำเป็น ต้องทำนะครับ แต่ไม่ต้องมีวิธีการมาก หลักการคือพยายามอยู่ คนเดียว หาที่สงบๆ ...

สมาธิมีทั้งสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิในมรรค ๘ เป็นเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดร่วมกับสัมมามรรคองค์อื่นๆ มี สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น ขณะที่เจริญสติปัฏฐาน เอกัคคตาที่เกิดร่วมด้วย ขณะนั้นเป็นสัมมาสมาธิ ไม่ต้องเจริญสมาธิต่างหาก

สัมมาสมาธิมีปัญญาประกอบด้วย แต่ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย และเกิดกับโลภมูลจิตคือ จิตที่พอใจในความนิ่งนั้น ผู้ที่มีปัญญาจะสามารถรู้ความต่าง กันของโลภะ โมหะ และ กุศลจิต ส่วนผู้ที่ไม่รู้ความต่างกันของกุศลจิตกับอกุศลจิต ย่อมเจริญมิจฉาสมาธิ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Guest
วันที่ 5 ก.ย. 2549

3. ปัญญา ว่ากันที่หลังนะครับ ไม่ต้องไปสนใจมันเลย ... พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนให้เจริญปัญญา พุทธะ คือ ผู้รู้

ปัญญาจะเกิดขึ้นด้วยการฟังพระธรรม (ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา) สมาธิเกิดกับจิตทุก ขณะ ผู้ที่มีปัญญาย่อมเห็นคุณของกุศลทุกประการ ย่อมให้ทาน รักษาศีลและอบรม เจริญปัญญา เป็นผู้ไม่ประมาท ฉะนั้น ในชีวิตประจำวันของผู้ศึกษาพระธรรม ย่อมเป็น ผู้มีปกติเจริญกุศลทุกประการ ไม่กิจที่จะต้องมาจัดลำดับว่า ศีลก่อน สมาธิก่อน ปัญญา ภายหลัง แต่การศึกษาให้มีความเข้าใจในพระธรรมคำสอนเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าไม่เข้าใจ ไปรักษาศีล ก็เป็นตัวเราทำ สมาธิก็ไม่ทราบว่าเป็นมิจฉาสมาธิหรือว่าเป็นสัมมาสมาธิ อีกอย่างหนึ่งขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น มีทั้งศีล สมาธิ และปัญญา

ปัญญาขั้นศีลและขั้นสมาธิไม่สามารถดับกิเลสได้ แต่ปัญญาระดับสติปัฏฐานเป็น ปัญญาที่รู้ความเป็นจริงของสภาพธรรมะจึงสามารถดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท การอบรม ปัญญา ความเห็นถูก ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ตัวตนเราเขา เป็นเพียง จิต เจตสิกและ รูป จะทำให้เราเริ่มเข้าใจความเป็นอนัตตามากขึ้นๆ เมื่อปัญญานำ ไม่ต้องห่วงเรื่องศีล และสมาธิ เพราะปัญญาเป็นปัจจัยให้อบรมบารมีทั้ง ๑๐ ได้ยิ่งๆ ขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Guest
วันที่ 5 ก.ย. 2549

ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคตแน่นอน ... แต่ต้องมีความเห็นถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ การเห็นธรรมหรือการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมหรือการบรรลุธรรม คำนี้ ในพระไตรปิฎก เท่าที่พบ เป็นคำกล่าวของพระอริยสาวกผู้ตรัสรู้ธรรมพ้นจากความเป็นปุถุชน เป็นพระ อริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ส่วนผู้ที่เป็นปุถุชนทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นผู้ไม่เห็น ธรรม อีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่จะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมโดยความเป็นของไม่ เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้นั้นจะต้องอบรมเจริญสติปัฏฐานจนปัญญามีกำลังเป็น วิปัสสนาญาณ ไม่ใช่คิดเอาเอง แต่เป็นปัญญาที่รู้ตามเป็นจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Guest
วันที่ 5 ก.ย. 2549

ก่อนการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคก็มีผู้ที่อบรมเจริญความสงบของจิตถึงขั้นอรูปฌาน ขั้นสูงสุด คือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แต่ไม่ใช่หนทางดับกิเลสไม่ใช่หนทาง ดับทุกข์

การอบรมเจริญสมถภาวนา จึงเป็นการเจริญกุศลจิตซึ่งสงบจากอกุศล จนจิตสงบ มั่นคงเป็นสมาธิขั้นต่างๆ เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว จึงทรงแสดงพระธรรม เพื่ออนุเคราะห์บุคคลอื่นให้อบรมเจริญปัญญา จนสามารถรู้แจ้ง อริยสัจจธรรมดับกิเลสได้ การอบรมเจริญวิปัสสนาเป็นการอบรมเจริญปัญญาที่ดับ กิเลส

ฉะนั้น ผู้ที่อบรมเจริญวิปัสสนาทั้งในสมัยที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพานตลอดมา จนถึงสมัยนี้และทุกสมัย จึงไม่จำเป็นต้องอบรมเจริญสมถภาวนาถึงขั้นของฌานจิต เมื่อศึกษาโดยละเอียดจะเห็นได้ว่า การอบรมเจริญวิปัสสนานั้น เป็นการอบรมเจริญ ปัญญาที่สามารถรู้ชัดประจักษ์แจ้ง ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ คือ ขณะที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังคิดนึก กำลังเป็นสุขเป็นทุกข์ในขณะนี้นั่นเอง เพราะเหตุว่า การเห็น ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา สติจะต้องระลึกจนกว่าจะรู้ชัดว่า ขณะเห็นนี้ก็เป็นสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา สติจะต้องระลึกจนกว่าจะรู้ชัดว่า ขณะที่กำลังคิดนึก ก็ไม่ใช่ตัวตน เป็นจิตที่กำลังคิด เรื่องราวต่างๆ จิตแต่ละขณะแต่ละประเภทเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สติจะต้องระลึกรู้จนกว่าปัญญาจะประจักษ์แจ้ง

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
panup
วันที่ 6 ก.ย. 2549

ผมขอแลกเปลี่ยนนะครับ

1. การปฏิบัติเพื่อไปให้ถึงที่สุดนั้นมีหลายวิธีมากมาย แต่เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายเดียว คือ การหลุดพ้น นี่เป็นเป้าหมาย หัวใจของพุทธศาสนาผมคิดว่ามีแค่ 3 ตัวเท่านั้น คือ

๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง

๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม

๓. การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ

2. ผลของการปฏิบัติเป็นเรื่องเฉพาะตน ตัวเองต้องดูเอง โดยตรวจสอบการปฏิบัติ ของเรา โดยเอามรรคที่มีองค์ 8 มาวัดว่า เราได้เดินตามเส้นทางนี้หรือไม่ ถ้าเราปฏิบัติ ดี ปฏิบัติชอบ เราจะต้องเห็นผลด้วยตัวเราเอง เช่น การรักษาศีลง่ายขึ้นเรื่อยๆ จนเป็น ปกติ เรามีอิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 เป็นตัวกำกับ

3. เราต้องเห็นทุกข์ คือเห็นว่าทุกอย่างในชีวิตเรานี่เป็นทุกข์ เราก็ยกจิตเราออกจาก ทุกข์ (ก็ขันธ์ 5 นั่นเอง)

4. ต่อมาที่การปฏิบัติตัวของเราเอง เราต้องปล่อยวางให้หมด อะไรจะเกิดขึ้นก็ช่างมัน เป็นเรื่องของขันธ์

5. ตัวของเราไม่มีการเปรียบเทียบกับใครเลย

6. การปฏิบัติเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด คิดได้แต่ไม่ทำเองก็คือไม่ได้นั่นเอง ก็เกิดมาแล้วลอง ดูซักตั้งกันเถิด ลองไม่ตามใจขันธ์ โดยเอาศีลเป็นตัวกำกับ ศีล 5 ศีล 8 หรือศีล 10 ก็ได้ หรือมากกว่านั้นก็ดี ลองเป็นคนอยู่ง่ายกินง่ายบ้าง หรือลองปฏิบัติตามคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายให้เป็นชีวิตประจำวันก็ได้

ได้แก่

๑.การไม่พูดร้าย

๒. การไม่ทำร้าย

๓. การสำรวมในปาติโมกข์

๔. ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค

๕. การนอน การนั่งในที่อันสงัด

๖. การหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง

นี่เป็นพระคาถาในการทำวัตรครับ

7. ปฏิบัติได้อย่างไรมาคุยกันดีกว่า นี่เป็นวิธีของผมเองครับ แต่ภายหลังผมมาศึกษาดู เห็นว่าตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการ

8. ผลที่ได้แน่ๆ คือ เราเป็นคนดีไม่ทำชั่ว ไม่เบียดเบียนใคร ไม่วุ่นวายกับใคร แค่นี้ก็ พอแล้ว นอกเหนือจากนี้ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลก็แล้วกัน

* * * ท้ายนี้ของแลกเปลี่ยนกับคุณ sutta นะครับ

- ศาสนาพุทธสอนแค่รู้ทุกข์ กับการดับทุกข์ ผมคิดว่าทั้งหมดในพระไตรปิฏกก็สรุป ได้แค่นี้ (ผมยังไม่เคยอ่านพระไตรปิฏกครับ) ลองผ่านดูเห็นว่ายากมาก ต้องแปลหลาย ชั้นมาก ผมเลยใช้บทสวนมนต์แปลแล้วปฏิบัติตามก็เข้าใจง่ายกว่า

- ขออนุญาติเรื่องส่วนตัว ผมน่าจะเป็นคนเรียนหนังสือเก่งคนหนึ่ง การงานถือว่า ประสบผลสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่ง การเงินดีมาก ชีวิตมีครบทุกอย่าง เพิ่งมารู้เมื่อ 3 ปี ที่ผ่านมาว่า เราหลงในในโลกแห่งการปรุงแต่งนี้ตั้งนานแสนนาน วันหนึ่งเมื่อคิดได้ แล้วทำ ชีวิตก็พลิกผัน จิตเดินในทางธรรม แต่กายก็สักแต่ว่าทำในโลกนี้ ผมก็ทำแค่นี้ เอง ง่ายมาก แต่เรื่องยากคืออ่านพระไตรปิฏกละครับ ที่ผมว่าปัญญาอย่าเพิ่งไปสนใจ ไม่ใช่ว่าไม่สนใจ แต่ผมเองเคยคิดว่าเราเองเป็นคนมีปัญญามากในโลกนี้ ปัญญาทาง ธรรมก็คงไม่มีอะไร จริงๆ แล้วปัญญาทางธรรมนี่สุดยอด ละเอียดมาก ผู้รู้ต้องรู้ได้ เฉพาะตน คือบอกไม่ถูก มันรู้มาจากการปฏิบัติสมาธิ แล้วพิจารณาอารมณ์ที่เกิดขึ้นใน สมาธินั่นเอง คนอื่นเป็นอย่างไรเล่าให้ฟังกันบ้างดีกว่า

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
saowanee.n
วันที่ 6 ก.ย. 2549

ยังมีความเป็นเราอยู่เต็มตัวเลยนะคะ เห็นทีจะหลุดพ้นยากค่ะ ศึกษาพระไตรปิฎก เถอะค่ะ ถึงยากยังไงก็ไม่เหลือวิสัย จะทำให้เข้าใจอะไรๆ ได้ดีขึ้น เรื่องปฏิบัติให้ ละไว้ก่อนนะคะ เมื่อศึกษาพระธรรมจนเข้าใจ ปัญญาจะรู้เองว่าจะปฏิบัติอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Guest
วันที่ 6 ก.ย. 2549

1. การปฏิบัติเพื่อไปให้ถึงที่สุดนั้นมีหลายวิธีมากมาย ... จริงหรือ? หนทางเพื่อการรู้แจ้งอริยสัจธรรมมีทางเดียวคือ อริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น การ เจริญสติปัฏฐานเป็นการเจริญอริยมรรคเบื้องต้น คือ เป็นโลกียมรรค และยังไม่ ครบ ๘ องค์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

๑๐. สติปัฏฐานสูตร

[๑๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อก้าวล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และ โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง. ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ.

ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Guest
วันที่ 6 ก.ย. 2549

2. ผลของการปฏิบัติเป็นเรื่องเฉพาะตน ตัวเองต้องดูเอง โดยตรวจสอบการปฏิบัติ ของเรา ... ?

ไม่มีปัญญา ไม่เรียกว่า ปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรมตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อการอบรมปัญญา เพื่อการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ละกิเลสอันเป็นเหตุของทุกข์ทั้งปวง พ้นจากวัฏสงสาร การเจริญกุศลขั้นศีล เจริญสมถภาวนา เจริญวิปัสสนาภาวนา เรียกว่าการปฏิบัติ ธรรม การปฏิบัติธรรมที่จะถึงโลกุตตรธรรมได้ ต้องเป็นกุศลขั้นมรรคที่ประกอบ ด้วยปัญญา ถ้าไปนั่งหรือไปเดินโดยไม่มีปัญญา ขณะนั้นจิตไม่เป็นกุศล ไม่มี ปัญญา ไม่เรียกว่า ปฏิบัติธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Guest
วันที่ 6 ก.ย. 2549

3. เราต้องเห็นทุกข์ ... ?

รู้ทุกข์ หรือ เห็นทุกข์ โดยความหมายของพระอริยะหมายถึง การรู้ตามความเป็น จริง เช่น รู้อัสสาทะ (ความน่าพอใจ) รู้อาทีนวะ (โทษ) รู้นิสสรณะ (การสลัด ออก) รู้ปฏิปทาเพื่อการสลัดออก (หนทางที่เป็นข้อปฏิบัติ) ทุกข์ได้แก่ขันธ์ ๕ หรือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

เชิญคลิกอ่านที่ ติตถิยสูตร ว่าด้วยทุกข์

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Guest
วันที่ 6 ก.ย. 2549

4. ต่อมาที่การปฏิบัติตัวของเราเอง เราต้องปล่อยวางให้หมด ... ?

คำว่า การปล่อยวาง ในภาษาที่รู้กันทั่วไปว่า การไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ซึ่ง เป็นภาวะของผู้ที่มีปัญญา ละการยึดถือในนามรูปเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่คน ทั่วไปมักแนะนำกันว่าอย่าไปยึดเลย ควรปล่อยวาง สำหรับผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ เป็น ผู้มีปกติยึดมั่นในรูปนามขันธ์ทั้งห้าว่า เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา ไม่ สามารถปล่อยวางได้ เพราะกิเลสตัวยึดถือยังละไม่ได้ ฉะนั้นสำหรับคนทั่วไป ไม่ควรกล่าวว่าปล่อยวางได้แล้ว หรือให้เขาปล่อยวาง ควรให้เขาเข้าใจความจริง ศึกษาความจริงที่กำลังปรากฏ เมื่อศึกษาด้วยปัญญาย่อมเข้าใจความจริง เมื่อ เข้าใจความจริง ย่อมค่อยๆ ละการยึดถือได้ด้วยปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Guest
วันที่ 6 ก.ย. 2549

5. ตัวของเราไม่มีการเปรียบเทียบกับใครเลย ...

6. การปฏิบัติเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด คิดได้แต่ไม่ทำเองก็คือไม่ได้นั่นเอง ...

7. ปฏิบัติได้อย่างไรมาคุยกันดีกว่า ...

8. ผลที่ได้แน่ๆ คือ ...

โมหะเป็นรากแห่งอกุศลทั้งหมด

พระสุตต้ตตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ หน้า ๘๔

เชิญคลิกอ่านที่ โมหสูตรที่ ๓

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
Guest
วันที่ 6 ก.ย. 2549

จากความคิดเห็นที่ 10 ..

เป็นคนเรียนหนังสือเก่งคนหนึ่ง การงานถือว่าประสบผลสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่ง การเงินดีมาก ชีวิตมีครบทุกอย่าง สิ่งเหล่านี้เป็นผลของกุศล ทุกคนที่เกิดมามีทั้งกุศลและอกุศล เมื่อกุศลให้ผล ก็เป็น เช่นที่กล่าวแล้วนี้ เมื่อไหร่ที่อกุศลให้ผล ก็อาจหมดสิ้นทุกอย่าง ไม่ควรเป็นผู้ประมาท ควรเจริญกุศลทุกประการ โดยเฉพาะการเจริญปัญญา เป็นกุศลสูงสุดที่ควรเจริญ ซึ่ง จะทำให้พ้นจากกุศลและอกุศลในที่สุด แต่เป็นเรื่องที่ยาวนานมาก เป็นจิรกาลภาวนา แต่ต้องเริ่มต้นที่ถูก โดยเริ่มจากการฟังพระธรรม ถึงแม้จะยากก็ต้องมีความอดทนฟัง ความเข้าใจ คือ ปัญญาก็จะเจริญขึ้นๆ ตามลำดับ เกิดมาได้พบพระพุทธศาสนานับว่า ประเสริฐสุดยิ่งกว่าการมีทรัพย์สมบัติมหาศาล หรือ ความสำเร็จในหน้าที่การงาน คนที่ มีความเป็นอยู่สุขสบายก็นับเป็นโอกาสดีที่จะอำนวยความสะดวกในการศึกษาพระธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 6 ก.ย. 2549

คุณ panup ครับ อ่านที่ท่านว่ามาแล้วเห็นเหมือนคุณ saowanee.n นะครับ คือตัวตนเต็มๆ เลยละครับ ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ พิจารณานะครับ เรื่องทางโลก ปัญญาทางโลก ความมั่งมี ทางโลก ทิ้งไปเลยนะครับ เอาไปไม่ได้แน่นอน เมื่อคิดได้แล้ว ก็ขออนุโมทนาด้วย เพียงแต่ว่า ขอให้เดินให้ถูกทางเท่านั้น โชคดีนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
pannipa.v
วันที่ 6 ก.ย. 2549

ขอตอบความคิดเห็นที่ ๓ คุณ panup

"ผู้ประมาท" นอกจากจะมืดตื้อแล้ว ยังถูกใส่ไว้ในกรงกิเลส ถูกนำเข้าไปในฝัก ของอวิชชา ถูกอวิชชาหุ้มห่อ ดุจสัตว์ที่เกิดในฟองไข่ นอกจากนั้นสภาพที่ถูกอวิชชา หุ้มห่อไว้นั้น ยังยุ่งดุจเส้นด้ายของนายช่างหูกที่เก็บไว้ไม่ดี ถูกหนูกัด ย่อมยุ่งเหยิงใน ที่นั้นๆ เหมือนผู้ที่มากไปด้วยความเห็นผิด คิดผิด ประพฤติ ปฏิบัติผิด เหมือนเส้นด้าย ที่ยุ่ง ซ้ำนายช่างหูกยังเอาไปคลุกน้ำข้าว ขยำ ทำให้ติดกันเป็นปม

สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ไม่อาจรู้เหตุและผลของสภาพธรรมทั้งหลาย เป็นผู้พลาด พลั้ง ยุ่งยาก วุ่นวายในปัจจัยคือ นามธรรม และรูปธรรม สัตว์อื่นนอกจากพระโพธิสัตว์แล้ว ที่จะสามารถจะประพฤติเหตุปัจจัย ให้ตรงต่อ การพ้นจากสังสารโดยธรรมดาของตน ย่อมไม่มี

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 7 ก.ย. 2549

เรียนคุณ tanya ผมเห็นว่าข้อความที่คุณpost หากจะกรุณาไป post ไว้ที่

หัวข้อ เราควรปฏิบัติอย่างไร (134 ความคิดเห็น) บ้าง น่าจะดีนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
shumporn.t
วันที่ 7 ก.ย. 2549

เห็นด้วยกับคุณ saowanee.n ค่ะ ผู้ที่คิดว่ากิเลสเป็นเรื่องที่จัดการง่าย กุศลก็เป็นเรื่อง ง่ายที่สามารถอบรมได้อย่างใจคิด เพราะผู้นั้นมองไม่เห็นกิเลสที่ละเอียด ปัญญาเข้าไม่ ถึงความมีตัวตนกับไม่มีตัวตน จึงไม่แปลกว่าผู้นั้นจะได้ฌานอย่างง่ายๆ ดูอะไรเป็น ของไม่ยาก แม้แต่นิพพาน

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
saowanee.n
วันที่ 7 ก.ย. 2549

อนุโมทนาค่ะคุณ shumporn.t,

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะผู้นั้นยังไม่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ... แต่อยากจะดีเกินกว่า ที่เป็นจริงค่ะ เพียงแค่คิดอย่างนี้ก็กั้นการเจริญมรรคแล้วค่ะ เพราะแท้ที่จริงแล้วทุกอย่าง คือ ธรรม เมื่อไม่เข้าถึงธรรมก็ไม่เข้าถึงความจริง ... ไม่ต้องอยาก ... ไม่ต้องปิดกั้น ... ไม่ ต้องแสวงหา ... เพราะความจริงมีอยู่ทุกๆ ขณะ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
yupa
วันที่ 7 ก.ย. 2549

ดิฉันอ่านแล้วก็คิดว่า คงคิดไปกันเอง เรายังไม่ซึ้งถึงคำสั่งสอนของพุทธองค์กัน หรอกนะ เราต่างยังมีตัวตนด้วยกันทั้งนั้น สุขก็อยากอยู่กับมันนานๆ พอเริ่มทุกข์ก็อยาก จะโยนให้พ้นตัวให้เร็วที่สุด เราต่างมีตัวตนเป็นผู้บัญชาการ อย่าลืม เหตุและปัจจัยที่ ทำให้เกิดผล หนทางอีกยาวไกลกว่าจะถึงฝั่ง ค่อยๆ ฟังและพิจารณาไตร่ตรอง คงเป็น หนทางที่ดีที่สุด ที่จะละความเห็นผิดได้ ด้วยความมีขันติ เท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
panup
วันที่ 8 ก.ย. 2549

ถ้าใครเข้ามาอ่านที่ผมเขียนไว้แล้วลองพิจารณาดู ผมจะเขียนเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว

1. ข้อความทั้งหมด ผมได้มาจากการปฏิบัติด้วยตัวเอง ไม่มีครู ไม่เคยอ่านหนังสือ ศาสนามาก่อน

2. เมื่อผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต เป็นความจริงที่ผมประสบด้วยตัวเอง

3. การปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันนั้นแหละ จะชี้ว่าคุณได้เป็นพุทธศาสนิกชน หรือเป็น คนดี หรือยัง ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 เป็นต้น

4. ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นเรื่องจริงแท้แน่นอน

5. ผู้ปฏิบัติต้องเห็นแก่ตัวก่อน คือช่วยตัวเองให้รอดก่อนที่คิดจะช่วยคนอื่น ถ้ามีผู้ใด เข้าใจก็จะรู้ว่าเข้าถึง แต่ถ้าไม่เข้าใจก็จะหาว่าเพี้ยน มันเป็นเรื่องจริง

*** ก่อนลาจาก ผมหวังว่าถ้ามีสัก 1 คนเข้าใจ ก็ถือว่าเป็นบุญกุศลแล้วครับ เพราะว่า ศาสนาพุทธเป็นการอธิบายสิ่งที่มีอยู่แล้ว เป็นแนวทางที่สามารถปฏิบัติตามได้ง่าย ถ้า คุณอยากได้ปัญญาแท้จริงละก็ ขอให้ปฏิบัติศีลให้เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ปฏิบัติ สมาธิให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ววันหนึ่งปัญญามันจะผุดขึ้นมาเอง เป็นตัวรู้ จะ เป็นของเราเอง ไม่ได้มาจากหนังสือ หรือฟังใครมา เราจะเข้าใจด้วยตัวเราเอง ป.ล. สิ่งที่ผมได้จากการเข้ามาในเวปประมาณ 2-3 วัน คือ ความวุ่นวายในโลกของ ธรรมมะ มันปรุงแต่ง ผมเห็นมารมันหัวเราะ แต่ก็มีสิ่งที่ดีๆ ในนี้อีกก็มาก ก็ขอให้ทุกคน โชคดีตามกำลังของแต่ละคน

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
devout
วันที่ 8 ก.ย. 2549

อีกตัวอย่างหนึ่งของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ น่าเสียดายที่ไม่เห็นคุณค่าของการศึกษา พระธรรม เมื่อไม่ศึกษาพระธรรม ... แล้วจะมีอะไรเป็นสรณะล่ะคะ?

"จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด "

พระพุทธพจน์

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 8 ก.ย. 2549

คุณ panup ครับ อย่าเพิ่งน้อยใจนะครับ อันที่จริงท่านสมาชิกทั้งหลายที่ให้ความเห็น ต่างก็มีความ ปรารถนาดีกับท่าน เพียงแต่ว่าอาจใช้คำพูด หรือวิธีการที่ไม่ถูกอัธยาศัยบ้างเป็นบาง กรณี ก็ขออย่าได้ถือโทษให้เกิดอกุศลต่อไปอีกนะครับ แต่ผมก็เห็นว่าที่คุณ sutta ได้ แสดงนั้น ก็เป็นความเห็นที่น่ารับฟัง และเป็นสิ่งที่ถูกต้องหากจะได้มีการอ่าน และ พิจารณาโดยละเอียด ขอเราทั้งหลายมีจิตประกอบด้วยเมตตาต่อกัน ชี้แจง แสดง พระธรรมของพระพุทธองค์ด้วยเมตตาและปรารถนาดีต่อกันนะครับ เพราะต่างเป็น ปุถุชนที่กำลังแสวงหาและขัดเกลากิเลสด้วยกันทุกผู้ ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ