สัจจะ...สัจจะในอกุศล (ตอนที่ ๔)
ผู้ที่กำลังอบรมสัจจบารมี สะสมความเป็นผู้ตรงต่อความจริงทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ แต่เมื่อยังเป็นผู้มีกิเลสอยู่ ย่อมล่วงศีล ๕ ได้ในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อได้ฟังพระธรรม ศึกษาอบรมความเข้าใจ และจริงใจที่จะขัดเกลากิเลส เมื่อคิดขึ้นได้ในโทษของอกุศล ก็ย่อมงดเว้นจากการล่วงอกุศลได้ ค่อยๆ สะสมความเป็นผู้ตรง สัจจะที่ถูกต้องนั้นต้องเป็นไปในทางกุศลเท่านั้น ต้องเป็นไปในทางอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้แจ้งความจริง ผู้ให้สัจจะในทางอกุศล เช่น ไปให้สัจจะกับอาจารย์ผู้สอนให้ปฏิบัติธรรม ไม่ถูกต้องตรงตามพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ว่าจะประพฤติปฏิบัติตามและเป็นศิษย์ตลอดชีวิต ก็จะต้องรักษาสัจจะนั้นต่อไป ผู้นั้นควรพิจารณาให้เข้าใจว่า สัจจะในอกุศลนั้นยิ่งทำให้ไม่สามารถที่จะอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้เลย ถ้ายังรักษาสัจจะในอกุศลนั้นไว้ก็ยิ่งออกจากอกุศลนั้นยากยิ่งขึ้น ท่านอาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า ... ต้องกล้าออกจากอกุศลอย่างเร็วที่สุดด้วยความไม่ประมาท เพราะถ้าช้าจะทำให้ออกจากอกุศลนั้นยากขึ้น จนในที่สุดก็สายเกินไปที่จะออกจากอกุศลนั้นได้ และอาจจะเป็นอย่างนี้ทุกๆ ชาติ
เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดให้สัจจะในอกุศลไว้ ต้องกล้าที่จะออกจากอกุศลนั้นๆ ไม่ว่าจะให้สัจจะในอกุศลใดๆ ไว้ก็ตาม เพราะอกุศลไม่สามารถรู้แจ้งธรรมได้ เพราะสัจจะที่ถูกต้อง สัจจะที่จะเป็นบารมีต้องเป็นไปในกุศล ต้องเป็นไปในการอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเท่านั้น สัจจะ หมายความถึงกุศลจิตซึ่งตรงต่อการอบรมเจริญกุศล เพื่อเป็นบารมียิ่งขึ้น
ขอกราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สัจจะ คือ ความจริง ซึ่งความจริงต้องเป็นกุศลและจริง ตรง ด้วยกาย วาจา และใจ ขณะที่คิดว่ารักษาสัจจะในทางอกุศล ขณะนั้นไม่ใช่สัจจะ แต่เป็นความไม่ตรง สัจจะที่สำคัญจึงต้องมีปัญญา ความเห็นถูกเป็นสำคัญ จึงจะเป็นสัจจบารมี ที่ทำให้ตรงด้วยความเห็นถูก ตรง เพราะเข้าใจพระธรรม จึงเห็นโทษของกิเลสและประพฤติในสิ่งที่ถูกต้อง ด้วยความจริงใจที่เป็นสัจจะ ครับ
ส่วนการกล้า กล้าในที่นี้ มีความหมายลึกซึ้ง กล้าในการทำอกุศล ไม่ชื่อว่าเป็นผู้กล้า แต่เป็นความขลาด เพราะไม่สามารถชนะกิเลส แต่แพ้ต่อกิเลส จะชื่อว่าผู้กล้าไม่ได้ ดังนั้น ผู้กล้าหรือคำที่เราเคยได้ยิน คือ วีระ กล้า ต้องกล้าออกจากอกุศล แต่ถ้าไม่มีปัญญา จะออกจากอกุศลได้อย่างไร ดังนั้น วีระ ความเป็นผู้กล้า ต้องประกอบด้วยปัญญา จึงจะเป็นผู้กล้าและสามารถออกจากอกุศลได้ ครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของพี่เมตตา ที่ได้นำข้อคิดพิจารณาธรรมมาฝากทุกท่านโดยสม่ำเสมอ เป็นประโยชน์มากครับ เมื่ออ่านเรื่องนี้ ทำให้คิดถึงตอนหนึ่งที่ท่านอาจารย์ได้สนทนาไว้ที่บ้านมิ่งโมฬี สวนผึ้ง เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีข้อความที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงเรื่องความตระหนี่และความเป็นทาสของความเห็นผิด จึงใคร่ขออนุญาตนำบางตอนมาให้ทุกท่านได้พิจารณาด้วย ดังนี้ครับ
"... กว่าจะพ้นจากความเป็นทาสโดยสิ้นเชิง ก็ต้องเพราะ "ปัญญา" แม้เพียงในขณะที่ฟังเพื่อที่จะเข้าใจถูก เห็นถูก ว่า ไม่เป็นทาสของความเห็นผิด คำสอนผิด ที่ไม่ทำให้เกิด "ปัญญา" ความรู้ถูก เห็นถูก ในลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฏ แค่นี้ พ้นยากมั้ยคะ? ที่จะรู้ว่า สิ่งใดถูกสิ่งใดผิด แล้วก็ไม่เป็นทาสของความพอใจที่จะมีความเห็นผิดนั้นอีก บางคน ไม่ได้เลยค่ะ รู้ว่าผิดก็ยังพอใจ เพื่อนฝูงพวกพ้องหมู่คณะครูอาจารย์ไม่ใช่เป็นผู้ที่ "ตรง" ต่อธรรมะ แต่ว่าผู้ที่ตรง ทุกคำที่ได้ยินเนี่ยค่ะ สะสมความถูกต้อง ความตรง จึงสามารถที่จะพ้นจากความเป็น "ทาส" คือ ความไม่ตรงและความเห็นผิด เพราะความติดข้องในความเห็นผิดนั้น ..."
ขอเชิญอ่านข้อความเต็มได้ที่นี่ครับ ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
" ... กว่าจะพ้นจากความเป็นทาสโดยสิ้นเชิง ก็ต้องเพราะ "ปัญญา" แม้เพียงในขณะที่ฟังเพื่อที่จะเข้าใจถูกเห็นถูก ว่า ไม่เป็นทาสของความเห็นผิด คำสอนผิด ที่ไม่ทำให้เกิด "ปัญญา" ความรู้ถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฏ แค่นี้ พ้นยากมั้ยคะ? ที่จะรู้ว่า สิ่งใดถูกสิ่งใดผิด แล้วก็ไม่เป็นทาสของความพอใจที่จะมีความเห็นผิดนั้นอีก บางคน ไม่ได้เลยค่ะ รู้ว่าผิดก็ยังพอใจ เพื่อนฝูงพวกพ้องหมู่คณะครูอาจารย์ไม่ใช่เป็นผู้ที่ "ตรง" ต่อธรรมะ
..ขออนุโมทนาในกุศลเจตนา กุศลศรัทธาของคุณวันชัย ภู่งาม อย่างยิ่งค่ะ ... และในกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยค่ะ