พิจารณา กาย เวทน จิต ธรรม?

 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่  8 ธ.ค. 2554
หมายเลข  20117
อ่าน  7,248

กราบเท้าอาจารย์ที่เคารพอย่างสูงทุกท่านครับ

มีเรื่องรบกวนเรียนสอบถาม แทนน้องบัวครับ (ขอความเมตตากับน้องบัวด้วยนะครับ) พิจารณาคำถามแล้ว คงต้องตอบยาว ซึ่งต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์ในการแนะนำ เกินความสามารถผมนะครับ


คำถาม

๑. พิจารณา กายในกาย หมายถึงการ พิจารณา อสุภะ ขน หนัง ฟันเล็บ???

๒. พิจารณา เวทนา หมายถึง การพิจารณา ทุกข์ทางกายที่เกิดขึ้น เพื่อให้เห็น ว่า กายกับใจ มันคนละส่วนกันนะ

๓. พิจารณา จิต หมายถึง จิตก็เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

๔. พิจารณาธรรม ในธรรมหมายถึงอะไรคะ ธรรมของพระพุทธเจ้าเหรอไม่เข้าใจ ตรงนี้อ่ะ แล้วเวลาที่หลายคนปฏิบัติ บางทีก็พิจารณากาย บางทีก็พิจารณาเวทนา ลำดับขั้นแล้ว ต้องพิจารณาไรก่อนกันแน่ ก็ที่เค้าไปปฏิบัติ กับพี่คนหนึ่งปฏิบัติที่ วัดอัมพวัน วันก่อน ก็พิจารณาเวทนา แต่มันก็มีกายร่วมด้วย งง บัวเจ้าเก่

กราบขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงครับ

ขอความมีสุขภาพดีมีแก่อาจารย์ทุกท่านนะครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. พิจารณา กายในกาย หมายถึงการ พิจารณา อสุภะ ขน หนัง ฟันเล็บ?

สำหรับในการเจริญสติปัฏฐาน ขอให้เริ่มจากความเห็นถูกเบื้องต้น ครับ ว่า การเจริญ สติปัฏฐาน จะต้องมีปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เป็นอารมณ์เท่านั้นครับ ซึ่งในหมวด กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน พิจารณากายในกาย ก็ ต้องพิจารณาสภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นามธรรมและรูปธรรม แต่การพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นบัญญัติสมมติ เป็นบัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม ดังนั้นขณะที่พิจารณา กายในกาย ก็ต้องเป็นสภาพธรรมที่ปรากฎที่กาย คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ดังนั้นขณะที่จับผม อะไรปรากฎที่เป็นปรมัตถธรรม คือ อ่อน ไหว เป็นต้น แต่ไม่ใช่ พิจารณาว่าผมน่ารังเกลียด อันนี้ไม่ใช่ เห็นกายในกายในการเจริญสติปัฏบาน แต่ต้อง รู้ว่า ขณะนั้นเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว เท่านั้นครับ

๒. พิจารณาเวทนาหมายถึง การพิจารณาทุกข์ทางกายที่เกิดขึ้น เพื่อให้เห็นว่า กาย กับใจ มันคนล่ะส่วนกันนะ

พิจารณา ความรู้สึก เวทนาที่กำลังปรากฎครับ ซึ่งการเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่การคิดนึก ว่าเป็นเวทนา และให้แยกออกมาจากกาย แต่จุดประสงค์ของการเจริญสติปัฏฐานไม่ว่า หมวดใด เพื่อให้รู้ว่า สภาพธรรมที่ปรากฎนั้นที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่เรา เช่น เวทนา คือ ความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกประเภทใดที่เกิดขึ้น ไม่ว่า ความรู้สึกทางกาย หรือ ทางใจที่เกิดขึ้น เมื่อสติและปัญญาเกิดก็รู้ลักษณะของสภาพ ธรรมที่เป็นความรู้สึกในขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ดังนั้น จุดประสงค์ คือ รู้ว่าเป็น ความรู้สึก ไม่ใช่เราครับ แต่ไม่ใช่ไปแยก ระหว่างกายและเวทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

๓. พิจารณา จิต หมายถึง จิตก็เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

ขณะที่จิตเกิด สติปัฏฐานก็เกิดระลึกรู้ลักษณะของจิตในขณะนั้นว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา คือเป็นอนัตตานั่นเองครับ ถูกต้องแล้วครับ ตามที่กล่าวมา

๔. พิจารณาธรรม ในธรรมหมายถึงอะไรคะ ธรรมของพระพุทธเจ้าเหรอไม่เข้าใจ ตรงนี้ แล้วเวลาที่หลายคนปฏิบัติ บางทีก็พิจารณากาย บางทีก็พิจารณาเวทนานะ ลำดับขั้นแล้ว ต้องพิจารณาไรก่อนกันแน่ ก็ที่เขาไปปฏิบัติ กับพี่คนหนึ่งปฏิบัติที่ วัดอัมพวัน วันก่อน ก็พิจารณาเวทนา แต่มันก็มีกายร่วมด้วย งง

การเจริญสติปัฏฐาน ขอให้เริ่มต้นให้ถูกว่า จะต้องฟังให้เข้าใจก่อน ไม่ใช่ไปลงมือ ปฏิบัติ นั่นก็จะทำให้เข้าใจผิด การเจริญสติปัฏฐาน เป็นปัญญาที่เกิดได้ในชีวิตประจำ วัน จึงไม่ต้องไปเข้าห้อง ไปปฏิบัติที่ใดที่หนึ่งให้เกิด สติปัฏฐานเลย ตราบใดที่ยัง ไม่มีความเข้าใจเบื้องต้นในการเจริญสติปัฏฐานครับ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายเป็น อนัตตา สติและปัญญา ที่เป็นสติปัฏฐานก็เป็นธรรมด้วย จึงเป็นอนัตตาด้วยครับ ดังนั้น จึงไม่สามารถบังคับให้สติและปัญญาเกิดได้ครับ และการจะเลือกหมวดใด เลือกกาย เวทนาก่อน อย่างนี้ก็ไม่ได้แล้วแต่ว่าสติจะเกิดหรือไม่ และจะเกิดระลึกลักษณะของ สภาพธรรมใดก็เป็นอนัตตา จึงไม่มีกฎเกณฑ์เลย ที่จะให้รู้สภาพธรรมใดก่อนครับ ขอให้กลับมาจุดเริ่มต้นที่จะไม่ต้องไปห้อง ไปสำนักปฏิบัติและกลับมาสู่การเริ่มที่จะ ฟังพระธรรมให้เข้าใจเบื้องต้น ก็จะทำให้ไม่เดินในหนทางที่ผิดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ และ อนุโมทนากุศลจิตด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
akrapat
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

เวลา สติเกิด มันไม่แยกฐานหรอก เพราะ สติที่แท้จริง เป็นอนัตตา เลือกไม่ได้ แต่ ที่มันแยก เพราะเราไปทำมันขึ้นมา แล้วหลงคิดว่า นี่คือ สติ การพิจารณาก็เป็น เพื่อ ให้เห็นว่า แต่ละส่วนนั้นไม่ใช่เรา เหมือนกับแยกรถยนต์ คันหนึ่ง ให้เป็น ล้อ เป็น เครื่องยนต์ เป็นเพลา เป็นเบาะ เป็นพวงมาลัย เป็นเบาะหนัง ปรับไฟฟ้า เป็นประตู อ้าวแล้วรถยนต์หายไปไหน ล่ะ อ๋อ แท้จริงมันไม่ได้มีอยู่จริง แต่ที่มันจริง เพราะ มีองค์ประกอบต่างๆ ขึ้นมา ต่างหากล่ะ ตัวเราเองก็เช่นกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สติปัฏฐานเป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ กำลังมี กำลังปรากฏตามความเป็นจริงบุคคลผู้อบรมนั้น ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้ฟังพระ ธรรม ได้ศึกษาพระธรรม ฟังในสิ่งที่มีจริงบ่อยๆ เนืองๆ มีความเข้าใจที่ถูกต้องใน ธรรม ที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม ไม่มีการเลือก ไม่มีการเจาะจง หรือไม่มีการเว้น ไม่ให้รู้รูปนั้น นามนี้ เป็นต้น และสภาพธรรมที่เป็นที่ตั้งให้สติปัฏฐานเกิดนั้น ล้วนเป็น ธรรมที่มีจริงทั้งสิ้น เมื่อประมวลแล้ว ไม่พ้นไปจาก กาย เวทนา จิต และธรรม กายานุปัสสนาสติปัฏฏฐาน เป็นการระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏที่กาย หรือที่เคยยึดถือว่าเป็นกายของเรา นั่นก็คือ มหาภูตรูป ๔ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และ ธาตุลม ตึง ไหว ซึ่งจะต้องเห็นว่า ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่กายของเรา ไม่ใช่ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เป็นต้น เป็นเพียงรูปธรรมที่เกิดขึ้นปรากฏเท่านั้น เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นการระลึกตรงลักษณะของ เวทนาที่เป็นความรู้สึกว่าเป็นเพียงสภาธรรมเท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าเวทนาใดปรากฏ ไม่มีการบังคับหรือเจาะจงใดๆ ทั้งสิ้น จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นการระลึกรู้จิต ระลึกรู้สภาพธรรมที่เป็นจิต ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นการระลึกรู้สภาพธรรมที่มีจริง ที่นอกเหนือไปจากกาย เวทนา จิต นั่นเอง ทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นธรรมที่มีจริงทั้งสิ้น และประการที่สำคัญ สติปัฏฐาน ไม่ใช่การคิดนึก แต่เป็นการระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

กาย เวทนา จิต ธรรม...หมายความว่าอย่างไร? [๑]

กาย เวทนา จิต ธรรม...หมายความว่าอย่างไร? [๒]

กาย เวทนา จิต ธรรม...หมายความว่าอย่างไร? [๓]

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pat_jesty
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 9 ธ.ค. 2554

ธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เวลาที่สติเกิดระลึก ที่กายก็ได้ เวทนาก็ได้ จิตก็ได้ ธรรมก็ได้ ไม่มีกฏเกณฑ์ว่าจะระลึกตรงไหนก่อน แล้วแต่อะไรกำลังปรากฏก็ระลึกตรงนั้นแล้วก็ดับไป ขณะนั้นไม่มีชื่อ ไม่มีเรื่องราว มี แต่ปรมัตถธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไปดับ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ไม่ใช่การจดจ้องค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
nong
วันที่ 10 ธ.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ