ธรรมานุปัสสนา

 
gboy
วันที่  22 ธ.ค. 2554
หมายเลข  20215
อ่าน  5,314

ขอเรียนถามอาจารย์เรื่องธัมมานุปัสสนา หมวดอริยสัจ ๔ ว่าพิจารณาอย่างไร เช่น พิจารณาตามไตรลักษณ์เหมือนหมวดขันธ์ ๕ หรือพิจารณาตามอาการ ๑๒ จึงจะถูกต้องครับ

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 22 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การเจริญสติปัฏฐาน เป็นสิ่งที่ละเอียด ลึกซึ้ง ซึ่งจะต้องเริ่มจากความเข้าใจถูกเบื้องต้น ถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมก่อนครับ ก่อนอื่น สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ สติและปัญญาที่เป็นสติปัฏฐานก็เป็นธรรม จึงเป็นอนัตตาด้วย คือไม่สามารถบังคับให้สติและปัญญาเกิดได้ตามใจชอบและไม่สามารถบังคับให้สติและปัญญาที่เป็นสติปัฏฐานเกิดโดยเลือกสภาพธรรม ว่าจะให้เกิด เลือกสภาพธรรมนี้ หมวดนี้ได้เลยครับ เป็นอนัตตาทั้งสิ้น ที่สำคัญที่สุด การเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องการพิจารณาด้วยการคิดนึก เช่น พิจารณาขันธ์ ๕ โดยอาการต่างๆ โดยการคิดนึก เพราะขณะที่คิดพิจารณาเป็นเรื่องราว ว่า ขันธ์ ๕ ขันธ์ แต่ละอย่างไม่ใช่เราแต่ขณะนั้น ก็ไม่ได้รู้ลักษณะของขันธ์ ของสภาพธรรม ที่มีลักษณะที่กำลังปรากฏในขณะนั้นว่าไม่ใช่เราครับ ดังนั้น สติปัฏฐานจึงเป็นปัญญาระดับสูง ที่จะต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ โดยไม่ใช่ขณะที่คิดนึกพิจารณาเรื่องราวครับ

เมื่อเราเข้าใจเบื้องต้นว่าสติปัฏฐานไม่ใช่การคิดนึกพิจารณา เป็นเรื่องราวและสติปัฏฐานก็เป็นอนัตตา บังคับให้เกิดหรือเลือกหมวดก็ไม่ได้ แล้วแต่สติที่เป็นอนัตตาก็จะเข้าใจการเจริญสติปัฏฐาน แม้ในหมวดต่างๆ ที่พระพุทธองค์แสดงไว้เป็น ๔ หมวดว่าสติและปัญญาก็ต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่พ้นไปจาก ๔ หมวดนี้เลย เพียงแต่ว่าแล้วแต่สติว่าจะระลึกลักษณะของสภาพธรรมอะไร หมวดใดก็ได้ครับ ซึ่งขณะที่สติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอริยสัจจะ เช่น สติและปัญญาเกิดรู้ความจริงของสภาพธรรมที่เป็นทุกขอริยสัจจะ คือสภาพธรรมที่มีจริง ก็คือขันธ์ ๕ นั่นเอง ยกเว้นโลภะที่เป็นทุกขสมุทัย ซึ่งขณะที่สติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ว่าสภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่ง ที่มีลักษณะและรู้ลักษณะและปัญญา ก็รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะนั้นก็เป็นการรู้ทุกขอริยสัจจะในขณะนั้นแล้ว และขณะนั้นก็ไม่ต้องเรียกชื่อว่าเป็นหมวดอะไร บรรพไหน แต่สติและปัญญาก็เกิดรู้ความจริงในขณะนั้นครับ และตามที่กล่าวแล้ว การเจริญสติปัฏฐานไม่ว่าหมวดใด แต่หมวดธัมมานุปัสสนาที่เป็นอริยสัจจะ ก็ไม่ใช่การให้คิดพิจาณาอย่างไร เพราะไม่ใช่การคิดนึก แต่ต้องเป็นการระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะนั้นจึงชื่อว่ารู้ทุกขอริยสัจจะครับ ในขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของโลภะก็เป็นการรู้ ทุกขสมุทยสัจจะ เป็นต้นครับ

การเจริญสติปัฏฐาน จึงจะต้องเริ่มจากความเข้าใจถูกเบื้องต้น เริ่มจากคำว่าธรรมคืออะไร และเข้าใจความเป็นอนัตตา เมื่อเข้าใจถูก จึงไม่มีตัวตนที่จะไปพิจารณาไปพยายามระลึกที่จะทำสติปัฏฐาน แต่อาศัยการฟัง ศึกษาในเรื่องสภาพธรรม ก็จะถึงการรู้ความจริงที่ปรากฏในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา โดยรู้ตรงลักษณะ ไม่ใช่การคิดพิจารณาครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 22 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรมที่พระพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรม เมื่อเป็นสิ่งที่มีจริง มีลักษณะให้รู้ได้นั้น ก็เป็นที่ตั้งให้สติปัฏฐานเกิดขึ้นระลึกรู้ตามความเป็นจริงได้ สำคัญที่ความเข้าใจถูกเห็นถูกว่ามีเพียงพอที่จะให้สติปัฏฐานเกิดหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องบังคับบัญชา เพราะบังคับบัญชาไม่ได้ ธรรมเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ทั้งสติ ทั้งปัญญา ก็เป็นเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย การเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องไปเจาะจงอารมณ์ เพราะเหตุว่าสภาพธรรมใดปรากฏ ก็ระลึกรู้สภาพธรรมนั้น ในขณะที่ระลึกรู้นั้นก็ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ซึ่งไม่พ้นไปจากกาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถธรรมทั้งสิ้น

สภาพธรรมใดๆ ก็ตามที่ปรากฏ อันนอกเหนือไปจากกาย เวทนา จิตแล้ว นอกนั้นเป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งหมด เช่น สี ลักษณะที่ปรากฏทางตา เสียง ลักษณะที่ปรากฏทางหู กลิ่น ลักษณะที่ปรากฏทางจมูก รส ลักษณะที่ปรากฏทางลิ้น เป็นต้น [ซึ่งเป็นทุกขสัจจ์] เป็นสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถ้าสติปัฏฐานเกิดระลึกรู้สภาพธรรมเหล่านี้ ก็เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยที่ไม่ใช่เรื่องคิดเลยว่าจะพิจารณาอย่างไร แต่สติเกิดขึ้นระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องของความเข้าใจถูกเห็นถูกตั้งแต่ต้น ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกในเรื่องของสภาพธรรมให้เข้าใจจริงๆ แล้ว ย่อมไม่มีเหตุที่สติปัฏฐานจะเกิดได้เลย ที่สำคัญที่สุด จะขาดการฟังพระธรรมไม่ได้เลยทีเดียว ครับ

ขอเชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้ที่นี่ครับ

พิจารณาธัมมานุปัสสนาทำอย่างไร

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เซจาน้อย
วันที่ 23 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
gboy
วันที่ 23 ธ.ค. 2554

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 23 ธ.ค. 2554

ถ้าเข้าใจกายานุปัสสนา ก็นัยเดียวกันกับธัมมานุปัสสนา เช่น ขณะที่สติปัฏฐานเกิดก็แล้วแต่สติเกิดระลึกที่นามใดนามหนึ่งหรือรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ทั้งหมดนี้ไม่พ้นไปจากสติปัฏฐานทั้ง ๔ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เข้าใจ
วันที่ 3 มี.ค. 2556

ขอบพระคุณ และกราบอนุโมทนาในพระธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ