มีอะไรบ้างไม่ตรงข้ามกัน

 
mwi
วันที่  7 ธ.ค. 2554
หมายเลข  20111
อ่าน  4,481

บางคนบอกว่างดี แต่คำว่าว่างก็มีคำว่าไม่ว่าง

มีดี ก็มีไม่ดี มีเกิด มีตาย มีสว่าง มีมืด

มีธรรมะ ไม่มีธรรมะ มีกิเลสไม่มีกิเลส มีนิพพาน ไม่มีนิพพาน

แล้วมีอะไรที่ไม่ตรงกันข้ามบ้าง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 7 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในสัจจะ ความจริง ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริง ซึ่งสภาพธรรมที่มีจริงแต่ละอย่าง

ก็มีสภาพธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ ตรงกันข้ามกันเสมอ เช่น กุศลธรรม กับ อกุศลธรรม หรือ

ความดี กับ ความชั่ว ความเกิด และ ความไม่เกิด ความแก่ กับ ความไม่แก่ ความตาย

และความไม่ตาย ความเย็น กับ ความร้อน มีกิเลส กับ ไม่มีกิเลส สุขและทุกข์ เป็นต้น

ที่กล่าวมา แสดงถึงความเป็นธรรมดาของสภาพธรรมที่ย่อมมีสภาวธรรมที่ตรงกันข้าม

เสมอ แต่ประโยชน์จริงๆ ของการศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้า มิใช่เป็นการหาคำตอบว่า

มีสิ่งใดตรงกันข้าม แต่เข้าใจ สิ่งที่มีอยู่แล้ว คือ ความเป็นปฏิปักษ์ ตรงกันข้ามของสภาพ

ธรรมแต่ละอย่าง และย้อนกลับมาพิจารณาตนเองด้วยปัญญา ว่าเรามีสภาพธรรมอะไร

แบบไหน ที่เป็นสิ่งดี และ ไม่ดีที่ตรงกันข้ามกันหรือไม่

ผู้มีปัญญาจึงพิจารณา สภาพธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ตรงกันข้ามด้วยปัญญาว่า เมื่อยังเป็น

ผู้มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดาที่นำมาซึ่งความทุกข์ ก็พิจารณาต่อไปว่า สิ่งที่

ตรงกันข้ามกัน ก็ต้องมี ความไม่เกิดก็ต้องมีอยู่ ความไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายก็ต้องมีอยู่

อันเป็นความสุขจริงๆ ควรที่เราจะแสวงหา ความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย และ

ความสุขไม่ควรเป็นผู้ประมาท นี่คือ ประโยชน์ที่จะได้จากการพิจารณา ความเป็นตรง

กันข้ามกันของธรรม เพื่อที่จะเห็นโทษของการเกิด และแสวงหาหนทางในการพ้นจาก

ทุกข์ ด้วยการศึกษา พระธรรม อบรมปัญญา และพิจาณาว่า เราเป็นผู้มีกิเลส ความไม่มี

กิเลสก็ต้องมีอยู่ ควรเป็นผู้เห็นโทษของกิเลสและแสวงหาทาง ที่ไม่มีกิเลส คือ ละกิเลส

ได้หมด ก็จะเป็นผู้ปรารภความเพียร ในการทำความดี เจริญกุศลทุกประการ เพราะรู้ว่า

ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส คือ ปัญญา อันเป็นธรรมฝ่ายดี จึงอบรมธรรมที่ตรงกันข้าม

กับกิเลส คืออบรมปัญญาด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมากขึ้นครับนี่คือ ประโยชน์

ของการเข้าใจ ความเป็นตรงกันข้ามของสภาพธรรมแต่ละอย่าง อันจะนำมาซึ่งการเจริญ

กุศลมากขึ้น เจริญธรรมที่เป็นข้าศึก ปฏิปักษ์ ต่อ อกุศลนั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 7 ธ.ค. 2554

พระโพธิสัตว์ของเรา เมื่อครั้งเป็น สุเมธดาบสในชาติที่ได้รับพยากรณ์เป็น พระพุทธเจ้าจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีปังกร ท่านสุเมธดาบส ก็พิจารณาด้วยปัญญา ตามความเป็นจริงว่า เมื่อความเกิดมี ความไม่เกิดก็มี ความทุกข์มี ความเป็นสุขก็มี เมื่อ กิเลสที่ทำให้เร่าร้อนมีอยู่ ความไม่มีกิเลส คือ เย็นสนิท (พระนิพพาน) ก็ต้องมี ซึ่งเรา ก็เป็นผู้มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา และมีกิเลส ควรจะแสวงหาทางละความ เกิด แก่ เจ็บ ตายและละกิเลส ถึงพระนิพพาน และท่านสุเมธดาบสก็คิดว่า เมื่อทางมีอยู่ แต่เมื่อไม่ไปแสวงหาทาง ไม่ใช่ความผิดของทาง แต่เป็นความผิดของบุคคลนั้นเอง ที่ไม่ไปแสวงหาทาง จะเห็นนะครับว่า ท่านพิจารณาด้วยปัญญา ในความตรงกันข้าม ของธรรม ท่านจึงอบรมบารมี กุศลประการต่างๆ มากมาย และฟังพระธรรม ศึกษาพระ ธรรมจากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ครับ นี่คือพระโพธิสัตว์ท่านรู้ความเป็นตรงกันข้ามของ สภาพธรรมแล้ว ก็พิจารณาและทำกุศล อบรมปัญญา นี่คือ ประโยชน์ของการพิจารณา ความเป็นตรงข้ามของสภาพธรรมครับ แต่พระองค์ไม่ได้คิดถึงว่า จะมีสภาพธรรมที่ไม่ ตรงกันข้ามหรือไม่ เพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และไม่ทำให้กุศลและปัญญาเจริญขึ้น ครับ ลองอ่านความคิดของพระโพธิสัตว์ (สุเมธดาบส) ดูนะครับ ในเรื่องการคิดถึงสภาพ ธรรมที่ตรงกันข้าม มีประโยชน์มากกับสหายธรรมผู้ได้พิจารณาข้อความนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 7 ธ.ค. 2554

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒- หน้าที่ 172

เชิญคลิกอ่านที่นี่

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

[พุทธวงศ์]

เมื่อหนองน้ำคืออมตะ เป็นเครื่องชำระมลทินคือ กิเลสมีอยู่ บุคคลไม่ไปหาหนองน้ำนั้น ก็ไม่ใช่ความ ผิดของหนองน้ำคืออมตะ ก็ฉันนั้น

บุคคลถูกกิเลสรุมล้อมไว้ เมื่อทางอันรุ่งเรืองมี อยู่ ก็ไม่ไปหาทางนั้น นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทาง อันรุ่งเรือง ก็ฉันนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 7 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา นั้นเกื้อกูลแก่พุทธ-บริษัทผู้ที่มีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษาอย่างแท้จริง เป็นประโยชน์ทุกกาล ทุกสมัย ไม่จำกัดเพศ ไม่จำกัดวัย การได้ฟังพระสัทธรรม หาได้ยาก เพราะเหตุว่า ผู้ที่แสดงแต่ความจริงซึ่งเป็นสัจจธรรม นั้น หายาก และประการสำคัญไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้ฟังเหมือนกันหมด ถ้าไม่ได้สั่งสมเหตุปัจจัยที่ดีมา ย่อมไม่มีโอกาสได้ฟัง หรือ เมื่อได้ฟัง ก็ไม่เข้าใจ ดังนั้น เมื่อมีโอกาสได้ฟังแล้ว ก็ควรที่จะได้ฟังต่อไป ไม่ควรปล่อยโอกาสของการฟังพระธรรมให้หลุดลอยไป เพราะพระธรรมเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก

ต้องอาศัยกาลเวลา ในการอบรมเจริญไปเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน แทนที่จะไปคิดถึงเรื่องอื่น ก็ควรที่จะได้คิดถึงพระธรรมที่ได้ยินได้ฟัง กิเลสซึ่งเป็นศัตรูภายใน เกิดขึ้นเป็นไปบ่อยมากในชีวิตประจำวัน ทั้งโลภะ โทสะโมหะ เป็นต้น เพราะได้สั่งสมมาอย่างเหนียวแน่นและเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้ศึกษาพระธรรม ย่อมไม่มีทางที่จะเห็นโทษของกุศลได้ ในแต่ละวันมีแต่โอกาสของกุศลเกิดพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ และย่อมจะไม่มีอาวุธ คือ ปัญญา ที่จะตัดกิเลสเหล่านั้นได้ ดังนั้น ต้องอาศัยการอบรมเจริญปัญญา อบรมไปเรื่อยๆ ก็คงถึงได้ในสักวันคือ ถึงการดับกิเลสได้ในที่สุด หนทางมีอยู่แล้วคือการอบรมเจริญปัญญาถ้าไม่ดำเนินไปตามทางนั้น จะเป็นความผิดของใคร ถ้าไม่ใช่ความผิดของผู้นั้นเอง จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดพิจารณาทีเดียวดังคำที่ท่านสุเมธบัณฑิตได้กล่าวเตือนไว้แล้ว ดังข้อความที่ปรากฏในความคิดเห็นที่ ๒ นั่นแล

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒
- หน้าที่ ๑๗๔

คนผู้ถูกศัตรูรุมล้อมไว้ เมื่อทางหนีไป มีอยู่ แต่ไม่หนีไป ข้อนั้น หาเป็นความผิดของทางไม่ ฉันใด คนที่ถูกกิเลส- กลุ้มรุม เมื่อทางปลอดภัยมีอยู่ ไม่ไปหาทางนั้น ข้อนั้น หาเป็นความผิดของทางที่ปลอดภัยนั้นไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 7 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 7 ธ.ค. 2554

พระพุทธเจ้าตรัสรู้และทรงแสดงธรรมเพื่อให้สัตว์โลกพ้นทุกข์ พุทธเจ้าเปรียบเหมือน ผู้บอกทาง เราก็ต้องเดินไปตามทางที่ผู้รู้บอก ก็คือการศึกษาธรรมให้เข้าใจก่อนค่ะ ไม่ต้องไปคิดเอง ไม่ต้องสนใจในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pat_jesty
วันที่ 7 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jaturong
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 9 ธ.ค. 2554

สัตว์โลกต้องมี สภาพธรรมที่มีอยู่จริงไม่พ้น คือ จิต เจตสิก รูปนิพพาน สิ่งที่ตรงกันข้ามคือสัตว์โลกที่ไม่มีสภาพธรรมดังกล่าว เช่น ไม่มีจิต ไม่มีเจตสิก ไม่มีรูปไม่มีนิพพานอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มีคะ พระธรรมเป็นจริงไม่เป็นเท็จ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 9 ธ.ค. 2554

ตามที่กระทู้ต้ังคำถามว่า ทุกสิ่งมีของตรงกันข้าม หรือเป็นของคู่กัน ซึ่งก็เป็นจริง เช่น มีสุข ก็มีทุกข์ มีเกิด ก็มีดับ ส่วนที่พี่จรรยาร่วมสนทนามา มีิจิตก็มี ไม่มีจิตก็มี มีเจตสิก ก็มี ไม่มีเจตสิกก็มี (อสัญญสัตตาพรหม) มีรูปก็มี ไม่มีรูปก็มี (อรูปพรหม) นิพพานมีแก่ พระอรหันต์ ไม่มีแก่ปุถุชน เป็นต้น ซึ่งทั้งมีและไม่มีก็เป็นสัจจธรรม ในพระไตรลักษณ์ อนิจจังก็มี นิจจังก็มี, ทุกข์ก็มี สุขก็มี แต่ทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่มีอะไรที่ไม่เป็นอนัตตา เช่นนี้ถือได้หรือไม่ว่า อนัตตา ไม่มีตรงกันข้าม หรือไม่มีคู่ ถูกต้องหรือเปล่าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 9 ธ.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ 10 ครับ

ความเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ก็มีสิ่งที่ตรงกันข้าม คือ ความเป็นอัตตา เป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล ดังพระธรรมที่กล่าวถึงธรรมตรงกันข้าม คือ อนัตตาสัญญา และ อัตตสัญญาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 9 ธ.ค. 2554

ท่านผู้ตั้งกระทู้ เข้าใจตั้ง และท่านผู้ตอบก็เข้าใจตอบ อ่านแล้วก็ต้องขอบพระคุณ มีประเด็นที่แฝงอยู่ในคำตอบ ตรงที่ว่า ท่านจึงอบรมบารมี กุศลประการต่างๆ มากมาย และฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมจากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนครับ (ความคิดเห็นที่ 2)

คือ เท่าที่ได้ศีกษามา ท่านบอกว่า ผู้ที่จะได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต (เช่นสุเมธดาบสเป็นต้น) นั้น จะต้องมีคุณสมบัติ 8 อย่าง ครบถ้วนอยู่แล้ว ณ เวลานั้น หนึ่งในแปดนั้นก็คือ ต้องมีปัญญาสามารถที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้ทันทีในเวลานั้น (เพียงแต่ว่าเจ้าตัวไม่ต้องการบรรลุ เพราะต้องการจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตเพื่อช่วยเหลือเวไนยสัตว์ได้มากกว่าที่จะบรรลุธรรมไปคนเดียว)

กระผมก็เลยเข้าใจว่า ท่านผู้นั้นก็ย่อมจะมีสติปัญญาเต็มเปี่ยมพร้อมอยู่แล้วต่อการบรรลุธรรม ดังนั้นจึงสงสัยว่า ท่านจะต้อง "ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมจากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ " ไปทำไมอีก?

มิได้มีความประสงค์จะโต้แย้ง แต่มีความประสงค์จะได้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องครับ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
nong
วันที่ 10 ธ.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 10 ธ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 12 ครับ

สำหรับในชาติที่พระโพธิสัตว์เป็นสุเมธดาบส ในชาตินั้น คือ ชาติที่พร้อมที่จะได้รับ การพยากรณ์ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า ชาติก่อนหน้านี้ ยังไม่พร้อมที่จะได้รับการพยากรณ์ เพราะคุณสมบัติ ยังไม่ครบ 8 ประการ เพราะฉะนั้นในชาติที่เป็นสุเมธดาบส จึงมุ่งหมาย ถึง ชาติที่พร้อมจะได้รับการพยากรณ์เป็นพระพุทธเจ้า แต่ไม่ใช่ชาติที่พร้อมจะเป็น พระพุทธเจ้าและคุณสมบัติในชาติที่เป็นสุเมธดาบส สามารถเป็นเพียง สาวกได้เท่านั้น แต่เมื่อจะเป็นพระพุทธเจ้า ผู้มีคุณธรรมสูงสุด ในชาติที่เป็นสุเมธดาบส ก็ยังไม่พอ จึง ต้องอบรมบารมีต่อไปมีการเจริญกุศล ฟังธรรม ศึกษาพระธรรมจากพระพุทธเจ้าองค์ต่อ ไปๆ ครับ จึงจะบารมีพร้อมที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อันเป็นคุณธรรมใหญ่สูงสุดนั่นเอง ครับดังนั้น การบรรลุเป็นสาวกกับ พระพุทธเจ้าจึงต่างกัน การอบรมปัญญา ความยาวนาน จึงแตกต่างกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 6 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ