อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 438
ทุติยวรรคที่ ๒
ข้อความบางตอนใน พระสุตตันตปิฎก เล่มนี้
เชิญคลิกอ่านที่นี่
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ในความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูปและนิพพาน สภาพธรรมที่กล่าว มา ไม่พ้นจากความไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน คือ เป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา นั่นคือ เป็น อนัตตานั่นเอง ส่วนสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง คือ จิต เจตสิกและรูป ที่เป็นขันธ์ เป็น สภาพธรรมที่ไม่เที่ยง (อนิจจัง) เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาด้วยครับ ส่วน พระนิพพานเป็น สภาพธรรมที่เที่ยง เป็นสุข และเป็นอนัตตา การจะเข้าใจควาจริงของสภาพธรรมที่เป็น ขันธ์ 5 ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา ก็ด้วยการอบรมปัญญา โดยเริ่มจากการ เข้าใจ ศึกษาพระธรรม เบื้องต้นจากขั้นการฟัง ปัญญาขั้นการฟัง ยังไม่สามารถประจักษ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และอนัตตาของสภาพธรรมได้ แต่อาศัยปัญญาขั้นการฟังไป เรื่อยๆ ย่อมเห็นถึงความไม่ทแที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาได้ครับ ซึ่งขันธ์ 5 ก็คือ สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ที่กำลังปรากฎ ทั้งรูป เวทนา ความรู้สึก สัญญา ความจำ สังขารสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งและวิญญาณ คือ จิตประเภทต่างๆ ที่ปรากฎในชีวิต ประจำวัน ดังนั้น การจะรู้ขันธ์ 5 ก็ไม่ใช่จะต้องไปรู้ที่อื่น ตามสถานที่ปฏิบัติ สงบสงัด แต่ขณะนี้เอง เป็นปรกติ รู้ขันธ์ 5 ตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวันได้ เมื่อปัญญาถึง พร้อมครับ